Posted: 29 Apr 2018 02:27 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต ประเมินสถานการณ์แรงงานช่วงครึ่งปีหลัง 2561 และเสนอแนวทาง 10 ข้อต่อรัฐบาลเนื่องในโอกาสวันแรงงาน เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินของผู้ใช้แรงงานด้วยการเพิ่มรายได้และเพิ่มสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้กับคนงาน
29 เม.ย. 2561 ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงกรณีกลุ่มผู้ใช้แรงงานมีหนี้สินรวมเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงสุดในรอบ 10 ปีว่าเกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่มีการกระจายรายได้ที่ดีพอทำให้ผู้ใช้แรงงานจำนวนมากมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันจึงจำเป็นต้องก่อหนี้ การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมาและการเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคมจะช่วยบรรเทาปัญหาหนี้สินได้บ้าง แรงงานระดับล่างรายได้ต่ำยังคงมีภาระหนี้ครัวเรือนในระดับสูง สะท้อนว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต จึงขอเสนอให้มีการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกปีโดยต้องปรับขึ้นไม่น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อของแต่ละปี และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนระยะยาวของระบบประกันสังคม ทั้งในด้านสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมและในด้านกองทุน ควรมีศึกษาเพื่อนำเอาการใช้ Automatic Adjustment มาปรับใช้ในไทย ได้แก่ Wage Adjustment การปรับมูลค่าของค่าจ้างในอดีต ให้เป็นค่าจ้าง ณ วันที่ขอรับสิทธิ Earning Base Adjustment การปรับฐานหรือเพดานค่าจ้างสำหรับการกำหนดเงินสมทบและสิทธิประโยชน์ Cost of Living Adjustment การปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ตามค่าครองชีพ Benefit Formula Bend Point Adjustment ปรับช่วงค่าจ้างในการคำนวณสิทธิประโยชน์ที่ต่างกันเพื่อให้สิทธิประโยชน์เหมาะสมกับทุกกลุ่มค่าจ้าง
"อัตราการว่างงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งปีหลัง สถานการณ์การเลิกจ้างจะยังคงเพิ่มขึ้นในบางธุรกิจอุตสาหกรรม ภาวะการเลิกจ้างยังคงมีอยู่ในกิจการอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิ่งทอ เครื่องหนังและรองเท้า เป็นต้น กิจการรถโดยสารเอกชน กิจการบริการสถานบันเทิง กิจการก่อสร้างขนาดเล็ก กิจการสื่อสารมวลชน (กระทบหนัก คือ สื่อสิ่งพิมพ์ ทีวีดิจิทัลและธุรกิจโฆษณาผ่านสื่อดั้งเดิม) กิจการอุดมศึกษา ธุรกิจอุตสาหกรรมการเงินและธนาคาร ธุรกิจที่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง กิจการค้าปลีกร้านค้าขนาดเล็ก กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับยางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าคนไทยไปทำงานนอกระบบประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น ต้องติดตามและเฝ้าระวังผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะการจ้างงานที่มีการปรับตัวใช้เทคโนโลยีชั้นสูงทดแทนคนงานในกระบวนการผลิตมากขึ้น หรืองานบริการที่มีกระบวนการทำงานซ้ำ เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการถูกทดแทน ขณะที่มีรูปแบบการทำงานใหม่และหลากหลายอาชีพมากขึ้น โดยเฉพาะการทำอาชีพอิสระการรับจ้างผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ จำเป็นต้องส่งเสริมให้มีการอบรมพัฒนาฝีมือทักษะแรงงาน และส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี" ดร.อนุสรณ์ ระบุ
