Posted: 11 Dec 2018 07:19 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Tue, 2018-12-11 22:19
สุรพศ ทวีศักดิ์
รัฐประหาร 2549 และ 2557 เกิดไม่ได้ถ้าไม่มีมวลชนสนับสนุน และรัฐบาลเผด็จการทหารก็อยู่ยาวไม่ได้ถ้าไม่มีประชาชนสนับสนุน แต่มวลชนหรือประชาชนที่สนับสนุนรัฐประหารและรัฐบาลเผด็จการไม่ใช่คนต่างจังหวัด คนชนบทที่ถูกปรามาสว่า “ไม่รู้ประชาธิปไตย” และขายสิทธิ์ขายเสียง หากมวลชนและประชาชนที่ส่วนใหญ่ที่สนับสนุนรัฐประหารและรัฐบาลเผด็จการกลับเป็นชนชั้นกลางในเมือง ปัญญาชน นักวิชาการ สื่อมวลชนบางส่วน
การปรามาสว่าคนต่างจังหวัด คนชนบทไม่รู้ประชาธิปไตย ขายสิทธิ์ขายเสียง หรือเลือกนักการเมืองไร้คุณภาพ เป็น “มายาคติ” ที่สร้างขึ้นอย่างไม่พิจารณาข้อเท็จจริงว่า นักการเมืองที่คนกรุงเทพฯ เลือกกับนักการเมืองที่คนต่างจังหวัดเลือกก็ไม่ได้มีคุณภาพต่างกันเลย เช่นถ้าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคือนักการเมืองที่คนกรุงเทพฯ เลือก กับทักษิณ ชินวัตรที่คนต่างจังหวัดเลือก ถามว่าใครมีคุณภาพมากกว่ากัน ก็ย่อมจะเถียงกันได้มาก
แท้จริงแล้ว การเถียงว่าคนกรุงเทพฯ กับคนต่างจังหวัด ใครรู้ประชาธิปไตยดีกว่า หรือเลือกนักการเมืองที่มีคุณภาพดีกว่าเป็น “ปัญหาปลอมๆ” ที่สร้างขึ้นเพื่อเป้าหมายทางการเมืองเท่านั้น แต่ในสังคมการเมืองไทยที่ชนชั้นกลางในเมืองมีอำนาจการสื่อสารเหนือกว่า หรือ “เสียงดังกว่า” มายาวนาน การผลิตและผลิตซ้ำปัญหาปลอมๆ ดังกล่าวมักจะทำให้บรรลุผลในทางการเมืองเสมอมา
ธีรยุทธ บุญมี คือปัญญาชนสาธารณะระดับแถวหน้าที่เรียกได้ว่าเป็น “ตัวแทน” เสียงที่ดังกว่าของชนชั้นกลางในเมืองตลอดกว่า 10 ปี ในวิกฤตการเมืองไทย ในช่วงการชุมนุมขวางเลือกตั้งต้นปี 2557 เขาเสนอ “ทฤษฎีมะม่วงหล่น” เชียร์การชุมนุมของ กปปส.ว่า เป็นการปฏิวัติแบบใหม่ที่เรียกว่า “สันติภิวัฒน์” ที่ทุกภาคส่วนมุ่งปฏิรูปทุกโครงสร้าง ทำลายโครงสร้างที่เป็นปัญหา และพูดถึงทักษิณว่าเป็นเสมือน “พญาแร้งดำหิมาลัย” ที่กินได้ทั้งเนื้อสด เนื้อเน่า เนื้อปรุง และมีสายตาที่มองได้ไกล หาทางกินได้ตลอดไม่ว่าประเทศจะพังพินาศหรือเศรษฐกิจรุ่งเรือง (ดู https://www.dailynews.co.th/article/209099)
ล่าสุดธีรยุทธวิพากษ์การเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เขาพูดถึงสิ่งที่ประยุทธ์ จันโอชาทำว่า คือการสัมปทานคะแนนเสียงเป็นรัฐบาล ซึ่งเป็นการก๊อปี้ “ระบอบทักษิณ” มา (ดู https://www.matichon.co.th/politics/news_1266311?fbclid=IwAR23nh2NZSDrwe0xAak_Wknrgt5ZsikpMM_FdtLefp7q_Ra_DDp8Q4kZ0jo) ทำให้เกิด
