Posted: 23 Nov 2017 12:05 PM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลและแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีข้อเสนอแนะให้ปรับเปลี่่ยนแก้ไขบทบัญญัติในร่าง พ.ร.บ.ต่อต้านการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย

23 พ.ย.2560 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า วันนี้คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ICJ) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) จัดทำข้อเสนอแนะให้ กระทรวงยุติธรรมแก้ไขร่างกฎหมายใหม่ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อเสนอแนะนี้จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ต่อกระทรวงยุติธรรม

ICJ และแอมเนสตี้ฯ ยินดีที่รัฐบาลไทยรับผูกพันว่าจะบัญญัติให้การทรมานและ การกระทำให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดทางอาญา แต่เนื่องจากร่างพระราชบัญญัตินี้ ชี้ให้เห็นช่องโหว่หลายประการในระบบกฎหมายไทย ทางองค์กรของเราจึงมีความเห็นว่ามีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อจัดการ กับข้อบกพร่องสำคัญของร่างพระราชบัญญัตินี้และเพื่อรับประกันว่ารัฐบาลไทยจะสามารถปฏิบัติตาม สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย รวมถึงตาม มาตรฐานสากลอื่น ๆ

รายงานข่าวระบุด้วยว่า ข้อเสนอแนะที่รวบรวมโดย ICJ และแอมเนสตี้ฯ มีดังต่อไปนี้

  • ร่างพระราชบัญญัติฯ ขาดองค์ประกอบสำคัญของอาชญากรรมการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ตามนิยามของกฎหมายระหว่างประเทศ
  • การขาดบทบัญญัติเกี่ยวกับการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
  • การขาดบทบัญญัติเรื่องการไม่รับฟังคำให้การหรือข้อมูลใดที่ได้มาจากการกระทำการทรมาน การประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่่ำยีศักดิ์ศรี หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีอาญา
  • การขาดบทบัญญัติเกี่ยวกับรูปแบบการรับผิดต่ออาชญากรรมตามที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติฯ และ
  • ข้อบกพร่องเกี่ยวกับหลักประกันเพื่อป้องกันการทรมาน การประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่่ำยีศักดิ์ศรี หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย

ICJ และแอมเนสตี้ฯ ระบุว่า ขอเรียกร้องให้ประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก กับการพิจารณาข้อกังวลเหล่านี้และอื่น ๆ และเมื่อมีการแก้ไขปรับปรุงแล้ว ควรดำเนินการผ่านเป็นกฎหมาย โดยเร็วที่สุด ความจำเป็นในการปรับปรุงแก้ไขและผ่านร่างพระราชบัญญัตินี้โดยเร่งด่วนนั้นถูกเน้นย้ำโดย รายงานขององค์กรพัฒนาเอกชนหลายฉบับที่ได้เก็บข้อมูลว่ามีการกระทำการทรมานและการประติบัติที่ โหดร้ายโดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของรัฐอยู่เสมอ และความล้มเหลวต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่รัฐไทยในการนำตัว ผู้กระทำผิดมารับผิดต่อการกระทำการทรมาน การประติบัติที่โหดร้าย และการกระทำให้บุคคลสูญหาย

ICJ และแอมเนสตี้ฯ ย้ำว่ายังคงมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่รัฐบาลไทยใน การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตินี้ รวมถึงดำเนินการป้องกันการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายใน ประเทศไทย

ในจดหมายที่แนบมากับข้อเสนอแนะ ทาง ICJ และแอมเนสตี้ฯ ขอเน้นย้ำ ความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการคงไว้ซึ่งมาตราในร่างพระราชบัญญัตินี้ ที่กำหนดห้ามการทรมานและการกระทำ ให้บุคคลสูญหายในทุกสถานการณ์ รวมถึงระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และการห้ามการส่งบุคคล ใดออกไปยังอาณาเขตที่มีความเสี่ยงว่าบุคคลดังกล่าวจะถูกกระทำทรมานหรือถูกกระท าให้สูญหาย (หลักการ ห้ามผลักดันกลับไปเผชิญอันตราย – Non-refoulement)

จดหมายเปิดผนึกร่วมถึงรัฐบาลไทย ‘ประเทศไทย: ผ่านร่างกฎหมายที่กำหนดให้การกระทำให้บุคคลสูญหาย และการทรมานเป็นความผิดอาญาโดยไม่ล่าช้า’ https://www.icj.org/thailand-pass-legislationcriminalizing-enforced-disappearance-torture-without-further-delay

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.