Posted: 23 Nov 2017 07:36 AM PST
กรกาญจน์ มุ่งพาลชล
1. บทนำ
"ทรัพย์สินทางปัญญา" คืออะไร? ทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) หมายถึงผลงานการสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ หรือการมีส่วนร่วมในผลงานสร้างสรรค์ทางปัญญา หรือในการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม โดยทั่วไปแล้วหลักการของทรัพย์สินทางปัญญา มักจะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่ง ที่ประกอบด้วย ทรัพย์สินอุตสาหกรรมและลิขสิทธิ์ แม้วัตถุแห่งสิทธิ์จะไม่มีตัวตนแต่กฎหมายได้รับรองสิทธิเหนือผลงานการสร้างสรรค์ทางปัญญานั้นให้เป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย สิทธิทางศีลธรรม(Moral rights) และสิทธิทางเศรษฐกิจ (Economic rights)
ในยุคโลกาภิวัตน์ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว สาเหตุมาจากมีปัจจัยข้ามพรมแดนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความขัดแย้งในหลายประเด็นปัญหา รวมทั้งประเด็นที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เป็นผลให้ทุกประเทศทั่วโลกเกิดความห่วงใยในระบบทรัพย์สินทางปัญญา ในปี1886 หลายประเทศได้มีการลงนาม ในข้อตกลง"อนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม” (Berne Convention for Protection of Literary and Artistic Works) เพื่อ คุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งดำเนินการโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก อนุสัญญานี้ถือได้ว่าเป็นอนุสัญญาลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศฉบับแรกของโลก อนุสัญญากำหนดมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับของประเทศส่วนใหญ่ให้คุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ โดยอนุสัญญา อนุญาตให้รัฐมีอำนาจในการอนุญาตให้สาธารณะชนใช้ผลงานในงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้อย่าง"ยุติธรรมและเป็นธรรม" การใช้งานลิขสิทธิ์อย่าง "ยุติธรรมและเป็นธรรม" ใช้อย่างไร? เนื่องจากจุดประสงค์ที่สำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาคือกลไกการกระตุ้นให้มีการแสดงออกทางปัญญาในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกของความคิด ความรู้และการสื่อสาร นอกจากนี้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญากำหนดให้ผู้สร้างสรรค์ต้องได้รับผลตอบแทนอย่างเพียงพอ โดยกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาบัญญัติให้เฉพาะผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้นมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว(exclusive right)ในผลงานการสร้างสรรค์นั้น และบุคคลอื่นใดที่ไม่ใช่ผู้ทรงสิทธิไม่มีสิทธิจะได้รับหรือใช้สิทธินั้น ยกเว้นโดยความยินยอมของผู้ทรงสิทธิหรือตามกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้น เป็นสิทธิพิเศษเฉพาะตัวหรือการผูกขาดที่ได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมาย อย่างไรก็ตามในขณะที่กฎหมายปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์ทางปัญญา อีกด้านหนึ่ง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญายังทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารให้แพร่หลาย เพื่อส่งเสริมอารยะธรรมทางสังคมให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือการคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ผลงานและคุ้มครองสาธารณะชนผู้ใช้งานไปพร้อมกัน ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาคือ เมื่อเกิดความขัดแย้ง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาจะทำหน้าที่ในการประสานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในผลงานการสร้างสรรค์นั้น เพื่อให้เกิดความสมดุลของผลประโยชน์โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ทุกๆด้าน และเพื่อต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น นี่คือวัตถุประสงค์หลักของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
วันนี้เราทุกคนต้องยอมรับว่าปัญหาของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นขยายตัวอย่างกว้างขวางและมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วไม่เพียงแต่เกิดความไม่สมดุลระหว่างผลประโยชน์ของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาและสาธารณะชนเท่านั้น ความไม่สมดุลระหว่างผลประโยชน์ของประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ยังอยู่ในขั้นขัดขวางความก้าวหน้าของการถ่ายทอดเทคโนโลยีอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบทรัพย์สินทางปัญญากำลังถูกทำลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่เกิดจาก ลิขสิทธิ์ในความหลากหลายของความขัดแย้งที่โดดเด่นที่สุดคือความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์กับประชาชนผู้ใช้ผลงานลิขสิทธิ์นั้น นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งประเทศที่กำลังพัฒนาถูกเอารัดเอาเปรียบจากประเทศที่พัฒนาแล้ว สาเหตุมาจากประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ผลงานลิขสิทธิ์ได้อย่างยุติธรรมและเป็นธรรม แม้ว่าลิขสิทธิ์ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวหรือสิทธิพิเศษภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์จะได้รับการคุ้มครองทันทีตราบใดที่สร้างสรรค์ผลงาน ถ้าเป็นเช่นนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ถือสิทธิในผลงานนั้นแต่เพียงผู้เดียวแล้วผูกขาด ซึ่งถือว่าไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งผ่านงานตามปกติไม่เอื้อต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและไม่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมอื่นๆ ที่สำคัญคือไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาต่อยอด ให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป นอกจากนี้ยังทำให้ประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถสร้างผลประโยชน์ของตนเองได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้วิธีการทางกฎหมายเป็นเครื่องมือลิดรอนสิทธิ์ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งขัดแย้งกับหลักการของทรัพย์สินทางปัญญา
ปีที่ผ่านมาปัญหาลิขสิทธิ์กลายเป็นหัวข้อที่ร้อนแรงที่สุดในโลก ประเทศไทยก็เช่นกัน แม้ว่าคนไทยจะตื่นตัวเรื่องลิขสิทธิ์มากขึ้น แต่การตื่นตัวของคนไทยและชาวต่างชาตินั้นดูเหมือนจะแตกต่างกัน นักวิชาการด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทยบางคนเห็นว่า รัฐบาลไทยขาดความเข้าใจในเนื้อแท้ของทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญายังมีความไม่ยุติธรรม ทำให้การบังคับใช้และการตีความในเนื้อหาของกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยผิดแผกแตกต่างไปจากนานาอารยะประเทศ โดยนโยบายของรัฐบาลมุ่งคุ้มครองเฉพาะเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ซึ่งเห็นได้จากการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาของรัฐบาลไทยไม่ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้เกี่ยวกับการใช้ผลงานอันมีลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรมได้ตามกกหมาย แต่ยังปล่อยปะละเลยให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวาง “ห้าม” ประชาชนละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของข้อตกลงระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังปล่อยปะละเลยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบางคนใช้อำนาจอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ชอบธรรม คุกคาม ข่มขู่ รีดไถ ประชาชน ผู้ซึ่งขาดความรู้ความใจในสิทธิของตนเองที่สามารถใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น โดยชอบด้วยกฎหมาย จากมุมมองของนักวิชาการด้านลิขสิทธิ์ของประเทศไทยมองว่า ประชาชนไทยถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการใช้ผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เป็นอย่างมาก ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับระบบความเป็นธรรมภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของประเทศไทยโดยเปรียบเทียบกับประเทศสาธารรัฐประชาชนจีนและประเทศสหรัฐอเมริกา
2. แนวคิดหลักการใช้อย่างเป็นธรรมภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
เนื่องจากการใช้งานอย่างเป็นธรรม เป็นหลักข้อยกเว้นของกฎหมายลิขสิทธิ์ ดังนั้นเราจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าลิขสิทธิ์นั้นคืออะไร และกฎหมายคุ้มครองด้านใดบ้าง ปัจจุบันประเทศต่างๆเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย เราจึงต้องผูกพันตามพันธะสัญญาภายใต้ความตกลงต่างๆ ของ WTO ที่จะต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลง ประเทศต่างๆ จึงต้องผูกพันตามข้อตกลง "อนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม” ประเทศสมาชิกจำเป็นต้องบัญญัติกฎหมายลิขสิทธิ์ให้สอดคล้องกับอนุสัญญา เช่นเดียวประเทศจีน "กฎหมายลิขสิทธิ์" มาตรา 1 บัญญัติว่า “โดยเจตนาของระบบสังคมนิยม เพื่อส่งเสริมอารยะธรรม การสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ และ ต้องส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง การพัฒนาของความร่วมมือทางวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์” ภายใต้ มาตรา 11 บัญญัติว่า “กฎหมายลิขสิทธิ์สาธารณรัฐประชาชนจีน คุ้มครองลิขสิทธิ์ของผู้แต่งที่ประกอบด้วยงานวรรณกรรมศิลปกรรมและวิทยาศาสตร์ตลอดจนสิทธิต่างๆที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์” [1]
ในกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกามาตรา 17 U.S. Code § 106 บัญญัติว่า “ลิขสิทธิ์ถือเป็นสิทธิพิเศษของผู้ประพันธ์”[2]และภายใต้พะราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของประเทศไทย มาตรา 4 บัญญัติว่า “ลิขสิทธิ์เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ” [3]
จึงเห็นได้ว่าทุกประเทศนั้น ความหมายของลิขสิทธิ์ (copyright) หมายถึงสิทธิ์หรือสิทธิพิเศษโดยเฉพาะของผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยสองสิทธิ์คือสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิทางศีลธรรม
สำหรับการคุ้มครองลิขสิทธิ์นั้น ภายใต้อนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรมกำหนดไว้ว่า เมื่อผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานจะได้รับการคุ้มครองโดยอัตโนมัติ และวัตถุประสงค์ของหลักการของการป้องกันโดยอัตโนมัติ ก็เพื่อให้การคุ้มครองลิขสิทธิ์มีความแตกต่างจากสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ นั่นคือ ภายใต้หลักการนี้พลเมืองของประเทศสมาชิกของอนุสัญญาและบุคคลอื่นที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐสมาชิกมีสิทธิ์จะได้รับการคุ้มครองโดยอัตโนมัติในช่วงเวลาของการสร้างสรรค์ผลงานนั้น พลเมืองของประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกซึ่งไม่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศสมาชิก ซึ่งงานของตนได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในประเทศสมาชิก [4]
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับหลักความสมดุล
ธรรมชาติโดยทั่วไปในชีวิตประจำวันมนุษย์มักจะเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ระบบทรัพย์สินทางปัญญาก็เช่นเดียวกัน ยังมีความขัดแย้งในหลายๆ ประเด็นปัญหา แม้ว่ากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาจะถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ก็ยังมีจำนวนมากของปัญหาที่ได้รับการแก้ไขอย่างไม่ยุติธรรม เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาจึงต้องบัญญัติหลักการสมดุลขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ ซึ่งในการวิเคราะห์ความสมดุล (Balance Analysis) โดยทั่วไปนั้นใช้วิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน โดยการชั่งน้ำหนัก ทั้งสองด้านหรือมากกว่านั้นโดยไม่ให้เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งก็คือการรักษาความสมดุล ที่คนไทยนิยมเรียกว่า “ตราชั่ง”ในการหยิบยกประเด็นความขัดแย้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้มีอำนาจบังคับใช้กกหมายภายใต้หลักการนี้ ต้องใช้อย่างมีสติโดยคำนึงถึงกฎของความเป็นเอกภาพ ที่จะไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง พร้อมทั้งผลักดันการพัฒนาหลักการนี้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ก็เช่นกันการแก้ไขปัญหาจะต้องตระหนักถึงความสมดุลและเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นในด้านการคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์ และในด้านของผู้ที่ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ โดยให้ทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์อย่างสมดุลโดยความเป็นธรรม[5]
2.3 แนวคิดหลักความเป็นธรรมและความยุติธรรม
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ภายใต้ความแตกต่างกันของมนุษย์ ทำให้เกิดการแสวงหาอย่างไม่หยุดยั้งของการอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ในความขัดแย้งที่พวกเขาการแสวงหาความสามัคคีร่วมกันนั้น พวกเขาค้นพบว่าหลักการของ“ความเป็นธรรมและความยุติธรรม”เท่านั้นที่จะประสานความขัดแย้งเหล่านั้นได้[6]
2.3.1 แนวคิดความเป็นธรรม
ความเป็นธรรมเป็นศัพท์ทางสังคมวิทยา ในกฎหมายความเป็นธรรมเป็นหนึ่งในค่านิยมพื้นฐานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ความเป็นธรรมหมายถึงประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมและเสมอภาค นั่นคือ มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน
2.3.2 ความยุติธรรมแนวคิด
เรื่องความยุติธรรมนั้นมีมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ หลังจากที่คนโบราณเริ่มอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เมื่อเกิดความขัดแย้งหรือมีข้อพิพาท พวกเขายุติปัญหาเหล่านั้นด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งแนวคิดเรื่องความยุติธรรม มาจากเรื่องความเป็นธรรมและความเสมอภาคที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกรณีทรัพย์สินส่วนตัว ในอดีตนั้นการแบ่งชนชั้นทางสังคมทำให้เกิดการตีความของ คำว่า "ความยุติธรรม" แตกต่างกันออกไป แต่ก็ยังอยู่ในความหมายของความเป็นธรรม
