ไผ่ ดาวดิน กับเดิมพันหมดหน้าตักของรั ฐและสังคมไทย
Posted: 25 Jan 2017 06:27 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
การจับกุมไผ่ ดาวดิน (จตุภัทร บุญภัทรรักษา) ในฐานความผิ ดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และการเพิกถอนสิทธิประกันตัวด้ วยข้ออ้าง “เย้ยหยันอำนาจรัฐ” ได้ก่อปัญหาพื้นฐานตามมาที่สำคั ญคือ ปัญหาความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย เนื่องจากไม่สามารถอธิบายได้ว่า การแชร์ข่าวพระราชประวัติของรั ชกาลที่ 10 จากสำนักข่าวบีบีซีที่มีคนแชร์ กว่า 2,000 คน และสำนักข่าวต้นเรื่องก็ไม่มี ความผิด เหตุใดจึงมุ่งเอาผิดเฉพาะไผ่เพี ยงผู้เดียว และการเย้ยหยันอำนาจรัฐก็ไม่มี กฎหมายใดระบุเป็นความผิดไว้ ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ทำไมกระบวนการยุติธรรมจึงไม่ได้ ตีความและบังคับใช้กฎหมายบนหลั กการปกป้องสิทธิและเสรี ภาพของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญสู งสุดตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง
การตีความและบังคับใช้ กฎหมายในกรณีไผ่ ในทางปรัชญาเราสามารถประเมินค่ าการกระทำดังกล่าว ด้วยเกณฑ์การประเมิน 2 เกณฑ์หลักๆ คือ
1. เกณฑ์เสรีนิยมสายอรรถประโยชน์ (utilitarian liberalism) คือ เกณฑ์ที่ถือว่า ผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสิ่งตัดสิ นความถูกต้องของการกระทำ แต่การจะบอกได้ว่าอะไรคื อผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐจะต้องให้หลักประกัน “เสรีภาพ” เพื่อให้ประชาชนถกเถียงด้วยเหตุ ผลกันได้อย่างเต็มที่ว่าอะไรคื อประโยชน์ส่วนรวมที่พวกเขาต้ องการอย่างแท้จริง หากการถกเถียงด้วยเหตุผลไม่ สามารถหาข้อสรุปได้ วิธีการโหวตและยอมรับเสียงข้ างมากโดยยังเคารพสิทธิของเสียข้ างน้อย คือทางออกที่ดี
เมื่อใช้เกณฑ์นี้มาประเมินการตี ความและบังคับใช้กฎหมายกับไผ่ ถ้าอ้างว่าเป็นการตีความและบั งคับใช้กฎหมายโดยคำนึงถึ งประโยชน์ส่วนรวม ก็ต้องอธิบายได้ว่ารัฐได้ประกัน “เสรีภาพ” ในกรณีดังกล่าวอย่างไร ซึ่งจะอธิบายได้ก็ต่อเมื่อเป็ นการตีความและบังคับใช้ กฎหมายบนหลักความเสมอภาคต่อหน้ ากฎหมายและคำนึงถึงการปกป้องสิ ทธิและเสรีภาพขั้นพื้ นฐานของประชาชนเท่านั้น
2. เกณฑ์เสรีนิยมสายค้านท์ (Kantian liberalism) ถือว่าสิทธิเป็นสิ่งที่มีค่ าในตัวมันเอง คุณค่าของสิทธิไม่ได้ขึ้นกับว่ ามันก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ส่วนตัวหรื อส่วนรวม เพราะถ้าอ้างเรื่องความมี ประโยชน์เป็นสิ่งตัดสินคุณค่ าของสิทธิ ย่อมทำให้คุณค่าของสิทธิผั นแปรไปตามเงื่อนไขของผลประโยชน์ ที่นิยามแตกต่างกันไป (เสรีนิยมบางสำนักอาจนิ ยามผลประโยชน์ส่วนรวมแบบหนึ่ง ขณะที่เผด็จการนิยามอีกแบบหนึ่ ง) ฉะนั้น เพื่อให้คุณค่าของสิทธิเป็นสิ่ งที่แน่นอน เราต้องถือว่าคุณค่าของสิทธิต้ องไม่ขึ้นอยู่กับเงื่ อนไขของผลประโยชน์หรือผลลัพธ์อื่ นใด แต่คุณค่าของสิทธิต้องวางอยู่ บนฐานของ “ความเป็นมนุษย์ที่มีอิสระและศั กดิ์ศรีในตัวเอง” ต้องถือว่ามนุษย์ทุกคนมีอิ สระและศักดิ์ศรีในตั วเองเสมอภาคกัน
2. เกณฑ์เสรีนิยมสายค้านท์ (Kantian liberalism) ถือว่าสิทธิเป็นสิ่งที่มีค่
สิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นมนุษย์ ที่มีอิสระและมีศักดิ์ศรีในตั วเอง ก็คือการที่เราทุกคนมีสิทธิในอิ สรภาพที่จะเลือกการมีชีวิตที่ดี ตามแนวทางของตนเอง ตราบที่ยังเคารพสิทธิของบุคคลอื่ น และมีสิทธิในการมีส่วนร่วมเพื่ อสร้างสังคมการเมืองที่ดี ด้วยเหตุนี้รัฐจึงมีหน้าที่รั กษาสิทธิของประชาชน การรักษาสิทธิของประชาชนก็คื อการเคารพความเป็นมนุษย์ ของประชาชน ขณะเดียวกันการไม่เคารพหรื อละเมิดสิทธิของประชาชนก็คื อการไม่เคารพความเป็นมนุษย์ ของประชาชน หรือเป็นการใช้ความเป็นมนุษย์ ของประชาชนเป็น “เครื่องมือ” ไปสู่สิ่งที่ผู้มีอำนาจรัฐต้ องการ