ขณะที่ยังมีภาวะขยายตัวของการจ้างงานและการขาดแคลนแรงงานในบางสาขาอุตสาหกรรมและงานบางลักษณะ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างโดยเฉพาะช่างฝีมือประเภทต่างๆ อุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยว บุคลากรทางการแพทย์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสัตว์ งานแม่บ้านและกิจการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น ยังมีความไม่สมดุลในตลาดแรงงาน การปรับค่าแรงตามมาตรฐานแรงงานฝีมือแรงงานจึงมีความจำเป็นต่อการรักษาแรงงานทักษะและช่างเทคนิคให้ทำงานในระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป ส่วนการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวจะทำให้ปัญหาการใช้แรงงานทาสในไทยลดลง ลดการติดสินบนและคอร์รัปชันในระบบการจ้างงานแรงงานต่างด้าว คุณภาพชีวิตและการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวดีขึ้น
ทั้งนี้ ดร.อนุสรณ์ ได้มีข้อเสนอสิบข้อต่อรัฐบาลและขบวนการแรงงาน องค์กรนายจ้าง เนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติหรือวันกรรมกรสากล ดังนี้ ข้อหนึ่ง เสนอให้เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินของผู้ใช้แรงงานด้วยการเพิ่มรายได้และเพิ่มสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้กับคนงาน ข้อสอง รัฐบาลควรจัดระบบสวัสดิการถ้วนหน้าให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2570 และสร้างรัฐสวัสดิการ (Welfare State) ประกันรายได้พื้นฐานขั้นต่ำและประกันคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพลเมืองไทยทุกคน ข้อสาม พิจารณาดำเนินการแปรเปลี่ยน สำนักงานประกันสังคม จาก หน่วยราชการ เป็น องค์กรของรัฐหรือองค์กรมหาชนที่บริหารงานแบบเอกชนจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ปรับระบบค่าตอบแทนของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กองทุนประกันสังคมให้แข่งขันได้กับภาคเอกชนเพื่อดึงดูดคนที่มีความรู้ความสามารถมาทำงาน ซึ่งอาจจะใช้รูปแบบเดียวกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ หรือ กลต เป็นต้น
ข้อสี่ เสนอให้มีการศึกษาเพื่อพิจารณาจัดตั้ง ธนาคารแรงงาน เพื่อกระจายกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตประเภท “ทุน” สู่ผู้ใช้แรงงาน ก่อให้เกิด “ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ” อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานอันมั่นคงของประชาธิปไตยทางการเมือง ธนาคารแรงงานจะเป็นสถาบันสำคัญในการพัฒนา ธุรกิจรายย่อย (Micro Business) และ วิสาหกิจหรือสหกรณ์ที่ประชาชนเป็นเจ้าของร่วมกัน (Social enterprise or Cooperative for workers and the poor) ข้อห้า รัฐบาลไทยควรทำสัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้รับสิทธิพื้นฐานในการรวมกลุ่ม และ อำนาจในการเจรจาต่อรอง ซึ่งเป็นสิทธิแรงงานพื้นฐานและเป็นสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ระดับความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสถานประกอบการในไทยโดยภาพรวมยังอยู่ในระดับต่ำ เพื่อให้เกิดประชาธิปไตยในสถานประกอบการมากขึ้น ต้องส่งเสริมให้ลูกจ้างได้รวมกลุ่มกัน และ กลไกองค์กรลูกจ้างและสหภาพแรงงานที่มีคุณภาพยังทำให้ ระบบแรงงานสัมพันธ์ดีขึ้นในระยะยาวอีกด้วย
ข้อหก การเตรียมมาตรการรับมือกับผลกระทบจาก Disruptive Technology (เทคโนโลยีอุบัติใหม่ที่ส่งผลเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจ) ต่อแรงงาน รวมทั้งมีมาตรการพัฒนาฝีมือแรงงานสำหรับผู้ที่มีทักษะไม่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่เติบโตอยู่ในขณะนี้หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต ส่วนในระยะยาว หากมี Disruptive Technology and Innovation การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่พลิกโฉมการผลิต ธุรกิจและเศรษฐกิจ บวกเข้ากับพลวัตของระบบทุนนิยมโลก แล้วเราไม่มียุทธศาสตร์ในตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างเหมาะสม และสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในระบบการศึกษาไทยให้สามารถผลิตคนคุณภาพใหม่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ หากเรามียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม เราจะไม่เผชิญกับปัญหาวิกฤติการจ้างงานและเศรษฐกิจในอนาคต มีการคาดการณ์โดยนักอนาคตศาสตร์ว่า ในปี ค.