คำถามว่า อะไรคือจุดยืนในการวิจารณ์การเมืองของธีรยุทธกันแน่
หากจุดยืนคือ “ประชาธิปไตย” ก็ย่อมชวนให้สงสัยว่า ที่ธีรยุทธเคยเสนอ “ตุลาการภิวัฒน์” ให้ตุลาการ องคมนตรี และ “บุคคลผู้มีบารมี” (คำของธีรยุทธ) คานอำนาจนักการเมืองจากระบบเลือกตั้งนั้นเป็นประชาธิปไตยแบบไหนกัน เพราะเกจิการเมืองอย่างธีรยุทธย่อมรู้อยู่แล้วว่า กลุ่มอำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้ที่เขาเสนอมาคานอำนาจนักการเมืองนั้น คือฝ่ายที่มี “อำนาจนำทางการเมือง” (political hegemony) ตามเป็นจริงเหนือกว่านักการเมืองที่ประชาชน “มีสิทธิ์เลือก” มายาวนาน
หากจุดยืนคือ “เสรีภาพ” ก็ไม่เห็นธีรยุทธพูดถึงคนแบบไผ่ ดาวดิน และคนระดับชาวบ้านธรรมดาอีกจำนวนมากที่ติดคุก รวมทั้งนักวิชาการ สื่อมวลชน นักเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกหลายคนที่ต้องไปลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ คนเหล่านี้ถูกเผด็จการย่ำยีเสรีภาพ เป็นเสมือน “แพะ” บูชายัญเกมบริหารอำนาจของชนชั้นนำเท่านั้น เพราะพวกเขาสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย ไม่ได้สู้เพื่อมีอำนาจและตำแหน่งทางการเมืองแต่อย่างใด
เมื่อดูจากการพูดครั้งล่าสุด ทำให้เกิดคำถามอีกว่า จุดยืนของธีรยุทธคือ “ปฏิเสธคอร์รัปชัน” จริงหรือ เพราะเขาพูดถึงปัญหาทุจริตในรัฐบาล คสช.แค่เรื่อง “นาฬิกาของพี่ใหญ่” เท่านั้น ขณะที่พูดถึงเรื่องที่ส่อทุจริตการเลือกตั้งครั้งหน้าว่าเป็นการก๊อปปี้ระบอบทักษิณ ทำให้เห็นได้ว่า จุดยืนของธีรยุทธน่าจะอยู่ที่การปฏิเสธสิ่งที่เขาเรียกว่า “ระบอบทักษิณ” เป็นด้านหลัก
สำหรับธีรยุทธแล้ว สิ่งที่เรียกว่าระบอบทักษิณเป็นเหมือน “โมเดล” ของความเลวร้ายทั้งปวง เมื่อพูดถึงทุจริตเลือกตั้ง ก็มีแต่ทักษิณเท่านั้นที่ซื้อเสียง พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคอื่นๆ ไม่ซื้อ? (เพราะไม่เห็นธีรยุทธพูดถึง) การคอร์รัปชันก็มีแต่ทักษิณเท่านั้น หรือไม่การคอร์รัปชันในประเทศนี้ก็เกิดจาก “ทักษิณโมเดล” เท่านั้น ส่วนระบบอำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้ธีรยุทธไม่เคยมีคำถามถึงความโปร่งใสและการคอร์รัปชันเลย แม้แต่รัฐบาล คสช.ที่อยู่ยาวเกิน 4 ปี ทำโครงการใหญ่ๆ ใช้งบประมาณแผ่นดินมหาศาลกว่ายุคทักษิณมาก ธีรยุทธก็ไม่เคยมีคำถามถึงเรื่องคอร์รัปชัน (นอกจากเรื่องนาฬิกา) ที่ตั้งผมถามเช่นนี้ เพราะตอนออกมาเชียร์ กปปส.ธีรยุทธกล่าวหาแบบ “เหมารวม” ว่าอีกฝ่ายที่เลือกพรรคการเมืองของทักษิณมาไม่เคารพสิทธิตัวเอง ปล่อยให้เขาโกงยังไงก็ได้
