แอพฯต่างๆในปัจจุบันที่เพิ่มมากขึ้น นั้นเท่ากับว่าเวลาเราจะทำธุรกรรมหรือกิจกรรมต่างๆส่วนใหญ่มักให้บอกข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ใช้บริการเเล้วเราจะดูได้อย่างไรว่ามันปลอดภัย เเละจะดูดข้อมูลเราหรือไม่ 

เตือนให้ระวังกัน แอพบางแอพ อย่าไปเสียรู้ …. แอพทำนายชื่อ ทำนายดวง ใบ้หวย หาคู่ หน้าเหมือนใคร ทำนาย กรุ๊ปเลือด และอีกมากมาย ที่เล่นกับการหาคู่ ความโสด ความรัก ดูดวง ทราบหรือไม่ว่า แอพเหล่านี้ กำลังเอาข้อมูลส่วนตัวของเราไป! คนทำแอพสามารถ เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเราได้ทุกอย่าง ทุกเวลา สามารถโพสต์ข้อความ ส่งข้อความต่างๆในนาม account เราได้เลย เรามีสิทธิ์ โดน “แอบอ้าง” ได้ ง่ายๆเลย

เพียงแค่เรากด “Allow” ก็เหมือนเซ็นหนังสือมอบอำนาจ ให้แอพนี้ ทำทุกอย่างได้เท่ากับเรา เจ้าของ account เจอแอพพวกนี้ ก่อนกด Allow คิดให้ดีๆนะครับว่าไว้ใจได้รึเปล่า ถ้าพบพฤติกรรมแปลกๆ ให้กด “Report Spam” ไปเลย ก่อนที่ข้อมูลส่วนตัวทั้งหลาย จะถูกดูดไปเก็บในฐานข้อมูลของคนอื่น และช่วยให้คนอื่นไม่โดนครับ

ข้อมูลที่สมัคร facebook เป็นข้อมูลที่มั่ว เค้าได้ข้อมูลไปก็ไม่เป็นไรหรอก ข้อมูลผิดๆได้ไปไม่เป็นไร แต่แอพจะได้สิทธิ์ในการโพสต์ข้อมูลแทนคุณ (Post on my behalf) หมายความว่า สามารถส่งข้อความอะไรก็ได้ ในนาม account เรา ทำให้สามารถ “แอบอ้าง” ความเป็นตัวตนได้ครับ ถ้าไปโพสต์ด่าใคร หลอกลวงใคร ทำผิดกฏหมาย และโดนฟ้องร้องขึ้นมา ผู้เสียหายก็จะฟ้องร้องว่าเราเป็นคนทำ เพราะมันขึ้นว่าเป็น account เราทำ โดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าโพสต์อะไรออกไปบ้าง

สังเกตุง่ายๆ บางแอพเราเล่นจบ ปกติจะต้องถามว่าจะให้เราแชร์บนหน้า Wall ของเราม้ัย แต่มันไม่ถาม กลับไปโพสต์ลงหน้า Wall ของเราเลย นั่นเป็นเพราะแอพได้ขออนุญาตเราไปแล้วว่า ให้ “Post on my behalf” คือ โพสต์ข้อความในนามเรา ได้เลย แอพมันไม่รู้รหัสผ่านเราหรอก มันจะโพสต์แทนเราได้ยังไง เมื่อเรากด Allow ไป หมายถึงเราอนุญาตสิทธิ์ให้แอพนั้น ตามที่มันขอมา

Facebook จะไม่อนุญาตให้แอพทั้งหลาย รู้รหัสผ่านเราตรงๆ แต่จะใช้วิธีให้ “บัตรผ่าน” (Access Token) ที่สามารถทำได้ทุกอย่างตามที่แอพนั้นๆจะขอ (เหมือนเซ็นหนังสือมอบอำนาจ ยื่นให้เลย) ถ้าใครเคยใช้แอพที่เล่น Facebook แต่ไม่ใช่ Facebook ทำ ตย.เช่น แอพบน iPadที่ชื่อ MyPad, Friendcaster,Friendly,Fera) จะเห็นว่า

