Posted: 21 Nov 2017 03:04 AM PST  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

รัฐบาลพม่าเป็นเจ้าภาพระบบแบ่งแยกเชื้อชาติตั้งแต่เชิงนโยบายถึงการใช้ความรุนแรง โรฮิงญาโดนกีดกันการเข้าถึงสถานะพลเมือง การศึกษา สาธารณสุข ทำพิธีทางศาสนา เรียกร้องนานาประเทศร่วมกันหยุดยั้ง คว่ำบาตรอาวุธให้พม่า อัด ความคิดว่าโรฮิงญาสมควรโดนแล้วเป็นความคิดที่ไม่มีสามัญสำนึก


ซ้ายไปขวา: ลอร่า เฮห์ อันย่า นีสตัต เจมส์ โกเมซ

21 พ.ย. 2560 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แถลงข่าวเปิดตัวรายงานระบบการแบ่งแยกเชื้อชาติและการเลือกปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาในพม่าในรายงานชื่อ “กรงขังที่ไร้หลังคา” นำเสนอรายงานโดยลอรา เฮห์ นักวิจัยของแอมเนสตี้ฯ อันย่า นีสตัต ผู้อำนวยการอาวุโสด้านวิจัย แอมเนสตี้ฯ และเจมส์ โกเมซ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก

งานวิจัยใช้เวลา 2 ปีเก็บข้อมูลจากพื้นที่รัฐยะไข่ที่มีความรุนแรง ได้แก่ มองดอว์ พูทิดอง ก็อกตอว มะรัคอู และชิตตเว เมืองหลวงรัฐยะไข่ ชุมชนราเทดองไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่ก็ได้รับข้อมูลมา มีการสัมภาษณ์ชาวโรฮิงญากว่า 200 คน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ผู้นับถือศาสนาคริสต์ พุทธ มุสลิมและฮินดู รวมทั้งกลุ่มภาคประชาสังคมต่างๆ ทั้งยังศึกษาข้อมูลจากฝ่ายนิติบัญญัติ นักวิชาการและเอกสารอื่นๆ จำนวนมาก

อันย่ากล่าวว่า รัฐยะไข่กลายเป็นคุกไร้หลังคากับชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะโรฮิงญา ระบบการแบ่งแยกเชื้อชาติถูกออกแบบให้ชาวโรฮิงญาเสื่อมเกียรติและสิ้นหวังให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ชาวโรฮิงญาถูกกีดกันออกจากโลกภายนอก ต้องมีอนุญาตให้เดินทาง ถูกละเมิดตามด่านตรวจ บางที่ใช้ถนนไม่ได้ด้วยซ้ำ หลายโรงพยาบาลถูกแยกเป็นหอผู้ป่วยมุสลิมและมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเฝ้าตรวจตราตลอด

อันย่ายังกล่าวว่าระบบดังกล่าวของทางการพม่ามีความรุนแรงเทียบเท่ากับอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ (Crime against humanity) ในประเด็นการแบ่งแยกเชื้อชาติ ซึ่งอธิบายได้จากการที่มีคนเชื้อชาติหนึ่งสร้างระบบการกดขี่หรือการทำให้การกดขี่คนอีกเชื้อชาติหนึ่งกลายเป็นสถาบัน ระบบหรือสถาบันดังกล่าวไม่ได้หมายความแค่ความรุนแรง การฆ่า การข่มขืน ฯลฯ แต่รวมไปถึงกระบวนการนิติบัญญัติและบริหารที่กีดกันไม่ให้คนเชื้อชาติหนึ่งมีส่วนร่วมในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของประเทศ รวมทั้งการปฏิเสธไม่ให้คนกลุ่มดังกล่าวมีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน


ชำนาญ จันทร์เรือง: มายาคติเกี่ยวกับโรฮิงญา

ถกโรฮิงญา: ทางเลือกน้อยนิดของ รบ.พลเรือน เล่า ปวศ.โรฮิงญา กับมุสลิมในอาระกันที่หายไป

