คนทำงานเพศหญิงในภาคสาธารณะสุข ถือเป็นกลุ่มบุคคลที่ถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศสูง ที่มาภาพประกอบ: blog.lawroom.com

ปัญหาใหญ่! การคุกคามทางเพศคนทำงานภาคสาธารณสุข


Posted: 21 Apr 2017 10:40 PM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)

หลังเหตุการณ์หมอคุกคามทางเพศพยาบาลที่ จ.ลำปาง ล่าสุดคนร้ายทำร้ายและหวังข่มขืนเจ้าหน้าที่ รพ.สต. จ.บึงกาฬ คนทำงานภาคสาธารณสุขขอเพิ่มระบบความปลอดภัย พบในสหรัฐฯ แม้ว่าในกว่า 20 ปีที่ผ่านมา การคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศในสาขาการแพทย์ดูเหมือนจะลดลง แต่ปัญหานี้ก็ยังเป็นปัญหาหนักอกของผู้หญิงที่ทำงานในสาขานี้

ช่วงปลายเดือน มี.ค. 2560 เกิดกรณีแพทย์คนหนึ่ง ใน จ.ลำปาง ได้ลวนลามพยาบาล จนมีคำสั่งย้ายนายแพทย์คนดังกล่าวไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอื่น ซึ่งปัจจุบัน (กลางเดือน เม.ย. 2560) กำลังมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาความผิด ซึ่งโทษมีตั้งแต่ว่ากล่าวตักเตือนภาคทัณฑ์ระงับใบประกอบวิชาชีพชั่วคราว และเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพนายแพทย์ผู้นี้อยู่

ต่อมาในช่วงสงกรานต์ 2560 ก็ได้เกิดเหตุเจ้าหน้าที่หญิงประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) แห่งหนึ่งใน จ.บึงกาฬ ที่ให้บริการเวรนอกเวลาที่ รพ.สต. โดนคนร้ายทำทีมารับบริการที่ รพ.สต. ได้ทำร้ายร่างกายและพยายามข่มขืน ซึ่งเลขาธิการชมรมนักวิชาการสาธารณสุขประเทศไทย (ชวส.) ได้ระบุว่ากรณีที่เกิดขึ้นนี้เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี 2559-2560 และอยากสะท้อนไปถึงผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขว่า ควรมีการปรับปรุงระบบการรักษาความปลอดภัยของ รพ.สต.ให้มากกว่านี้ เพราะเหตุที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ทางผู้บริหารอ้างว่า รพ.สต.มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี แต่ในทางปฏิบัติถึงแม้จะมีรั้วที่มั่นคง แต่ก็ไม่รู้ว่าผู้ที่มารับบริการนั้นเป็นคนดีหรือคนไม่ดี ครั้นจะติดตั้งกล้องวงจรปิดก็ขาดแคลนงบประมาณ ต้องทำผ้าป่าระดมทุนบ้าง หรือของบประมาณจากหน่วยงานอื่นซึ่งขอค่อนข้างยาก เช่นเดียวกับเรื่องการอยู่เวรนอกเวลา คงปล่อยให้อยู่เวรคนเดียวไม่ได้แล้ว ต้องอยู่เวรคู่ แต่หากจะอยู่เวรคู่ก็ติดปัญหาขาดแคลนงบประมาณไม่พอ แต่ถ้าจะตัดเวรเลยก็กระทบกับชาวบ้านที่มารับบริการอีก บางพื้นที่ใช้วิธีอยู่เวรแล้วล็อกประตู หากผู้มารับบริการดูไว้ใจได้ค่อยเปิดให้เข้ามา ซึ่งก็สร้างความไม่สะดวกอีก (อ่านเพิ่มเติม: หมออนามัยสาว จ.บึงกาฬโดนทำร้ายร่างกายหวังข่มขืน จี้ สธ.เพิ่มระบบความปลอดภัย)