ตัวอย่างเช่นในหนังสือของอุดมคติเพลโตระบุว่าประเทศที่เป็นเหมาะสม จะต้องยืนอยู่บนรากฐานสี่ประการ ได้แก่ ภูมิปัญญา ความกล้าหาญ ความยับยั้งชั่งใจ และความยุติธรรม
ส่วนกฎของพระเจ้า เรื่องความยุติธรรมและเป็นความธรรมนั้น พระเจ้ากำหนดให้ "ความยุติธรรม" อยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ของมนุษย์ภายใต้กฎธรรมชาติ ประกอบด้วย ความยุติธรรมทางสังคม ความยุติธรรมทางการเมืองและความยุติธรรมทางกฎหมาย ในศาสนาคริสต์จริยธรรมของคริสต์เตียน ชี้ให้เห็นว่าเนื้อควรมีค่าเท่ากับจิตวิญญาณ นั่นหมายความว่าในศาสนาคริสต์ ทุกสรรพสิ่งมีค่าเท่าเทียมกัน คือ "ความยุติธรรม" ในมุมมองของศาสนาพุทธ "ความยุติธรรม" คือการมีศีลธรรม มีจริยธรรม และมีคุณธรรม เช่นในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 บัญญัติว่า “การใด มีวัตถุประสงค์ เป็นการ ขัดต่อ ศีลธรรมอันดี ของประชาชน การนั้น เป็นโมฆะ”[7]
มุมมองส่วนใหญ่เห็นว่าความเป็นธรรม คือ "ความยุติธรรม" และพยายามสอดแทรกความเป็นธรรม เข้าไปในทุกสถานการณ์ของการแก้ไขปัญหา ส่วนในเรื่องความเป็นธรรมและความยุติธรรมของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญานั้น หน้าที่ทั่วไปของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาคือการประสานงานด้านต่างๆของผลงานสร้างสรรค์ทางปัญญาที่เกิดจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความยุติธรรมโดยการพิจารณาความสมดุลทุกด้านของผลประโยชน์ที่ควรได้รับ โดยจะต้องพึ่งพาหลักความเป็นธรรมและยุติธรรม ในขณะเดียวกันในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหลายประเทศก็ได้ตระหนักถึงความเป็นธรรมและความยุติธรรมหลายประเทศได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการสาธารณะและคำนึงถึงประโยชน์ในทุกๆ ด้าน ในกระบวนการยุติธรรมก็ได้ให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมและความยุติธรรม ซึ่งรวมถึงมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้พิพากษา ที่ควรทำนั่นคือการประเมินผลด้วยคุณธรรม จริยธรรมบนพื้นฐานของความเป็นธรรมและความยุติธรรม
สำหรับประเทศไทยในการบริหารประเทศนายกรัฐมนตรี มักจะอ้างหลักธรรมภิบาล ซึ่งหลักสำคัญข้อหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ หลักนิติธรรม ซึ่งหมายถึงหลักการปกครองประเทศโดยกฎหมาย และกฎหมายนั้นต้องเป็นธรรมและยุติธรรม
2.4. แนวคิดการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอย่างเป็นธรรม
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1886 ของข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ใน“อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม” (The Berne Convention for the Protection of Literary and Artistic Works )ปัจจุบันมีสมาชิกจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมจำนวนถึง 174 ประเทศและในปี พ. ศ. 2474 ประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามการเป็นสมาชิกอนุสัญญาฯ [8]ภายใต้อนุสัญญาฯ มีข้อตกร่วมกัน โดยได้วางหลักการใช้งานอย่างเป็นธรรม ไว้ในกฎหมายลิขสิทธิ์ หมายถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ที่เผยแพร่แล้ว ผู้สร้างหรือเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิพิเศษหรือสิทธิ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ในบางกรณีที่กฎหมายต้องอนุญาตให้บุคคลอื่นสามารถใช้งานอันมีลิขสิทธิ์นั้นได้โดยไม่ผิดกฎหมาย นั่นคือการใช้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่ต้องชำระค่าตอบแทน แต่ควรจะอ้างอิงโดยการระบุชื่อผู้สร้างสรรค์หรือชื่อผลงาน จะไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้นภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ของทุกประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก จึงจำเป็นต้องบัญญัติหลักการใช้ที่เป็นธรรมภายใต้หลักการดังต่อไปนิ้[9]
2.4.1 ต้องใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น
งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นคืออะไร?"ลิขสิทธิ์" หมายถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียว หรือสิทธิพิเศษเฉพาะของผู้แต่งหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ในช่วงระยะเวลาหนึ่งประกอบด้วยสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิในทรัพย์สิน อันเป็นผลมาจากการสร้างสรรค์งานวรรณกรรมศิลปกรรมและวิทยาศาสตร์ และกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองโดยอัตโนมัติเมือสร้างสรรค์ผลงาน
งานอันมีลิขสิทธิ์คืองานที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลิขสิทธิ์ของแต่ละประเทศ ยกตัวเช่นประเทศไทย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 6 บัญญัติว่า “งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด ”
ดังนั้นผู้ใช้จะต้องใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่บัญญัติให้การคุ้มครองไว้เท่านั้น ถ้าหากไม่ใช่งานตามที่กฎหมายลิขสิทธิ์บัญญัติไว้ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นหลักการใช้อย่างเป็นธรรม
ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 15 บัญญัติว่า เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3)
อธิบายได้ตามตัวอย่างเช่นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 นั้นโดยหลักทั่วไป ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มาตรา 15 ถือเป็นสิทธิเจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียว แต่ภายใต้“ระบบการใช้อย่างเป็นธรรม”หมายถึงประชาชนทั่วไปภายใต้กฎหมายกำหนดให้ใช้งานของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทน โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ [10]
ทั้งนี้ “ระบบการใช้อย่างเป็นธรรม”เป็นไปตามมาตรฐานสากลของข้อตกลง ระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า“หลักการทดสอบสามขั้นตอน ” (three-step test) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลสำหรับการวัดข้อ จำกัด หรือข้อยกเว้น ด้านลิขสิทธิ์ ที่รัฐสมาชิกต้องปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศและจะต้องนำไปบัญญัติเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายลิขสิทธ์ภายในประเทศของตน และต้องสอดคล้องกับ“หลักการทดสอบสามขั้นตอน ”นี้ นั่นคือ มาตรฐานในการพิจารณา “กรณีที่มีการใช้ผลงานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ จะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อการใช้งานตามปกติ และใช้โดยสมเหตุสมผลไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิ์และผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์” แม้ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์แต่ละประเทศจะมีข้อจำกัดหรือข้อยกเว้น ซึ่งแตกต่างกันในขอบเขตบางประการของ “ระบบการใช้อย่างเป็นธรรม” แต่ทุกประเทศยังคงมีจุดยืนร่วมกันที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานคือการใช้งานนั้น เน้นความสมดุลระหว่างผู้สร้างสรรค์ผลงานหรือเจ้าของลิขสิทธิ์และประชาชนทั่วไป
[11]ตัวอย่างเช่น บทบัญญัติใน“ระบบการใช้อย่างเป็นธรรม”ในกฎหมายลิขสิทธิ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน" มาตรา 22 บัญญัติ 12 วิธีที่เฉพาะเจาะจงของการใช้งานอย่างเป็นธรรมหรือใช้ได้โดยชอบธรรมโดยบัญญัติว่า “ภายใต้ การใช้งานในกรณีต่อไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน แต่ควรระบุชื่อผู้เขียนชื่อของผลงานและจะต้องไม่ละเมิดสิทธิอื่น ๆ อันเป็นสิทธิเฉพาะของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมายนี้ : (1) สำหรับการศึกษาส่วนบุคคลวิจัยหรือติชม มีสิทธิการใช้ผลงานที่ตีพิมพ์แล้ว (2) เพื่อแนะนำ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานหรืออธิบายปัญหา หรือนำผลงานที่เผยแพร่โดยคนอื่นแล้วไปการอ้างอิงที่เหมาะสม (3) จำเป็นต้องทำซ้ำหรือตีพิมพ์ผลงานตีพิมพ์ในสื่อต่างๆเช่นหนังสือพิมพ์วารสารวิทยุและสถานีโทรทัศน์เพื่อรายงานข่าวในปัจจุบัน (4) หนังสือพิมพ์วารสารวิทยุและโทรทัศน์และสื่ออื่น ๆ เผยแพร่หรือเผยแพร่บทความเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองเศรษฐกิจและศาสนาที่เผยแพร่โดยหนังสือพิมพ์อื่นวารสารวิทยุและโทรทัศน์และสื่ออื่น ๆ เว้นแต่ ผู้เขียนงานนั้นไม่อนุญาตให้เผยแพร่หรือออกอากาศ (5) หนังสือพิมพ์วารสารวิทยุโทรทัศน์และสื่ออื่น ๆ ที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่หรือการแสดงสุนทรพจน์ในที่สาธารณะ เว้นแต่ ผู้เขียนงานนั้นไม่อนุญาตให้เผยแพร่หรือออกอากาศ(6) สำหรับการเรียนการสอนในชั้นเรียนหรือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แปลหรือคัดลอกผลงานที่ตีพิมพ์จำนวนไม่มาก หรือเพื่อใช้สำหรับการสอนหรือเจ้าหน้าที่วิจัย แต่ไม่ใช่สำหรับสิ่งตีพิมพ์ (7) พนักงานของรัฐ ใช้ผลงานที่ตีพิมพ์แล้วภายใต้ขอบเขตของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ (8) ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ อนุสรณ์สถาน พิพิธภัณฑ์หอศิลป์และอื่น ๆ ต้องการแสดงหรือบันทึกและคัดลอกจากต้นฉบับผลงานที่ตนเองจัดเก็บ (9) เผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์แล้วโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่สาธารณชนในการเข้าชมและไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้แสดง(10) คัดลอกวาดรูป ถ่ายและบันทึกผลงานศิลปะซึ่งแสดงในสถานที่สาธารณะกลางแจ้ง (11) แปลผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นภาษาจีนโดยพลเมืองจีนบุคคลตามกฎหมายหรือองค์กรอื่น ๆ เข้าสู่งานของชนกลุ่มน้อยและภาษาที่จะเผยแพร่และเผยแพร่ในประเทศ (12) เปลี่ยนงานที่ตีพิมพ์เป็นอักษรเบรลล์ ”[12]
ในสาธารณรับประชาชนจีนได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าการใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นจะต้อง“ระบุชื่อผู้แต่งและชื่อของผลงาน” นั่นคือสิทธิของผู้สร้างสรรค์ต้องได้รับการเคารพ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นการใช้งานภายใต้ระบบการใช้งานที่เป็นธรรมหรือไม่ เพราะอะไรจึงต้องระบุชื่อของผู้สร้างสรรค์ หรือชื่องาน? เนื่องจากปัจจุบันมีการเผยแพร่ผลงานอย่างกว้างขวางบนโลกอินเทอร์เนท ผู้สร้างสรรค์ มีสิทธิที่จะตัดสินใจว่าจะเผยแพร่ผลงานของตนภายใต้ชื่อจริงนามแฝงชื่อเล่นหรืออื่น ๆ อย่างไรก็ได้ เพื่อปกป้องงานของผู้สร้างสรรค์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายลิขสิทธิ์ของสาธารณรับประชาชนจีน สิทธิในการเป็นผู้สร้างสรรค์ คือภายใต้การระบุอัตลักษณ์ของผู้สร้างสรรค์ และลงนามในงานเท่านั้น กฎหมายลิขสิทธิ์จีนได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าการนำงานของผู้สร้างสรรค์ไปใช้ต้องเคารพในสิทธิ์ส่วนบุคคลของผู้สร้างสรรค์ผลงานด้วย ยกตัวอย่างคำพิพากษาในคดีการละเมิดลิขสิทธิ์ ระหว่างนักเขียนการ์ตูน นางสาว Lu ยื่นฟ้องบริษัท Guangzhou New Home Network Technology จำกัด ศาล Haidian ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า การ์ตูนพิพาทเป็นผลงานการสร้างสรรค์ของนางสาว Lu และนางสาว Lu ก็ยอมรับว่า เธอใช้“ตัวการ์ตูนแตงโมง” เป็นสัญลักษณ์ในการเผยแพร่ผลงานของเธอในอินเทอร์เนต ศาลเห็นว่า การที่บริษัทจำเลยใช้ผลงาน “ตัวการ์ตูนแตงโมง” มาทำเป็นลายน้ำเพื่อเผยแพร่ผลงานของตนเอง บนอินเทอร์เนตภายใต้สมมติฐานว่าผลงานทั้งหมดมีลายเซ็น “ตัวการ์ตูนแตงโมง” กำกับอยู่ นั้นไม่น่าจะถูกต้อง ในคำตัดสินของผู้พิพากษาพบว่า ศาลแยกการตัดสินออกเป็นสองประเด็น ประเด็นแรก เรื่องชื่อ ศาลเห็นว่าการใช้งานของผู้สร้างสรรค์คนอื่น ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องมีชื่อจริงของพวกเขา จึงจะได้รับการรับรองว่าเป็นผู้สร้างสรรค์ อาจเป็นนามแฝงหรือชื่ออื่นๆ ก็ได้ และการแก้ไขหรือการลบลายมือชื่อของผู้สร้างสรรค์ ในผลงานนั้นก็ไม่ถูกต้อง ควรจะเคารพในลายเซ็นของผู้สร้างสรรค์ จึงจะถือว่าไม่ละเมิดสิทธิของผู้สร้างสรรค์
ส่วนการทำลายน้ำนั้นเป็นเพียงให้ทราบว่าใครเป็นผู้เผยแพร่เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของการลงนามในงานและไม่ทำให้ผู้ใช้ออนไลน์สับสนกับ อัตลักษณ์ของผู้สร้างสรรค์ ดังนั้นไม่ถือว่าบริษัทจำเลยละเมิด จนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์ ส่วนประเด็นการเผยแพร่ “ตัวการ์ตูนแตงโมง” เพื่อแสวงหาผลกำไรโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นถือเป็นการละเมิด สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของผลงาน ควรต้องได้รับโทษ[13]
สำหรับประเทศไทยภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ยังมีเนื้อหาที่ทำให้ประชาชนสับสน ยกตัวอย่างเช่น มาตรา 4 บัญญัติว่า “ลิขสิทธิ์ หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น” เป็นที่ชัดเจนว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้สร้างสรรค์มี สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ต่อผลงานการสร้างสรรค์ของเขา และ มาตรา 18 บัญญัติว่า “ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิที่จะแสดงว่าตนเป็นผู้สร้างสรรค์งานดังกล่าว และมีสิทธิที่จะห้ามมิให้ผู้รับโอนลิขสิทธิ์หรือบุคคลอื่นใดบิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือทำโดยประการอื่นใด แก่งานนั้น จนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์ และเมื่อผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้สร้างสรรค์มี สิทธิที่จะฟ้องร้อง บังคับตามสิทธิดังกล่าวได้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร” จึงเห็นได้ว่า แม้ว่าลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน แต่สามารถบังคับได้ตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งว่าด้วยทรัพย์ ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 บัญญัติว่า “ เจ้าของทรัพย์สิน มีสิทธิ ใช้สอย และ จำหน่าย ทรัพย์สิน ของตน และ ได้ดอกผล แห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิ ติดตามเอาคืน ซึ่ง ทรัพย์สินของตน จากบุคคล ผู้ไม่มี สิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิ ขัดขวาง มิให้ผู้อื่น สอดเข้าเกี่ยวข้องกับ ทรัพย์สินนั้น โดยมิชอบด้วยกฎหมาย” [14]