แม้แต่ที่ธีรยุทธพูดเรื่อง “สัมปทานคะแนนเสียง” ก็เป็นความเลวร้ายที่มาจากทักษิณโมเดล โดยไม่จำแนกว่า ทักษิณเขียนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เขียนรัฐธรรมนูญให้ตัวเองตั้ง สว.250 คนไว้โหวตเลือกนายกฯ 2 สมัย กำหนดกติกาการเลือกตั้งเอง เป็นกรรมการที่ลงแข่งในกติกาที่ตัวเองเขียนและคุมเอง แถมมีอำนาจแบบ ม.44 เหนือรัฐธรรมนูญได้หรือไม่
การไม่จำแนกความแตกต่างระหว่างปัญหาในยุครัฐบาลจากการเลือกตั้งกับปัญหาในรัฐบาลเผด็จการ ถือเป็นเรื่อง “ตลกร้าย” ของปัญญาชนสาธารณะอย่างธีรยุทธ เพราะมันทำให้เขาละเลยการ “มองเห็น” เสียงของคนต่างจังหวัด คนชนบทว่ามันมี “ความหมาย” มากกว่าเสียงที่ถูกซื้อ เพราะอย่างน้อยก็เป็นความจริงว่าคนเหล่านั้นอาจรับเงินจากทุกพรรค แต่เขาก็เลือกพรรคที่เห็นว่ามีนโยบายที่ดีกว่า
แน่นอนว่านโยบายที่ดีกว่าในมุมมองของเสียงข้างมาก อาจไม่ได้ดีหรือเป็นเพียงนโยบายที่ธีรยุทธเรียกว่า “ประชาซาเล้ง” แต่ในเมื่อประชาธิปไตยจำเป็นต้องตัดสินความเห็นต่างในการเลือกพรรคการเมืองและนโยบายด้วย “เสียงข้างมาก” เราก็ต้องยอมรับมติของเสียงข้างมาก หากเห็นว่าผลของเสียงข้างมากมีปัญหาก็ต้องแก้ผ่านกระบวนการประชาธิปไตย ไม่ใช่แก้ด้วยการล้มเลือกตั้ง หรือใช้อำนาจนอกระบบที่ตรวจสอบไม่ได้เข้ามาแก้ปัญหา
หากเทียบกับข้อเสนอ “ล้างผลพวงรัฐประหาร” ที่ “กลุ่มนิติราษฎร์” เคยเสนอ จะเห็นว่ามันเป็นข้อเสนอที่รักษา “กระบวนการประชาธิปไตย” และ “หลักนิติรัฐ” เอาไว้ นักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตจะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมภายใต้อำนาจรัฐประหาร นี่เป็นข้อเสนอที่คนถูกกล่าวหาว่าผิดยังมี “ความเป็นคน” หรือมี “ที่ยืน” ที่จะพิสูจน์ตัวเองตามกระบวนการยุติธรรมที่อิสระและเป็นกลาง
แต่เมื่อดูวาทกรรมแบบธีรยุทธใช้ ไม่ว่าจะเป็น “โคตรานุวัตร” “โคตรโกง” “โกงทั้งโคตร” “พญาแร้งดำหิมาลัย” ฯลฯ มันคือการสร้าง “ปีศาจ” ที่ไม่เหลือความเป็นคน ไม่มีที่ยืนในสังคม ทั้งๆ ที่เราต่างก็รู้ๆ กันว่า ตั้งแต่ปรีดี พนมยงค์เป็นต้นมา ไม่รู้กี่คนต่อกี่คนที่ถูกกล่าวหาทางการเมืองแล้วไม่มีที่ยืนในบ้านเกิดของตัวเอง สังคมที่น่าอยู่คือสังคมที่ไม่ว่าใครก็ตามถูกกล่าวหาว่ามีความผิดทางการเมืองหรือเรื่องใดๆ จะต้องมีที่ยืนให้พิสูจน์ตนเองตามกระบวนการยุติธรรมภายใต้หลักนิติรัฐไม่ใช่หรือ