จากกรณีนี้ เบื้องต้นสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬได้สั่งเพิ่มมาตรการความปลอดภัยกรณีมีผู้ป่วยมาขอรับบริการฉุกเฉิน นอกเวลาทำการ ดังนี้ 1.ประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการหากเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถโทรขอความช่วยเหลือทางหมายเลข 1669 ฟรีตลอด 24ชั่วโมง 2.ถ้าจำเป็นต้องตามเจ้าหน้าที่ที่บ้านพัก ให้ตามได้เฉพาะบ้านพักที่มีเจ้าหน้าที่ผู้ชายอยู่เท่านั้น 3.ถ้าจำเป็นต้องลงมาให้บริการผู้ป่วยต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่คนอื่นโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้ชายให้ลงมาช่วย และต้องแจ้ง ผู้อำนวยการ รพ.สต.ด้วย 4.ให้ผู้อำนวยการ รพ.สต. และสาธารณสุขอำเภอประสานกับสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่ ในการให้มาตั้งตู้เช็คเหตุการณ์หน้า รพ.สต. และ 5.ห้ามเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ที่เป็นผู้หญิงลงมาให้บริการดูแลรักษานอกเวลาเวรโดยเฉพาะยามวิกาล

เมืองนอก สถานการณ์ยังน่ากลัว

ปัญหาทำนองเดียวกันนี้ในต่างประเทศ ก็ถือเป็นปัญหาหนักหนักของคนทำงานภาคสาธารณสุข โดย Nicoleta Leontiades เคยเขียนบลอกใน lawroom.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายการจ้างงานไว้เมื่อปี 2016 เธอได้รวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ โดยระบุว่าจากการสำรวจครั้งหนึ่งเมื่อปี 1997 กว่าร้อยละ 73 ของแพทย์หญิงประจำบ้านอายุรกรรมถูกล่วงละเมิดทางเพศ ส่วนงานศึกษาอีกชิ้นในปี 2000 พบว่าประมาณร้อยละ 50 ของอาจารย์แพทย์ผู้หญิงก็เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง และอีกงานศึกษาในปี 2016 พบว่าผู้หญิงในวงการแพทย์นักวิจัย (physician scientists) หนึ่งในสามระบุว่าเคยมีประสบการณ์ในการล่วงละเมิดทางเพศในอาชีพของตน ในสหรัฐฯ แม้ว่าในกว่า 20 ปีที่ผ่านมา การคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศในสาขาการแพทย์ดูเหมือนจะลดลง แต่ปัญหานี้ก็ยังเป็นปัญหาหนักอกของผู้หญิงที่ทำงานในสาขานี้

นอกจากนี้จากงานศึกษาอีกชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกันเมื่อปี 2016 ที่ได้ทำการสำรวจความคิดเห็น แพทย์ชายและหญิงที่ประสบความสำเร็จในสาขาสาธารณสุข 1,066 คน พบสิ่งที่น่าตกใจคือแม้แต่แพทย์ที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ก็ยังระบุว่าเคยได้รับผลกระทบจากความลำเอียงทางเพศ, ความได้เปรียบ(และเสียเปรียบ)ทางเพศ รวมทั้งการล่วงละเมิดทางเพศด้วยเช่นกัน ซึ่งนอกเหนือจากการล่วงละเมิดทางเพศแล้ว พบว่าร้อยละ 70 ของแพทย์หญิงเห็นว่าสภาพแวดล้อมของการทำงานของพวกเธอมีความลำเอียงทางเพศแฝงอยู่ ในขณะที่ร้อยละ 66 ระบุว่าพวกเธอมีประสบการณ์ส่วนตัวกับเรื่องนี้โดยตรง และร้อยละ 22 ของแพทย์ชายเองก็ยอมรับว่าพวกเขาได้รับรู้ถึงความลำเอียงทางเพศนี้ ร้อยละ 10 ยอมรับว่าเคยมีประสบการณ์ส่วนตัวกับเรื่องนี้เองโดยตรงเช่นกัน

ส่วนคนทำงานหญิงในภาคสาธารณะสุข ซึ่งแน่นอนว่าพวกเธอตัวเล็กตัวน้อยกว่าแพทย์หญิงอย่างมากในที่ทำงานของสหรัฐฯ ก็มีข่าวคราวเรื่องการถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานบ่อยครั้งด้วยเช่นกัน โดยจากคนทำงานในภาคสาธารณะสุขกว่า 20,077 คน ในโรงพยาบาลกว่า 6,698 แห่ง ร้อยละ 78.5 เป็นพนักงานผู้หญิง

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.