ดังนั้นผู้สร้างสรรค์จึงเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น สรุปในเนี้อหาของบทบัญญัติก็คือ ทรัพย์สินทางปัญญาแม้ว่าจะเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ตามกฎหมายบัญญัติไว้ จำเป็นต้องมีเจ้าของ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในบทบัญญัติของ มาตรา 20 บัญญัติว่า “งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝง หรือ“ไม่ปรากฏ ชื่อผู้สร้างสรรค์” ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในกรณีที่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ให้นำมาตรา 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม” นั่นหมายความว่าในบทบัญญัตินี้ งานนั้นจะมีผู้สร้างสรรค์ หรือไม่มีผู้สร้างสรรค์ก็อาจเป็นได้ บทบัญญัตินี้สร้างความสับสนเกี่ยวกับสิทธิของผู้สร้างสรรค์เป็นอย่างมาก โดยทั่วไปสิทธิของผู้สร้างสรรค์ หมายถึงสิทธิในการแก้ไข เปลี่ยนแปลงงาน สิทธิในการปกป้องความสมบูรณ์ของงาน แต่งานที่ไม่มีเจ้าของกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองผู้ใด บทบัญญัติเหล่านี้ดูเหมือนว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไทยจะบัญญัติไว้เพื่อให้ผู้พิพากษานำมาตีความ เกี่ยวกับความเป็นเจ้าผลงาน เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากผลงานการสร้างสรรค์ทางสติปัญญาของเจ้าของ ถ้าหากมีกรณีพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับความเป็นเจ้าผลงาน ในการตีความเกี่ยวกับสิติปัญญาของมนุษย์นั้น กฎหมายจะอธิบายได้อย่างไรว่าคนไหนคือผู้ที่สมควรมีความสามารถทางปัญญาในการคิดสร้างสรรค์ ตามหลักทั่วไปแล้ว มนุษย์ทุกคนล้วนมีสติปัญญามาโดยกำเนิด มีสติปัญญาและความสามารถหลากหลายแตกต่าง มีความกระตือรือร้นที่ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้การสร้างสรรค์ผลงานของแต่ละคนยังมีความสามารถ ทักษะ ความรู้ในการใช้หลักในการสร้างสรรค์ รวมถึงวิธีการสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันอีกด้วย ทั้งหมดนี้คือสิ่งสำคัญที่มนุษย์ทุกคนมี ขณะนี้เราพูดถึงปัญหาคือ การตีความของกฎหมายถ้าไม่มีการระบุชื่อเจ้าของงาน จะตีอย่างไรให้รู้ว่า งานนี้เป็นของใคร จะตีความได้อย่างไรว่าใครโง่ ใครฉลาด ใครคือผู้สร้างสรรค์ผลงานที่แท้จริง ถ้าหากไม่รู้แล้วจะตีความอย่างไรให้เกิดความยุติธรรม บทสรุปที่สำคัญคือทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กฎหมายลิขสิทธิ์ระบุว่าเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้นจำเป็นต้องมีผู้เป็นเจ้าของเหนือทรัพย์สินนั้น เพื่อเข้ามาจัดการปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง และในความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ มีสิทธิ์เข้าครอบครอง การใช้ และได้รับกำไรและมีสิทธิ์จำหน่าย จ่ายโอนทรัพย์สินของตนเอง โดยเฉพาะ ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งที่ประกอบด้วยสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิในทรัพย์สินทั้งสองสิทธิได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ภายใต้การคุ้มครองตามกฎหมายแพ่งพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมสัญญา ในการทำนิติกรรม ตัวอย่างเช่นการโอนลิขสิทธิ์ ปกติมักจะผ่านการทำนิติกรรมการซื้อขาย การแลกเปลี่ยน การให้หรือแม้กระทั่งการรับมรดก การกระทำเหล่านี้เพื่อปกป้องสิทธิตามกฎหมายและผลประโยชน์ของคู่สัญญา จำเป็นต้องมีหลักฐานในการทำนิติกรรมสัญญา ซึงกฎหมายกำหนดให้ การลงนาม การประทับตราและการพิมพ์ลายนิ้วมือมีผลผูกพันตามกฎหมายทั้งหมด ดังนั้นในงานอันมีลิขสิทธ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักฐานการเป็นผู้สร้างสรรค์ นั่นก็คือชื่อของผู้สร้างสรรค์ สำหรับการใช้งานภายใต้หลักการที่เป็นธรรมนั้น จะต้องเป็นการใช้งานที่มีชื่อของผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นการใช้งานภายใต้หลักการนี้[15]
2.4.2 ต้องใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่ต้องจ่ายเงิน
โดยทั่วไปสิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์เป็นสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้สร้างสรรค์แต่เพียงผู้เดียว แต่ประชาชนสามารถใช้งานลิขสิทธิ์ได้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนนั้นต้องใช้งานอย่างถูกต้องนั่นคือการใช้ลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ " การทดสอบสามขั้นตอน "ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลของข้อ จำกัดหรือข้อยกเว้น ในประเทศไทยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้รวบรวมหลักการของ "การทดสอบสามขั้นตอน" เป็นข้อยกเว้นลิขสิทธิ์ไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มาตรา 32 วรรคหนึ่งซึ่งบัญญัติว่า การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จาก งานอันมีลิขสิทธิ์ ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ข้อยกเว้นการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทย ไม่เพียงแต่บัญญัติไว้ในมาตรา 32 วรรคหนึ่งซึ่งสอดคล้องกับหลักการทดสอบสามขั้นตอนของกฎหมายระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ยังบัญญัติกระจัดกระจายตั้งแต่มาตรา 32วรรคสองจนถึงมาตรา 43 เมื่อเราลองเปรียบเทียบหลักข้อยกเว้นลิขสิทธิ์ ของประเทศไทยกับหลักการใช้งานอย่างเป็นธรรม ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในประชาคมโลกเห็นว่าประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในการพัฒนาในหลายด้าน เช่น ด้านการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ [16]
สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกานั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า หลักการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรมของสหรัฐอเมริกาบัญญัติไว้เพียง 4 ขั้นตอนเท่านั้นที่เรียกว่า “fair use”ซึ่งเป็นการสะสมประสบการณ์ในการตัดสินคดีของผู้พิพากษาในอดีต มาบัญญัติไว้ในกฎหมายลิขสิทธิ์มาตรา 107 ในกรณีการใช้อย่างเป็นธรรมตามกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐอเมริกา ต้องพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้:
1 วัตถุประสงค์ของการใช้งาน ไม่ว่าจะใช้งานดังกล่าวในเชิงพาณิชย์หรือ เพื่อการศึกษาที่ไม่แสวงหากำไร
2 ลักษณะธรรมชาติงานที่มีลิขสิทธิ์
3 จำนวนและปริมาณงานที่ใช้
4 ผลกระทบต่อตลาดที่มีศักยภาพหรือผลกระทบของมูลค่างาน[17]
เพราะเหตุใดหลักการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรมของสหรัฐอเมริกาบัญญัติไว้เพียง 4 ขั้นตอนเท่านั้น?
เนื่องจากต้นกำเนิดของสหรัฐอเมริกานั้น เป็นการแยกตัวเป็นอิสระจากอาณานิคมของอังกฤษดังนั้นสหรัฐอเมริกาจึงได้รับมรดกทางกฎหมายมาจากอังกฤษในระบบคอมมอนลอว์ ปัจจุบันเพื่อถ่วงดุลอำนาจ ภายใต้รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกาบัญญัติการแบ่งแยกอำนาจชัดเจนเป็นสามอำนาจ ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ ในการพิจารณาคดีตามกฎหมาย ตุลาการ จะมีดุลพินิจอย่างมากในการตีความกฎหมาย ทั้งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ ในการตีความของผู้พิพากษาจะตีความตามตัวบทกฎหมายและตามคำพิพากษาที่เคยตัดสินไว้แล้วเป็นบรรทัดฐาน ดังนั้นในการศึกษากฎหมายของสหรัฐอเมริกาไม่เพียง แต่จะต้องศึกษากฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ยังต้องศึกษาหลักนิติศาสตร์ที่ผ่านมาของกฎเกณฑ์เหล่านี้เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการตีความอีกด้วย ตัวอย่างเช่นการใช้ลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรมในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากศาลจะต้องใช้ดุลพินิจของในการตีความและแปลความหมายตามกฎหมาย ดังนั้น ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ศาลจะใช้หลักการตามคำพิพากษาของศาลที่เคยตัดสินไว้แล้วหรือระเบียบปฏิบัติของประชาชนที่เป็นจารีตประเพณี ภายใต้การใช้ดุลยพินิจในการตีความโดยการชั่งน้ำหนัก ในขณะที่สังคมกำลังพัฒนาและสิ่งใหม่ ๆ ยังคงเกิดขึ้นตลอดเวลาทำให้ผู้พิพากษาสหรัฐต้องปรับบรรทัดฐานทางกฎหมายอย่างสม่ำเสมอในการจัดการกับกรณีใหม่ ๆ ดังนั้นกฎหมายในสหรัฐอเมริกาจึงมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าข้อตกลงระหว่างประเทศจะกำหนด มาตรฐานการทดสอบ สามขั้นตอนของหลักการใช้งานอย่างเป็นธรรม และเน้นให้ประเทศสมาชิกตีความภายใต้ความยุติธรรม โดยการชั่งน้ำหนักอย่างสมดุลระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้ใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ต้องจ่ายเงิน สำหรับประเทศไทยของเรานั้นการตีความกฎหมาย ยังอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง [18] [19]เนื่องจากรัฐธรรมนูญของประเทศไทยได้บัญญัติแบ่งแยกอำนาจชัดเจน โดยแบ่งเป็นสามอำนาจ ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ระบบกฎหมายของประเทศไทย เป็นระบบ civil law หรือระบบประมวลกฎหมาย ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นำกฎหมายและข้อบังคับต่างๆมาบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่เรียกว่า ประมวลกฎหมาย ซึ่งระบบประมวลกฎหมายนี้เป็นที่นิยมและแพร่หลายมากที่สุดในโลก เหตุใดระบบกฎหมายของไทยจึงต้องใช้ระบบ ประมวลกฎหมาย เพราะวัตถุประสงค์ของรัฐคือต้องการให้ประชาชนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายและแนวคิดทางกฎหมายและสามารถเข้าไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายได้จากประมวลกฎหมาย และหวังว่าการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาทุกคนจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย จุดสำคัญของการตีความตามประมวลกฎหมายนั้นมาจากข้อกำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 บัญญัติว่า “กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบท บัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมาย ของบทบัญญัตินั้น ๆเมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตาม จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัย คดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและถ้าบทกฎหมาย เช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป”[20]ส่วนจารีตประเพณีที่จะนำมาปรับใช้นั้นต้องเป็นจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่ดีงาม ที่ปฏิบัติสืบเนื่องมานานและไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของประชาชน” เป็นที่แน่นอนว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 บัญญัติชัดเจนว่า ระบบการตัดสินของศาลไทยต้องไม่ยืนยันคำพิพากษาเดิม แต่ ณ ปัจจุบันนี้กระบวนการตัดสินของศาลไทยไม่เพียงแต่ใช้ประมวลกฎหมายในการพิจารณา แต่ยังต้องใช้คำพิพากษาที่ตัดสินไว้แล้วมาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินอีกด้วย ทำให้บรรทัดฐานของคำตัดสินไม่ชัดเจน เห็นได้จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ในสถานการณ์เดียวกันคำพิพากษาของศาลไทยยังมีความแตกต่างกัน อาจเป็นผลมาจากการที่ผู้พิพากษามีอิสระในการตีความทำให้ประชาชนมีความรู้สึกว่า คำพิพากษาของศาลไทยนั้นมีสองมาตรฐาน
แม้ว่าข้อตกลงระหว่างประเทศจะสร้างบรรทัดฐานมาตรฐาน "การทดสอบสามขั้นตอน" ไว้เพื่อสำหรับให้ตุลาการตีความกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในลิขสิทธิ์และความสมดุลของผลประโยชน์ของสาธารณะชนก็ตาม แต่เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยและของสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับบรรทัดฐานการยุติข้อพิพาททางสังคมนั้นยังมีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมของสหรัฐอเมริกาเป็นระบบการตัดสินโดยคณะลูกขุน โดย มีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญคือ เพื่อต้องการสะท้อนให้เห็นถึงความยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรมของประเทศที่มีมาตรฐาน ภายใต้ระบบกฎหมายแองโกล – อเมริกัน คณะลูกขุนซึ่งประกอบด้วยพลเมืองสามัญที่ไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายจะเป็นผู้พิจารณาข้อเท็จจริงของคดี ส่วนความรับผิดชอบของผู้พิพากษาจะเป็นผู้พิจารณาการใช้กฎหมาย การดำเนินงานของระบบคณะลูกขุนเป็นการคานอำนาจเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้พิพากษาใช้อำนาจตุลาการอย่างผิดกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคณะลูกขุนมีการก่อตัวชั่วคราวสมาชิกมาจากการสุ่มเลือกบุคคลภายนอกที่จะเข้าร่วมในการพิจารณาคดี หลังจากได้รับการคัดเลือกแล้วก็จะต้องเก็บตัวไม่ยุ่งเกี่ยวกับโลกภายนอก แม้ว่าสมาชิกในกลุ่มคณะลูกขุนจะไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายแต่ประชาชนสหรัฐอเมริกาเห็นว่า การมีประสบการณ์ชีวิตทางสังคมของคนธรรมดาสามัญที่มีจิตสำนึกทางศีลธรรม จริยธรรม ก็เพียงพอจะทำให้เกิดความเป็นธรรมในการพิจารณาคดีได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นการทดแทนข้อบกพร่องของผู้พิพากษามืออาชีพในเรื่องประสบการณ์ชีวิตทางสังคมนับว่าเป็นความแตกต่างที่เห็นได้ชัดมากที่สุดระหว่างระบบคณะลูกขุนและระบบอื่น ๆ วิธีการข้างต้นที่กล่าวมาก็คือภายใต้การพิจารณาคดีผู้พิพากษาไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินข้อเท็จจริงเพียงแต่ได้รับการยืนยันจากคณะลูกขุนเท่านั้น
