Posted: 19 Aug 2018 07:53 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sun, 2018-08-19 21:53


อนินท์ญา​ ขันขาว

อำนาจนิยมกับสังคมไทยเป็นของคู่กันอย่างปฏิเสธไม่ได้​ ผู้ที่มีอำนาจมาก​ จะมีการกดขี่คุกคามผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่าในหลายๆเรื่อง​ ซึ่งสืบเนื่องมาจากการที่สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการอุปถัมภ์​ตั้งแต่อดีตจนถึง​ปัจจุบัน​ มีความสัมพันธ์​ที่เหลื่อมล้ำในทุกสถาบัน​ ตั้งแต่สถาบันครอบครัวที่พ่อมักจะเป็นใหญ่(The​ rule of​ father)​ สถาบันการศึกษา​ที่ต้องเชื่อฟังครู​ ระบบการรับน้อง​ที่มีการใช้อำนาจนิยม​จากรุ่นต่อรุ่น​ สถาบันเศรฐกิจ​ รวยกระจุกจนกระจาย​ สถาบันสังคม​ ที่ต้องเคารพผู้ใหญ่เชื่อฟังผู้อวุโส​ ตำแหน่งหน้าที่ยศศักดิ์​ ​การมีอิทธิพล​ ประเด็นที่น่าสนใจคือค่านิยมของสังคมเรื่อง​ เพศ​สภาพ(gender) ที่มีการใช้อำนาจต่อเพศชายและเพศหญิงอย่างไม่เท่าเทียมกันในหลายๆมิติของสังคมไทย​ ด้วยสภาพเหล่านี้สามารถอธิบายได้ว่า​แหล่งการมีอำนาจทั้งในรูปแบบ​ อำนาจหน้าที่(authority)​ อำนาจ(Power)​ เกิดจากปัจจัยหลายๆอย่าง​ เช่น​ วงศ์​ตระกูล​ รสนิยม​ ระดับการศึกษา​ ชื่อสถาบันการศึกษา​ ตำแหน่งหน้าที่​ มวลชน​ วัฒนธรรม​ ค่านิยมของสังคมและอีกมากมายที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งมีอำนาจที่เหนือกว่า​ ซึ่งแท้จริงแล้วถือว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง(Structure​ of​ Society)

อำนาจที่เหนือกว่า(Power​ over)​ เป็นอำนาจที่เป็นการควบคุม เอาเปรียบ​ แสวงหาอำนาจ​ และเป็นอำนาจหนึ่งที่มีมากที่สุดในสังคมไทย​ ถ้าเปรียบเทียบจาก​ 1. การใช้อำนาจร่วม​ (Power​ sharing)​คือ​ การรับฟัง​ ปรึกษา​ สนับสนุน​ ซึ่งกันและกัน​ 2.อำนาจภายใน(Power with​in)คือ​ การรับมือ​ กับปัญหา​ อุปสรรค​และความท้าทายด้วยตัวเองโดยใช้ทักษะความสามารถ​ของตนเอง​ อำนาจที่เหนือกว่า​ สามารถมองในหลายมิติ​ ซึ่งผู้เขียนจะมองใน ระดับอำนาจ(Power​ level)​ 3ระดับ​ คือ​

1.ระดับครอบครัว​ จะมีการใช้อำนาจผ่าน​อำนาจหน้าที่(authority)​และอำนาจ(Power)​โดยผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าคือ​ พ่อ​ แม่จะใช้อำนาจทั้ง2อย่าง​ ต่อลูก​ ในการตีกรอบหรือตัดสินใจแทนเช่น​ เรื่องเรียน​ คู่ครอง​ ​ การปลูกฝังค่านิยมความเชื่อ​ หรือวัฒนธรรม​อันดีงามต่อลูก​ ทั้งด้านบวกและบางเรื่องเป็นด้านลบ​ นอกจากนี้ประเด็นที่น่าสนใจในการสร้างค่านิยมเรื่องเพศ​หญิงเพศชายสังคมไทยมักจะยึด2เพศเป็นหลักผ่านกระบวนการขัดเกลา​ในครอบครัว​เองและสังคมคือมักจะแบ่งเพศให้เห็นหลายเรื่อง​ เช่น​ การใช้หางเสียง​ คะค่ะกับครับ​ การแต่งกายผู้หญิงต้องมาคู่กับสีชมพู​ การเล่นของเด็กผู้หญิงต้องเล่นขายของ​ เล่นเป็นแม่ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการหล่อหลอมและการใช้อำนาจหน้าที่ของพ่อแม่ในการสร้างคนออกมาตามแนวทางที่อยากให้เป็นมากกว่าปล่อยให้เด็กมีเสรีภาพในการเลือกดำเนินชีวิตของตนเอง​ เลือกเอง​ อีกประการที่น่าสนใจคือ​ การที่เกิดมาแล้วถูกระบุเพศชายหญิง​ หรือศาสนา​ตามพ่อหรือแม่ลงในบัตรประชาชน​ เป็นต้น​