โรฮิงญากับสังคมไทย #1: ความรุนแรงผลักผู้ลี้ภัยผิด ก.ม. หวั่นปัญหาขยายสู่ศาสนา

โรฮิงญากับสังคมไทย #2: เปิดชีวิตโรฮิงญาในยะไข่ วาทกรรมเกลียดชังมาแรงขายได้

ลอร่ากล่าวว่า ชาวโรฮิงญาเกิดมาอย่างไร้สถานะ มีความลำบากตลอดชีวิตในการอธิบายว่าเป็นใคร มาจากไหนเพราะว่าเอกสารทางราชการหรือบัตรชั่วคราวโดนยกเลิกหรือไม่ก็ถูกยึดไป ถ้าไม่อยู่บ้านในขณะสำรวจสำมะโนประชากรนั่นหมายความว่าชาวโรฮิงญาคนนั้นจะไม่มีตัวตนในพื้นที่เลย

การขาดสถานะพลเมืองจะส่งผลกับชาวโรฮิงญาตลอดชีวิต จะเดินทางก็ต้องมีใบอนุญาต การขอใบอนุญาตต้องใช้เวลาและผ่านหลายขั้นตอนมาก ระหว่างเดินทางก็อาจโดนเจ้าหน้าที่ตามด่านตรวจทำร้ายร่างกายหรือไม่ก็ถูกคุมขัง การไม่มีสถานะและเงื่อนไขการขอใบอนุญาตเดินทางทำให้เข้าถึงบริการสาธารณะลำบากขึ้นด้วย

เด็กชาวรัฐยะไข่กับเด็กชาวโรฮิงญาอาจไม่เคยเจอกันเลยตลอดชีวิต เด็กชาวโรฮิงญาไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาในโรงเรียนตรงพื้นที่ๆ ยังมีครูได้ ถ้าเด็กเข้าถึงโรงเรียนได้ ต่อให้ผลการเรียนดีก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนมหาลัยในเมืองซิตตเว นอกจากนั้นยังไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางด้วย มาตรการของทางการพม่าทำให้คนโรฮิงญาสิ้นหวังในการมีชีวิต


มัสยิดในรัฐยะไข่ที่ถูกทำลาย (ที่มา: Amnesty International)

ชาวโรฮิงญาพบเจอการกีดกันในทางการเมือง พวกเขาไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ และยากมากที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไร นอกจากนั้นยังไม่มีสิทธิเลือกตั้งด้วย

“มันคือประสบการณ์ของชาวโรฮิงญาทั้งกลุ่มที่ไม่มีเหตุผลอื่นในการถูกกดดันอย่างเป็นระบบนอกจากว่าพวกเขาเป็นใคร มีชาติพันธุ์อะไรและนับถือศาสนาอะไรแค่นั้น” ลอร่ากล่าว

นักวิจัยของแอมเนสตี้ฯ ยังกล่าวว่า ทางแอมเนสตี้ฯ เรียกร้องให้รัฐบาลพม่ายกเลิกระบบการแบ่งแยกชนชาติ ทบทวนข้อบังคับ นโยบายและการกระทำอย่างเลือกปฏิบัติบนฐานของเชื้อชาติและการนับถือศาสนา รัฐบาลพม่าต้องออกมารับผิดชอบด้วยการเยียวยาความสูญเสียต่อเหยื่อและครอบครัวของพวกเขา ถ้าหากรัฐบาลพม่าทำไม่ได้ ทางแอมเนสตี้ขอให้ประชาคมนานาชาติมีส่วนร่วมในการหยุดยั้งวิกฤติการณ์ครั้งนี้ ซึ่งอาจทำได้ด้วยการคว่ำบาตรการค้าอาวุธหรือเข้ามาช่วยเหลือด้วยการพัฒนา ทั้งนี้ การเข้ามาช่วยเหลือและพัฒนาจากประชาคมระหว่างประเทศจะต้องอยู่บนฐานของการไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อไม่เป็นการเติมเชื้อไฟให้ความขัดแย้ง ทั้งนี้ หลักความผิดสากล (Universal jurisdiction) ควรถูกนำมาประกอบใช้ในวิกฤติการณ์ครั้งนี้ที่ถือว่าเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ

ลอร่ากล่าวว่า สำหรับไทย ในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านและสมาชิกประชาคมระหว่างประเทศไม่ควรมองวิกฤตโรฮิงญาว่าเป็นเรื่องภายในประเทศ “เรากำลังพูดถึงอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติซึ่งเป็นอาชญากรรมตามความผิดสากล เป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงและทุกรัฐก็เกี่ยวข้อง ไทยไม่ควรจะมองว่าเป็นเรื่องอธิปไตยของรัฐ เรื่องฉันทามติ เรื่องหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ไทยเองก็เป็นบ้านให้กับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่หนีออกมาจากระบอบดังกล่าว ถ้าไทยต้องการจะตั้งคำถามกับต้นตอปัญหาของผู้ลี้ภัยในอาเซียน ไทยจำเป็นที่จะต้องกระแทกประเด็นพม่าที่แสดงให้เห็นถึงการกีดกันเชื้อชาติที่ทำโดยรัฐ”

ต่อความคิดที่เห็นว่าโรฮิงญาสมควรเจอชะตากรรมเช่นนั้น ลอร่ามองว่าเป็นความคิดที่ไม่มีสามัญสำนึก “ความคิดที่ว่าคนๆ หนึ่งสมควรโดนข่มขืน โดนฆ่า หรือโดนเผาบ้านเพียงเพราะว่าพวกเขามีชาติพันธุ์อะไรหรือนับถือศาสนาอะไรเป็นความคิดที่ไม่มีสามัญสำนึก กลับมาในเรื่องพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ว่ามีมนุษย์ถูกรัฐบาลพม่าคุกคาม และมันไม่ใช่เรื่องใหม่ มันเกิดขึ้นมาหลายทศวรรษและเราเรียกร้องประชาคมระหว่างประเทศให้ออกมาแสดงความรับผิดชอบด้วยการหยุดยั้งมัน”
รัฐยะไข่: คุกกลางแจ้ง

ในขณะที่ชาวโรฮิงญาต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบที่รัฐสนับสนุนในพม่าเป็นเวลาหลายทศวรรษ การสืบสวนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลชี้ให้เห็นว่าการปราบปรามเช่นนี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมากนับแต่ปี 2555 ตรงกับช่วงที่เกิดเหตุความรุนแรงระหว่างชุมชนพุทธและมุสลิมทั่วประเทศ

แท้จริงแล้ว ชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ถูกปิดกั้นจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง และต้องเผชิญกับข้อจำกัดร้ายแรงต่อเสรีภาพในการเดินทาง ส่งผลให้ถูกกักอยู่ในหมู่บ้านและชุมชนของตน มาตรการจำกัดสิทธิเหล่านี้ปรากฏในกลไกที่ยึดโยงกฎหมายระดับชาติ “เทศบัญญัติ” และนโยบายต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือแสดงพฤติกรรมเหยียดเชื้อชาติอย่างเปิดเผย

ระเบียบที่มีผลบังคับใช้ทั่วรัฐยะไข่กำหนดชัดเจนว่า “ชาวต่างชาติ” และ “เบงกาลี [ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกดูถูกชาวโรฮิงญา]” จำเป็นต้องได้รับอนุญาตพิเศษเมื่อจะเดินทางไปต่างอำเภอ ในตอนเหนือของรัฐยะไข่ซึ่งเคยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญาจนกระทั่งการอพยพลี้ภัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ แม้แต่การเดินทางไปอีกหมู่บ้านหนึ่งยังถูกจำกัดอย่างเข้มงวด ชาวบ้านต้องได้รับอนุญาตจากทางการก่อนเดินทาง ทั้งนี้ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา การประกาศเคอร์ฟิวโดยพลการเกิดขึ้นอย่างร้ายแรงและต่อเนื่องในพื้นที่ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวโรฮิงญา .

ในตอนกลางของรัฐยะไข่ ชาวโรฮิงญาถูกควบคุมอย่างเข้มงวดให้อยู่แต่ในหมู่บ้านและในที่พักพิงชั่วคราว อีกทั้งยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ถนนในการเดินทางในบางพื้นที่ แต่ต้องเดินทางทางน้ำและเป็นการเดินทางไปหมู่บ้านมุสลิมอื่นด้วยกันเท่านั้น

สำหรับชาวโรฮิงญาที่มีใบอนุญาตจากทางการให้เดินทางในตอนเหนือของรัฐยะไข่ พวกเขาต้องประสบความยากลำบากเมื่อเจอด่านตรวจจำนวนมากของเจ้าหน้าที่ตำรวจพิทักษ์ชายแดน (Border Guard Police - BGP) พวกเขามักถูกเจ้าหน้าที่คุกคาม ถูกบังคับให้จ่ายค่าสินบน รวมถึงถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกจับกุม


