Posted: 27 Apr 2018 11:30 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
โสภณ พรโชคชัย
ตูนวิ่งช่วยโรงพยาบาลได้เงินนับพันล้าน นับเป็นสิ่งที่นยกย่องสรรเสริญ ลาภยศสักการะเป็นรางวัล เป็นสิทธิที่พึงได้ แต่การรับรางวัลบางอัน อาจทำร้ายแบรนด์ตนเองมากกว่าจะเป็นการเสริมสร้างภาพพจน์ที่ดี
เมื่อตูนวิ่งเสร็จ ก็มีการมองรางวัล หรือได้รับการชื่นชมไปทั่ว ผมเองก็ชื่นชมในความสามารถ แม้จะมีข้อครหาว่าวิ่งตลอดจริงไหม ก็ไม่ใช่เรื่องประเด็นที่ผมจะไปกล่าวถึง แต่ประเด็นคือมีรางวัล 2 รางวัลที่ตูนไม่ควรไปรับ เพราะไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง การรับรางวัลแบบนี้ อาจทำร้ายแบรนด์ของผู้รับรางวัลและผู้ให้รางวัลเอง นี่จึงเป็นกรณีศึกษาเผื่อไว้สำหรับผู้ที่คิดจะรับรางวัลต่างๆ ทั้งหลาย
นอกจากชื่นชมตูน ผมไม่เคยไปนึกอิจฉาตูนในฐานะดารานักร้องคราวลูกที่ทั้งหนุ่ม ทั้งหล่อ และได้ประกอบความดีมากกว่าผมเป็นร้อยเท่าพันทวี การยกกรณีศึกษานี้ ก็ไม่ใช่การไป discredit ตูนหรือใคร แต่เป็นอุทธาหรณ์เท่านั้น เราควรมองข้ามเรื่องส่วนตัว เช่น ตูนอาจมีรอยสักมากมาย ถ้าไปญี่ปุ่น เขาคงไม่อนุญาตให้ไปอาบน้ำอองเซ็น แต่นี่เป็นรสนิยม เป็นสิทธิส่วนตัวที่เราไม่พึงก้าวล่วง แต่พึงมองข้าม อย่างไรก็ตามสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือเรื่องหลักการ
อย่างเช่นเรื่องที่มีการมอบรางวัลในฐานะคนวิ่งเส้นทางเบตง-แม่สายคนแรก แม้คนส่วนใหญ่จะชื่นชมตูน แต่เราก็รู้ทั้งรู้ว่ามีคนวิ่งมาก่อน ได้แก่ครูไชยวัฒน์ วรเชฐวราวัตร เมื่อปี 2528 และครูพลาม พรมจำปา เมื่อปี 2548 “บันทึกไทย” ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มอบรางวัลจะบอกว่าตนใช้เครื่องมือยุคใหม่ คือ GPS ในการจับระยะ แต่นั่นก็แค่ข้ออ้าง เพราะครู 2 คนที่วิ่งก่อนก็มีพยาน หลักฐาน และภาพถ่ายมากมาย. และใช่ว่าบันทึกไทยจะได้บันทึกเทปตลอดเวลาที่ตูนวิ่ง
ยิ่งกว่านั้น บันทึกไทยยังเคยให้รางวัลคนไทยขี่จักรยานข้าม 3 ทวีป ซึ่งเป็นการย้อนกลับไปมอบรางวัลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2504 ในขณะที่ยังไม่มีหน่วยงานบันทึกไทย เช่นนี้แล้วบันทึกไทยก็ไม่ควรบิดเบือนประวัติศาสตร์ และควรย้อนกลับไปมอบรางวัลแก่ครูทั้งสองที่วิ่งอย่างอดทน โดยไม่มีรถบ้านหรู ไม่มีทีมงานนับร้อย ไม่มีสินค้าดังมาสนับสนุน และใช้เงินหลายสิบล้านบาทคอยอำนวยความสะดวกเช่นตูน
อันที่จริงถ้าบันทึกไทยให้รางวัลตูนในฐานะที่เป็นคนไทยคนแรกที่วิ่งตั้งแต่ก่อตั้งบันทึกไทย ก็คงไม่ผิดกติกาอะไร หรือมอบรางวัลให้กับตูนและคณะหลายคนที่วิ่งไม่แพ้ตูนด้วย รวมทั้งมอบรางวัลยกย่องให้ครูทั้งสองด้วย ก็จะทำให้หมดข้อครหา แถมยังเป็นการดีต่อบันทึกไทยเอง แต่การบิดเบือนประวัติศาสตร์แบบนี้ กลับทำร้ายภาพพจน์ที่ดีงามของตูนที่ไปรับรางวัลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
อีกรางวัลหนึ่งคือมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มอบรางวัลสาขาการพัฒนาเมืองแก่ตูนตามข้อเสนอของสถาบันของพระมหาวุฒิชัยโดยไม่มีเหตุผลที่เกี่ยวข้องกันเลย ต่างจากสาขาพัฒนาชนบทที่ระบุว่าชุมชนบ้านท่ามะพร้าว (ที่ได้รางวัล) ดำเนินกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูป่าชายเลน ทำให้ชาวประมงและบริเวณใกล้เคียงมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น
ส่วนการวิ่งของตูนเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ไม่ใช่เฉพาะเมือง ถ้าจะมอบรางวัลสาขารณรงค์ทางสังคมเพื่อช่วยชาติดีเด่น หรือรางวัลสาขาการระดมทุนยอดเยี่ยม ก็จะเหมาะสม หาไม่สังคมก็อาจครหาว่าผู้มอบมุ่งเกาะตูน การทำดีของตูนเป็นเรื่องหนึ่ง การมอบรางวัลก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ใช่มอบโดยขัดกับความเป็นจริง
อันที่จริงผู้ใดที่ได้รับการเสนอชื่อให้รับรางวัลที่ชื่อรางวัลไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงนั้น ถ้าเป็นไปได้ ทางออกที่สมควรคือการปฏิเสธรางวัล ไม่ใช่รับทุกรางวัลโดยเฉพาะรางวัลที่ไม่เหมาะสม การรู้จักปฏิเสธ จะยิ่งเสริมส่งภาพพจน์ที่ดีที่มุ่งผดุงไว้ซึ่งความถูกต้อง เที่ยงธรรม สังคมจะยกย่องเชิดชูว่าเป็นคนดีแท้ยิ่งกว่าการรับรางวัล แบรนด์ของทั้งคนให้และคนรับก็จะยิ่งเป็นที่เชื่อถือมากขึ้น
แบรนด์ของคนและองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ ถือเป็นทรัพย์อย่างหนึ่งที่แม้จับต้องไม่ได้ แต่ก็มีค่
แสดงความคิดเห็น