พูดอีกอย่าง กับความจริงอันเจ็บปวดที่นักการเมือง นักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง สื่อมวลชนที่ถูกกล่าวหาทางการเมืองแล้วต้องหนีออกนอกประเทศ ตั้งแต่ยุคปรีดีจนถึงปัจจุบัน ทำไมปัญญาชนสาธารณะแถวหน้ามองไม่เห็น “ความผิดปกติ” ของการเมืองไทยว่าเกิดจากอำนาจนอกระบบ หรือธีรยุทธเห็นว่าที่ต้องมีคนลี้ภัยการเมืองแบบนั้นเป็นเรื่องปกติ เป็น “เรื่องส่วนตัว” ของพวกเขางั้นหรือ แล้วจะพูดเรื่องเสรีภาพและประชาธิปไตยกันไปทำไม
การวิจารณ์การเมืองบนจุดยืนที่ยกเอานักการเมืองที่ตรวจสอบได้มาเป็น “โมเดล” ของความเลวร้ายทั้งปวง หรือสร้างให้เป็น “ปีศาจ” ที่ต้องถูกขจัดอย่างไม่เลือกวิธีการว่าจะถูกหรือผิด แล้วเสนอให้อำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้มาคานอำนาจนักการเมือง และไม่เคยตั้งคำถามถึงความโปร่งใสของอำนาจเช่นนั้น ไม่คิดจะสร้างระบบตรวจสอบทุกอำนาจในมาตรฐานเดียวกันแบบที่ธีรยุทธทำมาตลอด ไม่ได้เป็นผลดีใดๆ ต่อการสร้างประชาธิปไตย มีแต่เข้าทางหรือสนับสนุนเผด็จการทั้งโดยตรงและโดยปริยาย
[full-post]
หากจุดยืนคือ “ประชาธิปไตย” ก็ย่อมชวนให้สงสัยว่า ที่ธีรยุทธเคยเสนอ “ตุลาการภิวัฒน์” ให้ตุลาการ องคมนตรี และ “บุคคลผู้มีบารมี” (คำของธีรยุทธ) คานอำนาจนักการเมืองจากระบบเลือกตั้งนั้นเป็นประชาธิปไตยแบบไหนกัน เพราะเกจิการเมืองอย่างธีรยุทธย่อมรู้อยู่แล้วว่า กลุ่มอำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้ที่เขาเสนอมาคานอำนาจนักการเมืองนั้น คือฝ่ายที่มี “อำนาจนำทางการเมือง” (political hegemony) ตามเป็นจริงเหนือกว่านักการเมืองที่ประชาชน “มีสิทธิ์เลือก” มายาวนาน
หากจุดยืนคือ “เสรีภาพ” ก็ไม่เห็นธีรยุทธพูดถึงคนแบบไผ่ ดาวดิน และคนระดับชาวบ้านธรรมดาอีกจำนวนมากที่ติดคุก รวมทั้งนักวิชาการ สื่อมวลชน นักเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกหลายคนที่ต้องไปลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ คนเหล่านี้ถูกเผด็จการย่ำยีเสรีภาพ เป็นเสมือน “แพะ” บูชายัญเกมบริหารอำนาจของชนชั้นนำเท่านั้น เพราะพวกเขาสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย ไม่ได้สู้เพื่อมีอำนาจและตำแหน่งทางการเมืองแต่อย่างใด