ศ. 2030 ความก้าวหน้าเทคโนโลยีจะทำให้ตำแหน่งงานแบบเดิมในบางอาชีพหายไปไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านตำแหน่งงาน ขณะเดียวกันก็มีการสร้างตำแหน่งงานใหม่ๆที่คนทำงานต้องมีทักษะใหม่ๆ ซึ่งระบบการศึกษาไทยต้องทำหน้าที่ในการผลิตคนรองรับตั้งแต่วันนี้ ขณะเดียวกัน IMD คาดการณ์ว่า ตำแหน่งงานในประเทศไทยจะหายไปจำนวนมากในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีแบบเก่าในหลายกิจการอุตสาหกรรม ข้อเจ็ด ขอให้รัฐบาลออกกฎหมายคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพแรงงานนอกระบบรวมทั้งการสร้างระบบ กลไกและกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อแรงงานในระบบเหมาช่วง กลุ่มที่น่าเห็นใจมากที่สุด คือ บรรดาแรงงานทักษะต่ำและเป็นแรงงานนอกระบบทั้งหลายที่อยู่ภายใต้ระบบการทำงานในบริษัทเหมาช่วงจะได้รับผลกระทบจากความยากลำบากทางเศรษฐกิจมากที่สุด แม้นระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการลดต้นทุนระยะสั้น มีความยืดหยุ่นในการจ้างงานสอดคล้องภาวะเศรษฐกิจ ภาวะการผลิตและยอดขาย ปัญหาในระบบการผลิตแบบเหมาช่วงเป็นปัญหาในระดับสากล เรื่อง ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างผู้ใช้แรงงานกับผู้ประกอบการในระบบการผลิตแบบทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการเองก็แสวงหาวิธีในการลดต้นทุนการผลิต การผลิตที่มีความยืดหยุ่นตามภาวะเศรษฐกิจ จึงเลือกที่จะ ส่งออกงานในบางลักษณะให้บริษัทเหมาช่วงรับไปทำเพื่อให้มีการจ้างงานแบบยืดหยุ่น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานไปจัดระบบให้ระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วง มีมาตรฐานการจ้างงานที่เป็นสากล ไม่เช่นนั้นผู้ใช้แรงงานในระบบเหมาช่วงจะถูกเอาเปรียบอย่างมาก หลักคิดของการยกระดับมาตรฐานระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วงเพื่อให้เกิดการคุ้มครองแรงงาน เพราะแรงงานแตกต่างจากสินค้าอื่นๆในระบบเศรษฐกิจ และเกี่ยวกับความอยู่รอดและคุณภาพของชีวิตของคนงานและครอบครัว การกำหนดมาตรฐานแรงงานในระบบเหมาช่วงต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคมด้วยไม่สามารถกำหนดจากอุปสงค์อุปทานในตลาดแรงงาน ความผันผวนของภาวะการผลิตและเศรษฐกิจเท่านั้น อีกประการหนึ่งลูกจ้างโดยเฉพาะในระบบเหมาช่วงมีอำนาจต่อรองน้อย ลูกจ้างในบริษัทเหมาช่วงมักไม่มีสหภาพแรงงาน
ข้อแปด รัฐบาลควรเพิ่มการลงทุนทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น รวมทั้ง ระบบความปลอดภัยในการทำงาน และ รัฐบาลควรจัดสรรเงินงบประมาณให้สถาบันปลอดภัยฯ กระทรวงแรงงานให้เพียงพอ ข้อเก้า ขอเสนอให้มีการขยายการคุ้มครองกองทุนเงินทดแทนไปสู่แรงงานซึ่งปัจจุบันไม่เข้าข่ายการบังคับใช้กฎหมาย เช่น แรงงานอิสระ เกษตรกร (ชาวนา ชาวไร่) และกลุ่มแรงงานอื่นที่ได้รับการยกเว้นโดยกฎหมาย สำหรับกลุ่มแรงงานที่มีสถานภาพพิเศษออกไป อาทิ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำเป็นต้องมีกลไกที่ใกล้เคียงหรือเทียมเท่าให้กับพนักงานลูกจ้าง ซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานและควรมีแนวทางปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวในประเด็นคุ้มครองการเจ็บป่วย หรือ อันตรายจากการทำงานให้เป็นมาตรฐานสากล และ ข้อสิบ ต้องเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสูงกว่าต้นทุนการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานเพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาลงทุนในการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานให้ลดลง
