10 องค์กรสิทธิมนุษยชนต่างประเทศเรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีข้อหายุยงปลุกปั่นและกระบวนการทางกฎหมายอื่น ๆ ทั้งหมดกับทนายความด้านสิทธิมนุษยชน “นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ” โดยทันที
วันนี้ (3 ตุลาคม 2559) คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists – ICJ) ฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล (Amnesty International) สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเซีย (Asian Forum for Human Rights and Development – FORUM-ASIA) กลุ่มสังเกตการณ์เพื่อการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Observatory for the Protection of Human Rights Defenders ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสมาพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล- FIDH และองค์กรต่อต้านการทารุณกรรมโลก – OMCT) องค์กรโพรเทคชั่นอินเตอร์เนชันแนล (Protection International – PI) องค์กรลอว์เยอร์ไรท์วอชแคนาดา Lawyers Rights Watch Canada (LRWC) องค์กรโฟร์ติไฟย์ไรท์ (Fortify Rights) และองค์กรอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์วิสฟอร์ฮิวแมนไรท์ International Service for Human Rights (ISHR) ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติการดำเนินคดีทุกคดีกับทนายความด้านสิทธิมนุษยชน “นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ” โดยทันที รวมถึงข้อกล่าวหาที่มิชอบเรื่องยุยงปลุกปั่น ซึ่งเป็นที่ชัดแจ้งว่าเกี่ยวโยงกับการที่องค์กรที่เธอสังกัดเป็นทนายความให้กับนักศึกษา 14 คนที่รวมตัวประท้วงอย่างสงบเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558
นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความและผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (Thai Lawyers for Human Rights – TLHR) ได้รับหมายเรียกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 ภายหลังถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 ซึ่งห้ามการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป และมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญาในความผิดประเภท ‘ยุยงปลุกปั่น’ โดยในหมายเรียกระบุชื่อผู้กล่าวหาเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร คือ พ.ท. พงศฤทธิ์ ภวังค์คะนันท์
นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริได้รับหมายเรียกลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559 ภายหลังเดินทางกลับจากเข้าร่วมการประชุมสมัยสามัญที่ 33 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council) ณ นครเจนีวา ซึ่งเธอได้รณรงค์เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในฐานะตัวแทนของ FORUM-ASIA และ ICJ ก่อนหน้านั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ส่งหมายเรียกลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559 ไปยังอพาร์ตเมนต์ของเธอ อย่างไรก็ตาม ความปรากฎว่านางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริไม่ได้รับหมายเรียกเนื่องจากเธอไม่ได้อยู่ที่อพาร์ตเมนต์ในวันดังกล่าว
ก่อนหน้านี้ นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ ถูกตั้งข้อหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาสองข้อหา คือ “แจ้งความอันเป็นเท็จ” และ “ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน” ซึ่งข้อหาดังกล่าวเชื่อมโยงกับการที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่นักศึกษา 14 คน ทั้งนี้ หมายเรียกฉบับใหม่ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับคดีเดียวกันนี้
คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists – ICJ)
“ข้อกล่าวหาของทางทหารที่ว่า นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทำผิดกฎหมายฐานยุยงปลุกปั่นนั้น เป็นฐานความผิดที่มักถูกนำมาใช้โดยมิชอบอยู่บ่อยครั้ง โดยเป็นบทกฎหมายที่มีบทลงโทษที่รุนแรงอย่างสุดโต่ง นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่คดีของ นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ จะอยู่ภายใต้การพิจารณาคดีในศาลทหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และจะต้องถอนข้อหาดังกล่าวทันที” นายวิลเดอร์ เทย์เลอร์ (Wilder Tayler) เลขาธิการ ICJ กล่าว “ข้อเท็จจริงที่ว่าทางการตั้งข้อหาดังกล่าวเป็นเวลากว่าหนึ่งปี ภายหลังที่ลูกความของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นในคดีเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นการโต้กลับกับการที่ตั้งแต่ภายหลังรัฐประหารเป็นต้นมา เธอได้ทำงานรณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชน โดยได้รับความสนใจอย่างสูงทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ”
ฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch)
“เป็นเรื่องที่เหลือทนที่ทางการไทยกำลังพิจารณาตั้งข้อหาทนายความ ศิริกาญจน์ เจริญศิริ เหตุเพราะ
ทำหน้าที่ปกป้องลูกความของเธอ และเป็นเรื่องที่แย่ลงไปอีกเท่าตัวหากว่าทางการนำตัวเธอขึ้นสู่ศาลทหารซึ่งไร้ความเป็นธรรมโดยพื้นฐานอยู่แล้ว” นายแบรด อดัมส์ (Brad Adams) ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเซียของ Human Rights Watch กล่าว “การพยายามข่มขู่ทนายความผู้ทำหน้าที่แก้ต่างให้กับฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลกำลังแสดงให้เห็นว่าฝ่ายทหารมีความกลัวอย่างฝังลึกต่อหลักนิติธรรม”
ทำหน้าที่ปกป้องลูกความของเธอ และเป็นเรื่องที่แย่ลงไปอีกเท่าตัวหากว่าทางการนำตัวเธอขึ้นสู่ศาลทหารซึ่งไร้ความเป็นธรรมโดยพื้นฐานอยู่แล้ว” นายแบรด อดัมส์ (Brad Adams) ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเซียของ Human Rights Watch กล่าว “การพยายามข่มขู่ทนายความผู้ทำหน้าที่แก้ต่างให้กับฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลกำลังแสดงให้เห็นว่าฝ่ายทหารมีความกลัวอย่างฝังลึกต่อหลักนิติธรรม”
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล (Amnesty International)
“การตั้งข้อหาใหม่กับ นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ อีกครั้งแสดงถึงความตั้งใจของทางการไทยที่จะ
โต้กลับทนายความและนักกิจกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานสำคัญของการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนและหลัก
นิติธรรม” นายราเฟนดิ ดีจามิน (Rafendi Djamin) ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกของ Amnesty International กล่าว “รัฐบาลไทยควรเปลี่ยนแนวคิดดังกล่าวและปฏิบัติตามพันธกรณีของตนอย่างจริงจังเพื่อคุ้มครองความเป็นอิสระของทนายความและเสรีภาพของพวกเขาในการทำหน้าที่แก้ต่างให้ลูกความโดยปราศจากความกลัวว่าจะถูกแก้แค้น และเพื่อสร้างบรรยากาศที่ทุกคนสามารถพูดถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างเสรีและปลอดภัย”
โต้กลับทนายความและนักกิจกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานสำคัญของการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนและหลัก
นิติธรรม” นายราเฟนดิ ดีจามิน (Rafendi Djamin) ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกของ Amnesty International กล่าว “รัฐบาลไทยควรเปลี่ยนแนวคิดดังกล่าวและปฏิบัติตามพันธกรณีของตนอย่างจริงจังเพื่อคุ้มครองความเป็นอิสระของทนายความและเสรีภาพของพวกเขาในการทำหน้าที่แก้ต่างให้ลูกความโดยปราศจากความกลัวว่าจะถูกแก้แค้น และเพื่อสร้างบรรยากาศที่ทุกคนสามารถพูดถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างเสรีและปลอดภัย”
สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเซีย (Asian Forum for Human Rights and Development – FORUM-ASIA)
“การออกหมายเรียกทนายความสิทธิมนุษยชน นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ ด้วยข้อหาประเภทยุยงปลุกปั่นภายใต้มาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญาเป็นกรณีที่ชัดเจนว่าเป็นการตอบโต้นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ผู้รณรงค์เรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยภายหลังการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557” เบตตี้ โยลานดา (Betty Yolanda) ผู้อำนวยการ FORUM-ASIA กล่าว “หากถูกดำเนินคดี งานรณรงค์ด้าน
สิทธิมนุษยชนอันชอบธรรมของ นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริอาจถูกปิดกั้นด้วยการจำกัดไม่ให้เดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน เนื่องจากเงื่อนไขที่จะต้องได้รับอนุญาตจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้สามารถเดินทางออกนอกประเทศ”
