บิดา 'ไผ่ ดาวดิน' แถลงหลังศาลฝากขังบุตรผัด 5 “เรากำลังสู้กับกระบวนการยุติ ธรรมทั้งระบบ”
Posted: 20 Jan 2017 03:56 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ศาลสั่งพิจารณาลับ ฝากขังผัด 5 คดีแชร์บทความบีบีซีไทย 'ไผ่ ดาวดิน' จำเลยแถลงค้านการพิจารณาลับ แต่ไม่เป็นผล จึงขอให้ทนายของตัวเองออกจากห้ องพิจารณา ด้าน 'พ่อไผ่' แถลงไม่ได้สู้เรื่องการประกันตั วอีกต่อไปแล้ว แต่ต้องสู้กับกระบวนการยุติ ธรรมทั้งระบบ
ส่วนหนึ่งของผู้ที่มาเยี่ยม 'ไผ่ ดาวดิน' และรอฟังผลการพิจารณาคำร้ องขอฝากขังผัดที่ 5 ที่ศาลจังหวัดขอนแก่น (จากซ้ายไปขวา) เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล, ปิยบุตร แสงกนกกุล, สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และ วิบูลย์ บุญภัทรรักษา บิดาของไผ่ ดาวดิน
20 ม.ค. 2560 เวลาประมาณ 13.15 น. ที่ศาลจังหวัดขอนแก่น ภายหลังจากที่ศาลได้พิจารณาคำร้ องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น ซึ่งขอให้ศาลฝากขัง จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน นักศึกษา นักกิจกรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งถูกจับกุมคุมขัง และถูกเพิกถอนสัญญาการประกันตัว จากฐานความผิ ดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จากการแชร์บทความพระราชประวัติ รัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC Thai
โดยในวันนี้พนักงานสอบสวนได้ยื่ นคำร้องให้ศาลพิจารณาฝากขังต่ อไปเป็นผัดที่ 5 นับตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. – 1 ก.พ. 2560 โดยศาลได้สั่งให้การพิจารณาในวั นนี้เป็นการพิจารณาลับและอนุ ญาติให้เพียงทนายความ และบิดา มารดา เท่านั้นที่สามารถเข้าฟังการพิ จารณาคดีได้
ด้านทนายความศูนย์ทนายความเพื่ อสิทธิมนุษยชน ได้แถลงข่าวหลังจากศาลมีคำสั่ งอนุญาตฝากขังผัด 5 โดยกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความได้แถลงว่า วันนี้ศาลจังหวัดขอนแก่นได้นั ดไต่สวนคำร้องของพนั กงานสอบสวนว่าจะฝากขังไผ่ต่ อในผัดที่ 5 หรือไม่ โดยวันนี้ได้มีญาติพี่น้องเพื่ อนฝูง ได้มาร่วมให้กำลังใจกับไผ่ ดาวดิน และคาดหวังว่าจะได้เข้าร่วมฟั งการไต่สวนคำร้องในวันนี้ แต่ศาลได้สั่งให้การพิจารณาไต่ สวนคำร้องขอฝากขังไผ่วันนี้เป็ นการพิจารณาในทางลับ และขอให้ผู้ร่วมเข้าฟังที่ไม่มี ส่วนเกียวข้องกับจำเลยให้ ออกจากห้องพิจารณาคดี
กฤษฏางค์ กล่าวด้วยว่า ไผ่ ได้แถลงโต้แย้งคำสั่งพิจารณาลั บของศาล เนื่องจากเห็นว่า การพิจารณาคดีในชั้นนี้ เป็นเพียงการพิจารณาว่า ตำรวจควรจะขออำนาจศาลเพื่อฝากขั งเขาต่อไปอีก 12 วันหรือไม่ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขอผั ดฟ้องมาตลอด ตามคำร้องก็ระบุไว้ด้วยว่า สวบสวนเสร็จแล้ว และกำลังเสนอให้คณะทำงานของพนั กงานสอบสวนว่าจะส่งฟ้องหรือไม่ ซึ่งไผ่เห็นว่าการพิจารณาตรงนี้ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเนื้ อหาในคดี แต่ศาลให้เหตุผลว่าต้องพิ จารณาคดีในทางลับ เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้ องกับความมั่นคง ซึ่งทางทนายความได้คัดค้านแล้ วว่า การพิจารณาครั้งนี้ไม่ได้เป็ นการพิจารณาที่เนื้อหาของคดี เป็นเพียงการพิจารณาว่ าควรจะฝากขังไผ่ต่อไปหรือไม่เท่ านั้น ซึ่งควรจะมีการเปิดให้ไต่ สวนโดยเปิดเผย เพราะเราถือหลั กตามประมวลกฎหมายการพิจารณาคดี อาญา การไต่สวน หรือการพิจารณาคดีอาญาจะต้องมี การพิจารณาโดยเปิดเผยต่ อสาธารณชน เพราะนี่คือหลักการประกันสิทธิ เสรีภาพของประชาชน
กฤษฏางค์ กล่าวต่อว่า หลังจากทนายความ และผู้ต้องหาได้คัดค้านการพิ จารณาคดีในทางลับ ศาลได้เข้าไปประชุมกับองค์คณะ แล้วออกมายืนยันคำสั่งเดิมว่ าให้การพิจารณาคดีเป็นไปในทางลั บ และเชิญให้พูดไม่มีส่วนเกี่ยวข้ องออกไปจากห้องพิจารณา แต่ไผ่ ได้แถลงต่อศาลในทันทีว่า หากศาลยืนยันเช่นนั้น เขาก็ไม่ประสงค์ที่จะให้มี ทนายความในห้องพิจารณา เพราะในเมื่อมีหรือไม่มีก็ตาม เขาก็ไม่สามารถที่จะขอให้เปิดพิ จารณาคดีโดยเปิดเผยได้ ไผ่จึงขอให้ทนายความทั้ งหมดของตัวเอง ออกจากห้องพิจารณาคดี โดยมีเพียงไผ่ กับวิบูลย์ บุญภัทรรักษา บิดา เท่านั้นที่อยู่ในห้องพิ จารณาคดี และสุดท้ายศาลได้สั่งให้ขังไผ่ เป็นผัดที่ 5 ทั้งหมด 12 วัน
กฤษฏางค์ กล่าวต่อไปว่า การที่ไผ่ ขอให้ทนายความออกจากห้องพิ จารณาคดีเป็นเพราะเขาเห็นว่า การพิจารณาคดีในวันนี้ไม่ได้เป็ นตามหลักการการพิจารณาคดีโดยเปิ ดเผยตามที่เขาได้เรียนมา และเขาเองก็ไม่ยอมรั บกระบวนการพิจารณาไต่สวนคำร้ องขอฝากขังในวันนี้ จากนั้นก็มีเจ้าหน้าที่มาถามว่ าทนายความจะเซ็นชื่ อในเอกสารกระบวนการพิจารณาคดี ในวันนี้หรือไม่ เราบอกว่า คงไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เพราะเราไม่ได้อยู่ ในกระบวนการพิจารณา เราไม่ทราบว่าไต่สวนอะไรไปบ้าง
“คุณไผ่ เขาก็บอกว่า เขาแทบไม่มีสิทธิเสรีภาพในการต่ อสู้คดีอะไรอีกต่อไปแล้ว เขาจะทำอะไรก็ให้ทำไปเถอะ” กฤษฏางค์ กล่าว
ด้าน วิบูลย์ บุญภัทรรักษา บิดาของไผ่ ดาวดิน ระบุว่า ไผ่ได้กล่าวกับตนเองว่า การพิจารณาคดี ไต่สวนคำร้องของฝากขั งของศาลในวันนี้ไม่เป็ นธรรมสำหรับเขา เพราะเขาต้องการให้สาธารณชนได้ เห็นว่ากระบวนของศาลเป็นอย่างไร แต่ศาลก็ระบุว่า ศาลได้ให้ความเป็นธรรมกับผู้ต้ องหาอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องให้ สาธารณชนเข้าฟังการพิจารณาคดี เพราะสามารถไปอ่านจากคำสั่ งของศาลภายหลังได้ ด้านไผ่ก็ได้แถลงต่อศาลว่า สิ่งที่ผ่านมานั้นทั้งในรายงาน หรือคำสั่งของศาลไม่สามารถที่ที่ จะเห็นกระบวนการพิจารณา และอากัปกิริยาของศาล ของพนักงานสอบสวน เช่นเวลาเบิกความพนั กงานสอบสวนตอบคำถามอย่างติดๆ ขัดๆ หรือกรณีตัวอย่างคือกระบวนการพิ จารณาฝากขังที่ศาลไปทำกั บเขาในผัดที่ 3 ตัวไผ่เองยังไม่รู้เลยว่าศาลได้ พิจารณาฝากขัง แต่กลับมีการยืนยันจากศาลว่าได้ มีการแจ้งกับไผ่ และไผ่ได้เซ็นชื่อว่าไม่คัดค้ านการฝากขัง