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต ประเมินสถานการณ์แรงงานช่วงครึ่งปีหลัง 2561 และเสนอแนวทาง 10 ข้อต่อรัฐบาลเนื่องในโอกาสวันแรงงาน เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินของผู้ใช้แรงงานด้วยการเพิ่มรายได้และเพิ่มสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้กับคนงาน
29 เม.ย. 2561 ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงกรณีกลุ่มผู้ใช้แรงงานมีหนี้สินรวมเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงสุดในรอบ 10 ปีว่าเกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่มีการกระจายรายได้ที่ดีพอทำให้ผู้ใช้แรงงานจำนวนมากมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันจึงจำเป็นต้องก่อหนี้ การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมาและการเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคมจะช่วยบรรเทาปัญหาหนี้สินได้บ้าง แรงงานระดับล่างรายได้ต่ำยังคงมีภาระหนี้ครัวเรือนในระดับสูง สะท้อนว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต จึงขอเสนอให้มีการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกปีโดยต้องปรับขึ้นไม่น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อของแต่ละปี และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนระยะยาวของระบบประกันสังคม ทั้งในด้านสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมและในด้านกองทุน ควรมีศึกษาเพื่อนำเอาการใช้ Automatic Adjustment มาปรับใช้ในไทย ได้แก่ Wage Adjustment การปรับมูลค่าของค่าจ้างในอดีต ให้เป็นค่าจ้าง ณ วันที่ขอรับสิทธิ Earning Base Adjustment การปรับฐานหรือเพดานค่าจ้างสำหรับการกำหนดเงินสมทบและสิทธิประโยชน์ Cost of Living Adjustment การปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ตามค่าครองชีพ Benefit Formula Bend Point Adjustment ปรับช่วงค่าจ้างในการคำนวณสิทธิประโยชน์ที่ต่างกันเพื่อให้สิทธิประโยชน์เหมาะสมกับทุกกลุ่มค่าจ้าง
"อัตราการว่างงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งปีหลัง สถานการณ์การเลิกจ้างจะยังคงเพิ่มขึ้นในบางธุรกิจอุตสาหกรรม ภาวะการเลิกจ้างยังคงมีอยู่ในกิจการอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิ่งทอ เครื่องหนังและรองเท้า เป็นต้น กิจการรถโดยสารเอกชน กิจการบริการสถานบันเทิง กิจการก่อสร้างขนาดเล็ก กิจการสื่อสารมวลชน (กระทบหนัก คือ สื่อสิ่งพิมพ์ ทีวีดิจิทัลและธุรกิจโฆษณาผ่านสื่อดั้งเดิม) กิจการอุดมศึกษา ธุรกิจอุตสาหกรรมการเงินและธนาคาร ธุรกิจที่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง กิจการค้าปลีกร้านค้าขนาดเล็ก กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับยางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าคนไทยไปทำงานนอกระบบประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น ต้องติดตามและเฝ้าระวังผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะการจ้างงานที่มีการปรับตัวใช้เทคโนโลยีชั้นสูงทดแทนคนงานในกระบวนการผลิตมากขึ้น หรืองานบริการที่มีกระบวนการทำงานซ้ำ เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการถูกทดแทน ขณะที่มีรูปแบบการทำงานใหม่และหลากหลายอาชีพมากขึ้น โดยเฉพาะการทำอาชีพอิสระการรับจ้างผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ จำเป็นต้องส่งเสริมให้มีการอบรมพัฒนาฝีมือทักษะแรงงาน และส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี" ดร.อนุสรณ์ ระบุ
