Posted: 02 Aug 2018 04:47 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Thu, 2018-08-02 18:47
หลังถูกไล่ที่ชุดสุดท้ายเมื่อ เม.ย.ที่ผ่านมา อดีตรองประธานชุมชนป้อมมหากาฬเผย ได้กู้เงินสินเชื่อบ้านมั่นคงซื้อที่ดินบริเวณพุทธมณฑลสายสองขนาด 106 ตร.ว. แปดครอบครัวจดโฉนดร่วมกัน เผยทั้งชีวิตไม่เคยมีชื่อในโฉนดที่ดิน จากนี้ถ้าใครเวนคืนต้องสู้เต็มที่
2 ส.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อดีตผู้อยู่อาศัยในชุมชนป้อมมหากาฬจำนวนแปดครอบครัว ซึ่งออกจากชุมชนป้อมฯเป็นกลุ่มสุดท้าย ได้จัดการซื้อที่ดินแถวพุทธมณฑลสายสอง และได้จดทะเบียนในโฉนดแล้ว
พรเทพ บูรณบุรีเดช อดีตรองประธานชุมชนป้อมมหากาฬ กล่าวว่า ที่ดินดังกล่าวมีขนาด 106 ตร.ว. จะอยู่กันแปดครอบครัวตามที่จดไว้ในโฉนดที่ดิน โดยเงินที่ใช้ซื้อนั้นประกอบด้วยเงินออมของชาวชุมชนรวมกับเงินกู้จากสินเชื่อบ้านมั่นคงจากสถาบันพัฒนาองค์กร (องค์การมหาชน) หรือ พอช.
พรเทพ เล่าว่า ตั้งแต่ถูกทาง กทม. ไล่รื้อจากพื้นที่ป้อมมหากาฬตั้งแต่ 26 เม.ย. ที่ผ่านมา มีกระบวนการในการขอสินเชื่อในโครงการบ้านมั่นคง ได้มีการเสนอโครงการ 17 พ.ค.2561 และได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อราว 2 ล้าน 2 แสนบาท ตามระบบของทาง พอช. แล้ว โดยการจ่ายเงินคืนจะจ่ายเป็นครัวเรือน ครัวเรือนละไม่เกิน 2,300 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 20 ปี
โฉนดที่ได้มาเป็นที่ดินรวมทั้ง 8 ครอบครัว ไม่ได้เป็นของคนใดคนหนึ่ง โดยแผนต่อจากนี้คือจะทำการถมดินให้ดินเซ็ตตัวก่อน และขออนุญาตแบบก่อสร้างกับเขตที่สังกัด (เขตทวีวัฒนา) จากนั้นจึงจะเริ่มสร้างบ้าน ส่วนค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้านนั้นต้องประเมินเรื่องค่าใช้จ่ายกันต่อ โดยตั้งใจจะใช้ไม้ที่รื้อมาจากชุมชน แต่ด้วยปริมาณที่จำกัด คาดว่าจะใช้ไม้สร้างบ้านได้ไม่เกินสามหลัง คาดว่าราว พ.ค. - มิ.ย. ปีหน้าจะสร้างบ้านแล้วเสร็จและย้ายเข้าอยู่
อดีตรองประธานชุมชน กล่าวว่า ดีใจที่อย่างน้อยโดนไล่ก็ยังมีที่ดินที่จะไปอยู่ร่วมกัน คนที่ออกมาด้วยกันยังมีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน ส่วนตัวทั้งชีวิตไม่เคยมีชื่อในโฉนดที่ดินร่วมกันตามกฎหมาย สมัยที่อยู่ป้อมเป็นเพียงสัญญาเช่ากับทางวัดราชนัดดาราม จะไม่มีใครมาไล่เราอีกแล้ว ถ้าจะมาเวนคืนก็ต้องสู้เต็มที่
โดยเมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา พื้นที่ที่เคยเป็นชุมชนป้อมมหากาฬถูกแปรสภาพเป็นสวนสาธารณะและเปิดใช้งานแล้ว