ทั้งนี้ไม่ว่ากฎหมายใดๆ การประยุกต์ใช้และการตีความทางกฎหมาย เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ดังนั้นข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์จึงวางบรรทัดฐานการทดสอบสามขั้นตอน เพื่อให้รัฐสมาชิกใช้เป็นหลักในการตีความโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกคำนึงถึงความสมดุลของผลประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด และให้นำหลักการนี้ไปบัญญัติไว้ในกฎหมายลิขสิทธิ์ของทุกประเทศอีกด้วย เมื่อรัฐบาลไทยเข้าผูกพันตามข้อสัญญา สภานิติบัญญัติแห่งชาติไทยควรตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการความขัดแย้งของลิขสิทธิ์ในประเทศไทย เนื่องจากในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันนั้น กุญแจสำคัญคือ ด้านหนึ่งกฎหมายจะต้องป้องกันการผูกขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์ อีกด้านหนึ่งกฎหมายจะต้องมีวิธีการควบคุมการใช้งานของประชาชน และควรตระหนักว่าวัตถุประสงค์ของกฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ใช่ "วิธีการป้องกันการใช้งาน" แต่ เป็น"วิธีการควบคุมการใช้งาน" ถ้าหาก กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทย หมายถึง วิธีการป้องกันการใช้งาน ซึ่งป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ นั่นหมายถึง กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศ กำลังปกป้องผลประโยชน์ของนายทุน ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของข้อตกลงที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนาม ซึ่งภายใต้เป้าหมายสูงสุดของข้อตกลง การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทุกประเทศจะต้องแสวงหาความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของประชาชนและผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ได้รับความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน และเพื่อประโยชน์ของชาติสภานิติบัญญัติแห่งชาติไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขกฎหมายในส่วนนี้ให้มีความยุติธรรมโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
3. ความเป็นมาของหลักการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม
ในอดีตที่ยังไม่ปรากฏกฎหมายลิขสิทธิ์ ภายใต้ “พระราชบัญญัติใบอนุญาต” ของสหราชอาณาจักร บริษัทเครื่องเขียน และสมาคมเครื่องพิมพ์ พวกเขาได้รับสิทธิพิเศษผูกขาดด้านการพิมพ์โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการทบทวนผลงานวรรณกรรม และการตรวจสอบเซ็นเซอร์งานเขียนทุกชนิดของประเทศ ทำให้สาธารณะชนไม่พอใจและนำไปสู่การประท้วงเรียกร้องขอความเป็นธรรมและความยุติธรรมตลอดเวลา ความกดดันนี้เป็นผลทำให้ ในปี 1694 รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรปฏิเสธที่จะขยายเวลา "การออกใบอนุญาตให้บริษัทเอกชน" ดังนั้นจึงสิ้นสุดการผูกขาดของเอกชน เมื่อการเผยแพร่ผลงานไม่ต้องขออนุญาตจากรัฐ และรัฐก็ไม่สามารถควบคุมได้ทำให้มีการคัดลอกงานและเผยแพร่กันอย่างกว้างขวาง
จนกระทั่งในปีค.ศ.1710 เพื่อแก้ปัญหานี้ รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรจึงได้บัญญัติกฎหมาย“The Statute of Anne” ซึ่งเป็นครั้งแรกในการคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ผลงานแต่ไม่ได้คุ้มครองผู้จัดพิมพ์ หรือสำนักพิมพ์ นอกจากนี้ “The Statute of Anne” ยังมีบทบัญญัติเรื่องผลประโยชน์สาธารณะต่าง ๆ เช่นแผนการฝากเงินตามกฎหมายอีกด้วย ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ“The Statute of Anne” ครั้งนี้ถือเป็นกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของโลกและเป็นต้นแบบกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ “The Statute of Anne” ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่พระราชบัญญัติตระหนักถึงสิทธิตามกฎหมายของผู้เขียนหรือผู้ประพันธ์ แม้ว่า “The Statute of Anne”จะคุ้มครองผู้เขียน แต่ก็ยังไม่ได้อธิบาย ชัดเจนเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของผู้เขียนหรือสิทธิของหรือผู้ประพันธ์อย่างชัดเจน นอกจากยังมีข้อบกพร่องในเรื่องอายุการคุ้มครอง ภายใต้“The Statute of Anne” ผู้เขียนหรือผู้ประพันธ์ มีสิทธิ์เพียง 21 ปีสำหรับงานที่เผยแพร่แล้ว หลังจาก ปีที่ 21 ยังน่าเป็นห่วงว่าลิขสิทธิ์นั้นยังเป็นของผู้จัดจำหน่ายหรือสำนักพิมพ์ไม่ใช่ของผู้เขียนแต่อย่างใด เนื่องจากกฎหมายคุ้มครองผู้เขียนเพียง 21 ปี เป็นผลทำให้นักเขียนส่วนใหญ่ยังคงขายงานของตนต่อผู้จำหน่ายหนังสือโดยตรง ทำให้ผู้สร้างสรรค์หรือนักเขียนขาดจากความเป็นเจ้าของผลงานของตนเช่นเดิม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการบัญญัติกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้เพื่อต่อยอดความรู้ซึ่งถือเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ และควบคุมการค้าการผูกขาดการขายหนังสือ แต่ข้อดีของกฎหมาย “The Statute of Anne”ที่มีต่อผู้เขียนคือเป็นความบังเอิญที่ได้รับการคุ้มครอง 21 ปีเท่านั้น จะเห็นได้ว่าตลอดศตวรรษที่สิบแปด“ลิขสิทธิ์”เป็นการสนับสนุนผู้จัดจำหน่ายหนังสือมากกว่าการให้กำลังใจของผู้เขียน บางคนอ้างว่าลิขสิทธิ์เกิดขึ้นจากสิทธิของผู้เขียนในผลิตภัณฑ์แรงงาน แต่บางคนคิดว่าวัตถุประสงค์หลักของลิขสิทธิ์คือการปกป้องสิทธิของผู้เขียน แทนที่จะสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของนโยบายอันแท้จริง สำหรับ“The Statute of Anne”ที่ถือว่าเป็นกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของโลก ยังมีข้อให้ชวนคิดว่า “The Statute of Anne” ปกป้องนายทุนหรือเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้ผลงานของนักเขียนเหล่านั้น [21]
อย่างไรก็ตามในยุโรปและอเมริกาได้มีการพัฒนาและเผยแพร่ผลงานการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ด้านสาธารณะชนก็มีการพัฒนาข้อเรียกร้องขอความเป็นธรรมและความยุติธรรมในการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่องเช่นกัน จนกระทั่งในปี ค .ศ 1740 ในคดีของ Gyles v. Wilcox โจทก์ Gyles ยื่นฟ้องจำเลยโดยกล่าวหาว่า ภายใต้กฎหมาย“The Statute of Anne”สิทธิของเขาถูกละเมิด เนื่องจากจำเลยได้ว่าจ้างให้ Barrow ซึ่งเป็นนักเขียนคนหนึ่งคัดย่อ และตัดทอนหนังสือของเขา คดีนี้ศาลสหราชอณาจักรวิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยได้ย่อหนังสือที่ตีพิมพ์จริง แต่ถือได้ว่าผลงานที่ย่อออกมานั้นเป็นผลงานใหม่ที่เป็นอิสระอย่างสมบูรณ์ ศาลเห็นว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ควรให้ประโยชน์ต่อสาธารณชนโดยการส่งเสริมการสร้างผลงานการศึกษาและในการให้บริการเผยแพร่ต่อยอดความคิดที่ดีขึ้นโดยสนับสนุนการผลิตงานใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน คดีนี้ถือเป็นข้อยกเว้นกฏหมายลิขสิทธิ์หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การใช้งานอย่างเป็นธรรม” ที่เป็นลายลักษณ์อักษรมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้มีการอ้างอิงถึงในคดีอื่น ๆ อีกหลายคดีซึ่งท้ายที่สุดก็สร้างแนวคิดเรื่องการใช้งานอย่างเป็นธรรม ของกฏหมายลิขสิทธิ์[22]
ในปี1803 ใน กรณี “Cory v. Kearsley” ผู้พิพากษาอังกฤษเป็นครั้งแรกใช้ระบบ“fair dealing” อย่างเป็นทางการ ในการตัดสิน และต่อมาก็เริ่มใช้แนวความคิดเรื่อง “fair dealing” เรื่อยมาจากปี 1807 จนถึง 1839 ผู้พิพากษาชาวอังกฤษยังคงพัฒนาแนวคิดในการใช้งานที่เป็นธรรม อย่างต่อเนื่องในหลายกรณี สำหรับสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่องการใช้งานอย่างเป็นธรรมนั้นเริ่มขึ้น ในปี ค.ศ 1841 กรณี “ Folsom v Marsh” คดีนี้ Jared Sparks โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเอกสารส่วนตัวและเป็นทางการของ ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตันยื่นฟ้อง บาทหลวง Charles Upham ในฐานะนักเขียนและกวีนิพนธ์ จำเลย โดยกล่าวหาว่าจำเลยได้คัดลอกผลงานของเขา ในหนังสือ The Life of Washington in the Form of an Autobiography เป็นจำนวน 353 หน้า ผู้พิพากษา Story มีความเห็นว่า โดยทั่วไป การแก้ไข ตัดทอน เปลี่ยนแปลงงานของผู้อื่นนั้น ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ในกรณีนี้ศาลใช้ปัจจัยสี่ขั้นตอนเป็นหลักในการพิจารณา ในการชั่งน้ำหนักศาลพิจารณาเปรียบเทียบปริมาณและมูลค่าของงานที่ใช้ และ พิจารณาถึงขอบเขตของความเสียหายของโจทก์ และประโยชน์ที่สาธารณะชนจะได้รับ โดยอ้างว่างานใหม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน และไม่ทำให้มูลค่างานเดิมลดลง เนื่องจากงานใหม่ไม่ได้มาแทนที่งานเดิมของโจทก์แต่อย่างใดและไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ ถือเป็น "การใช้งานที่เหมาะสมอย่างเป็นธรรม" กรณีนี้ถือเป็นครั้งแรก ของระบบการใช้งานที่เป็นธรรมของสหรัฐฯ ต่อมาปี 1976 ได้นำหลักการใช้อย่างเป็นธรรมมารวมอยู่ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 17 U.S.C.§107[23]
สำหรับประเทศอื่นๆ เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ การไหลข้ามประเทศของสินค้า ทำให้เกิดปัญหาและข้อขัดแย้งมากมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ หลายประเทศเกิดความห่วงใยในปัญหานี้ จนกระทั่งในปี ค. ศ 1886 หลายประเทศได้มีการลงนาม ในข้อตกลง"อนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม” (Berne Convention for Protection of Literary and Artistic Works) อนุสัญญานี้ คืออนุสัญญาลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศฉบับแรกของโลกซึ่งดำเนินการโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เป็นการกำหนดมาตรฐานสากลให้เป็นที่ยอมรับ โดยอนุสัญญา อนุญาตให้รัฐมีอำนาจในการอนุญาตให้สาธารณะชนได้ใช้ผลงานอันมีลิขสิทธิ์อย่าง"ยุติธรรม"การดำเนินการในส่วนนี้ของสนธิสัญญาได้บัญญัติไว้กว้าง ๆ ของหลักการใช้งานที่เป็นธรรมและการจัดการที่เป็นธรรม เพื่อให้แต่ละประเทศได้นำไปยุกต์ใช้ภายในประเทศของตน[24]
สำหรับประเทศไทยของเรานั้น ในอดีตประเทศไทยปกครองด้วยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ ระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์เด็ดขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ พระมหากษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ พระมหากษัตริย์คือที่มาของกฎหมายทั้งปวง คำสั่ง คำประกาศ แถลงการณ์ หรือแม้กระทั่งความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง “ประกาศจัดตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435)” และมีคำประกาศ ห้ามคัดลอกหนังสือในหอสมุด นักนิติศาสตร์ไทยเห็นว่า คำประกาศนี้ ถือเป็นกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกของประเทศไทย และเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย เริ่มใช้ระบบกฎหมายลิขสิทธิ์[25]ลิขสิทธิ์ในหนังสือทั้งหมดเป็นของหอสมุดวชิรญาน นอกจากคำประกาศห้ามแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ประกาศ หลักการใช้อย่างเป็นธรรม โดยมีข้อยกเว้นอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ดังนั้น จึงถือได้ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยเกิดขึ้นมาและพร้อมกันนี้ยังมีข้อยกเว้น ที่เรียกว่า “หลักการใช้อย่างเป็นธรรม”เกิดขึ้น อีกด้วย
หลังจากนั้นในปีพ.ศ. 2444 เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้แต่งหนังสือเป็นการทั่วไป รัฐบาลไทยจึงได้ตราพระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร. ศ 120 พ.ศ. 2444 ขึ้นและในปีพ.ศ. 2457 ได้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือพ.ศ. 2457 ออกมาแก้ไขปรับปรุงต่อมาในปีพ.ศ. 2477 ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาเบอร์นเห็นควรปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาเบอร์นซึ่งเป็นอนุสัญญาด้านลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศรัฐจึงได้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2477 ออกใช้บังคับโดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือร. ศ 120 และพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือพ.ศ. 2457 ต่อมาในปีพ.ศ. 2521 สภานิติบัญญัติได้เล็งเห็นว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้วบทบัญญัติต่างๆที่เกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์จึงล้าสมัย ให้ความคุ้มครองไม่กว้างขวางเพียงพอ อัตราโทษต่ำมาก ทำให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมายอยู่เสมอจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ขึ้นมาใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลป์กรรม 2477 ทั้งนี้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 บัญญัติกำหนดประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์กว้างขวางกว่ากฎหมายเดิมโดยให้ครอบคลุมงานประเภทวรรณกรรมนาฏกรรมศิลปกรรมดนตรีกรรมโสตทัศนวัสดุภาพยนตร์งานแพร่เสียงแพร่ภาพหรืองานอื่นอันเป็นงานในแผนกวรรณคดีแผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะ รวมทั้งมีบทบัญญัติให้ออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศด้วย ต่อมาในปีพ.ศ. 2537รัฐบาลไทยเล็งเห็นว่าบทบัญญัติในพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการพัฒนาการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศและระหว่างประเทศสมควรปรับปรุงมาตรการคุ้มครองสิทธิ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้แก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ 2 ฉบับ เหตุผลในฉบับแรก ของการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือโดยที่ปัจจุบันมีการนำข้อมูลและการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยีมาใช้ในการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสมควรกำหนดให้มีการคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิ์และมาตรการทางเทคโนโลยีรวมทั้งกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดงเพิ่มขึ้นอีกทั้งสมควรกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่ทำให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเข้าถึงโดยสาธารณะชนได้อย่างแพร่หลายต้องจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นและสมควรกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดและสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงได้ด้วยจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