เมื่อดูจากการพูดครั้งล่าสุด ทำให้เกิดคำถามอีกว่า จุดยืนของธีรยุทธคือ “ปฏิเสธคอร์รัปชัน” จริงหรือ เพราะเขาพูดถึงปัญหาทุจริตในรัฐบาล คสช.แค่เรื่อง “นาฬิกาของพี่ใหญ่” เท่านั้น ขณะที่พูดถึงเรื่องที่ส่อทุจริตการเลือกตั้งครั้งหน้าว่าเป็นการก๊อปปี้ระบอบทักษิณ ทำให้เห็นได้ว่า จุดยืนของธีรยุทธน่าจะอยู่ที่การปฏิเสธสิ่งที่เขาเรียกว่า “ระบอบทักษิณ” เป็นด้านหลัก
สำหรับธีรยุทธแล้ว สิ่งที่เรียกว่าระบอบทักษิณเป็นเหมือน “โมเดล” ของความเลวร้ายทั้งปวง เมื่อพูดถึงทุจริตเลือกตั้ง ก็มีแต่ทักษิณเท่านั้นที่ซื้อเสียง พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคอื่นๆ ไม่ซื้อ? (เพราะไม่เห็นธีรยุทธพูดถึง) การคอร์รัปชันก็มีแต่ทักษิณเท่านั้น หรือไม่การคอร์รัปชันในประเทศนี้ก็เกิดจาก “ทักษิณโมเดล” เท่านั้น ส่วนระบบอำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้ธีรยุทธไม่เคยมีคำถามถึงความโปร่งใสและการคอร์รัปชันเลย แม้แต่รัฐบาล คสช.ที่อยู่ยาวเกิน 4 ปี ทำโครงการใหญ่ๆ ใช้งบประมาณแผ่นดินมหาศาลกว่ายุคทักษิณมาก ธีรยุทธก็ไม่เคยมีคำถามถึงเรื่องคอร์รัปชัน (นอกจากเรื่องนาฬิกา) ที่ตั้งผมถามเช่นนี้ เพราะตอนออกมาเชียร์ กปปส.ธีรยุทธกล่าวหาแบบ “เหมารวม” ว่าอีกฝ่ายที่เลือกพรรคการเมืองของทักษิณมาไม่เคารพสิทธิตัวเอง ปล่อยให้เขาโกงยังไงก็ได้
แม้แต่ที่ธีรยุทธพูดเรื่อง “สัมปทานคะแนนเสียง” ก็เป็นความเลวร้ายที่มาจากทักษิณโมเดล โดยไม่จำแนกว่า ทักษิณเขียนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เขียนรัฐธรรมนูญให้ตัวเองตั้ง สว.250 คนไว้โหวตเลือกนายกฯ 2 สมัย กำหนดกติกาการเลือกตั้งเอง เป็นกรรมการที่ลงแข่งในกติกาที่ตัวเองเขียนและคุมเอง แถมมีอำนาจแบบ ม.44 เหนือรัฐธรรมนูญได้หรือไม่
การไม่จำแนกความแตกต่างระหว่างปัญหาในยุครัฐบาลจากการเลือกตั้งกับปัญหาในรัฐบาลเผด็จการ ถือเป็นเรื่อง “ตลกร้าย” ของปัญญาชนสาธารณะอย่างธีรยุทธ เพราะมันทำให้เขาละเลยการ “มองเห็น” เสียงของคนต่างจังหวัด คนชนบทว่ามันมี “ความหมาย” มากกว่าเสียงที่ถูกซื้อ เพราะอย่างน้อยก็เป็นความจริงว่าคนเหล่านั้นอาจรับเงินจากทุกพรรค แต่เขาก็เลือกพรรคที่เห็นว่ามีนโยบายที่ดีกว่า
