North Korea's leader Kim Jong Un watches a military drill marking the 85th anniversary of the establishment of the Korean People's Army (KPA)

เมื่อวันพุธ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประชุมร่วมกับสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ เต็มคณะ ที่ทำเนียบขาว เพื่อหารือเรื่องภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า จำเป็นต้องเพิ่มมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อกรุงเปียงยาง พร้อมไปกับการใช้วิธีทางการทูตเพื่อกดดันให้เกาหลีเหนือกลับสู่โต๊ะเจรจา

อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญในเรื่องนี้คือ จีนพร้อมที่จะช่วยเหลือสหรัฐฯ ในการกดดันเกาหลีเหนือมากน้อยแค่ไหน?

นักวิเคราะห์ในประเทศจีนต่างเชื่อว่า รัฐบาลกรุงปักกิ่งได้ใช้มาตรการทุกอย่างเท่าที่จำเป็น ในการควบคุมพฤติกรรมที่ก้าวร้าวของเกาหลีเหนือ ซึ่งรวมถึงการห้ามนำเข้าถ่านหินจากเกาหลีเหนือ การห้ามทำธุรกรรม และการควบคุมการหลั่งไหลของเงินทุนเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันออกเฉียงเหนือแห่งนี้

A Chinese paramilitary policeman stands guard outside of the North Korean Embassy in Beijing, April 20, 2017.


คุณ Lu Chao นักวิชาการด้านเกาหลีเหนือที่ Liaoning Academy of Social Sciences ของจีน ระบุว่า “จีนได้ใช้มาตรการลงโทษที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยใช้ต่อเกาหลีเหนือ ซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อเกาหลีเหนือแน่นอน แต่อาจต้องใช้เวลา”

นักวิเคราะห์บางคนชี้ว่ามาตรการต่อไปที่จีนอาจนำมาใช้ คือการจำกัดด้านพลังงาน ซึ่งอาจรวมถึงการห้ามส่งออกน้ำมันหรือเชื้อเพลิงอื่นๆ ไปยังเกาหลีเหนือ หากว่ากรุงเปียงยางยังดื้อดึงทดสอบนิวเคลียร์หรือขีปนาวุธ ที่ถือเป็นการละเมิดมติของสหประชาชาติ

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในเกาหลีเหนือเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งหลายคนเชื่อว่าจีนอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้แม้ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ ขณะที่นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าอาจเป็นเพราะเกาหลีเหนือได้กักตุนน้ำมันเอาไว้ เนื่องจากเกรงว่าจะถูกคว่ำบาตรการส่งออกในเร็ววันนี้

In this April 26, 2017, photo, a gas attendant waits by a pump at a gas station in Pyongyang, North Korea.


อาจารย์ Cai Jian แห่งศูนย์เกาหลีศึกษา ที่มหาวิทยาลัย Fudan ในนครเซี่ยงไฮ้ เชื่อว่า “หากจีนใช้มาตรการคว่ำบาตรด้านพลังงานจริงๆ จะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อโครงการพัฒนานิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ ตลอดจนส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของเกาหลีเหนือและวิถีชีวิตของผู้คนด้วย จึงควรเก็บเอาไว้ใช้ในกรณีที่ไม่มีทางเลือกจริงๆ”

ที่ผ่านมา จีนคือพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของเกาหลีเหนือ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมักเปรียบความสัมพันธ์ของสองประเทศเพื่อนบ้านนี้ว่าเป็นเสมือน “ลิ้นกับฟัน”

แต่ดูเหมือนความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นตั้งแต่ยุคของผู้นำคิม อิล ซุง และผู้นำคิม จอง นัม กลับเหินห่างไปในยุคของผู้นำรุ่นที่สาม เห็นได้จากที่ คิม จอง อึน ไม่เคยเดินทางเยือนจีนเลยนับตั้งแต่ขึ้นสู่อำนาจ

และเมื่อต้นปีนี้ จีนพยายามส่งผู้แทนด้านนิวเคลียร์ไปเจรจากับเกาหลีเหนือ แต่ก็ถูกปฏิเสธ


FILE - Flags of China and North Korea are seen outside the closed Ryugyong Korean Restaurant in Ningbo, Zhejiang province, China, in this April 12, 2016 photo.

ด้านคุณ Daniel Pinkston นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงเอเชีย ที่มหาวิทยาลัย Troy ในกรุงโซล เชื่อว่าเวลานี้จีนกำลังไม่พอใจอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของเกาหลีเหนือ แต่ก็มีแนวโน้มที่อาจไม่ทำอะไรรุนแรงมากกว่านี้

นักวิเคราะห์ผู้นี้มองว่า “หากพูดถึงการสร้างความตึงเครียดในเกาหลีเหนือจนนำไปสู่การล่มสลายของระบอบการปกครองในปัจจุบัน หรือการสนับสนุนให้เกิดการปฏิวัติในกรุงเปียงยาง ตนยังไม่เห็นประโยชน์หรือความจำเป็นที่จีนต้องทำเช่นนั้น”

อย่างไรก็ตาม มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่เชื่อว่า จีนกำลังเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ ด้วยการใช้นโยบายที่โอนอ่อนกับสหรัฐฯ แต่แข็งกร้าวกับเกาหลีเหนือ เห็นได้จากในบทบรรณาธิการหลายชิ้นในสื่อของทางการจีน ที่ส่งคำเตือนไปยังเกาหลีเหนือให้หยุดพฤติกรรมที่เสี่ยงให้เกิดสงคราม

This image made from video of a still image broadcast in a news bulletin by North Korea's KRT on Wednesday, April 26, 2017, shows what was said to be a "Combined Fire Demonstration" held to celebrate the 85th anniversary of the North Korean army.


คุณ Bong Young-shik แห่งศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัย Yonsei ในกรุงโซล ระบุว่า “จีนได้ส่งคำเตือนที่แข็งกร้าวไปยังกรุงเปียงยางแล้ว เพื่อให้หยุดการคุกคามหรือยั่วยุใดๆ ที่อาจทำให้สหรัฐฯ คิดว่าเกาหลีเหนือกำลังข้ามเส้น”

ตั้งแต่ผู้นำคิม จอง อึน ขึ้นสู่อำนาจ เขาได้สั่งการให้ทดสอบนิวเคลียร์ไปแล้ว 3 ครั้ง และทดสอบขีปนาวุธอีกมากกว่า 10 ครั้ง และเชื่อว่ากำลังจะมีครั้งต่อไปเร็วๆ นี้

และดูเหมือนภายใต้การปกครองของเขา เกาหลีเหนือคงไม่เข้าร่วมในการเจรจาด้านนิวเคลียร์ง่ายๆ ไม่ว่าจะมีจีนเป็นตัวกลางหรือไม่ก็ตาม

source ;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=065999352901716778


แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.