เหตุผลในฉบับที่สองเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือเนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาการทำซ้ำโดยการบันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพจากภาพยนตร์ในระหว่างการฉายในโรงภาพยนตร์ทั้งภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วนำไปทำซ้ำในสิ่งต่างๆเช่นแผ่นซีดีหรือแผ่น DVD เป็นต้นออกจำหน่ายสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเป็นอย่างมากซึ่งเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ์และอาศัยข้อยกเว้นการใช้การละเมิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ในปัจจุบันโดยอ้างว่าเป็นการทำซ้ำเพื่อประโยชน์ของตนเองจึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 โดยกำหนดให้การกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ในลักษณะดังกล่าวเป็นความผิดเฉพาะและมีอัตราโทษเช่นเดียวกับการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า นอกจากนี้สมควรกำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ของคนพิการทางการมองเห็นคนพิการทางการได้ยินคนพิการทางสติปัญญาและคนพิการประเภทอื่นที่กำหนดให้พระราชกฤษฎีกาที่จะสามารถเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ตามความจำเป็นจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้[26]
ดูเหมือนว่าเนื้อหาของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ปี 2558 จะเป็นการแก้ไขเพื่อปกป้องเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่ได้สนับสนุนให้ประชาชนได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ที่ต้องการพัฒนาองค์ความรู้ทุกสาขาโดย เพื่อเสริมสร้างอาระธรรมที่ดีงามโดยการสนับสนุนให้สาธารณชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ ประเทศไทยของเราเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้ ก็เนื่องจากในอดีตประเทศไทยของเรานั้นได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์เสด็จกลับจากการประพาสยุโรปพระองค์ทรงพบว่าพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคนตะวันตกนั้นมีพัฒนาการที่ดีกว่าของคนไทยเป็นอย่างมาก ในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า “แต่เดิมประชาชนไม่เคยมีโอกาสได้เรียนหนังสือ หากประชาชนไม่มีความรู้ ต่อไปก็จะไม่มีประเทศเป็นแน่แท้ ดังนั้นในสมัยรัชกาลของพระองค์ ไม่ว่าลูกเจ้าลูกนายหรือลูกคนธรรมดาสามัญต้องได้รับการศึกษาเท่าเทียมกัน” ทรงมีพระราชดำรัสต่ออีกว่า “ในแผ่นดินสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรส่งเสริมคือการศึกษา ”[27]ในสมัยของพระองค์แม้ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรกจะห้ามคัดลอก แต่เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาจึงมีข้อยกเว้นอนุญาตให้ประชาชนที่ต้องการเข้าไปในหอสมุดแห่งชาติ Vachirayan เพื่ออ่านหนังสือได้ ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญ มาตรา 27 บัญญัติว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียมกัน วันนี้ภายใต้การตราพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พบว่าเนื้อหายัง มีข้อ จำกัดที่กีดกันสิทธิมนุษยชน เสรีภาพส่วนบุคคล ฯลฯ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้าพระองค์ทรงพระราชดำรัสว่า: “กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับใช้ในการรักษา และอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรม ไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดินก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุและผลตามความเป็นจริงด้วย” พระมหากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ทรงพระราชทานคำแนะนำวิธีแก้ไขไว้แล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติไทยท่านคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร?[28]
4. ข้อบกพร่องของรัฐบาลไทยในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
ในสังคมยุคใหม่ที่เทคโนโลยีสื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ละชนิดและจำนวนผลงานลิขสิทธิ์ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การสร้างผลงาน การเผยแพร่และใช้งานอันมีลิขสิทธิ์มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายดิจิตอล ซึ่งช่วยให้คนจำนวนมากมีส่วนร่วมและเข้าถึงผลงานการสร้างสรรค์และการเผยแพร่งานของตนเองต่อสาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญในเครือข่ายดิจิตอลกำลังเป็นที่นิยม ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเครือข่ายดิจิตอล ทุกคน อาจเป็นได้ทั้งผู้สร้าง ผู้สื่อสาร และผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ ปัญหาด้านการคุ้มครองลิขสิทธิ์ภายใต้เทคโนโลยีเครือข่ายดิจิตอลได้กลายเป็นเรื่องที่โดดเด่นมากขึ้น จนกลายเป็นความกังวลร่วมกันในด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในหลายประเทศทั่วโลก การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีผลกระทบหลายๆด้าน ทั้งด้านกฎหมาย โดยไม่ต้องสงสัยใด ๆ ส่วนใหญ่เป็นผลกระทบต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง ในปีที่ผ่านมาลิขสิทธิ์สภาพแวดล้อมเครือข่ายดิจิตอลได้กลายเป็นหัวข้อที่ร้อนแรงที่สุดในโลกประเทศไทยก็เช่นกัน ปี พ. ศ 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้แก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ รวม สองฉบับ การแก้ไขที่เสร็จสมบูรณ์ คือการขยายการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของสภาพแวดล้อมเครือข่ายดิจิตอลในประเทศ อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการระบบทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทยยังมีข้อบกพร่องอยู่เป็นจำนวนมาก ที่เห็นชัดเจนก็คือ ประชาชนทั่วไปขาดความรู้ความเข้าใจในการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม ในการใช้งานลิขสิทธิ์เครือข่ายในระบบดิจิตอล รัฐบาลขาดการประชาสัมพันธ์ ขาดการส่งเสริมความรู้ที่ถูกต้อง ประชาชนยังไม่เข้าใจวิธีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ใช้อย่างถูกกฎหมายควรใช้อย่างไร และใช้อย่างไร ใช้แล้วผิดกฎหมาย กรณีดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนตกเป็นเครื่องมือของผู้แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้การแก้ไขกฎหมายไม่เป็นที่ชัดเจนว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจากการแก้ไขนี้ ซึ่งแก้ไขเป็นการเพิ่มคำนิยาม และเพิ่มโทษเท่านั้น
อีกด้านหนึ่งของรัฐบาล ในการสัมมนาเรื่อง"โอกาสประเทศไทย" จัดขึ้นที่กรุงเทพฯเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาล ยังแจ้งในที่ประชุมว่าประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางการลงทุนด้านการค้าและอุตสาหกรรมของอาเซียน [29]ยุทธศาสตร์แห่งชาติของประเทศ เป็นที่คาดว่าจะช่วยให้สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่า วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญการพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ (1) ความมั่นคง (2) ความสามารถในการแข่งขัน (3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (4) การมีส่วนร่วมทางสังคม (5) ความอุดมสมบูรณ์พื้นที่สี่เขียว (6) การปรับสมดุลและการพัฒนาภาครัฐ "เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังได้ประกาศนโยบายให้สิทธิพิเศษแก่ บริษัท เทคโนโลยีชั้นสูงที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเช่นเทคโนโลยีชีวภาพนาโน เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิตอล ให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย สำหรับปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศ จะต้องมีการฝึกอบรมบุคลากรร่วมกับองค์กรต่างๆของต่างประเทศในเวลาเดียวกัน เพื่อรองรับการถ่ายโอนเทคโนโลยี เทคโนโลยีขั้นสูง ฯลฯ โดยการฝึกอบรมพนักงาน เรียนรู้ ประสบการณ์การจัดการจากต่างประเทศ ดูเหมือนว่า รัฐบาลไทยกำลังโฆษณาชวนเชื่อเพื่อเปิดทางให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ในความเป็นจริงนั้น วันนี้ประชาชน ยังคงขาดความเข้าใจในวัตถุประสงค์ การแก้ไขกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ขาดการซึมซับความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและขาดการยอมรับการคุ้มครองสิทธิในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะ ปัญหาลิขสิทธิ์ การที่รัฐบาลไทยโฆษณาชวนเชื่อ ว่าประเทศไทยนั้นมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางการลงทุนด้านการค้าและอุตสาหกรรมของอาเซียน โดยการประกาศนโยบายสิทธิพิเศษแก่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีชั้นสูงที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเช่นเทคโนโลยีชีวภาพนาโนเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิตอลเพื่อให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่อีกด้านยังปล่อยปละละเลยในหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางห้ามประชาชนละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายลิขสิทธิ์ ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ นักวิชาการทรัพย์สินทางปัญญาบางคนเชื่อว่า ประชาชนไทย กำลังถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพในด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสิทธิที่ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองในการใช้งานอย่างเป็นธรรมภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ รัฐบาลไทยมักจะอ้างถึง หลักธรรมภิบาลในการปกครองประเทศ จะเพื่ออะไรก็ตาม ซึ่งหลักธรรมภิบาลเป็นกระบวนการบริหารจัดการทางสังคมที่เน้นการสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับประชาชนโดยสาระสำคัญคือการบริหารจัดการกิจการสาธารณะ โดยหลักการที่สำคัญในการบริหารคือ หลักนิติธรรม ซึ่งหมายถึง การปกครองประเทศโดยกฎหมาย ที่สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของประชาชนผ่านกฎหมาย แทนการปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และการปกครองประเทศ ภายใต้หลักนิติธรรมกำหนดให้การดำเนินงานทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมทุกรูปแบบต้องเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะแทรกแซงขัดขวางหรือทำลายได้ ในหลักธรรมภิบาลยังเน้นหลักการของการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งมีส่วนสำคัญ ในประเด็นเรื่องการคุ้มครองลิขสิทธิ์ วันนี้ด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายดิจิตอลที่ทันสมัย เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในกระแสที่ไม่มีวันสิ้นสุดและความขัดแย้งก็มีมากขึ้นเรื่อย ๆ การปกป้องลิขสิทธิ์ออนไลน์ยังคงต้องประสบปัญหาใหม่ๆ อย่างแน่นอน รัฐบาลควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยชี้แจงสิทธิของประชาชนในการใช้งานและขณะเดียวกันก็ต้องชี้แจงการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนรัฐบาลจำเป็นต้องเสริมสร้างการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และสร้างจิตสำนึกในการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นอย่างยุติธรรมและชอบธรรม สร้างระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองสิทธิ์เพื่อให้ประชาชนและ องค์กรสังคมแสดงความคิดเห็นด้วยวิธีการที่เป็นมาตรฐานและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่สำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ เหล่านี้ จะสะท้อนให้เห็นถึงหลักนิติธรรม และจริยธรรมของรัฐบาลภายใต้หลักคุณธรรม ที่มีความเมตตากรุณา ความซื่อสัตย์ สุจริตและความเป็นมิตรต่อประชาชาชน วันนี้รัฐบาลไทยทำได้หรือยัง?[30]
5. ความเข้าใจของประชาชนไทยต่อระบบทรัพย์สินทางปัญญา
ก่อนพูดคุยเรื่องนี้เราจำเป็นต้องเข้าใจว่าทำไมประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกับองค์การการค้าโลก? ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เพราะจะทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นกว่าปิดประเทศ การเข้าร่วมองค์การการค้าโลกทำให้ประชาชนไทยได้รับความเป็นธรรมในเรื่องของสิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรม ความเสมอภาค และการไม่เลือกปฏิบัติกับบุคคลในทุก ๆ คน ซึ่งเงือนไขภายใต้หลักสากลที่ใช้บังคับคนทั่วไปโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาและสีผิว ในเวลาเดียวกันยังนำไปสู่สันติภาพและการพัฒนาโลกอีกด้วย ดังนั้นทุกคนมีสิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมกันภายใต้โลกใบนี้ และในระบบการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ทุกประเทศสามารถใช้สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภายใต้ผลประโยชน์จากเศรษฐกิจโลก มีสิทธิออกเสียง มีความสามารถในการชั่งน้ำหนักมากขึ้น ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของประเทศ สามารถเพิ่มการจ้างงานเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนได้มากขึ้น การเข้าร่วมองค์การการค้าโลกทำให้ทุกประเทศได้รับเกียรติศักดิ์ สิทธิที่เท่าเทียมกัน ช่วยรักษาระดับเสียงของประเทศในเวทีเศรษฐกิจโลกและสร้างสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เอื้อต่อการพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
สำหรับประเทศไทยและองค์การการค้าโลกของความร่วมมือ การเข้าร่วมองค์การการค้าโลกเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศไทยในสภาวะที่เท่าเทียมกันในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับสากลโลกจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจตลาดทุนไทย และสามารถเข้าถึงตลาดที่คาดการณ์ได้และขยายตัวส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมส่งเสริมการพัฒนาและการปฏิรูปทางเศรษฐกิจทั้งหมดนี้เป็นโอกาสที่หาได้ยากสำหรับประเทศที่พร้อมจะอุทิศตนเพื่อการสร้างและพัฒนาระบบเศรษฐกิจตลาดของประเทศ