2.ระดับการศึกษา​และการทำงาน​ แน่นอนว่าสังคมมีการใช้อำนาจแบบเส้นแนวดิ่งการบังคับบัญชา​(Hirachy)​ ทำให้มีความสัมพันธ์​ในแบบของ​ หัวหน้า​ ลูกน้อง​ อาจารย์​ นักศึกษา​ รุ่นพี่รุ่นน้อง​ นอกจากนี้ยังมีการใช้อำนาจในเรื่องของรสนิยม​ การใช้ของแบรนด์เนม​ในการเหยียดกันโดยเฉพาะในสังคมวัยทำงาน​ การเหยียดทางเพศ​โดยที่สังคมยังมีค่านิยมผู้ชายนำอยู่​ ในระบบการศึกษาเอง​ หัวหน้าห้อง​ หัวหน้างาน​ ผู้บริหารมักจะเป็นผู้ชาย​ พี่ว้ากส่วนใหญ่​ก็เป็นผู้ชาย​ ทำให้บทบาทของผู้หญิงก็ยังคงไม่เท่ากับผู้ชายในปัจจุบัน​ หรือการทำงานเอง​ หลายอาชีพก็เลือกปฏิบัติกับผู้หญิงหรือผู้ที่ข้ามเพศ​(Transgender) ด้วยการกำหนดไว้ในคุณสมบัติ​ ด้วยอำนาจของผู้ชายที่มีมากกว่าในสังคม​ จึงถูกมองว่าอาชีพทหาร​ ตำรวจ​ เป็นของเพศชาย​

3.ระดับสังคม​ ซึ่งค่อนข้างกว้างหากมองในเรื่องอำนาจจะมีคนที่มีอำนาจมาก​ เนื่องจากปัจจัย​หลายๆอย่าง​ เช่นวงศ์​ตระกูล​ ตำแหน่งหน้าที่​ ฐานะทางเศรษฐกิจ​ ทำให้คนกลุ่มนี้สามารถใช้อำนาจและอิทธิพล​กระทำต่อคนกลุ่มหนึ่งได้​อย่างง่ายดาย​ ในมิติการเมืองปัจจุบันนี้​ก็มีการใล้อำนาจนิยมอย่างเห็นได้ชัดเจนในยุคเผด็จการนี้มีกฏหมายหลายมาตราที่ปกป้องคุมครองผู้มีอำนาจไว้ทำให้การเคลื่อนไหวในประเด็นทางการเมืองหรือการชุมนุมทำได้ยาก​ ซึ่งมันค่อนข้างสะท้อนให้เห็นว่า​สังคมไทยในขณะนี้มีอำนาจหนึ่งที่ครอบงำคนในชาติไว้​ และอีกอำนาจหนึ่งทางโครงสร้างที่ควบคุมคนไว้ใต้กรอบของสิ่งที่เรียกว่า​ ค่านิยมความเชื่อ​ของคนในสังคม​ ที่ยังคงการอุปถัมภ์​และระบบเส้นสายไว้ทำให้การใช้อำนาจทั้งทางบวกและทางลบ​ ผูกขาดไว้กับคนเหล่านี้​ มิติทางเศรษฐกิจ​เองคนมีทรัพย์สิน​ มีธุระ​กิจมากก็ผูกขาดในสังคมมากเพราะมีอำนาจในการต่อรองมากกว่า​ มีเงินมากก็มีอิทธิพล​มาก​ หากมองในมิติทางเพศวิถี​ ซึ่งก็สืบเนื่องมาจากครอบครัว​ สถานศึกษา​ การการขัดเกลาทางสังคม(Socialization)​ รวมไปถึงการปลูกฝัง​จนเป็นความเชื่อ(Internalization)​ ทำให้การยอมรับในเรื่องเพศทางสังคมในด้าน​ การมองเพศสภาพอื่น​แตกต่างไปไม่เหมือนกับความคิดเดิมว่ามี2เพศ​ แต่ก็มีการพัฒนาและยอมรับมากขึ้นจากในอดีต​ แต่ก็ยังคงมีกลุ่มความเชื่อ​ ทัศนคติ​เดิมหลงเหลืออยู่อย่างแน่นอนในสังคมจะไม่ค่อยพูดในเรื่องเพศ​ การซื้อถุงยางอนามัย​ หรือการให้ความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์​ในครอบครัว​ หรือบางโรงเรียน​ และค่านิยมความเสียสละที่คนมักจะวิจารณ์​ถึงในเรื่องการสละที่นั่งให้เพศหญิง​ การใล้สำน​วน​ คำที่ดูถูกดูแคลน​ผู้หญิง​ ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง​ รักนวลสงวนตัวเป็นต้น​ มีการเชื่อมโยงถึงศาสนา​ผู้หญิงกับประจำเดือนเป็นของต่ำ​ มีพื้นที่ที่ผู้หญิงไม่สามารถเข้าได้​ แต่อวัยวะเพศ​ของผู้ชายถูกกราบไว้บูชา​ มันแสดงให้เห็นว่าค่านิยมและการขัดเกลาของสังคมไทยมันเกิดขึ้นตั้งแต่เกิดโดยการใช้อำนาจในครอบครัวในการกำหนดหรือครอบงำความคิด​ เมื่อไปสู่สถาบันการศึกษา​ การทำงาน​ สังคม​ ก็จะมีลักษณะ​แนวคิดคล้ายๆกัน

