ภาพซ้าย : ณรงค์ศักดิ์ เนียมสอน เจ้าหน้าฝ่ายจับตากฎหมายจากไอลอว์
Posted: 02 Aug 2018 03:41 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Thu, 2018-08-02 17:41
ไอลอว์ เปิดเผยสรุปการทำงาน 4 ปี สนช. เห็นชอบกฎหมายไปอย่างน้อย 298 ฉบับ เฉลี่ยเดือนละ 5 ฉบับ แต่กฎหมายที่ออกมาหลายฉบับล้วนตอบสนองความต้องการของ คสช.
1 ส.ค. 2561 โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ เปิดเผยสรุปการทำงาน 4 ปีของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า ตั้งแต่การเปิดประชุมนัดแรกในเดือนสิงหาคม 2557 ถึงปีนี้ครบ 4 ปีแล้วผลงานที่โดดเด่นของ สนช. คือ การผลิตกฎหมายได้ปริมาณมาก นับถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ สนช. เห็นชอบกฎหมายไปอย่างน้อย 298 ฉบับ เฉลี่ยแล้วผ่านกฎหมายเดือนละห้าฉบับ แต่กฎหมายที่ออกมาหลายฉบับล้วนตอบสนองความต้องการของ คสช.
“กฎหมายจำนวนหนึ่งมีเป้าหมายทางการเมืองเพื่อช่วยให้ คสช. ใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจ เราสามารถแบ่งเป้าหมายในการออกกฎหมายของ สนช. เป็นสามอย่าง คือ หนึ่ง ออกกฎหมายเพื่อให้ คสช. ใช้เป็นเครื่องมือปราบปรามประชาชนที่ต่อต้าน เช่น พ.ร.บ.ชุมนุมฯ หรือ พ.ร.บ.ประชามติฯ สอง ยื้อการเลือกตั้งต่ออายุให้กับรัฐบาล คสช. เช่น การขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. และ สาม ออกกฎหมายเพื่อให้ คสช. สามารถสืบทอดอำนาจต่อไปได้หลังการเลือกตั้ง เช่น พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติฯ” ณรงค์ศักดิ์ เนียมสอน เจ้าหน้าฝ่ายจับตากฎหมายจากไอลอว์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม มีร่าง พ.ร.บ. จำนวนหนึ่งที่ สนช. ยังคงเตะถ่วงไม่รีบพิจารณาให้เสร็จ และมีข้อสังเกตว่ากฎหมายดังกล่าวจะกระทบต่อกลุ่มผลประโยชน์ในสภา เช่น ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งที่ผ่านมา สนช. ใช้เวลาพิจารณามากกว่าหนึ่งปีสามเดือนแล้วแต่ยังไม่เห็นวี่แววว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบเมื่อไร
ณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า “ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีเป้าหมายสำคัญเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะการถือครองที่ดินที่ส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวในมือของนายทุน มีกระแสข่าวมาตลอดว่าร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะไม่ผ่านในยุคนี้หรือถ้าผ่านก็คงถูกแก้ไขจนร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่สามารถใช้งานได้จริง นั้นเพราะสมาชิก สนช. ส่วนใหญ่ที่นั่งพิจารณากฎหมายอยู่ก็ถือครองที่ดินจำนวนมากจึงอาจได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีข่าวที่สมาชิกสนช. สายธุรกิจร่วมยื่นหนังสือคัดค้านกฎหมายดังกล่าวด้วยตัวเอง"
นอกจากเรื่องออกกฎหมาย บทบาทที่สำคัญของ สนช. อีกหนึ่งอย่างคือ การเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และตำแหน่งสำคัญอื่นๆ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา สนช. ได้ลงมติเห็นชอบเพื่อคัดเลือกคนเข้าไปดำรงตำแหน่งสำคัญๆ อย่างน้อย 13 องค์กร เป็นการลงมติเห็นชอบ 60 ตำแหน่ง ไม่เห็นชอบ 19 ตำแหน่ง จะเห็นว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบจำนวนหนึ่งเป็น สมาชิก สนช. เช่น ดิสทัต โหตระกิตย์ ถูกแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือ พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร ถูกแต่งตั้งเป็นอัยการสูงสุด อีกทั้ง บางคนก็เป็นคนใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจใน คสช. เช่น พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. ซึ่งเป็นอดีต สนช. และคนสนิทของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
“สนช. ถูกกำหนดให้ทำหน้าแทน ส.ว. เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร เช่น การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ แต่สมาชิก สนช. ส่วนใหญ่เป็นทหารและมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ทั้งหมด ดังนั้น สนช. จึงเป็นตัวแทนของผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารที่มาทำหน้าที่คัดเลือกคนเข้าไปอยู่ในองค์กรอิสระซึ่งควรจะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช. เช่นกัน นอกจากนี้ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะนำไปสู่การเลือกตั้ง กรรมการองค์กรอิสระต่างๆ สามารถดำรงตำแหน่งได้ยาวข้ามรัฐบาล ซึ่งจะเป็นกลไกหนึ่งในการสืบทอดอำนาจของ คสช.” ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
ข้อมูลเพิ่มเติม :
ดูข้อมูล สี่ปี สนช.: “สภาตามสั่ง” ผ่านกฎหมายเพิ่มอำนาจ-ปูทาง คสช. อยู่ยาว ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/4881
ดูข้อมูล สี่ปี สนช.: เลือก 60 คนนั่ง 13 องค์กรตรวจสอบ ช่วย คสช. ยึดประเทศอย่างช้าๆ ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/4883
ดูข้อมูล สี่ปี สนช.: ผ่านกฎหมายแปดฉบับอนุมัติงบประมาณ 14 ล้านล้านบาท ให้ คสช. ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/4884
ดูข้อมูล สี่ปี สนช.: “เตะถ่วง” ไม่ผ่านยืดเวลากฎหมายกระทบนายทุนและตัวเอง ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/4882
Submitted on Thu, 2018-08-02 17:41
ไอลอว์ เปิดเผยสรุปการทำงาน 4 ปี สนช. เห็นชอบกฎหมายไปอย่างน้อย 298 ฉบับ เฉลี่ยเดือนละ 5 ฉบับ แต่กฎหมายที่ออกมาหลายฉบับล้วนตอบสนองความต้องการของ คสช.
