Posted: 16 Aug 2018 12:02 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Thu, 2018-08-16 14:02
อดีตประธานฝ่ายเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของกูเกิลวิจารณ์การที่กูเกิลมีแผนการเปิดให้บริการเครื่องมือค้นหาในจีนฉบับที่มีการเซนเซอร์แล้ว โดยระบุว่ามันเป็นการดำเนินการที่ 'โง่เขลา' และอาจจะเป็นการล่วงละเมิดหลักการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทตัวเอง
16 ส.ค. 2561 จากเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมามีรายงานข่าวเรื่องที่กูเกิลซุ่มพัฒนาเครื่องมือค้นหาให้กับจีนอย่างเงียบๆ โดยจะมีการเซนเซอร์เนื้อหาที่รัฐบาลเผด็จการจีนเห็นว่าอ่อนไหวสำหรับพวกเขาด้วย เช่น เรื่องเกี่ยวกับศัตรูทางการเมืองของพวกเขา, เรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน และการประท้วงอย่างสันติ โดยจะทำให้เนื้อหาต่างๆ ในบัญชีที่รัฐบาลจีนระบุไว้ไม่ปรากฏต่อผู้ใช้งาน
ผู้ที่วิจารณ์เรื่องนี้คือ ล็อกมาน จุ่ย ผู้เคยดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของเอเชียและภาคพื้นแปซิฟิกช่วงปี 2554-2557 เขาได้อ่านแผนการเซนเซอร์ของกูเกิลในจีนที่รั่วไหลออกมาแล้วก็บอกว่าเขาไม่สบายใจกับกับแผนการนี้และบอกว่า "นี่เป็นความคิดที่แย่จริงๆ เป็นการดำเนินการที่แสนจะโง่เขลา" ทำให้จุ่ยเลือกจะออกมาพูดในเรื่องนี้
ก่อนหน้านี้ในปี 2549 กูเกิลเคยให้บริการระบบค้นหาในจีนแบบที่เซนเซอร์แล้วมาก่อน แต่ก็ถอนตัวออกไปในปี 2553 โดยอ้างว่ารัฐบาลจีนพยายามปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น บล็อกเว็บไซต์ และแฮ็กระบบคอมพิวเตอร์ของกูเกิล จุ่ยบอกว่าในปี 2553 เป็นต้นมาสถานการณ์อินเทอร์เน็ตในจีนก็แย่ลงกว่าเดิมจากการที่จีนออกกฎหมายความมั่นคงในชาติและกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ที่ทำให้เกิดการเซนเซอร์จากรัฐบาลและการสอดแนมอินเทอร์เน็ตจากรัฐบาลจีนเพิ่มมากขึ้น
ในแง่ของการทำสัญญากับจีนแล้ว จุ่ยวิจารณ์ว่าเขามองไม่ออกเลยว่ากูเกิลจะเจรจาอย่างไรให้กลายเป็นผลประโยชน์ทางบวกกับกูเกิลได้ ขณะที่จีนไม่มีอะไรจะเสียและมีอำนาจกำหนดสัญญาให้เป็นไปในทางที่พวกเขาต้องการได้มากกว่า จึงแทบไม่มีทางเลยที่กูเกิลจะดำเนินการในจีนได้โดยที่ไม่ละเมิดมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล
ถึงแม้ว่าจุ่ยจะออกจากกูเกิลแล้วและในปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งฮ่องกงในสายวารสารศาสตร์ แต่เขาก็ยังจับตามองประเด็นสิทธิมนุษยชนในจีนอย่างใกล้ชิด การที่กูเกิลจะกลับไปจับมือกับจีนในฐานะผู้ให้บริการเสิร์จเอนจิ้นนี้จะทำให้ถูกมองในทางการเมืองว่าพวกเขาหันกลับไปสนับสนุนนโยบายการเซนเซอร์ของจีนหลังจากที่เคยแสดงตัวต่อต้านมาก่อนหน้านี้ แทนที่จะแสดงจุดยืนหนักแน่นในการเป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่การยอมตามจีนในคราวนี้จะทำให้ตัวตนของกูเกิลกลายเป็นเพียงแค่บริษัทโปรแกรมค้นหาเท่านั้น