ชายชาวโรฮิงญาคนหนึ่งกล่าวว่า เขาเห็นการใช้อำนาจโดยมิชอบเช่นนี้เมื่อรถโดยสารของเขาถูกตำรวจโบกให้จอด “มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งหมดสี่นาย สองนายใช้ไม้เท้าตีที่ข้างหลัง ไหล่ และขาอ่อนผู้ชายคนหนึ่ง ส่วนอีกคนหนึ่งใช้มือตบหน้าผู้หญิงสี่หรือห้าครั้ง […] หลังจากนั้นก็พาตัวพวกเขาไปโรงพัก”

ระหว่างการทำวิจัยเพื่อเขียนรายงานนี้ เจ้าหน้าที่ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลพบเห็นตำรวจพิทักษ์ชายแดนเตะชายชาวโรฮิงญาที่ด่านตรวจแห่งหนึ่ง พร้อมทั้งเก็บข้อมูลวิสามัญฆาตรกรรมได้อย่างน้อยหนึ่งกรณี เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจพิทักษ์ชายแดนยิงสังหารชายอายุ 23 ปีขณะเดินทางในช่วงเวลาที่ประกาศเคอร์ฟิว

ในช่วงที่เกิดเหตุรุนแรงเมื่อปี 2555 ชาวโรฮิงญาหลายหมื่นคนถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ในเขตเมืองของรัฐยะไข่ โดยเฉพาะจากเมืองซิตตเวซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐ ปัจจุบันยังมีชาวโรฮิงญาอีกประมาณ 4,000 คนอาศัยอยู่ในเมืองนี้ พวกเขาต้องอาศัยอยู่ในสภาพที่เหมือนค่ายกักกันที่มีรั้วลวดหนามกั้นและมีด่านตรวจ พวกเขาเสี่ยงต่อการถูกจับกุมและเผชิญความรุนแรงจากชุมชนใกล้เคียงหากพยายามหลบหนีออกไป
ชีวิตที่แขวนอยู่บนเส้นด้าย

ข้อจำกัดของเสรีภาพในการเดินทางส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการดำรงชีวิตประจำวันของชาวโรฮิงญาหลายแสนคน ถึงขั้นที่มีความเสี่ยงต่อการอยู่รอด

ในขณะที่โรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วไปในรัฐยะไข่มีบริการที่ค่อนข้างแย่อยู่แล้ว ชาวโรฮิงญายังถูกปิดกั้นการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ซึ่งบางครั้งส่งผลให้มีอันตรายถึงชีวิต

ชาวโรฮิงญาถูกกีดกันไม่ให้ใช้บริการในโรงพยาบาลซิตตเว ซึ่งถือเป็นสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานบริการสูงสุดในรัฐยะไข่ ยกเว้นเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการสาหัสร้ายแรง อย่างไรก็ตาม แม้กรณีเช่นนี้ก็ต้องได้รับอนุญาตเป็นพิเศษจากทางการรัฐยะไข่ และต้องมีตำรวจคุมขณะเดินทางไปโรงพยาบาล ชาวบ้านหลายคนในตอนเหนือของรัฐยะไข่จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องเดินทางไปรับการรักษาพยาบาลเมื่อจำเป็นในบังคลาเทศ แต่การเดินทางเช่นนี้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก ครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยมากเท่านั้นจึงจะเดินทางได้


คลินิกในค่ายโรฮิงญาพลัดถิ่น (ที่มา: Amnesty International)


“ผมอยากไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลซิตตเว แต่พวกเขาห้ามไม่ให้ไป เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบอกว่าผมไปที่นั่นไม่ได้เพราะอาจจะไม่ปลอดภัย และบอกให้ผมไปรักษาตัวที่บังคลาเทศแทน ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก พี่ชายผมต้องขายนาข้าวและวัวบางส่วนเพื่อจ่ายค่าเดินทางให้ผม นี่ถือว่าผมยังโชคดี....ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีเงินจ่ายแบบนี้ได้ พวกเขาได้แต่รอความตาย”