ผู้รณรงค์เรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยภายหลังการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557” เบตตี้ โยลานดา (Betty Yolanda) ผู้อำนวยการ FORUM-ASIA กล่าว “หากถูกดำเนินคดี งานรณรงค์ด้าน
สิทธิมนุษยชนอันชอบธรรมของ นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริอาจถูกปิดกั้นด้วยการจำกัดไม่ให้เดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน เนื่องจากเงื่อนไขที่จะต้องได้รับอนุญาตจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้สามารถเดินทางออกนอกประเทศ”
สมาพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (International Federation for Human Rights – FIDH)
“การที่รัฐบาลคุกคามนางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทย มีเพียงลมปากว่าจะทำตามพันธสัญญาที่จะคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน” นายดิมิตริส คริสโตปูลอส (Dimitris Christopoulos) ประธาน FIDH กล่าว
องค์กรต่อต้านการทารุณกรรมโลก (World Organisation Against Torture – OMCT)
“ข้อกล่าวหาต่อนางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริเป็นความพยายามอย่างโจ่งแจ้งและไตร่ตรองไว้ก่อนแล้วที่จะทำลายการปฏิบัติหน้าที่ทนายความสิทธิมนุษยชนอันชอบธรรมของเธอ” นายเจอรัลด์ สตาเบร็อค (Gerald Staberock) เลขาธิการ OMCT กล่าว “การปราบปรามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนรวมถึงนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างรุนแรงจะต้องยุติลงและต้องยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งปวงต่อนางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ โดยทันที”
องค์กรโพรเทคชั่นอินเตอร์เนชันแนล (Protection International – PI)
“การดำเนินคดีกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยเหตุของการรายงานและกล่าวถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นในประเทศไทย และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นผู้หญิงจะตกอยู่ในความเสี่ยงเป็นพิเศษ” ลิเลียนา เดอ มาร์โค โคเนน (Liliana De Marco Coenen) ผู้อำนวยการ PI กล่าว “ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา 8 ใน 10 คนของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกตั้งข้อหาความผิดทางอาญาเป็นผู้หญิง”
องค์กรลอว์เยอร์ไรท์วอชแคนาดา (Lawyers Rights Watch Canada – LRWC)
“การเพิ่มข้อกล่าวหาใหม่กับนางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริเป็นเรื่องที่น่าตระหนก เพราะดูเหมือนว่าเป็นปฏิบัติการตอบโต้การทำงานของเธอในฐานะทนายความและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน” เกล เดวิดสัน (Gail Davidson) ผู้อำนวยการ LRWC กล่าว “ประเทศไทยได้รับรองมติของที่ประชุมแห่งสมัชชาสหประชาชาติซึ่งเรียกร้องให้ทุกชาติคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน บัดนี้ ประเทศไทยจะต้องอนุวัติการพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนโดยดำเนินการถอนข้อกล่าวหาทั้งหมดต่อ นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ”
องค์กรโฟร์ติไฟย์ไรท์ (Fortify Rights)
“การมุ่งเป้าไปที่ นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ เนื่องมาจากการทำหน้าที่ทนายความสิทธิมนุษยชนอันชอบธรรมของเธอเป็นความพยายามอีกครั้งของทางการไทยที่จะกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศของความหวาดกลัว” เอมี่ สมิธ (Amy Smith) ผู้อำนวยการ Fortify Rights กล่าว “ทางการไทยควรปฏิบัติต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเสมือนเป็นสมาชิกผู้มีคุณค่าของสังคมแทนที่จะเป็นศัตรูของรัฐ”
องค์กรอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์วิสฟอร์ฮิวแมนไรท์ (International Service for Human Rights – ISHR)
“ข้อกล่าวหาเท็จต่อทนายความสิทธิมนุษยชน นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ ควรถูกถอนทันทีโดยปราศจากเงื่อนไข” นายฟิล ลินช์ (Phil Lynch) ผู้อำนวยการ ISHR กล่าว “ประเทศไทยมีหน้าที่ชัดเจนที่จะคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างยิ่งที่ข้อกล่าวหาเหล่านี้อาจเป็นการตอบโต้งานรณรงค์สิทธิมนุษยชนที่เธอดำเนินการมาตั้งแต่ภายหลังรัฐประหาร”
ความเป็นมา
หมายเรียกลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559 มิได้ระบุมูลเหตุแน่นอนของข้อกล่าวหา แต่ดูเหมือนว่าหมายเรียกดังกล่าวจะเชื่อมโยงกับการที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่นักศึกษา 14 คนซึ่งถูกจับกุมเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558 หลังจากชุมนุมประท้วงอย่างสงบเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและยกเลิกการปกครองโดยฝ่ายทหาร
หากท้ายที่สุดนางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริถูกดำเนินคดีด้วยความผิดตามที่กล่าวหา เป็นไปได้ว่าคดีของเธอจะอยู่ภายใต้การพิจารณาของศาลทหาร เพราะความผิดตามข้อกล่าวหาเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนคำสั่งฉบับที่ 55/2559 ของหัวหน้า คสช. เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559 ซึ่งยกเลิกการฟ้องคดีพลเรือนต่อศาลทหาร
ข้อ 12 ในคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 3/2558 (ซึ่งห้ามการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป) กำหนดบทลงโทษสูงสุดจำคุกหกเดือนหรือโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดประเภท ‘ยุยงปลุกปั่น’ ตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญากำหนดโทษสูงสุดจำคุกเจ็ดปี
ทั้งคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3/2558 และมาตรา 116 กำหนดข้อจำกัดด้วยคำที่กินความกว้างและกำกวมเกี่ยวกับการใช้เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการสมาคม และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งล้วนละเมิดพันธกรณีด้านกฎหมายของประเทศไทยภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ อีกทั้งยังแย้งกับหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน ยกตัวอย่างเช่น มาตรา 116 กำหนดให้การกระทำใดๆ อันเป็นการ “เพื่อ…ให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร” เป็นความผิดทางอาญา
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี ให้หลักประกันสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการสมาคม และการห้ามมิให้จับกุมหรือคุมขังโดยพลการ
ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (UN Declaration on Human Rights Defenders) ยืนยันสิทธิของคนทุกคนที่จะคัดค้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยหนทางสันติ ปฏิญญาฯห้ามมิให้กระทำการ
โต้กลับ ข่มขู่และคุกคามด้วยรูปแบบอื่นๆ ต่อบุคคลใดก็ตามที่กระทำการโดยสันติเพื่อต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะในระหว่างหรือนอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพของพวกเขา
โต้กลับ ข่มขู่และคุกคามด้วยรูปแบบอื่นๆ ต่อบุคคลใดก็ตามที่กระทำการโดยสันติเพื่อต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะในระหว่างหรือนอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพของพวกเขา
หลักการพื้นฐานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยบทบาทของทนายความ (UN Basic Principles on the Role of Lawyers) กำหนดให้รัฐบาลให้ความมั่นใจว่าทนายความจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพของพวกเขาโดยปราศจากการข่มขู่ ขัดขวาง คุกคามหรือแทรกแซงอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม
ลงชื่อ
- คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists – ICJ)
- ฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch)
- แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล (Amnesty International)
- สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเซีย (Asian Forum for Human Rights and Development – FORUM-ASIA)
- 5. สมาพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (International Federation for Human Rights – FIDH)
- 6. องค์กรต่อต้านการทารุณกรรมโลก (World Organisation Against Torture – OMCT)
- 7. องค์กรโพรเทคชั่น อินเตอร์เนชันแนล (Protection International – PI)
- องค์กรลอว์เยอร์ไรท์วอชแคนาดา (Lawyers Rights Watch Canada – LRWC)
- องค์กรโฟร์ติไฟย์ไรท์ (Fortify Rights)
- องค์กรอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์วิสฟอร์ฮิวแมนไรท์ (International Service for Human Rights (ISHR)
แสดงความคิดเห็น