ฉะนั้น การตีความและการบังคับใช้ กฎหมายที่ไม่อยู่บนหลั กความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย และไม่อยู่บนหลักการคำนึงถึงสิ ทธิและเสรีภาพขั้นพื้ นฐานของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญสู งสุด ย่อมเป็นการใช้ความเป็นมนุษย์ ของประชาชนเป็นเครื่องมือ หรือเป็นการไม่เคารพอิ สรภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุ ษย์ของประชาชน
เมื่อประเมินจากเกณฑ์เสรีนิ ยมสายอรรถประโยชน์และเกณฑ์เสรี นิยมสายค้านท์ การตีความและการบังคับใช้ กฎหมายในกรณีไผ่ ย่อมไม่สามารถอธิบายได้ว่าก่ อให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมใดๆ และไม่สามารถอธิบายได้ว่าเป็ นการเคารพอิสรภาพและศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของประชาชน
ยิ่งถ้ายืนยันว่า การดำเนินการกับไผ่เป็นเหตุ ผลเรื่อง “ความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์” หลักการสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็ คือ ความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ย่ อมอยู่บนฐานของความเป็นสถาบันสั ญลักษณ์ในทางวัฒนธรรมที่อิ งความชอบธรรมอยู่กับ “หลักทศพิธราชธรรม” ฉะนั้น หน้าที่ในการปกป้องความมั่ นคงของสถาบันกษัตริย์โดยรัฐบาล กระบวนการยุติธรรม และประชาชนชาวไทยทั้งมวล จำเป็นต้องปกป้องโดยเคารพหลั กทศพิธราชธรรม และหลักกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา
หมายความว่า ในระบอบการปกครองที่สถาบันกษั ตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น หลักทศพิธราชธรรมและหลั กกฎหมายจำเป็นต้องตีความอย่ างสอดคล้องกัน หรือตีความอย่างยึดหลั กกฎหมายเป็นตัวตั้ง นั่นคือยึดหลักความเสมอภาคต่ อหน้ากฎหมาย และการคำถึงถึงสิทธิและเสรี ภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนเป็นตั วตั้ง แล้วจะเห็นว่าคุณธรรมสำคั ญหลายประการในหลักทศพิ ธราชธรรมสามารถตีความอย่ างสอดคล้องกับหลักกฎหมายดังกล่ าวได้เป็นอย่างดี
เช่น ถ้าปกป้องความมั่นคงของสถาบั นกษัตริย์อย่างเคารพหลักทศพิ ธราชธรรม ก็ย่อมจะต้องตีความหลักทศพิ ธราชธรรมอย่างเช่น หลักความไม่โกรธ มีเมตตา (อักโกธ) หลักความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) หลักความอดทนอดกลั้น (ขันติ) และหลักความเที่ยงธรรม การให้ความยุติธรรม (อวิโรธน) เป็นต้น ให้มีความหมายในทางสนับสนุนให้ เกิดการตีความและบังคับใช้ กฎหมายบนพื้นฐานของหลั กความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย และการคำนึงถึงสิทธิและเสรี ภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน
คำถามสำคัญก็คือ กรณีไผ่ ดาวดิน รัฐและกระบวนการยุติธรรมได้ปกป้ องสถาบันกษัตริย์บนหลักการอะไร?
ถ้าบนหลักการคำนึงถึงผลประโยชน์ ส่วนรวม ก็จำเป็นต้องตีความและบังคับใช้ กฎหมายบนหลักความเสมอภาคต่อหน้ ากฎหมาย และคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพขั้ นพื้นฐานของประชาชน
ถ้าบนหลักการเคารพศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของประชาชน ก็ต้องตีความและบังคับใช้ กฎหมายบนหลักความเสมอภาคต่อหน้ ากฎหมาย และคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพขึ้ นพื้นฐานของประชาชน
และถ้าบนหลักการเคารพทศพิ ธราชธรรม ก็ต้องตีความและบังคับใช้ กฎหมายบนหลักความเสมอภาคต่อหน้ ากฎหมาย และคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพขั้ นพื้นฐานของประชาชน
ถ้าการดำเนินการกับไผ่ ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเป็ นไปตามหลักการพื้นฐานดังกล่าว ก็เท่ากับว่ารัฐ, กระบวนการยุติธรรม และสังคมไทยได้เท “เดิมพันหมดหน้าตัก” ด้วยคุณค่าที่สังคมนี้พึงจะมี และด้วยคุณค่าที่เชื่อว่าสั งคมเราเคยมี เราต้องเดิมพันหมดหน้าตักเพื่ ออะไร?
สังคมเราจะอยู่กันอย่างปกติสุ ขบนการทำลายอิสรภาพและศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของบุคคลที่ลุกขึ้ นมายืนยันคุณค่าที่สังคมเราพึ งมีได้อย่างไร เราจะโยนคุณค่าที่ไผ่สู้เพื่ อจะให้เรามีทิ้งไปหน้าตาเฉย และมีชีวิตปกติสุขอยู่บนความทุ กข์ทนหน่วงหนักของเขาเช่นนั้ นหรือ
แสดงความคิดเห็น