'เพื่อไทย' ชี้ปรองดองคืออยู่ร่วมกันอย่ างสันติภายใต้หลักนิติธรรม
Posted: 20 Jan 2017 04:59 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ประวิตรยันที่ทหารจะนั่งเต็ม กก.ปรองดอง เพราะเป็นกลางไม่ขัดแย้งใคร หน.กก.ปรองดอง เผยคุย 3 เดือนก่อนทำ MOU ด้าน ยิ่งลักษณ์ ยินดี พร้อมชี้ควรยึดหลักความเป็ นกลางความเป็นธรรม ภูมิธรรม มองไม่ใช่เรื่องของนักการเมื องแต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ขณะที่ ปธ.สนช.เห็นด้วยรัฐบาลเป็นเจ้ าภาพ
20 ม.ค. 2560 ความคือบหน้าเรื่องแนวคิดการเชิ ญนักการเมืองมาปรึกษาหารื อและมาลงสัตยาบันร่วมกันเพื่ อสร้างความปรองดองและยุติความขั ดแย้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า การสร้างบรรยากาศความปรองดองเป็ นไปในเชิงบวก ทุกคนต้องการให้เกิ ดความปรองดองเพื่อให้ประเทศชาติ สงบสุข ให้เศรษฐกิจเดินหน้าไปได้ ประชาชนสามารถทำมาหากินได้อย่ างปกติสุข เบื้องต้นตนยังไม่ได้ติดต่อกั บกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมื องใดๆ ตนไม่ดิวกับใครอยู่แล้ว และต้องรอรายชื่อคณะกรรมการเตรี ยมการสร้างความสามัคคี ปรองดองออกมาก่อน โดยจะให้ทุกกลุ่มการเมือง พรรคการเมือง ได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเข้ามา เพื่อให้คณะกรรมการได้พิ จารณาในภาพรวมทั้งหมด
ที่ทหารจะนั่งเต็ม กก.ปรองดอง เพราะเป็นกลางไม่ขัดแย้งใคร
พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ในสัปดาห์หน้ารายชื่ อของคณะกรรมการจะแล้วเสร็ จและสามารถเปิดเผยได้ โดยคณะกรรมการนี้จะดูว่าต้องเชิ ญกลุ่มการเมือง พรรคการเมืองใดบ้าง โดยจะพยายามให้ทุกกลุ่มเข้ามาพู ดคุยหารือ เริ่มจากพรรคการเมืองก่อน ยืนยันว่าการที่คณะกรรมการมีแค่ คนในกองทัพไม่ใช่ปัญหา เพราะกองทัพเป็นกลาง ทหารไม่มีความขัดแย้งกับใคร และคณะกรรมการก็ไม่ใช่เด็กๆ ล้วนแต่เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ทั้งนั้น
"ไม่เป็นไรหรอก ก็เป็นกลาง ไม่เห็นเป็นไรเลย ก็ผมบอกแล้วไงทหารเราไม่มี ความขัดแย้งกับใคร และพวกที่เข้าไปนั่งก็ไม่ได้เป็ นพวกเด็กๆ นะ เป็นระดับผู้ใหญ่ๆ ทั้งนั้นในกองทัพนะครับ ท่านรู้นะครับว่าท่านควรจะทำอย่ างไร" พล.อ.ประวิตร กล่าวกรณีที่ คณะกรรมการปรองดองจะมีทหารเข้ าไปอยู่จำนวนมาก
ต่อกรณีคำถามว่าหากพรรคการเมื องจะขอเปิดประชุมเพื่อขอมติ พรรคในเรื่องดังกล่าวจะอนุ ญาตหรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ไม่เห็นจำเป็นต้องประชุม ตนไม่ได้ต้องการการตัดสิ นใจในภาพรวมของพรรค เพียงแต่ต้องการการแสดงความคิ ดเห็นว่า จะทำอย่างไรให้เกิดความสงบขึ้ นหลังจากมีการเลือกตั้ง ป้องกันการประท้วง การออกมาตีกัน ไม่ได้ขอมติพรรค ใครอยากเสนออะไรก็สามารถเสนอได้ ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็นมติ พรรค โดยเบื้องต้นได้มี การวางกรอบในการพูดคุยหารื อและคำถามต่างๆ ที่เตรียมไว้สำหรับทุกฝ่ายอยู่ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเด็นด้านการเมื อง ยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูป เป็นต้น
“เราจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนในการที่จะรับฟังข้อคิดเห็ นทั้งหมด ไม่ใช่ว่ากระบวนการเสร็จสิ้ นภายใน 3 เดือน จากนั้นนำความคิดเห็นต่างๆ มาเผยแพร่ และเข้าสู่กระบวนการต่อไป” พล.อ.ประวิตรกล่าว
หน.กก.ปรองดอง เผยคุย 3 เดือนก่อนทำ MOU
ด้าน พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะหัวหน้ าคณะกรรมการอำนวยการการปรองดอง กล่าวว่า กระบวนการรับฟังความคิดเห็นฝ่ ายต่างๆ ทั้งพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง จะใช้เวลา 3 เดือน โดยจะสรุปข้อเสนอทั้งหมดทำเป็ นข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งยังไม่สามารถระบุกรอบเวลาที่ ชัดเจนได้ ต้องรอดูข้อมูลที่จะได้รับก่อน ยืนยันการดำเนินการครั้งนี้ไม่ ใช่การซื้อเวลา ไม่มีมวยล้มต้มคนดูอย่างแน่นอน
ยิ่งลักษณ์ ยินดี พร้อมชี้ควรยึดหลักความเป็ นกลางความเป็นธรรม
ขณะที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการที่ คสช.และรัฐบาลออกคำสั่งตั้ งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุ ทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ว่า ส่วนตัวยินดีให้การสนับสนุน ถ้าทุกอย่างเป็นประโยชน์กั บประเทศ แต่ควรยึดหลักความเป็ นกลางความเป็นธรรม และขอให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่ต้องแน่ใจว่าจะเป็นธรรมกั บทุกฝ่าย
ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า หวังว่ากลไกทางภาครัฐและฝ่ ายทหารจะเป็นผู้ประสานงานที่ดี ถ้าเป็นไปได้อยากให้เชิญผู้ที่ มีความเป็นกลางโดยเฉพาะนักวิ ชาการ หรือผู้ที่สังคมให้การยอมรับเข้ ามาแลกเปลี่ยนให้ความรู้ และเป็นคณะกรรมการ เชื่อว่าหากคณะกรรมการ ป.ย.ป.จะสร้างประโยชน์ให้กั บประเทศคงไม่มีผู้ใดปฏิเสธ เพราะทุกคนต้องคิดถึงส่ วนรวมเป็นหลัก อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาจะต้ องทราบถึงนิยามคำว่าปรองดองก่อน ทุกคนต้องยอมรับและได้รั บความเป็นกลางไม่มีการเลือกปฎิ บัติ เมื่อได้รับนิยามแล้วจึงจะพิ จารณาที่กลไกปฎิบัติต่อไป
ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่ยไทย
ภูมิธรรม มองไม่ใช่เรื่องของนักการเมื องแต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง
ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่ยไทย กล่าวว่า ตามที่ คสช. และรัฐบาลได้ออกคำสั่งเพื่อให้ มีการดำเนินการเรื่องยุทธศาสตร์ ชาติ การปฏิรูปและการสร้ างความปรองดองโดยจะจัดให้มี คณะกรรมการรับผิดชอบขับเคลื่ อนในด้านต่างๆและเรียกร้องให้นั กการเมืองร่วมมือกันสร้ างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสั งคม การแก้ไขปัญหานี้ให้ ประสบความสำเร็จ คงไม่ใช่ให้พรรคการเมืองมาพบกั นและจัดทำเอ็มโอยูเท่านั้น เพราะปัญหาความไม่ปรองดอง ไม่ใช่เกิดจากเฉพาะพรรคการเมื องแต่ฝ่ายเดียว แต่เกี่ยวพันกับคนหลายกลุ่ม หลายฝ่าย หลายองค์กร เกี่ยวพันกับปัญหาประเทศเชิ งโครงสร้างในหลาย ๆ ส่วน รวมถึงผู้มีอำนาจในปัจจุบันก็ เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปั ญหาที่เกิดขึ้น
เพื่อไทยชี้คือการอยู่ร่วมกั นได้อย่างสันติภายใต้หลักนิติ ธรรม
ภูมิธรรม กล่าวว่า ปัจจัยที่จะทำให้ ความปรองดองเกิดขึ้น เป็นผลสำเร็จ ความหมายที่แต่ละฝ่ายยึดถื อและเข้าใจในเรื่ องความปรองดองนั้นต้องตรงกัน จึงจะสามารถเป็นจุดเริ่มต้ นของการแก้ไขปัญหาได้ สำหรับพรรคเพื่อไทย เข้าใจว่าการปรองดองหมายถึง การอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ภายใต้หลักนิติธรรม บนพื้ นฐานการปกครองในระบอบประชาธิ ปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็ นประมุข ดังนั้นการจะสร้ างความปรองดองได้ คือ การอำนวยให้เกิดความยุติธรรม และการยอมรับการอยู่ร่วมกั นบนความแตกต่างที่แต่ละฝ่ายมี ซึ่งพรรคเพื่อไทยมอบให้ โภคิน พลกุล ชัยเกษม นิติสิริ ชูศักดิ์ ศิรินิล จาตุรนต์ ฉายแสง พงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นผู้ดำเนินการติดตามเรื่องนี้ และรายงานให้ที่ประชุมรับทราบ
ปธ.สนช.เห็นด้วยรัฐบาลเป็นเจ้ าภาพ
พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เปิดเผยผลการหารือร่วมกับ สุวิทย์ เมษิณทรีย์ เลขานุการคณะกรรมการบริ หารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิ รูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ว่า เป็นขั้นตอนก่อนที่จะตั้ งคณะทำงาน 4 คณะ ตามอำนาจของนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีเร่งรัดให้รี บดำเนินการ ให้เห็นผลผลเป็นรูปธรรมซึ่งส่ วนตัวเห็นด้วยที่จะให้รัฐบาลเป็ นเจ้าภาพในการหาข้อยุติ
พรเพชร กล่าวว่า ตนอยู่ร่วมทั้ง3 คณะ และมีรองประธานสนช. ร่วมคณะด้วยเพื่อเป็นตัวแทนฝ่ ายนิติบัญญัติซึ่งแต่ละภาคส่ วนจะไปดำเนินการในส่วนที่รับผิ ดชอบ โดยสภาขับเคลื่อนการปฏิรู ปประเทศ(สปท.) จะทำงานด้านปฏิรูปเป็นหลัก และเสนอแผนเข้ามา ให้สนช. เห็นชอบออกเป็นกฎหมาย ซึ่งยืนยันว่า จะสามารถคาดหวังได้ในเรื่ องของการปฏิรูป ส่วนด้านยุทธศาสตร์ชาติ สนช. มีส่วนเกี่ยวข้องมากในส่ วนของการออกกฎหมาย ขณะที่เรื่องความปรองดอง กฎหมายมีส่วนเกี่ยวข้องน้อย เพราะกฎหมายบังคับเรื่ องความปรองดองไม่ได้ จึงต้องรอฟังข้อเสนออีกครั้งว่ าแต่ละฝ่ายต้องการอย่างไร ตนยังนึกไม่ออกว่าจะออกมาเป็ นรูปแบบใด
แสดงความคิดเห็น