Posted: 31 Jan 2018 01:50 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
กก.นักนิติศาสตร์สากล-ศูนย์ ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนยื่ นข้อเสนอต่อ กก.ต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาช าติ ชี้รัฐประหาร 22 พ.ค. 57 รธน.-กรอบกฎหมายไทยเพิ่ มโอกาสให้เกิดการช่องว่ างในการได้รับการยกเว้นความรั บผิด
31 ม.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ม.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ICJ) และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษ ยชน (Thai Lawyers for Human Rights หรือ TLHR) ได้ยื่นข้อเสนอแนะร่วมต่อคณะกรร มการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชา ชาติ
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า คณะกรรมการต่อต้านการทรมานฯ จะทำการพิจารณาประเด็นก่ อนการรายงาน (List of issues prior to reporting หรือ LoIPR) สำหรับประเทศไทยในการประชุมครั้ งที่ 63 ช่วงวันที่ 23 เม.ย.- 18 พ.ค. นี้ และเมื่อคณะกรรมการต่อต้ านการทรมาน รับรอง LoIPR แล้ว ประเด็นดังกล่าวจะถูกส่งไปยังปร ะเทศสมาชิก โดยรายงานสถานการณ์ ของประเทศไทยตามประเด็นที่ระบุ ใน LoIPR จะถือเป็นรายงานความก้าวหน้าของ ประเทศไทยตามวาระในครั้งที่ 2 ตามพันธกรณีในมาตรา 19 ของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและก ารประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่ โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment หรือ CAT)
สำหรับข้อเสนอแนะร่วมของ ICJ และ TLHR ต่อคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน นี้ ได้เน้นย้ำถึงความกังวลบางประกา รต่อการปฏิบัติตามพันธกรณี ของประเทศไทย โดยข้อเสนอแนะได้แนะคำถามและเสน อแนะให้คณะกรรมการต่อต้ านการทรมานฯ รวมข้อคำถามเหล่านี้ไปใน LOIPR เพื่อส่งต่อให้รัฐบาลประเทศไทย ซึ่งรวมถึงประเด็นดังต่อไปนี้:
- ความเป็นจริงที่ว่าตั้งแต่ได้มี
การทำรัฐประหารในวันที่ 22 พ.ค. พ.ศ.2557 รัฐธรรมนูญและกรอบกฎหมายในประเท ศไทยได้เพิ่มโอกาสให้เกิดการช่ องว่างในการได้รับการยกเว้ นความรับผิด (Impunity) - ความล้มเหลวในการทำให้การทรมาน การประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี หรือการบั
งคับให้สูญหาย เป็นความผิดทางอาญาตามกรอบกฎหมา ยภายในประเทศ ตามพันธกรณีของประ เทศไทยภายใต้อนุสัญญาฯ และกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆที่ เกี่ยวข้อง - ความล้มเหลวในการสืบสวนสอบสวนอย่
างรวดเร็ว เป็นกลาง และมีประสิทธิภาพ ในหลายกรณีที่น่าเชื่อว่าอาจมีก ารกระทำการบังคับให้บุคคลสูญหาย และรายงานที่ระบุกรณีต้องสงสั ยว่าอาจมีการกระทำการทรมานและปฏิ บัติโหดร้ายอื่นๆอย่างกว้างขวาง และ - การข่มขู่หรือการตอบโต้ต่อบุคคล
ที่รายงานกรณีที่มีการกล่าวหาว่ ามีการทรมาน การปฏิบัติโหดร้าย และการบังคับสูญหาย
แสดงความคิดเห็น