ขณะที่ยังมีภาวะขยายตัวของการจ้างงานและการขาดแคลนแรงงานในบางสาขาอุตสาหกรรมและงานบางลักษณะ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างโดยเฉพาะช่างฝีมือประเภทต่างๆ อุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยว บุคลากรทางการแพทย์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสัตว์ งานแม่บ้านและกิจการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น ยังมีความไม่สมดุลในตลาดแรงงาน การปรับค่าแรงตามมาตรฐานแรงงานฝีมือแรงงานจึงมีความจำเป็นต่อการรักษาแรงงานทักษะและช่างเทคนิคให้ทำงานในระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป ส่วนการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวจะทำให้ปัญหาการใช้แรงงานทาสในไทยลดลง ลดการติดสินบนและคอร์รัปชันในระบบการจ้างงานแรงงานต่างด้าว คุณภาพชีวิตและการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวดีขึ้น
ทั้งนี้ ดร.อนุสรณ์ ได้มีข้อเสนอสิบข้อต่อรัฐบาลและขบวนการแรงงาน องค์กรนายจ้าง เนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติหรือวันกรรมกรสากล ดังนี้ ข้อหนึ่ง เสนอให้เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินของผู้ใช้แรงงานด้วยการเพิ่มรายได้และเพิ่มสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้กับคนงาน ข้อสอง รัฐบาลควรจัดระบบสวัสดิการถ้วนหน้าให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2570 และสร้างรัฐสวัสดิการ (Welfare State) ประกันรายได้พื้นฐานขั้นต่ำและประกันคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพลเมืองไทยทุกคน ข้อสาม พิจารณาดำเนินการแปรเปลี่ยน สำนักงานประกันสังคม จาก หน่วยราชการ เป็น องค์กรของรัฐหรือองค์กรมหาชนที่บริหารงานแบบเอกชนจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ปรับระบบค่าตอบแทนของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กองทุนประกันสังคมให้แข่งขันได้กับภาคเอกชนเพื่อดึงดูดคนที่มีความรู้ความสามารถมาทำงาน ซึ่งอาจจะใช้รูปแบบเดียวกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ หรือ กลต เป็นต้น
ข้อสี่ เสนอให้มีการศึกษาเพื่อพิจารณาจัดตั้ง ธนาคารแรงงาน เพื่อกระจายกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตประเภท “ทุน” สู่ผู้ใช้แรงงาน ก่อให้เกิด “ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ” อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานอันมั่นคงของประชาธิปไตยทางการเมือง ธนาคารแรงงานจะเป็นสถาบันสำคัญในการพัฒนา ธุรกิจรายย่อย (Micro Business) และ วิสาหกิจหรือสหกรณ์ที่ประชาชนเป็นเจ้าของร่วมกัน (Social enterprise or Cooperative for workers and the poor) ข้อห้า รัฐบาลไทยควรทำสัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้รับสิทธิพื้นฐานในการรวมกลุ่ม และ อำนาจในการเจรจาต่อรอง ซึ่งเป็นสิทธิแรงงานพื้นฐานและเป็นสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ระดับความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสถานประกอบการในไทยโดยภาพรวมยังอยู่ในระดับต่ำ เพื่อให้เกิดประชาธิปไตยในสถานประกอบการมากขึ้น ต้องส่งเสริมให้ลูกจ้างได้รวมกลุ่มกัน และ กลไกองค์กรลูกจ้างและสหภาพแรงงานที่มีคุณภาพยังทำให้ ระบบแรงงานสัมพันธ์ดีขึ้นในระยะยาวอีกด้วย
ข้อหก การเตรียมมาตรการรับมือกับผลกระทบจาก Disruptive Technology (เทคโนโลยีอุบัติใหม่ที่ส่งผลเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจ) ต่อแรงงาน รวมทั้งมีมาตรการพัฒนาฝีมือแรงงานสำหรับผู้ที่มีทักษะไม่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่เติบโตอยู่ในขณะนี้หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต ส่วนในระยะยาว หากมี Disruptive Technology and Innovation การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่พลิกโฉมการผลิต ธุรกิจและเศรษฐกิจ บวกเข้ากับพลวัตของระบบทุนนิยมโลก แล้วเราไม่มียุทธศาสตร์ในตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างเหมาะสม และสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในระบบการศึกษาไทยให้สามารถผลิตคนคุณภาพใหม่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ หากเรามียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม เราจะไม่เผชิญกับปัญหาวิกฤติการจ้างงานและเศรษฐกิจในอนาคต มีการคาดการณ์โดยนักอนาคตศาสตร์ว่า ในปี ค.