ชายอายุ 50 ปีเศษคนหนึ่งกล่าวว่า “ผมอยากไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลซิตตเว แต่พวกเขาห้ามไม่ให้ไป เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบอกว่าผมไปที่นั่นไม่ได้เพราะอาจจะไม่ปลอดภัย และบอกให้ผมไปรักษาตัวที่บังคลาเทศแทน ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก พี่ชายผมต้องขายนาข้าวและวัวบางส่วนเพื่อจ่ายค่าเดินทางให้ผม นี่ถือว่าผมยังโชคดี....ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีเงินจ่ายแบบนี้ได้ พวกเขาได้แต่รอความตาย”

ในพื้นที่อื่นนอกจากตอนเหนือของรัฐยะไข่ ชาวโรฮิงญาเข้าถึงสถานพยาบาลได้เพียงไม่กี่แห่ง คนไข้โรฮิงญาเหล่านี้จะถูกกักให้อยู่ในเฉพาะ “หอผู้ป่วยมุสลิม” ซึ่งมีตำรวจคุมอยู่ เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์คนหนึ่งเปรียบเทียบว่าหอผู้ป่วยนี้ไม่ต่างจาก “โรงพยาบาลที่เป็นเรือนจำ”

ชาวโรฮิงญาหลายคนกล่าวว่า พวกเขาต้องจ่ายค่าสินบนให้กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและตำรวจผู้คุม หากต้องการโทรศัพท์ติดต่อสมาชิกครอบครัว หรือต้องการซื้ออาหารจากภายนอก ส่วนคนอื่น ๆ หลีกเลี่ยงไม่ไปโรงพยาบาลเลยเพราะกลัวการปฏิบัติโดยมิชอบของแพทย์และพยาบาล หรือคิดว่าพวกเขาคงไม่ได้รับการรักษาดูแล

“การปฏิเสธไม่ให้ชาวโรฮิงญาเข้าถึงการรักษาพยาบาลเป็นสิ่งที่น่าชิงชังมาก เราได้พูดคุยกับผู้หญิงหลายคนที่กล่าวว่า พวกเธอยินดีคลอดบุตรที่บ้านในสภาพที่ขาดสุขอนามัย มากกว่าเสี่ยงเจอการปฏิบัติโดยมิชอบหรือถูกรีดไถในโรงพยาบาล” อันย่ากล่าว

นับตั้งแต่ปี 2555 ทางการพม่าเพิ่มมาตรการจำกัดการเข้าถึงการศึกษาของชาวโรฮิงญา ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐยะไข่ เด็กชาวโรฮิงญาไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ ทั้งที่ก่อนหน้านี้โรงเรียนเปิดรับเด็กจากหลากหลายเชื้อชาติ นอกจากนี้ ข้าราชการครูมักปฏิเสธไม่เดินทางไปสอนในพื้นที่ของชาวมุสลิม

ชาวโรฮิงญาส่วนใหญ่มักไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาขั้นอุดมศึกษา หลายคนที่พูดคุยกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลแสดงความท้อใจและสิ้นหวังต่ออนาคตของตนเอง


"อาวุธที่รุนแรงที่สุดของทางการคือการจำกัดการศึกษา ถ้าผมไม่ได้เรียน ไม่มีวุฒิแล้วจะมีอนาคตอะไร น้องชายของผมที่ไม่เห็นเป้าหมายว่าจะไปเรียนทำไมจะมีอนาคตแบบไหน แล้วครูที่ไม่สามารถใช้และขยายการศึกษาของตัวเองจะมีอนาคตแบบไหน การทำดีไม่มีรางวัลตอบแทน การตัดการศึกษาของพวกเราคือการตัดอนาคตของพวกเรา"

"อาวุธที่รุนแรงที่สุดของทางการคือการจำกัดการศึกษา ถ้าผมไม่ได้เรียน ไม่มีวุฒิแล้วจะมีอนาคตอะไร น้องชายของผมที่ไม่เห็นเป้าหมายว่าจะไปเรียนทำไมจะมีอนาคตแบบไหน แล้วครูที่ไม่สามารถใช้และขยายการศึกษาของตัวเองจะมีอนาคตแบบไหน การทำดีไม่มีรางวัลตอบแทน การตัดการศึกษาของพวกเราคือการตัดอนาคตของพวกเรา" ชายชาวโรฮิงญาคนหนึ่งจากตอนเหนือของรัฐยะไข่ที่ไม่สามารถศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้เนื่องจากความรุนแรงที่เกิดในปี 2555 กล่าว


