Posted: 30 Jan 2018 12:22 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
ผลสำรวจศูนย์กลางนานาชาติเพื่อจริยธรรมสื่อ พบ ‘ข่าวปลอม’ เป็นประเด็นปัญหาสำคัญของการทำงานสื่อทั่วโลก รองลงมาคือ ‘จ่ายค่าแรงน้อย’ ตามมาด้วยแรงบีบจากความพยายามแย่งชิงจำนวนผู้อ่าน และการกดดันทางการเมือง
30 ม.ค. 2561 เมื่อต้นเดือน ม.ค. ที่ผ่านมาศูนย์กลางนานาชาติเพื่อจริยธรรมสื่อ (The Centre for International Media Ethics) ได้เปิดเผยผลสำรวจในหัวข้อ ‘จริยธรรมสื่อในยุคหลังความจริง (Post-Truth)’ โดยทำการสำรวจใน ทวีปแอฟริกา อเมริกา เอเชียกลางและใต้ ยุโรปรวมไปถึงโอเชียเนีย เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานะทางจริยธรรมของอาชีพสื่อในประเทศเหล่านั้น
ข้อมูลที่ได้จากผู้เข้าร่วมการสำรวจ พบว่าร้อยละ 58.33 ที่มองว่า ‘ข่าวปลอม’ (fake news) เป็นประเด็นปัญหาที่พบบ่อยในการทำงานสื่อทั่วโลก รองลงมาร้อยละ 50 คือการจ่ายเงินที่ต่ำ และการถูกแรงบีบจากความพยายามดึงจำนวนผู้อ่าน และแรงบีบการเมืองหรือองค์กรสื่อเอง อยู่ที่ร้อยละ 47.92
มากกว่าครึ่งของผู้ให้ข้อมูลมองว่ารัฐบาลของประเทศพวกเขามีความพยายามที่จะปกป้องจริยธรรมสื่อในเกณฑ์ที่ต่ำและต่ำมาก นอกจากนั้นร้อยละ 83 ยังเห็นตรงกันว่าทุกวันนี้มีสื่อที่เกิดขึ้น เพื่อจุดประสงค์ในการสนับสนุนวาระทางการเมืองหรือบริษัทชั้นนำโดยเฉพาะเพิ่มมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ยังพอมีความหวังอยู่บ้าง โดย 2 ใน 3 มองว่านั้นทำให้องค์กรสื่อได้มีความพยามลงทุนในการพัฒนาคุณภาพของสื่อมวลชนมากขึ้น ไปจนถึงยังมีการทำงานที่ต่อต้านความเกลียดชัง เหยียดเชื้อชาติและอำนาจนิยมได้ดีขึ้น
โดยหลักการสำคัญ 3 อย่างที่เป็นสิ่งที่ผู้ร่วมการสำรวจมองว่าจำเป็นที่สุดในวงการสื่อของแต่ละประเทศคือ ความสิทธิสาธารณะในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและเท่าเทียม ความซื่อตรงในวิชาชีพและความรับชอบต่อสังคมโดยเคารพต่อคุณค่าสากลและความแตกต่างหลากหลาย
การสำรวจดังกล่าวยังลงความสำคัญกับ ‘ข่าวปลอม’ (fake news) ร้อยละ 90 ของผู้ให้ข้อมูลได้เห็นการเพิ่มขึ้นของข่าวที่เร้าอารมณ์และข่าวปลอมทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาโดยนักรัฐศาสตร์ ชี้ว่าการที่ผู้อ่านถูกหลอกโดยข่าวปลอมไม่ใช่เรื่องน่ากังวลแต่อย่างใด เพราะจากที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย 3 แห่งในสหรัฐฯ และอังกฤษ ได้รวมสถิติการเยี่ยมชมเว็บในช่วงระหว่าง 1เดือนก่อนการเลือกตั้งและ 1 สัปดาห์หลังการเลือกตั้งในสหรัฐฯ เข้ากับการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวปลอมของชาวอเมริกัน มากกว่า 2,500 คน ผลแสดงออกมาให้เห็นว่าแม่ว่าชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่จะพบกับข่าวปลอมเกี่ยวกับการเลือกตั้งอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่เพียงแค่ร้อยละ 8 เท่านั้นที่เชื่อข่าวเหล่านั้น
ที่มาเรียบเรียงจาก
Global survey on media ethics highlights fake news, low pay and spin (European Federation of Journalists, 8/1/2018)