เปิดสวน ‘ป้อมมหากาฬ’ ชาวชุมชนเผยหลังย้ายวิถีชีวิตเปลี่ยน ตกงาน ค่าใช้จ่ายเพิ่ม
ชุมชนป้อมมหากาฬจัดงานอำลา ยุติมหากาพย์ 25 ปี ย้าย 25 เม.ย. นี้
ประมวลภาพ+คลิป เสียงสะท้อน ความรู้สึก บทเรียนจากชุมชนป้อมมหากาฬ
ทั้งนี้ ก่อนถูกไล่รื้อ ชุมชนป้อมมหากาฬ เดิมมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4 ไร่ 300 ตารางวา ปี 2559 มีบ้านเรือนทั้งหมด 64 หลัง ประชากรประมาณ 300 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย เช่น ขายกระเพาะปลา ส้มตำ ไก่ย่าง ขายพลุ ดอกไม้ไฟ ฯลฯ ถือเป็นย่านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีทั้งขุนนาง ข้าราชบริพาร ปลูกสร้างบ้านเรือนพักอาศัยอยู่นอกกำแพงพระนคร รวมทั้งมีชุมชนเรือนแพอยู่ในคลองโอ่งอ่าง โดยมีป้อมที่สร้างขึ้นตามกำแพงพระนครในสมัยนั้นรวม 14 ป้อม (เหลือปัจจุบันเพียง 2 ป้อม คือ ป้อมมหากาฬและป้อมพระสุเมรุ)
ปัญหาที่ชุมชนป้อมมหากาฬได้รับผลกระทบเป็นผลจากโครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬเพื่อจัดทำเป็นสวนสาธารณะและอนุรักษ์โบราณสถานของชาติตั้งแต่ปี 2502 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์ ทำให้ต้องมีการรื้อถอนบ้านและย้ายชุมชนที่อยู่ในแนวกำแพงป้อมมหากาฬออกทั้งหมด เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และทำเป็นสวนสาธารณะแต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ ต่อมา กทม.ทำการเวนคืนที่ดินในปี 2535 ตั้งแต่นั้นก็มีปัญหาไล่รื้อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีชาวบ้านบางส่วนที่รับเงินค่าเวนคืนไปแล้ว แต่ชาวชุมชนส่วนใหญ่ต่อสู้และคัดค้านมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปี 2546 กทม.ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาเพื่อปิดล้อมเตรียมการไล่รื้อ แต่ชาวชุมชนและเครือข่ายคูคลองหลายร้อยคนได้คล้องแขนเป็นกำแพงมนุษย์ปิดกั้นไม่ให้เจ้าหน้าที่บุกเข้าไป ต่อมาในปี 2547 ชาวชุมชนยื่นฟ้อง กทม.ต่อศาลปกครอง ศาลปกครองพิพากษาในเวลาต่อมาให้ กทม. มีสิทธิในการเวนคืนเพื่อพัฒนาที่ดิน
เมื่อปี 2560 มีการประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่ายระหว่างกรุงเทพมหานคร ผู้แทนชุมชนป้อมมหากาฬ ผู้แทนภาคประชาสังคม และฝ่ายความมั่นคงช่วยเดือน เม.ย. - ก.ค. โดยกลุ่มนักวิชาการเสนอแนวทางการพิจารณาอนุรักษ์บ้านผ่านคุณค่าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์, ด้านศิลปะ สถาปัตยกรรมและผังเมือง, ด้านสังคมและวิถีชีวิต, ด้านโบราณคดี และด้านวิชาการ ซึ่งข้อตกลงในตอนนั้นได้ตกลงกันว่าจะให้เก็บบ้านในชุมชนเอาไว้จำนวน 18 หลัง
