Posted: 20 Dec 2017 03:50 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
สภาองค์การลูกจ้างฯ สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ และกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต ยื่นข้อเสนอและผลสำรวจต่อแนวคิดการแก้กฎหมายประกันสังคม ระบุคนงานส่วนมากไม่เห็นด้วยแนวคิดขยายอายุรับเงินบำนาญประกันสังคม และหนุนผู้ประกันตนเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมโดยตรง
เซีย จำปาทอง รองประธาน สพท. และบรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย (คนที่ 2 และ 3 จากซ้าย ตามลำดับ) เป็นตัวแทนยื่นข้อเสนอและผลสำรวจ
20 ธ.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา เวลา 13.00 น. ที่สำนักงานประกันสังคม ตัวแทน สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (สพท.) และกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง เดินทางเข้ายื่นข้อเสนอในการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมและรายงานสรุปแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายประกันสังคม โดยมี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม รับข้อเสนอและผลสำรวจ
ผู้สื่อข่าวสอบถาม เซีย จำปาทอง รองประธาน สพท. และหนึ่งในตัวแทนยื่นเอกสารในครั้งนี้ กล่าวว่า การยื่นหนังสือและทำแบบสอบถามเนื่องจากสำนักงานประกันสังคมได้จัดทำเวทีประชาพิจารณ์เกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายประกันสังคม ในการปฏิรูประบบบำนาญประกันสังคม ซึ่งกลุ่มตนไม่เห็นด้วยจึงได้สำรวจความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามกับคนงานที่ร่วมอยู่กับองค์กรทั้ง 3 องค์กร คือ สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานฯ สพท. และกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ จำนวน 7,000 ชุด มี 6 ประเด็นคำถาม
เซีย จำปาทอง รองประธาน สพท. และบรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย (คนที่ 2 และ 3 จากซ้าย ตามลำดับ) เป็นตัวแทนยื่นข้อเสนอและผลสำรวจ
20 ธ.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา เวลา 13.00 น. ที่สำนักงานประกันสังคม ตัวแทน สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (สพท.) และกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง เดินทางเข้ายื่นข้อเสนอในการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมและรายงานสรุปแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายประกันสังคม โดยมี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม รับข้อเสนอและผลสำรวจ
ผู้สื่อข่าวสอบถาม เซีย จำปาทอง รองประธาน สพท. และหนึ่งในตัวแทนยื่นเอกสารในครั้งนี้ กล่าวว่า การยื่นหนังสือและทำแบบสอบถามเนื่องจากสำนักงานประกันสังคมได้จัดทำเวทีประชาพิจารณ์เกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายประกันสังคม ในการปฏิรูประบบบำนาญประกันสังคม ซึ่งกลุ่มตนไม่เห็นด้วยจึงได้สำรวจความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามกับคนงานที่ร่วมอยู่กับองค์กรทั้ง 3 องค์กร คือ สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานฯ สพท. และกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ จำนวน 7,000 ชุด มี 6 ประเด็นคำถาม
ผลสำรวจพบว่า 1. คนงานส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสำรวจ จำนวน 5,730 คน ไม่เห็นด้วยกับ การขยายอายุรับเงินบำนาญหรือบำเหน็จ กรณีชราภาพจากเดิม อายุ 55 ปี เป็นอายุ 60 ปี 2. ส่วนใหญ่ จำนวน 4,702 ไม่เห็นด้วยกับกับการเพิ่มฐานในการคิดคำนวณนำส่งเงินสมทบจากเดิมสูงสุดที่ 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท 3. ส่วนใหญ่ จำนวน 4,507 คน ไม่เห็นด้วย กับการคิดคำนวณค่าจ้างเฉลี่ยเพื่อเป็นฐานจ่ายเงินบำนาญชราภาพจากเดิมค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเพิ่มเป็นตลอดระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ 4. ส่วนมาก จำนวน 5,169 คน เห็นด้วยกับการมีคณะกรรมการประกันสังคม โดยให้เลือกตั้งทางตรง จากผู้ประกันตนทุกคนมีสิทธิเลือก 5. ส่วนมาก 5,466 คน ไม่เห็นด้วย กับการมีคณะกรรมการประกันสังคมจากการแต่งตั้ง โดยให้ คสช. หรือ นายกใช้ ม.44 และ 6. ส่วนใหญ่ 3,680 คน ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการมีคณะกรรมการประกันสังคม ให้เลือกตั้งทางอ้อม โดยให้สหภาพแรงงานสมาคมนายจ้างเลือก
เซีย กล่าวว่า เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ที่มารับรับข้อเสนอและผลสำรวจ รับปากว่าจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปพิจารณาร่วมกับข้อมูลที่ทำเวทีประชาพิจารณ์ที่ทำมา 12 ครั้ง