แน่นอนว่านโยบายที่ดีกว่าในมุมมองของเสียงข้างมาก อาจไม่ได้ดีหรือเป็นเพียงนโยบายที่ธีรยุทธเรียกว่า “ประชาซาเล้ง” แต่ในเมื่อประชาธิปไตยจำเป็นต้องตัดสินความเห็นต่างในการเลือกพรรคการเมืองและนโยบายด้วย “เสียงข้างมาก” เราก็ต้องยอมรับมติของเสียงข้างมาก หากเห็นว่าผลของเสียงข้างมากมีปัญหาก็ต้องแก้ผ่านกระบวนการประชาธิปไตย ไม่ใช่แก้ด้วยการล้มเลือกตั้ง หรือใช้อำนาจนอกระบบที่ตรวจสอบไม่ได้เข้ามาแก้ปัญหา
หากเทียบกับข้อเสนอ “ล้างผลพวงรัฐประหาร” ที่ “กลุ่มนิติราษฎร์” เคยเสนอ จะเห็นว่ามันเป็นข้อเสนอที่รักษา “กระบวนการประชาธิปไตย” และ “หลักนิติรัฐ” เอาไว้ นักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตจะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมภายใต้อำนาจรัฐประหาร นี่เป็นข้อเสนอที่คนถูกกล่าวหาว่าผิดยังมี “ความเป็นคน” หรือมี “ที่ยืน” ที่จะพิสูจน์ตัวเองตามกระบวนการยุติธรรมที่อิสระและเป็นกลาง
แต่เมื่อดูวาทกรรมแบบธีรยุทธใช้ ไม่ว่าจะเป็น “โคตรานุวัตร” “โคตรโกง” “โกงทั้งโคตร” “พญาแร้งดำหิมาลัย” ฯลฯ มันคือการสร้าง “ปีศาจ” ที่ไม่เหลือความเป็นคน ไม่มีที่ยืนในสังคม ทั้งๆ ที่เราต่างก็รู้ๆ กันว่า ตั้งแต่ปรีดี พนมยงค์เป็นต้นมา ไม่รู้กี่คนต่อกี่คนที่ถูกกล่าวหาทางการเมืองแล้วไม่มีที่ยืนในบ้านเกิดของตัวเอง สังคมที่น่าอยู่คือสังคมที่ไม่ว่าใครก็ตามถูกกล่าวหาว่ามีความผิดทางการเมืองหรือเรื่องใดๆ จะต้องมีที่ยืนให้พิสูจน์ตนเองตามกระบวนการยุติธรรมภายใต้หลักนิติรัฐไม่ใช่หรือ
พูดอีกอย่าง กับความจริงอันเจ็บปวดที่นักการเมือง นักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง สื่อมวลชนที่ถูกกล่าวหาทางการเมืองแล้วต้องหนีออกนอกประเทศ ตั้งแต่ยุคปรีดีจนถึงปัจจุบัน ทำไมปัญญาชนสาธารณะแถวหน้ามองไม่เห็น “ความผิดปกติ” ของการเมืองไทยว่าเกิดจากอำนาจนอกระบบ หรือธีรยุทธเห็นว่าที่ต้องมีคนลี้ภัยการเมืองแบบนั้นเป็นเรื่องปกติ เป็น “เรื่องส่วนตัว” ของพวกเขางั้นหรือ แล้วจะพูดเรื่องเสรีภาพและประชาธิปไตยกันไปทำไม
การวิจารณ์การเมืองบนจุดยืนที่ยกเอานักการเมืองที่ตรวจสอบได้มาเป็น “โมเดล” ของความเลวร้ายทั้งปวง หรือสร้างให้เป็น “ปีศาจ” ที่ต้องถูกขจัดอย่างไม่เลือกวิธีการว่าจะถูกหรือผิด แล้วเสนอให้อำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้มาคานอำนาจนักการเมือง และไม่เคยตั้งคำถามถึงความโปร่งใสของอำนาจเช่นนั้น ไม่คิดจะสร้างระบบตรวจสอบทุกอำนาจในมาตรฐานเดียวกันแบบที่ธีรยุทธทำมาตลอด ไม่ได้เป็นผลดีใดๆ ต่อการสร้างประชาธิปไตย มีแต่เข้าทางหรือสนับสนุนเผด็จการทั้งโดยตรงและโดยปริยาย
แสดงความคิดเห็น