เมื่อ 7 ก.ค. 2560 ยุทธพันธุ์ มีชัย เลขานุการผู้ว่าราชการ กทม. ตัวแทนพูดคุยประเด็นป้อมมหากาฬของทาง กทม. ระบุว่าไม่สามารถเก็บบ้านไว้ได้ทุกหลัง และแบ่งบ้านเป็นโซนที่จะอนุรักษ์และโซนที่จะต้องรื้อ ก่อนที่จะนำข้อเสนอดังกล่าวให้ทาง กทม. พิจารณาต่อไป แต่หลังจากนั้นก็มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเมืองขึ้นมาและได้ตัดสินให้คงบ้านไว้เพียง 7 หลัง ทั้งนี้ การเก็บบ้านไม่ได้หมายความว่าจะให้เจ้าบ้านอยู่อาศัยในบ้านได้ต่อไป
ในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของในหลวง ร.9 พื้นที่หัวป้อมถูกนำไปใช้เป็นห้องครัวและห้องสุขา และหลังจากพระราชพิธีฯ ในเดือน พ.ย. 2560 หน่วยทหาร-พลเรือน ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในของกรุงเทพฯ (กอ.รมน.กทม.) เข้าไปตั้งเต็นท์อาศัยในลานกลางชุมชน โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อปราบปรามการลักลอบการจำหน่ายพลุไฟ
ก่อนหน้าที่ชาวชุมชนชุดสุดท้ายจะย้ายออกมา มีชาวชุมชนป้อมมหากาฬส่วนหนึ่งได้ย้ายไปอาศัยอยู่ที่สถานพักพิงชั่วคราวที่การประปาเก่าบริเวณแม้นศรี ชาวชุมชนดังกล่าวเป็นกลุ่มที่ย้ายออกไปก่อนแล้ว เมื่อเดือน ม.ค. มีชาวชุมชนไปอาศัยที่การประปาประมาณ 60 คน โดยจะมีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อไปกู้เงินกับสภาพัฒนาองค์กรชุมชนหรือ พอช. ซื้อที่ดินและปลูกบ้านบริเวณเกียกกาย ร่วมกับชุมชนทอผ้าที่จะย้ายไปอยู่ที่เดียวกัน
หลังถูกไล่ที่ชุดสุดท้ายเมื่อ เม.ย.ที่ผ่านมา อดีตรองประธานชุมชนป้อมมหากาฬเผย ได้กู้เงินสินเชื่อบ้านมั่นคงซื้อที่ดินบริเวณพุทธมณฑลสายสองขนาด 106 ตร.ว. แปดครอบครัวจดโฉนดร่วมกัน เผยทั้งชีวิตไม่เคยมีชื่อในโฉนดที่ดิน จากนี้ถ้าใครเวนคืนต้องสู้เต็มที่
2 ส.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อดีตผู้อยู่อาศัยในชุมชนป้อมมหากาฬจำนวนแปดครอบครัว ซึ่งออกจากชุมชนป้อมฯเป็นกลุ่มสุดท้าย ได้จัดการซื้อที่ดินแถวพุทธมณฑลสายสอง และได้จดทะเบียนในโฉนดแล้ว
พรเทพ บูรณบุรีเดช อดีตรองประธานชุมชนป้อมมหากาฬ กล่าวว่า ที่ดินดังกล่าวมีขนาด 106 ตร.ว. จะอยู่กันแปดครอบครัวตามที่จดไว้ในโฉนดที่ดิน โดยเงินที่ใช้ซื้อนั้นประกอบด้วยเงินออมของชาวชุมชนรวมกับเงินกู้จากสินเชื่อบ้านมั่นคงจากสถาบันพัฒนาองค์กร (องค์การมหาชน) หรือ พอช.