แต่ปัจจุบันประชาชนประเทศไทยยังคงไม่เข้าใจระบบทรัพย์สินทางปัญญา หลายคนกลัวการละเมิดลิขสิทธิ์ หลายคนขโมยความคิดของคนอื่นอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย นอกจากนี้หลายคนมักสับสนกับประเภททรัพย์สินทางปัญญา เช่นความสับสนระหว่างลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร และไม่ทราบว่าลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาแตกต่างกัน แต่ทั้งสองสิทธินี้ยังมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด โดยทั่วไปแนวคิดเกี่ยวกับวัตถุของทรัพย์สินทางปัญญาคือวัตถุที่เป็นสิทธิ หมายถึงสิทธิในส่วนได้เสีย และกฎหมายกำหนดเพื่อคุ้มครอง สิทธิของเจ้าของ เนื่องจากคนไทยได้รับข้อมูลและข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง คนไทยจำนวนมากไม่เข้าใจว่าอะไรคือลิขสิทธิ์ ไม่เข้าใจว่าทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมคืออะไร? ยิ่งไปกว่านั้น ไม่เคยเข้าใจวิธีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น ใช้อย่างไรโดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ในการอภิปรายเรื่องนี้ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจในเรื่องการจำแนกประเภทของทรัพย์สินทางปัญญากันก่อน เพราะคิดว่าคนไทยหลายๆคนยังไม่เข้าใจวิธีการคุ้มครองของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยทั่วไปทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ลิขสิทธิ์หมายถึงสิทธิพิเศษของบุคคลธรรมดาหรือองค์กรอื่น ๆ ในความเป็นเจ้าของผลงานในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลิขสิทธิ์ ส่วนสิทธิบัตรหมายถึงสิทธิพิเศษของผู้ทรงสิทธิที่จะได้รับสิทธิในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์แบบอรรถประโยชน์และการออกแบบตามกฎหมาย ความแตกต่างระหว่างลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรคือช่วงเวลาของการคุ้มครองจะแตกต่างกัน วัตถุที่ได้รับการคุ้มครองต่างกัน ตามกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองการแสดงออกถึงอารมณ์ความคิดและความคิดเห็นของผู้เขียนที่แสดงออกมา กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครองความคิดอารมณ์ที่ซ่อนอยู่ภายในของตัวเอง โดยการคุ้มครองผ่านการสร้างผลงาน เมื่อเสร็จสิ้นการทำงานจะได้รับการคุ้มครองโดยอัตโนมัติ ในสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิในทรัพย์สินทันที ดังนั้นบุคคลใดก็ตามที่ใช้ผลงานลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นอาจได้รับอนุญาตหรือโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ได้ และไม่ต้องชำระเงินค่าตอบแทนก็ได้ ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิอื่นของเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย ภายใต้หลักการใช้งานที่เป็นธรรม ทั้งนี้ควรระบุชื่อผู้แต่งชื่องาน ซึ่งลิขสิทธิ์ถือเป็นการพัฒนาต่อยอดความรู้เดิม ส่วนสิทธิบัตร (patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่นการประดิษฐ์ของทีวี หรือวิธีการผลิตโคมไฟ การ ออกแบบขวดที่ไม่ซ้ำกัน Coca-Cola สิทธิในสิทธิบัตรรวมถึงสิทธิในการดำเนินการสิทธิในการอนุญาตให้บุคคลอื่นสิทธิ์ในการโอนและสิทธิในทรัพย์สินอื่น ๆ ไม่รวมถึงเนื้อหาของสิทธิส่วนบุคคล การยื่นขอรับสิทธิบัตรเป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการได้รับสิทธิบัตรและผู้ทรงสิทธิบัตรเรียกรวมกันว่าเจ้าของและผู้ถือสิทธิบัตร นั่นคือเมื่อได้รับการอนุมัติการขอรับสิทธิบัตรผู้ขอสิทธิบัตรจะได้รับสิทธิบัตร ผู้ทรงสิทธิอาจเป็นหน่วยหรือบุคคลธรรมดา การใช้สิทธิอย่างเป็นธรรมภายใต้กรณีตามกฎหมายกำหนด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตรไม่ต้องจ่ายค่าสิทธิแก่ผู้ทรงสิทธิและการใช้เทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการคุ้มครองโดยสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นลักษณะเด่นที่โดดเด่นซึ่งแยกแยะแหล่งที่มาของสินค้าหรือบริการ วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองคือการส่งเสริมผู้ผลิตเพื่อให้แน่ใจว่าคุณภาพของสินค้าและรักษาความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายการค้าเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภค โดยทั่วไปมีวัตถุและขอบเขตที่แตกต่างกันเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า ขอบเขตของการคุ้มครองสิทธิเครื่องหมายการค้าอยู่ภายใต้การอนุมัติเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของการใช้สินค้า ลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้ามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากวัตถุลิขสิทธิ์เป็นงานวรรณกรรมศิลปกรรมและวิทยาศาสตร์ที่ผู้สร้างสรรค์แต่งไว้หากคำที่เป็นเครื่องหมายการค้ามีความหมายทางศิลปะและข้อความต้นฉบับลิขสิทธิ์ของแบบอักษรจะได้รับผลกระทบ ดังนั้นจึงมีอยู่สองประเภทในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในทรัพย์สินทางปัญญารวมถึงเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ ดังนั้นการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องเป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ความต้องการในการผลิตยาของคำขอสิทธิบัตรยาหากไม่มีสิทธิบัตรยาถือเป็นการละเมิดสิทธิบัตรภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรหากไม่ได้รับอนุญาตให้ขายสินค้าบรรจุภัณฑ์ที่มีตราสินค้าเป็น "การละเมิดเครื่องหมายการค้า" ภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้า
หลายปีที่ผ่านมาสาเหตุหลักของปัญหาลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเกิดจาก ความสับสนในวัตถุของทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากรัฐบาลไทยขาดความเข้าใจในการบริหารจัดการกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้ประชาชนคนไทยจำนวนมากรับรู้แต่เพียงการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น แต่พวกเขาไม่เข้าใจระบบและวิธีการในการใช้ลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง ว่าใช้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย การที่รัฐบาลมีความตั้งใจจะพัฒนาประเทศไทยให้เข้าสู่สภาวะของเศรษฐกิจแนวใหม่ ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยนวัตกรรมตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาลด้วยการสร้างความมั่งคั่งผ่าน กลไกขับเคลื่อน เศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ แล้วนั้น
ถ้าหากประชาชนไทยยังคงไม่เข้าใจระบบทรัพย์สินทางปัญญา หลายคนยังกลัวการละเมิดลิขสิทธิ์ หลายคนยังคงขโมยความคิดของคนอื่นอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย หลายคนยังสับสนกับประเภททรัพย์สินทางปัญญา ภายใต้ผลประโยชน์จากเศรษฐกิจโลก สถานการณ์เหล่านี้อาจทำให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือ จากประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อเอารัดเอาเปรียบประเทศไทย ในระบบการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ทำให้ประเทศไทยขาดความสามารถในการใช้สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ในการเจรจาต่อรองขาดความสามารถในการชั่งน้ำหนัก จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจตลาดทุนไทย ดังนั้น คำตอบที่ดีที่สุดคือการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาควบคู่ไปด้วย ในด้านหนึ่ง การพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับผลงานสร้างสรรค์ทางปัญญา อีกด้านหนึ่ง ควรส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการทำความเข้าใจในการเรียนรู้และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญารวมถึงการใช้ระบบสำหรับวิธีการใช้อย่างถูกต้องโดยไม่ผิดกฎหมาย ระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้ใช้ ให้พัฒนาอย่างกว้างขวางโดยเร็ว
6. กรณีศึกษาข้อยกเว้นหรือการใช้อย่างเป็นธรรมภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทย
"การใช้งานที่เป็นธรรม" แนวคิดนักวิชาการแต่ละประเทศมีลักษณะแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป เช่น เรียกว่า "การใช้งานที่เป็นธรรม" หรือที่เรียกว่า "การใช้งานฟรี." แต่ส่วนใหญ่ของหลักการเหล่านี้ต้องสอดคล้องกับข้อตกลง ภายใต้อนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม มาตรา 9 (2) การป้องกันการคัดลอกงานและในกรณีพิเศษบางอย่างที่มีเงื่อนไขว่าการคัดลอกนั้นถ้าไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ประโยชน์ตามปกติของการทำงานของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่ได้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและผลประโยชน์ที่ถูกต้องของผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ “อย่างสมเหตุสมผล ”ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้จะต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของแต่ละประเทศ ซึ่งกฎหมายจะต้องมีหน้าที่ ที่จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ทางสังคมและสาธารณชนให้มากที่สุด บนความสนใจของสาธารณชน และในฐานะเป็นผู้ที่บังคับใช้กฎหมาย ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นหลัก ต้องพิจารณาการใช้ที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความสมดุลและยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ในบทความนี้เราจะเปรียบเทียบข้อยกเว้นพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทยกับประเทศที่พัฒนาแล้วโดยผ่านหลักการดังต่อไปนี้
6.1 วัตถุประสงค์ในการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
มาตรฐานสากลของข้อ จำกัด และข้อยกเว้นลิขสิทธิ์สากล "การทดสอบขั้นตอนที่สาม" เพื่อเป็นการกำหนดมาตรฐานการงานอย่างเป็นธรรมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของประเทศไทย
หลักเกณฑ์เหล่านี้ประเทศไทยได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มาตรา 32 วรรคแรก“การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์”
มาตรา 32 วรรคสองบัญญัติว่า การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่า เป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(9) ทำซ้ำ หรือดัดแปลง เพื่อประโยชน์ของคนพิการที่ไม่สามารถเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์อันเนื่องมาจากความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน สติปัญญา หรือการเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร ทั้งนี้ รูปแบบของการทำซ้ำหรือดัดแปลงตามความจำเป็นของคนพิการและองค์กรผู้จัดทำรวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการเพื่อทำซ้ำหรือดัดแปลงให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา นอกจากนี้ยังบัญญัติกระจัดกระจาย อยู่ในมาตรา 33 ถึง 43 อีกด้วย[31]
แม้ว่า กฎหมายลิขสิทธิ์ของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันในขอบเขตของบทบัญญัติของระบบการใช้งานที่เป็นธรรม แต่ในการพิจารณาคดีของศาล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นการใช้งานอย่างสมเหตุสมผลของความเป็นธรรม ศาลจะพิจารณาวัตถุประสงค์หลักของการใช้งานที่เหมาะสม ซึ่งพื้นฐานวัตถุประสงค์หลัก ที่ประเทศสมาชิกนำมาพิจารณาในการตัดสินคดีนั้นมีเพียงสองกรณีคือ
1 วัตถุประสงค์ในการใช้โดยไม่แสวงหาผลกำไร
2 วัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ
วัตถุประสงค์ในการใช้โดยไม่แสวงหาผลกำไรจะได้รับการยอมรับว่าเป็นการใช้อย่างเป็นธรรมมากที่สุด แต่ไม่ได้หมายความว่า วัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ จะไม่สามารถนำมาพิจารณา ภายใต้หลักเกณฑ์การใช้อย่างเป็นธรรมได้
ตัวอย่างเช่น ในคดี Sony Corp. of America v. Universal City Studios, Incหรือที่เรียกว่า "Betamax" ในเวลานั้นคำตัดสินของศาลสูงสหรัฐ ประชาชนใช้เทคโนโลยี" Betamax" อัดเทปรายการโทรทัศน์ไว้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนเวลาการชม นั่นหมายความว่า ประชาชนสามารถใช้สิทธิส่วนบุคคลในการบันทึกรายการโทรทัศน์ เพื่อเก็บไว้ดูในเวลาว่างได้โดยไม่ผิดกฏหมาย สำหรับ Betamax หรือเครื่องบันทึกวิดีโอ และเครื่องมืออื่น ๆ ก็ไม่ถือว่าเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เนื่องจากการใช้เพื่อวัตถุประสงค์การใช้งานส่วนบุคคล บริษัทผู้ผลิตBetamax หรือเครื่องบันทึกวิดีโออื่น ๆ ก็ไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์。[32]
ผลจากคำพิพากษาในคดี Sony Corp. ทำให้มีการคิดค้นเทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ผลิตภัณฑ์ใหม่นำไปสู่การใช้ประโยชน์จากลิขสิทธิ์อย่างผิดกฎหมาย เช่น Napster เป็นซอฟต์แวร์ที่คุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์ MP3 ที่คุณต้องการบนเว็บไซด์ นอกจากนี้ยังช่วยให้เครื่องของตัวเองกลายเป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับผู้ใช้รายอื่นที่ดาวน์โหลดได้เช่นกัน ในโลกดนตรีและผลิตภัณฑ์ของ บริษัทผู้ผลิตได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายลิขสิทธิ์
แต่ Napster สามารถทำให้การแพร่กระจายของเพลง ทำได้ง่ายและรวดเร็ว ยิ่งกว่านั้นประชาชนไม่ต้องจ่ายเงิน ทำให้บริษัท แผ่นเสียงได้รับผลการละเมิดจากการที่ Napster ทำให้ผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ลดลง จึงนำไปสู่การฟ้องร้อง ในกรณีของ A & M Records Inc. V. Napster, Inc. ศาลสหรัฐในขณะนั้นตัดสินชี้ขาดให้ Napster ยุติการละเมิด นั่นหมายความว่า Napster ต้องหยุดให้บริการซึ่งหมายความว่าซอฟต์แวร์ Napster ไม่ชอบด้วยกฎหมาย [33]เป็นที่น่าสังเกตว่า ในสองคดีนี้ คู่กรณีไม่ใช่สาธารณะชนแต่อย่างใด แต่เป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าอันมีลิขสิทธิ์ และ บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือในการละเมิด ส่วนใหญ่แล้วในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ได้ฟ้องสาธารณะชนโดยตรง เนื่องจากว่า ประเทศเหล่านี้ ตระหนักถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา นั่นคือ ด้านหนึ่งปกป้องงานของพวกเขาจากการถูกละเมิด แต่อีกด้านหนึ่งปกป้องสาธารณะชนในการใช้งาน ถ้าหากฟ้องสาธารณชนในการใช้งาน ก็คงไม่เป็นผล เช่น ประเทศไทย มีประชากร เจ็ดสิบล้านคน ถ้าฟ้องคดีก็ต้องล้นศาล และไม่มีทางชนะคดี เพราะกฎหมายคุ้มครองประชาชน ในการใช้สิทธิส่วนตัวอย่างเป็นธรรม
6.2 ลักษณะธรรมชาติของงานอันมีลิขสิทธิ์
การใช้งานอันมีลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม เกี่ยวกับลักษณะของงานที่ใช้นักวิชาการชาวอเมริกันศาสตราจารย์แพตเทอร์สันระบุว่า "ลักษณะธรรมชาติของงานลิขสิทธิ์" ได้กลายมาเป็นองค์ประกอบของการใช้เหตุผลที่ว่างานควรให้ประโยชน์สาธารณะโดยไม่คำนึงถึงผลงานจะออกมาในรูปแบบใดงานนี้น่าจะสามารถให้บริการเพื่อประโยชน์สาธารณะได้หรือไม่ สาธารณะชนได้ประโยชน์จากการใช้หรือไม่ องค์ประกอบของชิ้นงานถ้าการใช้งานของบุคคลอื่นและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ก็น่าจะเข้าเงื่อนไข การใช้อย่างเป็นธรรม [34] ด้านล่างต่อไปนี้เราจะมาวิเคราะห์ลักษณะธรรมชาติของงานอันมีลิขสิทธิ์