“เขา (หมายถึงไผ่) เห็นกระบวนการอย่างนี้มาตลอด เขาเลยต้องการให้คนอื่นเข้ามาช่ วยกันดู ว่าจริงๆและกระบวนการพิจารณาเป็ นอย่างไร ไม่ใช่เห็นเพียงแต่คำสั่ง ศาลก็ไม่ยอม ไผ่จึงไม่ต้องการทนายอีกต่อ เพราะเขาเห็นว่าไม่มีประโยชน์ แล้ว ในเมื่อเริ่มต้นหรือที่ผ่านมาทั้ งหมดไม่มีอะไรที่จะเป็นหลั กประกันในกระบวนการยุติธรรม สำหรับเขาเลย ฉะนั้นการมีทนายหรือไม่มี ทนายความก็ไม่มีความหมาย” วิบูลย์ผู้เป็นบิดากล่าว และยังกล่าวต่อว่า วันนี้ไผ่ ได้ทำหน้าที่ทุกอย่างเอง ทั้งการซักค้าน และการแถลงต่อศาล ในกระบวนการไต่สวนคำร้ องของฝากขังของศาล
“วันนี้เขารู้ว่าสู้แล้วก็จะแพ้ แต่เขาทำ ซักค้านพนักงานสอบสวน ถามอะไรก็ตอบไม่ได้ พูดโยงนู่นโยงนี่ แล้วบางประโยคที่ไผ่ถามพนั กงานสอบสวนใช้เวลากว่า 5 นาทีถึงจะตอบ ไผ่ก็บอกให้ศาลบันทึกไว้ด้วยว่ าก่อนจะตอบคำถามใช้เวลานาน”
วิบูลย์ กล่าวต่อว่า ในกระบวนการพิจารณาฝากขัง ศาลได้ระบุว่า เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่ สามารถขออำนาจฝากขังผู้ต้ องหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิ จารณาความอาญา แต่ทางไผ่ก็แถลงต่อศาลว่าตนเข้ าใจข้อกฎหมายดี แต่การพิจารณาของศาลก็ควรที่ จะคำนึงถือสิทธิของผู้ต้องหาด้ วย หากไม่คำนึงถึงหลักการในข้อนี้ ศาลก็ไม่ควรที่จะนำตัวจำเลยมา และควรแก้กฎหมายเสียใหม่ว่าไม่ ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสิทธิ ของผู้ต้องหา ให้เป็นอำนาจของพนั กงานสอบสวนเพียงอย่างเดียว และสุดท้ายศาลก็ได้มีคำสั่งอนุ ญาตฝากขังในผัดที่ 5 ออกมา
วิบูลย์แถลงต่อว่า เรื่องการประกันตัวไผ่นั้น ต้องมาดูกันต้องว่าจะทำอย่ างไรกับสถานการณ์กระบวนการยุติ ธรรมในปัจจุบัน แต่สิ่งที่รู้สึกว่าจะต้องต่อสู้ กันต่อไปในเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องการเรียกร้องสิทธิ ประกันตัว ไม่ใช่เรื่องการคัดค้านการฝากขั ง แต่มองว่าเรากำลังต่อสู้กั บกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ
“เราก็ต้องมาคิดกันว่า ถ้าปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมที่ เกิดขึ้นกับไผ่ เป็นอย่างนี้ต่อไปสังคมจะเป็ นอย่างไร เรื่องนี้ต้องกลับมาคิดกันต่อ แต่ตอนนี้ยืนยันได้เลยว่า เราไม่ได้สู้เรื่องการประกัน ไม่ได้สู้เรื่องคัดค้านการฝากขั ง ไม่ได้สู้เรื่องว่าเรียนจบหรื อไม่จบ แต่เรากำลังต่อสู้เรื่ อกระบวนการยุติ ธรรมของประเทศชาติ” วิบูลย์กล่าว
พ่อโวย ศาลไม่ให้ไผ่ ดาวดิน กินอาหารกลางวัน
ต่อมาเวลา 16.00 น. วิบูลย์ ได้แถลงกับผู้สื่อข่าวว่า หลังจากการไต่สวนคำร้องขอฝากขัง จตุภัทร แล้วเสร็จ โดยที่ จตุภัทร์ ผู้ต้องหาและตนผู้เป็นบิดาได้ ปฏิเสธที่จะลงลายมื่ชื่อรั บทราบคำสั่งศาล เนื่องจากตัวเองและบุตรชายไม่ เห็นด้วยต่อกระบวนการพิ จารณาคำร้องขอฝากขังในวันนี้ เมื่อเวลาประมาณ 12.40 น.