แอพเหล่านี้จะไม่ได้ถาม User/Password เราตรงๆ แต่จะเปิดหน้าต่างหนึ่งขึ้นมาแล้วเลือกให้เรา “Allow” ให้มัน จากนั้น แอพจะทำหน้าที่ทุกอย่างเหมือนแอพ facebook ทุกประการ เพราะมันได้สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่มันขอไป ดังนั้น แอพไม่จำเป็นต้องรู้ User/Password ของผู้ใช้ครับ แค่ได้ “บัตรผ่าน” ที่เราออกให้เท่านั้น มันก็จะกระทำการทุกอย่างแทนเราได้ (ตามสิทธิ์ที่ขอมา)

ช่วงนี้เราเห็นแอพ “สามคำที่เหมาะกับโปรไฟล์” เริ่มระบาดในเฟซบุ๊กอีกครั้ง โดยเจ้าของแอพนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน บริษัท vonvon.me จากเกาหลีใต้เจ้าเก่า ที่ทำแอพในลักษณะนี้บนเฟซบุ๊กและมีกระแสอยู่เป็นช่วงๆ มาหลายครั้ง แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าแอพพลิเคชันในลักษณะเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ต้องเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเราบนเฟซบุ๊ก ซึ่งผู้ใช้ก็มักจะกดยินยอมไปโดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากดยินยอมอะไรไป หยิบยื่นข้อมูลอะไรไปให้เขา และที่ยิ่งไม่รู้เลยคือเขาจะเอาข้อมูลเราไปทำอะไรบ้าง

อย่างเฉพาะของแอพ “สามคำที่เหมาะกับโปรไฟล์” นี้มีการขอเข้าถึงข้อมูลอย่างข้อมูลพื้นฐานส่วนตัวที่เป็นสาธารณะ (อันนี้เป็นเบสิกสำหรับการล็อกอินผ่านเฟซบุ๊กทุกกรณี) รูปโปรไฟล์, รายชื่อเพื่อน, โพสท์บนไทม์ไลน์, สถานะการแต่งงาน, รูปที่ถูกแท็กและข้อมูลที่เราไลค์ ซึ่งหากดูจากรูปแบบของแอพ นอกจากรูปโปรไฟล์แล้ว ไม่ทราบเหมือนกันว่าข้อมูลอื่นๆ ทาง vonvon เอาไปทำอะไรกันแน่ โดยก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า แอพ Most Used Words ซึ่งเป็นของ vonvon เอาข้อมูลไปขายต่อด้วยซ้ำไป

เรามาดูวิธีปิดตัวเลือกการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของแอพเหล่านี้บนเฟซบุ๊ก รวมถึงวิธีการเอาแอพเหล่านี้ ออกจากสารบบของเรากันครับ แรกเริ่มให้เราไปที่ตัวเลือก “Setting” มุมขวาบน แล้วมองหาแถบ “Apps” ทางด้านซ้ายมือ เมื่อเลือกแล้วจะพบรายชื่อของแอพพลิเคชันจำนวนมาก ที่เราได้อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา ไม่ว่าจะเป็นแอพที่เราเล่นบนเฟซบุ๊ก หรือแอพอื่นๆ ที่อาศัยบัญชีเฟซบุ๊กในการล็อกอิน ซึ่งการแก้ไขการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเราตรงนี้มีหลักๆ 3 วิธีด้วยกันครับ

1. ยังคงให้แอพเข้าถึงบัญชีเฟซบุ๊กอยู่ แต่ปิดข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น อย่างที่กล่าวไปว่าข้อมูลพื้นฐานส่วนตัวที่เป็นสาธารณะ เป็นสิ่งจำเป็นกรณีที่เราต้องล็อกอินเข้าแอพผ่านเฟซบุ๊ก ซึ่งเรายังต้องการล็อกอินเอาไว้ ขณะที่ข้อมูลอื่นๆ ที่ค่อนข้างส่วนตัว เราสามารถเลือกปิดได้ด้วยการเลือกที่รูปดินสอในวงกลมสีแดง เพื่อแก้ไขข้อมูลที่แอพเข้าถึงได้