6.2.1 งานที่ไม่ได้ตีพิมพ์
สำหรับงานที่ไม่ได้ตีพิมพ์ จะถือเป็นการใช้งานอย่างเป็นธรรมได้หรือไม่? ตัวอย่างเช่น ในปี 1987 Salinger v. Random House, Inc.เป็นคดีของสหรัฐอเมริกา โดยนักเขียนชาวอเมริกัน ซึ่งเกี่ยวกับผลงานที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ [35]ศาลพิจารณาการใช้เหตุผลของสี่องค์ประกอบสำคัญ โดนเน้นไปที่ลักษณะของงาน ศาลเห็นว่า แม้ว่าวัตถุประสงค์ของการใช้งานคือการวิพากษ์วิจารณ์การเรียนและการศึกษา แต่ในกรณีจดหมายของ D.D. Salinger ที่ยังไม่ได้เผยแพร่ ผู้พิพากษาพิจารณาองค์ประกอบสำคัญของความเป็นจริง กรณีงานไม่ถูกเผยแพร่ที่ไม่ได้ตีพิมพ์ควรจะได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่เนื่องจากผู้เขียนมีสิทธิ์สามารถควบคุมสิทธิของตนจากการใช้ที่เป็นธรรม ได้มากกว่า ในกรณีนี้ศาลอุทธรณ์ของสหรัฐฯ ปฏิเสธจำเลย ที่จะพิจารณาการใช้งานที่ไม่ได้เผยแพร่ว่าเป็นการใช้โดยถูกต้องเหมาะสม
ต่อมาในปี 1991 กรณีของ Wright v. Warner Books ศาลพิจารณาการใช้อย่างเป็นธรรมในองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการเช่นกัน ซึ่งยืนยันว่านักวิจัยเพื่อการศึกษาสามารถใช้งานและเผยแพร่เนื้อหาหรือตีความผลงานเหล่านี้ได้ ตราบเท่าที่พวกเขาใช้ผลงานของผู้อื่นและใช้ในระบบความเป็นธรรมอย่างสมเหตุสมผล [36]ในการวิจัยค้นคว้า ศาลเห็นว่า วอล์คเกอร์ ใช้ตัวอักษรเหล่านี้ ไม่ได้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของ Wright แต่เป็นงานที่สร้างขึ้นจากข้อเท็จจริงของชีวประวัติซึ่งมักอาศัยการติดต่อส่วนตัวของเธอกับผู้ประพันธ์ นอกจากนี้ Wright ก็ได้เสียชีวิตไปแล้ว และไม่สามารถปกป้องความเป็นส่วนตัว ผลจากกรณีนี้มีความสำคัญมากกับการอนุญาตให้ใช้ สิทธิพิเศษของห้องสมุดเพื่อการวิจัยทางวิชาการได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามในปี1992 สภาครองเกรสได้มีการปรับปรุงระบบการใช้กฎหมายลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องเพื่อให้เกิดการทำซ้ำของผลงานที่ไม่ได้เผยแพร่
สรุปก็คือ ในกรณีจดหมายของ D.D. Salinger ที่ยังไม่ได้เผยแพร่ ถือเป็นสิทธิส่วนตัว ของเจ้าของผลงาน ซึ่งผู้เขียนยังมีชีวิตอยู่ ส่วนในคดี Wright เป็นเพียงการเผยแพร่ชีวประวัติของผู้ที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว ที่เป็นข้อความจริงไม่ใช่ผลงานการสร้างสรรค์ ไม่ถือว่าละเมิด
สำหรับประเทศจีนภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์มาตรา 2 บัญญัติว่า “ผลงานของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลไม่ว่าจะได้รับการตีพิมพ์หรือไม่ ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายลิขสิทธิ์นี้” มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการดำเนินการของกฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดว่าจะต้องมีการสร้างสรรค์ ลิขสิทธิ์จากวันที่สร้างงานเสร็จสิ้น เห็นได้ชัดว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนมีหลักการป้องกันอัตโนมัติ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือว่าผู้สร้างสรรค์ผลงานลิขสิทธิ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าผลงานดังกล่าวจะได้รับการตีพิมพ์หรือไม่ เป็นเงื่อนไข แต่เมื่อสร้างสรรค์ผลงานเสร็จสมบูรณ์ผู้สร้างสรรค์จะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติทันที ดังนั้นผู้สร้างสรรค์ผลงานที่ยังไม่ได้เปิดตัวก็เป็นผลงานสร้างสรรค์ของผู้สร้างสรรค์ที่ ได้รับการคุ้มครอง อาจกล่าวได้ว่าการสร้างสรรค์ลิขสิทธิ์ กับการตีพิมพ์ผลงานยังมีข้อแตกต่างกัน แม้ว่างานที่ตีพิมพ์ และงานที่ไม่ได้เผยแพร่ ทั้งสองชนิดนี้ จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ก็ยังมีความแตกต่างบางประการในกฎหมาย ตัวอย่างเช่นตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องของมาตรา 22 ของกฎหมายลิขสิทธิ์“ งานที่เผยแพร่แล้วสามารถใช้อย่างมีเหตุผลและเป็นธรรมได้ แต่งานที่ไม่ได้เผยแพร่ไม่สามารถใช้อย่างเป็นธรรมได้ ” ดังนั้นตราบเท่าที่ผลงานลิขสิทธิ์ไม่ได้อยู่ในหลักเกณฑ์ข้างต้น จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ แม้ว่าจะไม่ได้ตีพิมพ์งานนั้น แต่ผลของการใช้งานอย่างเป็นธรรมนั้นแตกต่างกัน
6.2.2 งานที่ได้ตีพิมพ์แล้ว
ลักษณะธรรมชาติของงานอันมีลิขสิทธิ์ งานที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่แล้วไม่คำนึงถึงผลงานจะออกมาในรูปแบบใด จะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์อัตโนมัติทันทีภายใต้หลักและเหตุผลของ การคุ้มครองดังต่อไปนี้
1 หลักการพัฒนา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การเผยแพร่ผลงานการสร้างสรรค์ บนหลักการ ของการทำงานที่ดี
2 หลักการของการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้สร้างสรรค์
3 คำนึงถึงผลประโยชน์ของสาธารณชน ผู้ใช้งานที่ได้เผยแพร่นั้น หลักการ ถ้าคุณใช้งานลิขสิทธิ์ของคนอื่นทำงานสำหรับการใช้งานโดยชอบธรรม ควรได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย นั่นคือสำหรับการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์โดยใช้อย่างเหมาะสม ได้อย่างเป็นธรรม ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายรับรอง
สำหรับการตีความการใช้งาน ต้องตีความภายใต้ลักษณะธรรมชาติของงานอันมีลิขสิทธิ์ ที่ชัดเจน ว่างานนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ผลงานการสร้างสรรค์การ์ตูน Superman ที่สร้างขึ้นโดย Jerry Siegel และศิลปิน Joe Schuster ในปี 1933 เมื่อเขาอาศัยอยู่ในคลีฟแลนด์โอไฮโอ และต่อมาใน ปี พ. ศ. 2481 เจ้าของผลงาน Superman ได้ขายให้กับ บริษัท การ์ตูนนักสืบ ปี 1938 เปิดตัวซูเปอร์แมนใน "โลกการ์ตูน" Superman พัฒนาเผยแพร่บนความหลากหลายของสื่อเช่นวิทยุหนังสือพิมพ์ การ์ตูน รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์และวิดีโอเกม ซูเปอร์แมนเป็นฮีโร่ที่สวมบทบาทซูเปอร์ฮีโร่ที่ปรากฏในการ์ตูนดีซีและโดยทั่วไปถือว่าเป็นตัวแทนทางวัฒนธรรมของสหรัฐอเมริกา จากความสำเร็จของซูเปอร์แมน กลายเป็นสิ่งสำคัญของเขาในการสร้างบรรพบุรุษของซูเปอร์ฮีโร่และสร้างการ์ตูนอเมริกัน การปรากฏตัวของซูเปอร์แมนทุกครั้ง จะเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเอกลักษณ์ Superman มักจะสวมเครื่องแบบสีฟ้า, เสื้อคลุมสีแดง มีสีเหลืองรูปโล่ "S" โลโก้และกางเกงในสีแดงคลาสสิก ลักษณะนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสื่อที่นับไม่ถ้วน หนังสือการ์ตูน Superman ในการโต้แย้งเรื่องลิขสิทธิ์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2013 US Federal Circuit Court of Appeals ได้ตัดสินว่าครอบครัวของซีเกลและการ์ตูนดีซีตกลงทำสัญญาสองฉบับปี พ.ศ. 2544 ที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ดังนั้นจึงเป็นการยกเลิกการตัดสินใจของซีเกล ในปี พ. ศ. นั้น สิ่งนี้รับประกันได้ว่าการ์ตูน Superman ของ DC Comics ได้รับการรับรองว่าคือผลงานอันมีลิขสิทธิ์[37] สำหรับสถานการณ์ Superman ในประเทศไทยที่เกี่ยวกับการใช้งานลักษณะธรรมชาติของงานอันมีลิขสิทธิ์ ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 368/2512 [38]ศาลพิพากษาว่าซูเปอร์แมนไม่ได้เป็นงานศิลปะการที่จำเลยใช้ซูเปอร์แมนเป็นเครื่องหมายการค้าไม่ก่อให้ การละเมิดลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นว่า ลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้ามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ข้อความเครื่องหมายการค้าที่มีศิลปะ แบบอักษรภาพกราฟิก เครื่องหมายการค้าจะเกี่ยวข้องกับงานศิลปะและอื่น ๆ ในข้อความเครื่องหมายการค้านั้นจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา สองประเภทด้วยกันคือ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าและ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งตามที่ได้กล่าวมาแล้ว การคุ้มครองทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างเป็นอย่างมาก
ภายใต้อนุสัญญา Berne เพื่อการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปะได้ลงนามเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2429 ในปี พ.ศ 2474 ประเทศไทยได้ตัดสินใจเข้าร่วมการประชุม ข้อความฉบับปัจจุบันซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมในกรุงปารีสในปี พ. ศ. 2514 ส่วนใหญ่ให้หลักการพื้นฐานในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศขอบเขตของงานที่ได้รับการคุ้มครองมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการป้องกันและการปฏิบัติพิเศษเฉพาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนาและ เมื่อประเทศไทยตัดสินใจเข้าร่วมการประชุมประเทศไทยควรเพิ่มความเข้าใจในกรอบความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของโลก โดยการสนับสนุนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศด้วย
6.3 จำนวนปริมาณการใช้งานลิขสิทธิ์เมื่อเทียบกับจำนวนปริมาณที่เป็นสาระสำคัญหรือคุณค่าของงานอันมีลิขสิทธิ์นั้น
ปริมาณและเนื้อหาของการใช้งานที่มีลิขสิทธิ์หมายถึงสัดส่วนของส่วนที่ใช้และมูลค่าที่แท้จริงต่อสัดส่วนของงานที่ใช้ ปริมาณและเนื้อหาในการใช้งานที่มีลิขสิทธิ์เทียบกับผลงานที่มีลิขสิทธิ์ทั้งหมดการใช้เนื้อหาและเนื้อหาบางส่วนของเนื้อหาอันเป็นสาระสำคัญ โดยปกติขั้นตอนนี้ จะมีความเป็นธรรมน้อยที่สุด ยกตัวอย่างเช่นในประเทศจีนกฏหมายกำหนดให้งานกวีนิพนธ์อ้างอิงไม่เกิน 2,500 คำหรือ 1ส่วน 10 ของงานที่อ้างถึงถ้าการอ้างอิงเดียวกันกับความยาวเท่ากันของงานที่ไม่ใช่บทกวีจำนวนคำทั้งหมดจะต้องไม่เกิน 10,000 คำบทกวีที่อ้างถึงทำงานได้ไม่เกิน 40 บรรทัด หรือ 1ส่วน 4 ของบทกวีทั้งหมด ยกเว้น บทกวีโบราณซึ่งจำนวนรวมของการอ้างอิงงานหนึ่งชิ้นหรือมากกว่าต้องไม่เกิน 1ส่วน10 ของจำนวนทั้งหมดของงานที่สร้างขึ้นยกเว้นคำอธิบายพิเศษ นอกจากนี้ชิ้นงานที่ตีพิมพ์ถูกยกมาในรายการวิทยุไม่เกินหนึ่งนาทีรายการโทรทัศน์หรือบันทึกข่าวประกอบด้วยชิ้นงานที่ตีพิมพ์ซึ่งไม่เกิน 30 วินาที
ในสหรัฐอเมริกา ปี 1985ในคดี Harper & Row v. Nation Enterprises จำเลย Nation Enterprises [39]ยืนยันว่าการใช้หนังสือเล่มนี้ได้รับความคุ้มครองโดยหลักการของการใช้งานที่เป็นธรรม ศาลเห็นว่าการใช้งานที่ไม่ได้ตีพิมพ์อย่างถูกต้องนั้นเป็นผลมาจากการคุ้มครองผลงานที่ไม่ได้ตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด แม้ว่าในบันทึกความทรงจำในการตัดสินใจของประธานาธิบดี ฟอร์ด ที่ให้อภัยอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐฯริชาร์ดนิกสัน ออกมาจาก "มิตรภาพลึก ๆ " และข้อความในบันทึกอาจเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนได้ก็ตาม แต่ข้อความต้นฉบับในการตัดสินใจของฟอร์ดที่จะให้อภัยนิกสัน นิตยสาร "National" ในการอ้างอิงได้สร้างกระแสให้มีความร้อนแรง จงใจใช้นิตยสาร "Time" ตีพิมพ์เนื้อหาที่เป็นอัตชีวประวัติของ ฟอร์ด ก่อนที่เจ้าของผลงานจะมีการตีพิมพ์ จาก400 คำใน 200,000 คำของบันทึกความทรงจำของประธานาธิบดีฟอร์ด ไม่เพียงพอที่จะใช้เหตุผลในขั้นตอนที่สามในการชั่งน้ำหนักตามคำให้การของจำเลย เพราะ จำเลยใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นซึ่งถือเป็น "หัวใจของงาน" ไม่ถือเป็นการใช้งานอย่างเป็นธรรม
ดูเหมือนว่าขั้นตอนนี้จำเลยจะได้รับความไม่เป็นธรรมมากที่สุด อย่างไรก็ตามปัจจัยนี้กำหนดให้เราต้องวัดการใช้งานโดยรวมของการทำงานของข้อเท็จจริงคือ "ต้องสมเหตุสมผล"
ปัญหาการคัดลอกในปัจจุบันได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของระบบการใช้งานที่เหมาะสม ในแต่ละประเทศ ข้อเท็จจริงของปัญหา ก็มักจะแตกต่างกัน เช่นปัจจุบันประเด็นเรื่องการถ่ายเอกสารนับเป็นประเด็นสำคัญที่สุดของระบบการใช้งานที่เป็นธรรมแต่ละประเทศมีวิธีการถ่ายเอกสารที่แตกต่างกัน และ ในประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นสหรัฐฯญี่ปุ่น แคนาดา เยอรมนี สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ใช้วิธีการถ่ายสำเนาโดย Coursepacks
Coursepacks คืออะไร? Coursepacks หมายถึงวิธีการทางเทคโนโยลีในการจัดเก็บเอกสาร และการเรียกเอกสารในไฟล์ ที่มีเนื้อหา ของชุดวิชาต่าง ๆ ที่รวบรวมโดยครูผู้สอน เพื่อเสริมหลักสูตรการศึกษาของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย โดย Coursepacks จะเป็น "การจัดเก็บเอกสาร"ทั้งหมด ที่มีอยู่ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย และเอกสารคำบรรยายของอาจารย์ผู้สอนที่ได้รวบรวมไว้ โดยจัดเก็บเป็นไฟล์อีเล็คโทรนิค และใช้เทคโนโลยีในการดึงข้อมูลที่ต้องการมาใช้ ซึ่งเป็นการจัดเก็บควบคู่ไปกับการเก็บเอกสารหนังสือในห้องสมุด นักเรียนนักศึกษาสามารถเลือกใช้อย่างหนึ่งอย่างหนึ่งได้ ตามต้องการ Coursepacks เป็นการบริการเพื่อแสวงหาผลกำไรจากนักศึกษา และนักศึกษาจำเป็นต้องจ่ายเงินทุกครั้งในการคัดลอกเอกสารCoursepacks หรือหลักสูตรแพคเกจนี้จะทำหน้าที่หลักในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อจัดทำสำเนาเอกสารที่พิมพ์ออกมา เมื่อการใช้งานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยได้เริ่มเปลี่ยนไปใช้การจัดการเก็บเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถลงทะเบียนเรียนในชั้นเรียนโดยเฉพาะได้[40]
เมื่อเวลาผ่านไปครูจะเริ่มรวบรวมเอกสารประกอบคำบรรยายตอนต้นของชั้นเรียนหรือให้ผู้บริหารโรงเรียนรวบรวมและเรียกเก็บเงินนักเรียนให้เพียงพอเพื่อคืนค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป ในขณะที่ร้านคัดลอกเช่น Kinko เริ่มเจริญขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1970 และต้นปี 1980 พวกเขาพัฒนาตลาดเพื่อทำชุดหลักสูตรเหล่านี้โดยเสนอความหลากหลายของการผูกขาดและอื่น ๆในกรณีศึกษา "case study" หลายกรณีศาลสหรัฐฯพบว่าบริการเชิงพาณิชย์ที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมไม่ได้รับการคุ้มครองโดยการใช้อย่างเป็นธรรมเช่น คำพิพากษาในปี 1991 คดี Basic Books v. Kinko's Graphics Case,และในปี 1996, คดี Princeton University Press และ Michigan Document Services
สำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เอกสารและหนังสือเรียนจะได้รับการออกแบบมาสำหรับนักเรียนในระดับต่างๆและสาขาวิชาที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ "เอกสารประกอบคำบรรยาย" ถือว่าเป็นการเสริมหลักสูตรเท่านั้น และ"เอกสารประกอบคำบรรยาย" ขึ้นอยู่กับการเรียนการสอนของอาจารย์ การค้นหาเอกสารหนังสือ ไม่ได้เป็นการเก็บรวบรวมโดยครูผู้สอน นักเรียนแต่ละคนต้องค้นหาข้อมูลด้วยตัวเอง สำหรับร้านถ่ายเอกสารในประเทศไทยเป็นตัวแทนของนักเรียนในการถ่ายเอกสารเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจาก Coursepacks สำหรับประเทศไทยนั้นมีผลคำพิพากษาสำหรับเรื่องนี้ใน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5843/2543 จำเลยเปิดร้านถ่ายเอกสาร เล็ก ๆ ไม่ได้เป็นร้านขายหนังสือ หรือแผงขายหนังสือ มีเครื่องถ่ายเอกสารอยู่ 4 เครื่องในร้านถ่ายเอกสาร จำเลยถ่ายเอกสารจากหนังสือของโจทก์ เล่มแรกถ่าย 25% ของปริมานหนังสือทั้งหมด เข้าเล่มแล้วจำนวน 20 ชุดเล่มที่สอง ถ่ายจำนวน 20.83% จากปริมาณทั้งหมดของหนังสือ เข้าเล่มจำนวน 19 ชุด ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษาว่า จำเลยเป็นตัวแทนของนักศึกษา ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตามศาลฎีกาในประเทศไทยไม่เห็นด้วย ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยเปิดร้านถ่ายเอกสารใกล้กับมหาวิทยาลัยและมีความเป็นไปได้ที่นักศึกษาต้องการใช้หนังสือเหล่านี้ พฤติกรรมของจำเลยคัดลอกไว้เพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้ริบเครื่องถ่ายเอกสารและชดใช้ค่าเสียหาย ทั้งนี้กฎหมายลิขสิทธิ์ระบบการใช้อย่างเป็นธรรมไม่เพียง แต่พิจารณาการใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ทั้งในด้านปริมาณและเนื้อหาที่เปรียบเทียบกับงานลิขสิทธิ์ทั้งหมด แต่ยังคำนึงถึงผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายด้วย โดยคำนึงถึงความสมดุล
วัตถุประสงค์ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อการควบคุมและจัดการความขัดแย้ง จึงต้องคำนึงถึงหลักการการใช้งานที่เป็นธรรมของความสมดุลทั้งสองฝ่าย ภายใต้การใช้เหตุผลของระบบกฎหมายลิขสิทธิ์ไม่เพียง แต่ จะต้องวิเคราะห์ จำนวนปริมาณและการใช้งานอันเป็นสาระสำคัญของงานที่มีลิขสิทธิ์ เมื่อเทียบกับงานที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ทั้งหมด แต่ยังต้องพิจารณาผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายอีกด้วย การวิเคราะห์ฝ่ายโจทก์เช่นการวิเคราะห์ปัจจัยและการเปรียบเทียบในแต่ละปีนักศึกษามีความต้องการในการใช้หนังสือของโจทก์มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ต้องวิเคราะห์ศักยภาพของตลาด ผลกระทบต่อตลาดของโจทก์ และการสูญเสียตลาด
ในการวิเคราะห์จำเลย โดยทั่วไปจำเลยเปิดร้านถ่ายเอกสาร รายได้ต่อหน่วยของการถ่ายเอกสารเมื่อเปรียบกับราคาขายเอกสารที่จำเลยคัดลอก มีลักษณะแสวงหาผลกำไรจากการขายเอกสารหรือหนังสือหรือไม่ หรือเพียงแต่คิดคำนวณราคาจากราคาถ่ายเอกสารปกติ และเป็นไปได้หรือไม่ว่า ถ้าไม่มีนักศึกษาต้องการใช้เอกสารชุดวิชานั้นจำเลยต้องขาดทุน เพราะการคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมความสนใจร่วมกัน บนมือข้างหนึ่งเพื่อป้องกันการผูกขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์ของงาน ในมืออื่น ๆ จะต้องมีวิธีการที่จะควบคุมการใช้และแสวงหาความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของประชาชนและผลประโยชน์ของผู้ถือลิขสิทธิ์ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ชื่อก็บอกชัดเจนว่าคุ้มครอง เป้าหมายสูงสุดไม่ใช่ "วิธีป้องกันการใช้ "แต่" วิธีการควบคุมการใช้ " สาระสำคัญของกฎหมายลิขสิทธิ์คือกลไกในการควบคุมการใช้งาน ถ้า "กฎหมายลิขสิทธิ์" หมายถึง "วิธีการป้องกันการใช้งาน" นั่นคือ ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์บัญญัติขึ้นมาเพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยมเท่านั้น
6.4 ผลกระทบต่อคุณค่าของงาน และตลาด
สำหรับการใช้งานอย่างสมเหตุสมผล ผลกระทบต่อคุณค่าของงาน และผลกระทบต่อตลาด องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพื่อใช้ในการตรวจสอบการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม เนื่องจากการตรวจสอบการใช้ใช้เพียงขั้นตอนเดียวที่จะทำให้ตัดสินได้ว่า การใช้งานนั้นเหมาะสมหรือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งนี้ในขั้นตอนสุดท้ายนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะวิเคราะห์และตัดสินตามผลของพฤติกรรม ผลกระทบต่อมูลค่าของงานและผลกระทบต่อตลาดของโจทก์ ศาลไม่เพียงตรวจสอบเฉพาะการใช้งานโดยจำเลยเท่านั้น แต่ยังต้องตรวจสอบว่าการกระทำของจำเลยทำให้ตลาดของลิขสิทธิ์เสียหายอย่างแท้จริง และเป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่าพฤติกรรมของจำเลยนั้นอาจทำให้เกิดผลกระทบและเกิดความเสียหายแก่ตลาดที่มีศักยภาพในงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้หรือไม่ อีกด้วย ตัวอย่างเช่นกรณีของ Sony Corporation v. Universal City Studios Universal ไม่ได้ให้หลักฐานเชิงประจักษ์ใด ๆ ว่าการใช้ Betamax ทำให้ผู้ชมลดลงหรือส่งผลกระทบต่อธุรกิจของพวกเขา อย่างไรก็ตามคำตัดสินของศาลฎีกาในกรณี Campbell v. Acuff-Rose Music Inc, ศาลเห็นว่า ต้องวิเคราะห์การชั่งน้ำหนัก ทั้งสี่ปัจจัยโดยเน้นการตีความ ให้สมดุล ภายใต้วัตถุประสงค์ของกฎหมายลิขสิทธิ์อย่างแท้จริง
ในการประเมินปัจจัยที่สี่ศาลมักจะพิจารณาเปรียบเทียบความเสียหายและผลกระทบต่อตลาด งานเดิมของเจ้าของลิขสิทธิ์ สองประการคือ
ประการแรก ศาลจะพิจารณาว่าผลจากการใช้งานทำให้งานชิ้นใหม่นี้เป็นการทดแทนโดยตรงสำหรับงานต้นฉบับหรือไม่ ในคดีนี้ศาลฎีกาชี้ให้เห็นว่า "เมื่อการถ่ายสำเนาจากงานเดิมทั้งหมดมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ เป็นที่ชัดเจนว่า งานใหม่จะแทนที่งานเดิมและเป็นทางเลือกในการตลาดทำให้เกิดความเสียหายต่อตลาดให้กับผลงานเดิมอาจจะเกิดขึ้นได้
ประการที่สองศาลยังพิจารณาด้วยว่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากตลาดจะทำให้ความเสียหายในตลาดเกิดขึ้นจากการแทนที่งานเดิมโดยตรงหรือไม่ เช่นการออกใบอนุญาตให้ผู้ค้าปลีก การพิจารณานี้จะถูกเปรียบเทียบกับร้านค้าที่คัดลอกเชิงพาณิชย์ (Coursepacks) ที่ทำสำเนาคัดลอกของบทความในชุดหลักสูตรของนักศึกษามหาวิทยาลัยและขออนุญาตคัดลอกสำเนาของหลักสูตรที่มีอยู่แล้วในตลาดว่าตลาดได้รับความเสียหายหรือไม่ และศาลยอมรับว่าสำหรับการใช้งานที่สมเหตุสมผล ความเสียหายในตลาดบางประเภทไม่สามารถปฏิเสธได้ ตัวอย่างเช่น การล้อเลียน เลียนแบบ หรือการเซ็นเซอร์เชิงลบ ซึ่งทำลายงานต้นฉบับ ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ไม่สามารถป้องกันการทำงานจากการวิจารณ์ที่ไม่ดี
7. บทสรุป
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึงผลงานสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ ซึ่งประกอบกิจกรรมการสร้างสรรค์ทางปัญญาหรือกิจกรรมนวัตกรรม จุดประสงค์สำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาคือการกระตุ้นกลไกในการนำเสนอและเผยแพร่ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ความสามารถทางปัญญา วัตถุประสงค์ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาคือการปกป้องคุ้มครองทั้งสองฝ่าย ด้านหนึ่งเพื่อปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ในทางกลับกันปกป้องประชาชนผู้ใช้งานนั้น ทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ลิขสิทธิ์หมายถึงสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว (สิทธิ) ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานด้านวรรณกรรมศิลปะและผลงานทางวิทยาศาสตร์ เพียงผู้สร้างหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ มีสิทธิ์ในช่วงเวลาที่กฏหมายกำหนด ซึ่งประกอบด้วย สิทธิส่วนบุคคลของผู้สร้างสรรค์ และ สิทธิทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นสิทธิ์เกี่ยวกับทรัพย์สิน ภายใต้วัตถุประสงค์ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องการปกป้องทั้งสองฝ่ายดังนั้นในปี 1886 ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกได้ลงนามใน "Berne Convention"ว่าด้วยการคุ้มครองงานศิลปกรรมและวรรณกรรม" ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ถือว่าการคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่เพียง แต่ปกป้องผู้สร้างสรรค์และเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ภายใต้ "Berne Convention" รัฐยังได้รับอนุญาต ให้บัญญัติการใช้งานที่มีลิขสิทธิ์ "การใช้งานอย่างเป็นธรรม" ประเทศสมาชิกทุกประเทศต้องปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ในการปฏิบัติตามบททดสอบ "การทดสอบสามขั้นตอน" ที่มีความมุ่งมั่นให้เกิดการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม "การทดสอบสามขั้นตอน" ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานสากล สำหรับข้อจำกัด และข้อยกเว้นลิขสิทธิ์ หมายความว่าภายใต้สถานการณ์พิเศษบางอย่างที่สามารถใช้งานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานปกติของการทำงานหรือไม่มีเหตุอันสมควรกระทบกระเทือนผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์ สาธารณรัฐประชาชนจีน"กฎหมายลิขสิทธิ์สาธารณรัฐประชาชนจีน" มาตรา 22 ได้บัญญัติวิธีการเฉพาะ สิบสอง ชนิดของการใช้งานอย่างมีเหตุผลและเป็นธรรม,การใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของและไม่ต้องชำระค่าตอบแทน แต่ควรระบุชื่อของผู้เขียน และจะไม่ถือว่าละเมิดสิทธิ์ และสิทธิอื่นใดของจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมายนี้
ระบบการใช้งานที่ยุติธรรมของสหรัฐฯ ประกอบด้วย สี่ขั้นตอนที่ เรียกว่า "Fair use" ภายใต้มาตรา 107 ของกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐฯระบุว่า "ในกรณีใด ๆ โดยเฉพาะการพิจารณาว่าการใช้งานเป็นไปอย่างยุติธรรมแล้วหรือไม่ควรผ่านการพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้:
(1) วัตถุประสงค์ของการใช้งานดังกล่าวมีลักษณะทางการค้าหรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่ไม่หวังผลกำไร
(2) ลักษณะของงานที่ใช้และมีลิขสิทธิ์
(3) สัดส่วนของปริมาณและมูลค่าที่แท้จริงของส่วนที่ใช้ในการใช้งาน
(4) ผลกระทบต่อตลาดหรือมูลค่าของงาน
ในประเทศไทยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้รวบรวมหลักการ "การทดสอบสามขั้นตอน" ไว้ในมาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จาก งานอันมีลิขสิทธิ์ ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ปัจจัยเหล่านี้ที่ส่งผลต่อคำตัดสินการใช้ที่เป็นธรรมควรรวมถึงและระบุถึงการใช้ทั้งหมดและศาลควรพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันเพื่อกำหนดว่าการกระทำนั้นเป็นการใช้ที่เหมาะสมหรือไม่
เชิงอรรถ
[1]百度百科/中国著作权法
[2] Rochelle Cooper Dreyfuss, Roberta Rosenthal Kwall, (2004) Intellectual Property Cases and Materials on Trademark ,Copyright and Patent Law, Foundation press
[3] พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ ๒๕๓๗
[4]百度百科/引用自动保护原则
[5]百度百科/平衡分析
[6]百度百科/公平正义概念
[7] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
[8] Http://www.mfa.go.th/business/th/cooperation/252/16262-องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก-(-WIPO-).html
[9]百度百科/合理使用
[10] พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ. ศ ๒๕๓๗
[11] 李国新 张陈果
[12]中华人民共和国著作权法 第22条
[13]法院判决不侵害署名权作者:王多
[14] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
[15] พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ ๒๕๓๗
[16] พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ ๒๕๓๗
[17] intellectual property by Philips IP Academy p 412
[18]百度百科
[19] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
[20] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
[21] Jeremy norman’s (1709) History of Information at http://www.historyofinformation.com/expanded.php?id=3389<The Statute of Anne: The First Copyright Statute>
[22] Barnardiston (1741). "Gyles v. Wilcox (1741) Barn C. 368". London. Archived from the original on 25 July 2011. Retrieved 24 September 2009
[23] Patterson, L. Ray (1998-04-01). "Folsom v. Marsh and Its Legacy" (PDF). Journal of Intellectual Property Law. 5 (2): 431–452. Retrieved 2017-10-06.
[24] intellectual property cases and materials on copyright by Philips IP Academy p 212-220 ,411-430
[25] นายอนุชาติ คงมาลัย : กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง พ.ศ. ๒๕๓๗ และ พ.ศ. ๒๕๕๘
[26] นายอนุชาติ คงมาลัย : กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง พ.ศ. ๒๕๓๗ และ พ.ศ. ๒๕๕๘
[27] https://baike.baidu.com/item/朱拉隆功/4384052?fr=aladdin
[28] The Government Public Relations(2006) at Department ,http://thailand.prd.go.th/ewt_news.php?nid=3426
[29] "Opportunity Thailand" ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "โอกาสกับประเทศไทย 4.0"
[30] 何哲,善治概念的核心分析 ——一种经济方法的比较观点,理论与改革,2011年第5期
[31] พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์. พ.ศ.๒๕๓๗
[32] Sony Corp. of America vs. Universal City Studios, Inc
[33] A&M Records, Inc. v. Napster, Inc.
[34]郭晓雨
[35] Salinger v. Random House, Inc
[36] Wright v. Warner Books, Inc.
[37] http://www.baike.com/ wiki/超人
[38] ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 368/2512
[39] Harper & Row v. Nation Enterprise
[40] https://en.wikipedia.org/wiki/Coursepacks
เกี่ยวกับผู้เขียน: นางสาวกรกาญจน์ มุ่งพาลชล ป็นนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยชนชาติส่วนกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน
[full-post]
แสดงความคิดเห็น