วิบูลย์ เล่าอีกว่า ต่อมาเมื่อเจ้าหน้าที่ได้คุมตั วผู้ต้องหาลงมาเพื่อคุมขังอยู่ ในห้องขังใต้ศาล โดยที่ตนก็ได้แยกไปกิ นอาหารกลางวัน จนกระทั่งเวลาประมาณ 14.00 น. ตนได้กลับมาเยี่ยมพูดคุยกับ จตุภัทร์ และ จตุภัทรได้แจ้งว่า ยังไม่ได้รับประทานอาหารกลางวั นแต่อย่างไร ตนจึงได้จัดหาอาหารไปติดต่อที่ เจ้าหน้าที่ศาลเพื่อขออนุ ญาตนำเข้าไปให้จตุภัทร์ได้กิน แต่เจ้าหน้าที่ศาล ได้ปฏิเสธ ที่จะนำเข้าไปให้โดยอ้างว่าต้ องได้รับการอนุญาตจากศาลก่อน
วิบูลย์ เล่าต่อว่า ตนจึงได้เดินทางขึ้นไปติดต่ อขออนุญาตจาก ผู้อำนวยการสำนักงานศาล แต่เจ้าหน้าที่ แจ้งว่า ผอ.ไม่อยู่ และได้แนะนำให้ไปติดต่อที่ รองผู้อำนวยการศาล จากนั้นจึงได้ไปติดต่อชี้แจงกับ รอง ผอ.ศาล (ผู้หญิง) ว่าต้องการขออนุญาตเอาอาหารส่ งให้ จตุภัทร์ ผู้ต้องขังได้กิน ขณะที่ทาง รอง ผอ.ศาล ได้ยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่ จะไม่ได้กิน และทำไมตอนเที่ยงไม่ไปติดต่ อดำเนินการ และกล่าวว่าเป็นเพราะว่าจตุภั ทร์ปฏิเสธที่จะกินอาหารเองหรื อไม่
โดย วิบูลย์ ยืนยันว่าจตุภัทร์ไม่ได้ปฏิ เสธที่จะกินอาหาร แต่ทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้จั ดอาหารให้จตุภัทร์กิน และยังได้ชี้แจงต่อ รอง ผอ.ศาล ว่า ไม่ได้ต้องการมาท้วงติงแต่อย่ างใด ให้บุตรชายได้กินอาหารเท่านั้น ว่าจะจัดการอย่างไร
วิบูลย์ เล่าอีกว่า จากนั้นทาง รอง ผอ.ได้เดินออกมาจากห้องพร้อมกล่ าวว่า "มันเป็นสิทธิของชั้น คุณไม่มีสิทธิมาสั่งว่าชั้ นจะทำตอนไหนก็ได้ ไม่ใช่ว่าเขาเอาอาหารไปให้แล้ วลูกคุณไม่ยอมกินเองหรือ" จากนั้น ตน (วิบูลย์) ได้ตอบกลับไปว่า ตนไม่ได้ต้องการทราบว่าจะปฏิบั ติอยู่ในขั้นตอนไหน แต่ตนต้องการให้ลูกตนได้กินข้าว มันเป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่ จะได้กินข้าว ไม่ใช่สิทธิของคุณที่จะทำอะไรก็ ได้
สุดท้ายแล้วจตุภัทร์ได้กิ นอาหารกลางวันที่ทางศาลจัดให้ เวลา 15.30 น.
วิบูลย์ กล่าวว่า ไม่ได้สรุปว่าเป็นการกลั่นแกล้ งหรือความล่าช้า แต่ว่าเวลาที่ไปติดต่อเพื่ อขออาหารให้ผู้ต้องขังกิน เมื่อทางศาลมีท่าทีอย่างนี้ ถือว่ามีปัญหาเรื่องวิธีคิดแล้ว มันเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกั บผู้ต้องขังที่มาศาลทุกคน
แสดงความคิดเห็น