หลังจากที่กูเกิลเปิดเผยการเสิร์จเอนจินเซนเซอร์ในจีนที่มีชื่อรหัสโครงการว่า "ดรากอนฟลาย" หรือ "แมลงปอ" ทำให้พนักงานกูเกิลหลายสาขาทั่วโลกไม่พอใจและสับสน แต่กูเกิลก็ไม่ยอมสื่อสารรับฟังใดๆ กับพนักงานและบอกออกสื่อแค่ว่าจะไม่อภิปรายเรื่องแผนการในอนาคตของพวกเขาเพิ่มเติม ทางด้านจุ่ยบอกว่าเขาจะไม่แปลกใจถ้าหากมีพนักงานกูเกิลลาออกเพราะเรื่องนี้ เพราะมีพนักงานกูเกิลจำนวนมากที่ยังคงเชื่อในค่านิยมหลักของกูเกิลอย่าง "คุณทำเงินได้โดยไม่จำเป็นต้องทำชั่ว" หรือ "ประชาธิปไตยบนเว็บใช้การได้"
ไม่เพียงแค่พนักงานกูเกิลในอดีตและปัจจุบันเท่านั้นที่แสดงความกังวลในเรื่องนี้ มีกลุ่มวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ ทั้งสองพรรคการเมืองรวมถึงกลุ่มสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มแสดงความกังวลในเรื่องที่ไม่ใช่แค่การเซนเซอร์เท่านั้น แต่การทำสัญญากับจีนตามกฎหมายแล้วจะบีบให้กูเกิลต้องลงไปตั้งศูนย์ข้อมูลและเซอร์เวอร์ในพื้นที่จีนแผ่นดินใหญ่ เมือ่ดูจากประวัติการใช้อำนาจสอดแนมการสื่อสารและจับกุมนักข่าวกับนักกิจกรรมในจีนแล้ว ทำให้เรื่องนี้น่าเป็นห่วง
เรียบเรียงจาก
GOOGLE CENSORSHIP PLAN IS “NOT RIGHT” AND “STUPID,” SAYS FORMER GOOGLE HEAD OF FREE EXPRESSION, The Intercept, 11-08-2018
https://theintercept.com/2018/08/10/google-censorship-plan-is-not-right-and-stupid-says-former-google-head-of-free-expression/
[full-post]
Submitted on Thu, 2018-08-16 14:02
อดีตประธานฝ่ายเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของกูเกิลวิจารณ์การที่กูเกิลมีแผนการเปิดให้บริการเครื่องมือค้นหาในจีนฉบับที่มีการเซนเซอร์แล้ว โดยระบุว่ามันเป็นการดำเนินการที่ 'โง่เขลา' และอาจจะเป็นการล่วงละเมิดหลักการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทตัวเอง
16 ส.ค. 2561 จากเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมามีรายงานข่าวเรื่องที่กูเกิลซุ่มพัฒนาเครื่องมือค้นหาให้กับจีนอย่างเงียบๆ โดยจะมีการเซนเซอร์เนื้อหาที่รัฐบาลเผด็จการจีนเห็นว่าอ่อนไหวสำหรับพวกเขาด้วย เช่น เรื่องเกี่ยวกับศัตรูทางการเมืองของพวกเขา, เรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน และการประท้วงอย่างสันติ โดยจะทำให้เนื้อหาต่างๆ ในบัญชีที่รัฐบาลจีนระบุไว้ไม่ปรากฏต่อผู้ใช้งาน
ผู้ที่วิจารณ์เรื่องนี้คือ ล็อกมาน จุ่ย ผู้เคยดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของเอเชียและภาคพื้นแปซิฟิกช่วงปี 2554-2557 เขาได้อ่านแผนการเซนเซอร์ของกูเกิลในจีนที่รั่วไหลออกมาแล้วก็บอกว่าเขาไม่สบายใจกับกับแผนการนี้และบอกว่า "นี่เป็นความคิดที่แย่จริงๆ เป็นการดำเนินการที่แสนจะโง่เขลา" ทำให้จุ่ยเลือกจะออกมาพูดในเรื่องนี้