พรเทพ เล่าว่า ตั้งแต่ถูกทาง กทม. ไล่รื้อจากพื้นที่ป้อมมหากาฬตั้งแต่ 26 เม.ย. ที่ผ่านมา มีกระบวนการในการขอสินเชื่อในโครงการบ้านมั่นคง ได้มีการเสนอโครงการ 17 พ.ค.2561 และได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อราว 2 ล้าน 2 แสนบาท ตามระบบของทาง พอช. แล้ว โดยการจ่ายเงินคืนจะจ่ายเป็นครัวเรือน ครัวเรือนละไม่เกิน 2,300 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 20 ปี
โฉนดที่ได้มาเป็นที่ดินรวมทั้ง 8 ครอบครัว ไม่ได้เป็นของคนใดคนหนึ่ง โดยแผนต่อจากนี้คือจะทำการถมดินให้ดินเซ็ตตัวก่อน และขออนุญาตแบบก่อสร้างกับเขตที่สังกัด (เขตทวีวัฒนา) จากนั้นจึงจะเริ่มสร้างบ้าน ส่วนค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้านนั้นต้องประเมินเรื่องค่าใช้จ่ายกันต่อ โดยตั้งใจจะใช้ไม้ที่รื้อมาจากชุมชน แต่ด้วยปริมาณที่จำกัด คาดว่าจะใช้ไม้สร้างบ้านได้ไม่เกินสามหลัง คาดว่าราว พ.ค. - มิ.ย. ปีหน้าจะสร้างบ้านแล้วเสร็จและย้ายเข้าอยู่
อดีตรองประธานชุมชน กล่าวว่า ดีใจที่อย่างน้อยโดนไล่ก็ยังมีที่ดินที่จะไปอยู่ร่วมกัน คนที่ออกมาด้วยกันยังมีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน ส่วนตัวทั้งชีวิตไม่เคยมีชื่อในโฉนดที่ดินร่วมกันตามกฎหมาย สมัยที่อยู่ป้อมเป็นเพียงสัญญาเช่ากับทางวัดราชนัดดาราม จะไม่มีใครมาไล่เราอีกแล้ว ถ้าจะมาเวนคืนก็ต้องสู้เต็มที่
สภาพบริเวณป้อมมหากาฬ ปัจจุบัน (ที่มาภาพ เฟสบุ๊คแฟนเพจ ผู้ว่าฯ อัศวิน)
โดยเมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา พื้นที่ที่เคยเป็นชุมชนป้อมมหากาฬถูกแปรสภาพเป็นสวนสาธารณะและเปิดใช้งานแล้ว
เปิดสวน ‘ป้อมมหากาฬ’ ชาวชุมชนเผยหลังย้ายวิถีชีวิตเปลี่ยน ตกงาน ค่าใช้จ่ายเพิ่ม
ชุมชนป้อมมหากาฬจัดงานอำลา ยุติมหากาพย์ 25 ปี ย้าย 25 เม.ย. นี้
ประมวลภาพ+คลิป เสียงสะท้อน ความรู้สึก บทเรียนจากชุมชนป้อมมหากาฬ
ทั้งนี้ ก่อนถูกไล่รื้อ ชุมชนป้อมมหากาฬ เดิมมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4 ไร่ 300 ตารางวา ปี 2559 มีบ้านเรือนทั้งหมด 64 หลัง ประชากรประมาณ 300 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย เช่น ขายกระเพาะปลา ส้มตำ ไก่ย่าง ขายพลุ ดอกไม้ไฟ ฯลฯ ถือเป็นย่านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีทั้งขุนนาง ข้าราชบริพาร ปลูกสร้างบ้านเรือนพักอาศัยอยู่นอกกำแพงพระนคร รวมทั้งมีชุมชนเรือนแพอยู่ในคลองโอ่งอ่าง โดยมีป้อมที่สร้างขึ้นตามกำแพงพระนครในสมัยนั้นรวม 14 ป้อม (เหลือปัจจุบันเพียง 2 ป้อม คือ ป้อมมหากาฬและป้อมพระสุเมรุ)