การสะท้อนความคิด​ ความเชื่อ​ในการแบ่งงานทางสังคม​เชิงเพศภาวะ​ (Gender​ structure)​ คือการที่สังคมมีวัฒนธรรม​ค่านิยมในเรื่องเพศเกี่ยวกับ​ การกำหนดบทบาทหน้าที่ผ่านการประกอบอาชีพ​ โดยผู้หญิง​มีความเท่าเทียมไม่เท่ากับผู้ชายแม้ว่าจะมีความพยายาม​ทำให้เท่ากันแต่​ ในความเป็นจริงจากอดีตจนถึง​ปัจจุบัน​เห็นได้ว่า​ ผู้ชายมักจะมีบทบาทหน้าที่ในตำแหน่งที่เหนือกว่าและมีรายได้มากกว่าผู้หญิง​ เช่นผู้บริหารระดับสูง​ นักการเมือง​ ข้าราชการตำแหน่งสูงๆ​ แพทย์​ ผู้พิพากษา​ เป็นต้น​ ในขณะเดียวกันผู้หญิงประกอบอาชีพบริการ​ ทั้งนวดแผนโบราณ​ ช่างตัดผม​ ร้านเสริมสวย​ ซึ่งรายได้ไม่มากเท่าผู้ชาย​ แสดงให้เห็นถึงอำนาจทางเพศที่ผู้ชายมักมีพลังบางอย่างที่อยู่สูงกว่าผู้หญิง​ อีกด้านหนึ่งในเรื่องพื้นที่​ ในพื้นที่ส่วนตัว​(Private spare)​ผู้หญิงถูกกดอยู่ในกรอบอำนาจของสังคมที่ต้องอยู่บ้าน​ เลี้ยงลูก​ แต่ผู้ชายมักออกไปทำงานปฏิสัมพันธ์​กับผู้คนในพื้นที่สาธารณะ(Public​ spare)​มากกว่า​ ถึงแม้ว่าสังคมกำลังเปลี่ยนแต่ค่านิยมวัฒนธรรม​ของสังคมยังคงเป็นลักษณะ​นี้

สังคมไทยคงหนีคำว่าอำนาจนิยมไม่ได้อย่างแน่นอนเพราะค่อนข้างที่จะฝังรากลึกในทุกช่วงชีวิตตั้งแต่เกิดจนสิ้นชีวิต​ จะถูกหล่อหลอมตามระบบการอุปถัมภ์​ ชนชั้น​ และค่านิยมในสังคมแบบผิดๆจนนำมาสู่การ​ ไดอำนาจในระดับต่างๆ​ และถูกผลิตซ้ำผ่านสำน​วน​ สื่อ​ ความเชื่อ​ ประเพณี​ วัฒนธรรม​ แน่นอนว่าการหายไปของสังคมชายเป็นใหญ่อาจจะต้องใช้เวลาในระดับหนึ่ง​ ​ Berenice fisher อธิบายว่าการกระทำเหล่านี้เกิดจากการผลิตซ้ำๆ​ อาจเรียกว่าการมอมเมาเบ็ดเสร็จ​ เพื่อยกระดับทางจิตสำนึก​ โดยสังคมและวัฒนธร​รม​ สร้างประสบการณ์และความรู้สึกนั้นขึ้นมา​ สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหา​ค่อนข้างยากน่าจะต้องแก้ไขในเชิงโครงสร้าง​ โดยเฉพาะค่านิยมของสังคมที่อาจจะต้องมองและเปลี่ยนทัศนคติ​ใหม่​ สถาบันครอบครัว​ การศึกษา​ เศรษฐกิจ​ สังคม​ ต้องปลูกฝัง​และสร้างพลเมืองที่เกิดมาใหม่ให้มีทัศนคติ​ที่ดี​ ใช้อำนาจในทางที่ควรจะเป็น​ สร้างและขัดเหกลาคนรุ่นหลังใหม่​ รวมไปถึงกฎหมายหลายข้อเกี่ยวกับการกำหนดสถานะภาพทางเพศเองก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยน​





อ้างอิง:
1.การแลกเปลี่ยน“เปลี่ยนมุมคิด สะกิดการเปลี่ยนแปลง: เพศสภาวะ เพศวิถี และความเป็น
ธรรมทางสังคม” ภายใต้โครงการ Young Feminist Thailand รุ่น 2
2.​การศึกษา​ของผู้หญิง​ ตัวตนและพื้นที่ความรู้​ รศ.ดร.นงเยาว์​ เนาวรัตน์

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.