เซีย เปิดเผยว่าหลังจากนี้ทางกลุ่มจะรอดูการพิจารณาของสำนักงานประกันสังคมในเรื่องขยายอายุบำนาญ ว่าจะไปทางได้ และจะมีการจัดเวทีเพื่อนำผลสำรวจนี้มาพูดคุยต่อสาธารณะต่อไป
ข้อมูลพื้นฐานกลุ่มประชากรที่สำรวจ เพศ ช่วงอายุ และประเภทอุตสาหกรรมที่ทำงาน
หนังสือที่ 3 องค์กรยื่นต่อ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม :
เรื่อง ข้อเสนอในการแก้ไขกฎหมายประกันสังคม
เรียน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. รายสรุปแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายประกันสังคม
เนื่องด้วยสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง ได้มอบหมายให้คณะทำงานติดตามการแก้ไขกฎหมายประกันสังคม ของสำนักงานประกันสังคมและกระทรวงแรงงาน ซึ่งได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในการปฏิรูประบบบำนาญประกันสังคมไปแล้ว 12 ครั้ง คณะทำงานของสภาฯ ได้เข้าร่วมติดตามข้อมูลสังเกตการณ์ประชุมรับฟังความเห็น พร้อมทั้งได้มีการออกแบบสำรวจความคิดเห็นในสมาชิกสหภาพแรงงาน จึงมีความเห็นและข้อเสนอในการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมประกอบกับข้อมูลจากการสำรวจโดยสรุป (ตามเอกสารที่ส่งมาด้วย 1) เพื่อการพิจารณา ดังนี้
1. ประเด็นการขยายอายุเกิดสิทธิบำนาญ ซึ่งสำนักงานประกันสังคมมีเสนอ 4 แนวทางให้เลือก ในเนื้อหาของสำนักงานประกันสังคมที่ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมรับฟังความเห็นในการประชาพิจารณ์
สภาฯ ไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่ 2 แนวทางที่3 และแนวทางที่4 จึงให้คงสิทธิไว้ตามเดิม (แนวทางที่ 1) ด้วยเหตุผลคือ
ก. ข้อมูลจากการสำรวจ ผู้ประกันตนไม่เห็นด้วยที่จะให้ขยายอายุการเกิดสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ
ข. ผู้ประกันตนในวัยทำงานที่อยู่ในประเภทอุตสาหกรรม มีการทำงานอย่างหนักจากงานที่ทำอย่างต่อเนื่อง การทำงานที่ต้องเข้ากะ งานที่เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพจากวัตถุดิบ สารเคมีตั้งต้นและสภาพของงานที่ต่างกัน การกำหนดเกษียณอายุของสถานประกอบการแต่ละแห่งมีกำหนดเกษียณอายุที่ไม่เกิน 55 ปี (ตามเอกสารที่ส่งมาด้วย 1)
ค. ผู้ประกันตนทุกกลุ่ม (ม.33 ม.39 ) จะได้รับผลกระทบจากแนวทางวิธีการคิดคำนวณของสำนักงานประกันสังคม นำไปสู่การแก้ไขกฎหมายที่ให้สิทธิประโยชย์ไม่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน
2. ประเด็นเพิ่มสิทธิประโยชน์การประกันสุขภาพต่อเนื่องแก่ผู้รับบำนาญ ซึ่งจะหักเงินบำนาญของผู้ประกันตนส่วนหนึ่งเป็นเบี้ประกัน
สภาฯ ไม่เห็นด้วยเพราะเป็นการนำเงินบำนาญชราภาพไปใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง ประกอบกับในประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพให้รักษาพยาบาลฟรี (บัตรทอง) ซึ่งรัฐบาลมีเงินงบประมาณในการสนับสนุนให้โรงพยาบาลเป็นรายบุคคลรายละ 2950 บาทต่อคน/ต่อปี สามารถนำเงินนี้มาเข้าสู่ระบบรักษาสุขภาพตามสิทธิของผู้ประกันตน (ผู้ประกันตนถูกหัก 1.5% ของอัตรารายได้สูงสุด 15000 บาท เป็นเงิน 2700 บาทต่อคน/ต่อปี)
3. ประเด็นการปรับปรุงสูตรค่าจ้างเฉลี่ยในการคำนวณบำนาญ ตามแนวทางวิธีการคำนวณที่สำนักงานประกันสังคมเสนอ 3 วิธีการให้เลือกสภาฯ ไม่เห็นด้วย เหตุผลคือ
ก. ข้อมูลจากการสำรวจ ผู้ประกันตนไม่เห็นด้วย ที่จะให้นำค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบมาเป็นฐานคิดคำนวณการจ่ายเงินบำนาญชราภาพ
ข. มุ่งเน้นการแก้ไขในกลุ่มผู้ประกันตนมาตรา 39 ซึ่งผู้ประกันตน ณ เดือนตุลาคม ม.39 มีจำนวน 1,365,339 คน ส่วนผู้ประกันตน ม.33 มีจำนวน 10,695,748 คน จะได้รับผลกระทบจากการนำค่าจ้างเฉลี่ยตามระเวลาส่งเงินสมทบมากขึ้น (21ปี) จึงทำให้มีค่าเฉลี่ยที่ลดลงกว่าเดิม สภาฯ จึงเสนอให้นำเงินค่าจ้างสูงสุดของการเป็นผู้ประกันตน 60 เดือนในระยะเวลาการเป็นผู้ประกันตนมาเฉลี่ยเพื่อเป็นฐานคิดคำนวณการจ่ายเงินบำนาญชราภาพ
สภาฯ จึงมีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาระยะยาวให้สำนักงานประกันสังคม และกระทรวงแรงงาน พิจารณาดำเนินการตามรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ที่ให้มีการปรับเปลี่ยนสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์การมหาชน ทั้งนี้เพื่อการหารายได้อย่างยั่งยืน และต้องติดตามการชำระหนี้ของรัฐบาลที่มีกับสำนักงานประกันสังคมรวมทั้งต้องไม่ค้างชำระเงินสมทบ
ในการนี้สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทยจึงใคร่ขอเสนอข้อมูลและเหตุผลประกอบการพิจารณาต่อท่านเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เพื่อดำเนินการตามเจตนารมณ์ของผู้ประกันตนต่อไป
ขอแสดงความเคารพนับถืออย่างสูง
(นายบรรจง บุญรัตน์)
ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย
แสดงความคิดเห็น