2. ลบแอพนั้นออกไปเลย กรณีนี้คือเราไม่ต้องการใช้บัญชีเฟซบุ๊กล็อกอินผ่านแอพนั้น หรือไม่ต้องการให้แอพเข้าถึงบัญชีเราแล้ว ก็ให้กดเครื่องหมายกากบาทด้านข้างดินสอครับ เฟซบุ๊กจะถามเราอีกครั้งว่าจะลบแอพนี้ออกจากแอคเคาท์เราจริงใช่ไม๊ ให้กด Remove เลยครับ

3. ปิดแพลตฟอร์มการเข้าถึงบัญชีของเราทั้งหมด ตัวเลือกนี้สำหรับคนที่คิดว่าจะไม่ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการล็อกอิน และป้องกันตนเองเผื่อกรณีที่เผลอกดล็อกอินหรือเล่นแอพ ด้วยการปิดแพลตฟอร์มการเข้าถึงบัญชีเฟซบุ๊กของเราทั้งหมด โดยให้เลื่อนหน้าต่างลงไปด้านล่าง จะพบกับช่อง Apps, Websites and Plugins ให้กด Edit และเลือก Disable Platform ครับ

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ว่านายมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ( ซีอีโอ ) ของเฟซบุ๊ก เผยแพร่แถลงการณ์บนเพจส่วนตัว เมื่อวันพุธ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการยกระดับมาตรการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลของผู้ใช้งานไปยังนักพัฒนาที่อยู่นอกเครือข่าย และแอปพลิเคชั่นบุคคลที่สาม และการเพิ่มแถบเครื่องมือพิเศษเพื่อให้เจ้าของบัญชีสามารถควบคุมความเป็นส่วนตัวของข้อมูลได้มากขึ้น

ขณะเดียวกัน ซัคเคอร์เบิร์กยอมรับว่า จริงอยู่ที่เฟซบุ๊กมีมาตรการนี้มาตั้งแต่ปี 2557 แต่ยังคงมี “ความผิดพลาด” เกิดขึ้น โดยซีอีโอของเฟซบุ๊กกล่าวอย่างตรงไปตรงมาเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับ “การละเมิดความไว้วางใจ” ระหว่างเฟซบุ๊ก กับศ.อเล็กซานเดอร์ โคแกน จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นทางจิตวิทยาชื่อ “ดิส อิส ยัวร์ ไลฟ์” และบริษัทเคมบริดจ์ อะนาลีติกา ( ซีเอ ) แต่บริษัทกลับไม่สามารถจัดการกับเรื่องนี้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพียงพอ

อย่างไรก็ตาม ซัคเคอร์เบิร์กไม่ได้กล่าวขออภัยโดยตรงต่อการที่ซีเอนำข้อมูลผู้ใช้งานเฟซบุ๊กในสหรัฐที่อาจมากถึง 50 ล้านบัญชี ไปใช้ในกิจกรรมอื่นที่นอกเหนือจากข้อตกลง และยังไม่มีการเผยแนวทางอย่างชัดเจนในการลด “สิทธิพิเศษ” ของบริษัทโฆษณาหรือบริษัทคู่สัญญาทางธุรกิจของเฟซบุ๊ก ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่ากระบวนการที่ว่านี้กำลังเป็นช่องทางสร้างรายได้มหาศาลให้กับเครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก แม้ซัคเคอร์เบิร์กจะใช้คำว่า “จำกัดสิทธิ์” แต่ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ

ด้านศ.โคแกนกล่าวเป็นครั้งแรกกับบีบีซี เกี่ยวกับกรณีอื้อฉาวที่ซีเอสามารถดึงข้อมูลผู้ใช้งานเฟซบุ๊กในสหรัฐ 50 ล้านบัญชี ไปจัดทำแคมเปญทางการเมืองเพื่อช่วยให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐ เมื่อปี 2559 โดยใช้แอปพลิเคชั่นของเขาเป็น “ทางผ่าน” ว่าเฟซบุ๊กและซีเอเจตนาโยนความผิดให้กับเขาเพียงคนเดียว

ทั้งนี้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเรียกได้ว่าเป็นการรั่วไหลของข้อมูลบนโลกไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง ส่งผลให้ราคาหุ้นของเฟซบุ๊กร่วงลงมากกว่า 8% ตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงแรกที่เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส เสนอรายงานเปิดโปง และสูญเสียมูลค่าในตลาดมากกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 1.56 ล้านล้านบาท )

นายมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารเฟซบุ๊ก ประกาศในโพสต์ที่เขาเรียกว่า ความท้าทายส่วนตัวสำหรับปี 2018 ว่าจะ “แก้ไข” เฟซบุ๊ก ข้อความบนหน้าเฟซบุ๊กของนายซัคเคอร์เบิร์ก ระบุว่า สื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าว มีข้อบกพร่องมากเกินไปจากการบังคับใช้นโยบายต่าง ๆ รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เครื่องมือที่มี ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด

เฟซบุ๊กเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่เปิดตัวเมื่อปี 2004 และเป็นที่รู้กันดีว่านับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา นายมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก จะตั้งประเด็นขึ้นเพื่อท้าทายตัวเอง ในช่วงปีที่ผ่านมาสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ถูกวิจารณ์ว่าเป็นตัวกลางเผยแพร่ข่าวเท็จ และเฟซบุ๊กถูกวิจารณ์หนักว่า กลายเป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้มีผู้เผยแพร่ข่าวเท็จก่อนหน้าการเลือกตั้งสหรัฐฯ และการเลือกตั้งในประเทศอื่น ๆ โดยคำวิจารณ์ ถูกเจาะจงไปที่การปล่อยให้มีโฆษณาซึ่งเชื่อมโยงกับรัสเซียปรากฏขึ้นในช่วงก่อนหน้าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี 2016

นายซัคเคอร์เบิร์ก ระบุว่าตั้งใจจะเน้นไปที่ “ประเด็นสำคัญ” ซึ่งก็คือ “การปกป้องสังคมของเราจากการถูกล่วงละเมิดและความเกลียดชัง การปกป้องให้พ้นจากการแทรกแซงโดยรัฐ หรือต้องยืนยันให้แน่ใจว่า การใช้เวลากับไปเฟซบุ๊กจะเป็นช่วงเวลาที่คุ้มค่า” นายซัคเคอร์เบิร์ก ระบุด้วยว่า “จะป้องกันข้อบกพร่องหรือการละเมิดทั้งหมดไม่ได้ แต่ตอนนี้เรามีข้อผิดพลาดมากเกินไปในการบังคับใช้นโยบายและการป้องกันไม่ให้เครื่องมือของเราถูกในไปใช้ในทางที่ผิด” และ “หากเราประสบความสำเร็จในปีนี้ เราก็จะปิดฉากปี 2018 ได้ตรงเป้ายิ่งขึ้น”

นอกจากนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเฟซบุ๊ก ระบุว่า เขาจะเรียนรู้ให้มากขึ้น โดยจะเน้นความสนใจที่ประเด็นดังกล่าว มากกว่าการทำสิ่งอื่นที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เท่าที่ผ่านมานายซัคเคอร์เบิร์ก เคยตั้งปณิธานเอาไว้หลายเรื่อง เช่น การสวมเน็คไทไปทำงานทุกวัน และจะไม่รับประทานเนื้อสัตว์นอกเหนือจากสัตว์ที่เขาฆ่าเองเท่านั้น

Source :- Line


แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.