เด็กชาวโรฮิงญา (ที่มา: Amnesty International)

การควบคุมการเดินทางที่เข้มงวดขึ้นยังส่งผลกระทบต่อการหาเลี้ยงชีพของชาวโรฮิงญา และทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารการกิน มีการตัดขาดเส้นทางการค้าไม่ให้พ่อค้าแม่ค้าเดินทางไปตลาด ขณะที่เกษตรกรถูกห้ามไม่ให้ทำไร่ไถนา ภาวะทุพโภชนาการและความยากจนเป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วไปในชุมชนโรฮิงญาในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และมีสถานการณ์รุนแรงขึ้นเนื่องจากทางการจำกัดการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

“เป็นเรื่องที่ท้าทายมากทุกวันนี้ เพราะพวกเราไม่มีอาหารเพียงพอต่อการบริโภค ไปติดคุกเสียยังดีกว่า อย่างน้อยพวกเรายังมีข้าวกินทุกมื้อ แต่ชีวิตทุกวันนี้ก็เหมือนอยู่ในคุกอยู่แล้ว” ชายชาวโรฮิงญาวัย 25 ปีกล่าว

คำสั่งห้ามชุมนุมของบุคคลกว่าสี่คนขึ้นไปมีผลบังคับใช้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ทั้งยังส่งผลให้ชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ถูกห้ามไม่ให้ทำละหมาดด้วยกันโดยปริยาย ทางการพม่ายังสั่งปิดมัสยิด ส่งผลให้ศาสนสถานของมุสลิมเสื่อมโทรม
การปฏิเสธไม่ให้สัญชาติ

การปฏิเสธสิทธิตามกฎหมายของพวกเขาในพม่าถือเป็นรากฐานของการเลือกปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญา หัวใจของการเลือกปฏิบัตินี้ คือกฎหมายและการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐที่มีลักษณะเหยียดเชื้อชาติิ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2525 ซึ่งปฏิเสธไม่ให้สัญชาติกับชาวโรฮิงญา โดยอ้างเหตุผลเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของพวกเขา

งานวิจัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังเผยให้เห็นว่า ทางการพม่าจงใจมีส่วนร่วมในการรณรงค์เพื่อยกเลิกบัตรประจำตัวของชาวโรฮิงญาซึ่งมีอยู่จำกัดอยู่แล้ว นับแต่ปี 2559 รัฐบาลสร้างกฎเกณฑ์ยุ่งยากเพื่อกีดกันไม่ให้ชาวโรฮิงญาลงทะเบียนทารกแรกเกิดใน “ทะเบียนบ้าน” ซึ่งเป็นหลักฐานเดียวที่ยืนยันถิ่นที่อยู่ของครอบครัวชาวโรฮิงญาในพม่า ขณะที่ในตอนเหนือของรัฐยะไข่คนที่ไม่กลับมาบ้านระหว่าง “การนับหัวประชากร” ประจำปีเสี่ยงถูกตัดชื่อออกจากบัญชีรายชื่อของทางการโดยสิ้นเชิง

การรณรงค์นี้ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีออกนอกประเทศแล้วแทบจะไม่สามารถกลับมายังถิ่นฐานบ้านเกิดได้อีก นับเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างยิ่งเนื่องจากปฏิบัติการทางทหารในปี 2559 และ 2560 ยังส่งผลให้ชาวโรฮิงญาเกือบ 700,000 คนหลบหนีไปยังบังคลาเทศ และต้องอยู่อาศัยตามค่ายผู้ลี้ภัยในสภาพที่ยากลำบาก

“การคืนสิทธิและสถานภาพทางกฎหมายให้กับชาวโรฮิงญา และการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสัญชาติที่มีลักษณะเลือกปฏิบัติ เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนสำหรับทั้งชาวโรฮิงญาที่ยังอยู่ในประเทศและคนที่ต้องการเดินทางกลับเข้ามา เราไม่อาจขอให้ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีการปราบปรามในพม่าเดินทางกลับมาอยู่ในระบบที่ยังมีการแบ่งแยกทางเชื้อชาติได้” อันย่ากล่าว
ขจัดระบบการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ

จากการวิเคราะห์หลักฐานเชิงกฎหมายอย่างละเอียด แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลพบข้อสรุปว่า การปฏิบัติของทางการพม่าต่อชาวโรฮิงญาถือเป็นการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ ตามคำจำกัดความของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ และธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ

พม่ามีพันธกรณีตามกฎหมายที่ต้องยกเลิกระบบการแบ่งแยกทางเชื้อชาติในรัฐยะไข่ และต้องรับประกันว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดในอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่ตนกระทำ

“รัฐยะไข่กลายสถานที่เกิดเหตุอาชญากรรม นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นนานก่อนหน้าการปฏิบัติที่โหดร้ายทารุณของทหารในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ระบบการเลือกปฏิบัติและการแบ่งแยกอันน่ารังเกียจนี้ส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมชีวิตของชาวโรฮิงญา หากไม่มีมาตรการขจัดระบบนี้อย่างเร่งด่วน ระบบจะดำรงอยู่ต่อไปแม้ภายหลังทหารยุติปฏิบัติการแล้ว” อันย่า กล่าว

“ทางการไม่อาจอ้างเหตุผลที่มีช่องโหว่นี้เกี่ยวกับความจำเป็นต้องรักษา “ความปลอดภัย” หรือจำเป็นต้องต่อสู้กับ “การก่อการร้าย” ในการสนับสนุนการจำกัดสิทธิของชาวโรฮิงญาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม การกดขี่ที่เป็นอยู่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้สัดส่วนอย่างสิ้นเชิง ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่อาจนำมาใช้สนับสนุนอาชญากรรมต่อมนุษยชาติได้ ไม่ว่าจะเป็นการอ้าง “มาตกรการรักษาความปลอดภัยหรือสาเหตุใด ๆ ก็ตาม”

“ประชาคมระหว่างประเทศต้องตื่นจากฝันร้าย และเผชิญกับความจริงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในรัฐยะไข่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าการพัฒนาอาจเป็นทางออกที่สำคัญอย่างหนึ่ง แต่การพัฒนาไม่อาจเกิดขึ้นได้ในลักษณะที่ยิ่งตอกย้ำการเลือกปฏิบัติ ประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะบรรดาประเทศผู้ให้ทุน ต้องรับประกันว่าตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการละเมิดเหล่านี้เมื่อเข้าไปมีส่วนร่วมกับพม่า”
ข้อมูลพื้นฐาน: การแบ่งแยกทางเชื้อชาติคืออะไร?

ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามและการลงโทษอาชญากรรมการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ และธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ การแบ่งแยกทางเชื้อชาติถูกจำแนกว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งครอบคลุมการกระทำหลายประการ เกิดขึ้นในบริบทที่มีการกดขี่และครอบงำเชิงโครงสร้างที่กระทำอย่างเป็นระบบ โดยกลุ่มเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่ง เหนือกลุ่มเชื้อชาติกลุ่มอื่นหรือหลายกลุ่ม และมีเจตนาเพื่อธำรงระบบเช่นนั้นไว้ต่อไป

การกระทำบางประการที่เกิดขึ้นในบริบทเช่นนี้ และที่ถือเป็นความผิดทางอาญาฐานการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ ครอบคลุมตั้งแต่การใช้ความรุนแรงอย่างเปิดเผย ซึ่งรวมถึงการสังหาร การข่มขืน การทรมาน ไปจนถึงการใช้มาตรการทางกฎหมาย ทางปกครอง หรืออื่น ๆ เพื่อขัดขวางไม่ให้กลุ่มเชื้อชาติกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่มมีส่วนร่วมทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศ พร้อมทั้งปฏิเสธไม่ให้พวกเขามีสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างชัดเจนที่ชี้ให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ใช้ทั้งมาตรการควบคุมจำกัดและการกระทำรุงแรงในรัฐยะไข่ คือกรณีข้อจำกัดร้ายแรงต่อเสรีภาพการเดินทางของชาวโรฮิงญา ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมของ “การลิดรอนอิสรภาพทางกายอย่างร้ายแรง” ตามที่กำหนดไว้ในธรรมนูญกรุงโรม

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.