ปัญหาที่ชุมชนป้อมมหากาฬได้รับผลกระทบเป็นผลจากโครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬเพื่อจัดทำเป็นสวนสาธารณะและอนุรักษ์โบราณสถานของชาติตั้งแต่ปี 2502 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์ ทำให้ต้องมีการรื้อถอนบ้านและย้ายชุมชนที่อยู่ในแนวกำแพงป้อมมหากาฬออกทั้งหมด เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และทำเป็นสวนสาธารณะแต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ ต่อมา กทม.ทำการเวนคืนที่ดินในปี 2535 ตั้งแต่นั้นก็มีปัญหาไล่รื้อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีชาวบ้านบางส่วนที่รับเงินค่าเวนคืนไปแล้ว แต่ชาวชุมชนส่วนใหญ่ต่อสู้และคัดค้านมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปี 2546 กทม.ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาเพื่อปิดล้อมเตรียมการไล่รื้อ แต่ชาวชุมชนและเครือข่ายคูคลองหลายร้อยคนได้คล้องแขนเป็นกำแพงมนุษย์ปิดกั้นไม่ให้เจ้าหน้าที่บุกเข้าไป ต่อมาในปี 2547 ชาวชุมชนยื่นฟ้อง กทม.ต่อศาลปกครอง ศาลปกครองพิพากษาในเวลาต่อมาให้ กทม. มีสิทธิในการเวนคืนเพื่อพัฒนาที่ดิน
เมื่อปี 2560 มีการประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่ายระหว่างกรุงเทพมหานคร ผู้แทนชุมชนป้อมมหากาฬ ผู้แทนภาคประชาสังคม และฝ่ายความมั่นคงช่วยเดือน เม.ย. - ก.ค. โดยกลุ่มนักวิชาการเสนอแนวทางการพิจารณาอนุรักษ์บ้านผ่านคุณค่าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์, ด้านศิลปะ สถาปัตยกรรมและผังเมือง, ด้านสังคมและวิถีชีวิต, ด้านโบราณคดี และด้านวิชาการ ซึ่งข้อตกลงในตอนนั้นได้ตกลงกันว่าจะให้เก็บบ้านในชุมชนเอาไว้จำนวน 18 หลัง
เมื่อ 7 ก.ค. 2560 ยุทธพันธุ์ มีชัย เลขานุการผู้ว่าราชการ กทม. ตัวแทนพูดคุยประเด็นป้อมมหากาฬของทาง กทม. ระบุว่าไม่สามารถเก็บบ้านไว้ได้ทุกหลัง และแบ่งบ้านเป็นโซนที่จะอนุรักษ์และโซนที่จะต้องรื้อ ก่อนที่จะนำข้อเสนอดังกล่าวให้ทาง กทม. พิจารณาต่อไป แต่หลังจากนั้นก็มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเมืองขึ้นมาและได้ตัดสินให้คงบ้านไว้เพียง 7 หลัง ทั้งนี้ การเก็บบ้านไม่ได้หมายความว่าจะให้เจ้าบ้านอยู่อาศัยในบ้านได้ต่อไป
ในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของในหลวง ร.9 พื้นที่หัวป้อมถูกนำไปใช้เป็นห้องครัวและห้องสุขา และหลังจากพระราชพิธีฯ ในเดือน พ.ย. 2560 หน่วยทหาร-พลเรือน ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในของกรุงเทพฯ (กอ.รมน.กทม.) เข้าไปตั้งเต็นท์อาศัยในลานกลางชุมชน โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อปราบปรามการลักลอบการจำหน่ายพลุไฟ
ก่อนหน้าที่ชาวชุมชนชุดสุดท้ายจะย้ายออกมา มีชาวชุมชนป้อมมหากาฬส่วนหนึ่งได้ย้ายไปอาศัยอยู่ที่สถานพักพิงชั่วคราวที่การประปาเก่าบริเวณแม้นศรี ชาวชุมชนดังกล่าวเป็นกลุ่มที่ย้ายออกไปก่อนแล้ว เมื่อเดือน ม.ค. มีชาวชุมชนไปอาศัยที่การประปาประมาณ 60 คน โดยจะมีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อไปกู้เงินกับสภาพัฒนาองค์กรชุมชนหรือ พอช. ซื้อที่ดินและปลูกบ้านบริเวณเกียกกาย ร่วมกับชุมชนทอผ้าที่จะย้ายไปอยู่ที่เดียวกัน
แสดงความคิดเห็น