[full-post]
ผลสำรวจศูนย์กลางนานาชาติเพื่อจริยธรรมสื่อ พบ ‘ข่าวปลอม’ เป็นประเด็นปัญหาสำคัญของการทำงานสื่อทั่วโลก รองลงมาคือ ‘จ่ายค่าแรงน้อย’ ตามมาด้วยแรงบีบจากความพยายามแย่งชิงจำนวนผู้อ่าน และการกดดันทางการเมือง
30 ม.ค. 2561 เมื่อต้นเดือน ม.ค. ที่ผ่านมาศูนย์กลางนานาชาติเพื่อจริยธรรมสื่อ (The Centre for International Media Ethics) ได้เปิดเผยผลสำรวจในหัวข้อ ‘จริยธรรมสื่อในยุคหลังความจริง (Post-Truth)’ โดยทำการสำรวจใน ทวีปแอฟริกา อเมริกา เอเชียกลางและใต้ ยุโรปรวมไปถึงโอเชียเนีย เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานะทางจริยธรรมของอาชีพสื่อในประเทศเหล่านั้น
ข้อมูลที่ได้จากผู้เข้าร่วมการสำรวจ พบว่าร้อยละ 58.33 ที่มองว่า ‘ข่าวปลอม’ (fake news) เป็นประเด็นปัญหาที่พบบ่อยในการทำงานสื่อทั่วโลก รองลงมาร้อยละ 50 คือการจ่ายเงินที่ต่ำ และการถูกแรงบีบจากความพยายามดึงจำนวนผู้อ่าน และแรงบีบการเมืองหรือองค์กรสื่อเอง อยู่ที่ร้อยละ 47.92
มากกว่าครึ่งของผู้ให้ข้อมูลมองว่ารัฐบาลของประเทศพวกเขามีความพยายามที่จะปกป้องจริยธรรมสื่อในเกณฑ์ที่ต่ำและต่ำมาก นอกจากนั้นร้อยละ 83 ยังเห็นตรงกันว่าทุกวันนี้มีสื่อที่เกิดขึ้น เพื่อจุดประสงค์ในการสนับสนุนวาระทางการเมืองหรือบริษัทชั้นนำโดยเฉพาะเพิ่มมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ยังพอมีความหวังอยู่บ้าง โดย 2 ใน 3 มองว่านั้นทำให้องค์กรสื่อได้มีความพยามลงทุนในการพัฒนาคุณภาพของสื่อมวลชนมากขึ้น ไปจนถึงยังมีการทำงานที่ต่อต้านความเกลียดชัง เหยียดเชื้อชาติและอำนาจนิยมได้ดีขึ้น
โดยหลักการสำคัญ 3 อย่างที่เป็นสิ่งที่ผู้ร่วมการสำรวจมองว่าจำเป็นที่สุดในวงการสื่อของแต่ละประเทศคือ ความสิทธิสาธารณะในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและเท่าเทียม ความซื่อตรงในวิชาชีพและความรับชอบต่อสังคมโดยเคารพต่อคุณค่าสากลและความแตกต่างหลากหลาย
การสำรวจดังกล่าวยังลงความสำคัญกับ ‘ข่าวปลอม’ (fake news) ร้อยละ 90 ของผู้ให้ข้อมูลได้เห็นการเพิ่มขึ้นของข่าวที่เร้าอารมณ์และข่าวปลอมทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาโดยนักรัฐศาสตร์ ชี้ว่าการที่ผู้อ่านถูกหลอกโดยข่าวปลอมไม่ใช่เรื่องน่ากังวลแต่อย่างใด เพราะจากที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย 3 แห่งในสหรัฐฯ และอังกฤษ ได้รวมสถิติการเยี่ยมชมเว็บในช่วงระหว่าง 1เดือนก่อนการเลือกตั้งและ 1 สัปดาห์หลังการเลือกตั้งในสหรัฐฯ เข้ากับการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวปลอมของชาวอเมริกัน มากกว่า 2,500 คน ผลแสดงออกมาให้เห็นว่าแม่ว่าชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่จะพบกับข่าวปลอมเกี่ยวกับการเลือกตั้งอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่เพียงแค่ร้อยละ 8 เท่านั้นที่เชื่อข่าวเหล่านั้น
ที่มาเรียบเรียงจาก
Global survey on media ethics highlights fake news, low pay and spin (European Federation of Journalists, 8/1/2018)
แสดงความคิดเห็น