ศ. 2030 ความก้าวหน้าเทคโนโลยีจะทำให้ตำแหน่งงานแบบเดิมในบางอาชีพหายไปไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านตำแหน่งงาน ขณะเดียวกันก็มีการสร้างตำแหน่งงานใหม่ๆที่คนทำงานต้องมีทักษะใหม่ๆ ซึ่งระบบการศึกษาไทยต้องทำหน้าที่ในการผลิตคนรองรับตั้งแต่วันนี้ ขณะเดียวกัน IMD คาดการณ์ว่า ตำแหน่งงานในประเทศไทยจะหายไปจำนวนมากในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีแบบเก่าในหลายกิจการอุตสาหกรรม ข้อเจ็ด ขอให้รัฐบาลออกกฎหมายคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพแรงงานนอกระบบรวมทั้งการสร้างระบบ กลไกและกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อแรงงานในระบบเหมาช่วง กลุ่มที่น่าเห็นใจมากที่สุด คือ บรรดาแรงงานทักษะต่ำและเป็นแรงงานนอกระบบทั้งหลายที่อยู่ภายใต้ระบบการทำงานในบริษัทเหมาช่วงจะได้รับผลกระทบจากความยากลำบากทางเศรษฐกิจมากที่สุด แม้นระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการลดต้นทุนระยะสั้น มีความยืดหยุ่นในการจ้างงานสอดคล้องภาวะเศรษฐกิจ ภาวะการผลิตและยอดขาย ปัญหาในระบบการผลิตแบบเหมาช่วงเป็นปัญหาในระดับสากล เรื่อง ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างผู้ใช้แรงงานกับผู้ประกอบการในระบบการผลิตแบบทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการเองก็แสวงหาวิธีในการลดต้นทุนการผลิต การผลิตที่มีความยืดหยุ่นตามภาวะเศรษฐกิจ จึงเลือกที่จะ ส่งออกงานในบางลักษณะให้บริษัทเหมาช่วงรับไปทำเพื่อให้มีการจ้างงานแบบยืดหยุ่น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานไปจัดระบบให้ระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วง มีมาตรฐานการจ้างงานที่เป็นสากล ไม่เช่นนั้นผู้ใช้แรงงานในระบบเหมาช่วงจะถูกเอาเปรียบอย่างมาก หลักคิดของการยกระดับมาตรฐานระบบการจ้างงานแบบเหมาช่วงเพื่อให้เกิดการคุ้มครองแรงงาน เพราะแรงงานแตกต่างจากสินค้าอื่นๆในระบบเศรษฐกิจ และเกี่ยวกับความอยู่รอดและคุณภาพของชีวิตของคนงานและครอบครัว การกำหนดมาตรฐานแรงงานในระบบเหมาช่วงต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคมด้วยไม่สามารถกำหนดจากอุปสงค์อุปทานในตลาดแรงงาน ความผันผวนของภาวะการผลิตและเศรษฐกิจเท่านั้น อีกประการหนึ่งลูกจ้างโดยเฉพาะในระบบเหมาช่วงมีอำนาจต่อรองน้อย ลูกจ้างในบริษัทเหมาช่วงมักไม่มีสหภาพแรงงาน
ข้อแปด รัฐบาลควรเพิ่มการลงทุนทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น รวมทั้ง ระบบความปลอดภัยในการทำงาน และ รัฐบาลควรจัดสรรเงินงบประมาณให้สถาบันปลอดภัยฯ กระทรวงแรงงานให้เพียงพอ ข้อเก้า ขอเสนอให้มีการขยายการคุ้มครองกองทุนเงินทดแทนไปสู่แรงงานซึ่งปัจจุบันไม่เข้าข่ายการบังคับใช้กฎหมาย เช่น แรงงานอิสระ เกษตรกร (ชาวนา ชาวไร่) และกลุ่มแรงงานอื่นที่ได้รับการยกเว้นโดยกฎหมาย สำหรับกลุ่มแรงงานที่มีสถานภาพพิเศษออกไป อาทิ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำเป็นต้องมีกลไกที่ใกล้เคียงหรือเทียมเท่าให้กับพนักงานลูกจ้าง ซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานและควรมีแนวทางปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวในประเด็นคุ้มครองการเจ็บป่วย หรือ อันตรายจากการทำงานให้เป็นมาตรฐานสากล และ ข้อสิบ ต้องเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสูงกว่าต้นทุนการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานเพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาลงทุนในการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานให้ลดลง
แสดงความคิดเห็น