ก่อนหน้านี้ในปี 2549 กูเกิลเคยให้บริการระบบค้นหาในจีนแบบที่เซนเซอร์แล้วมาก่อน แต่ก็ถอนตัวออกไปในปี 2553 โดยอ้างว่ารัฐบาลจีนพยายามปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น บล็อกเว็บไซต์ และแฮ็กระบบคอมพิวเตอร์ของกูเกิล จุ่ยบอกว่าในปี 2553 เป็นต้นมาสถานการณ์อินเทอร์เน็ตในจีนก็แย่ลงกว่าเดิมจากการที่จีนออกกฎหมายความมั่นคงในชาติและกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ที่ทำให้เกิดการเซนเซอร์จากรัฐบาลและการสอดแนมอินเทอร์เน็ตจากรัฐบาลจีนเพิ่มมากขึ้น
ในแง่ของการทำสัญญากับจีนแล้ว จุ่ยวิจารณ์ว่าเขามองไม่ออกเลยว่ากูเกิลจะเจรจาอย่างไรให้กลายเป็นผลประโยชน์ทางบวกกับกูเกิลได้ ขณะที่จีนไม่มีอะไรจะเสียและมีอำนาจกำหนดสัญญาให้เป็นไปในทางที่พวกเขาต้องการได้มากกว่า จึงแทบไม่มีทางเลยที่กูเกิลจะดำเนินการในจีนได้โดยที่ไม่ละเมิดมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล
ถึงแม้ว่าจุ่ยจะออกจากกูเกิลแล้วและในปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งฮ่องกงในสายวารสารศาสตร์ แต่เขาก็ยังจับตามองประเด็นสิทธิมนุษยชนในจีนอย่างใกล้ชิด การที่กูเกิลจะกลับไปจับมือกับจีนในฐานะผู้ให้บริการเสิร์จเอนจิ้นนี้จะทำให้ถูกมองในทางการเมืองว่าพวกเขาหันกลับไปสนับสนุนนโยบายการเซนเซอร์ของจีนหลังจากที่เคยแสดงตัวต่อต้านมาก่อนหน้านี้ แทนที่จะแสดงจุดยืนหนักแน่นในการเป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่การยอมตามจีนในคราวนี้จะทำให้ตัวตนของกูเกิลกลายเป็นเพียงแค่บริษัทโปรแกรมค้นหาเท่านั้น
หลังจากที่กูเกิลเปิดเผยการเสิร์จเอนจินเซนเซอร์ในจีนที่มีชื่อรหัสโครงการว่า "ดรากอนฟลาย" หรือ "แมลงปอ" ทำให้พนักงานกูเกิลหลายสาขาทั่วโลกไม่พอใจและสับสน แต่กูเกิลก็ไม่ยอมสื่อสารรับฟังใดๆ กับพนักงานและบอกออกสื่อแค่ว่าจะไม่อภิปรายเรื่องแผนการในอนาคตของพวกเขาเพิ่มเติม ทางด้านจุ่ยบอกว่าเขาจะไม่แปลกใจถ้าหากมีพนักงานกูเกิลลาออกเพราะเรื่องนี้ เพราะมีพนักงานกูเกิลจำนวนมากที่ยังคงเชื่อในค่านิยมหลักของกูเกิลอย่าง "คุณทำเงินได้โดยไม่จำเป็นต้องทำชั่ว" หรือ "ประชาธิปไตยบนเว็บใช้การได้"
ไม่เพียงแค่พนักงานกูเกิลในอดีตและปัจจุบันเท่านั้นที่แสดงความกังวลในเรื่องนี้ มีกลุ่มวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ ทั้งสองพรรคการเมืองรวมถึงกลุ่มสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มแสดงความกังวลในเรื่องที่ไม่ใช่แค่การเซนเซอร์เท่านั้น แต่การทำสัญญากับจีนตามกฎหมายแล้วจะบีบให้กูเกิลต้องลงไปตั้งศูนย์ข้อมูลและเซอร์เวอร์ในพื้นที่จีนแผ่นดินใหญ่ เมือ่ดูจากประวัติการใช้อำนาจสอดแนมการสื่อสารและจับกุมนักข่าวกับนักกิจกรรมในจีนแล้ว ทำให้เรื่องนี้น่าเป็นห่วง
เรียบเรียงจาก
GOOGLE CENSORSHIP PLAN IS “NOT RIGHT” AND “STUPID,” SAYS FORMER GOOGLE HEAD OF FREE EXPRESSION, The Intercept, 11-08-2018
https://theintercept.com/2018/08/10/google-censorship-plan-is-not-right-and-stupid-says-former-google-head-of-free-expression/
แสดงความคิดเห็น