1 ส.ค. 2561 โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ เปิดเผยสรุปการทำงาน 4 ปีของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า ตั้งแต่การเปิดประชุมนัดแรกในเดือนสิงหาคม 2557 ถึงปีนี้ครบ 4 ปีแล้วผลงานที่โดดเด่นของ สนช. คือ การผลิตกฎหมายได้ปริมาณมาก นับถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ สนช. เห็นชอบกฎหมายไปอย่างน้อย 298 ฉบับ เฉลี่ยแล้วผ่านกฎหมายเดือนละห้าฉบับ แต่กฎหมายที่ออกมาหลายฉบับล้วนตอบสนองความต้องการของ คสช.
“กฎหมายจำนวนหนึ่งมีเป้าหมายทางการเมืองเพื่อช่วยให้ คสช. ใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจ เราสามารถแบ่งเป้าหมายในการออกกฎหมายของ สนช. เป็นสามอย่าง คือ หนึ่ง ออกกฎหมายเพื่อให้ คสช. ใช้เป็นเครื่องมือปราบปรามประชาชนที่ต่อต้าน เช่น พ.ร.บ.ชุมนุมฯ หรือ พ.ร.บ.ประชามติฯ สอง ยื้อการเลือกตั้งต่ออายุให้กับรัฐบาล คสช. เช่น การขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. และ สาม ออกกฎหมายเพื่อให้ คสช. สามารถสืบทอดอำนาจต่อไปได้หลังการเลือกตั้ง เช่น พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติฯ” ณรงค์ศักดิ์ เนียมสอน เจ้าหน้าฝ่ายจับตากฎหมายจากไอลอว์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม มีร่าง พ.ร.บ. จำนวนหนึ่งที่ สนช. ยังคงเตะถ่วงไม่รีบพิจารณาให้เสร็จ และมีข้อสังเกตว่ากฎหมายดังกล่าวจะกระทบต่อกลุ่มผลประโยชน์ในสภา เช่น ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งที่ผ่านมา สนช. ใช้เวลาพิจารณามากกว่าหนึ่งปีสามเดือนแล้วแต่ยังไม่เห็นวี่แววว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบเมื่อไร
ณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า “ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีเป้าหมายสำคัญเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะการถือครองที่ดินที่ส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวในมือของนายทุน มีกระแสข่าวมาตลอดว่าร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะไม่ผ่านในยุคนี้หรือถ้าผ่านก็คงถูกแก้ไขจนร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่สามารถใช้งานได้จริง นั้นเพราะสมาชิก สนช. ส่วนใหญ่ที่นั่งพิจารณากฎหมายอยู่ก็ถือครองที่ดินจำนวนมากจึงอาจได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีข่าวที่สมาชิกสนช. สายธุรกิจร่วมยื่นหนังสือคัดค้านกฎหมายดังกล่าวด้วยตัวเอง"
นอกจากเรื่องออกกฎหมาย บทบาทที่สำคัญของ สนช. อีกหนึ่งอย่างคือ การเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และตำแหน่งสำคัญอื่นๆ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา สนช. ได้ลงมติเห็นชอบเพื่อคัดเลือกคนเข้าไปดำรงตำแหน่งสำคัญๆ อย่างน้อย 13 องค์กร เป็นการลงมติเห็นชอบ 60 ตำแหน่ง ไม่เห็นชอบ 19 ตำแหน่ง จะเห็นว่า ผู้ได้รับความเห็นชอบจำนวนหนึ่งเป็น สมาชิก สนช. เช่น ดิสทัต โหตระกิตย์ ถูกแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือ พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร ถูกแต่งตั้งเป็นอัยการสูงสุด อีกทั้ง บางคนก็เป็นคนใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจใน คสช. เช่น พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. ซึ่งเป็นอดีต สนช. และคนสนิทของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
“สนช. ถูกกำหนดให้ทำหน้าแทน ส.ว. เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร เช่น การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ แต่สมาชิก สนช. ส่วนใหญ่เป็นทหารและมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ทั้งหมด ดังนั้น สนช. จึงเป็นตัวแทนของผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารที่มาทำหน้าที่คัดเลือกคนเข้าไปอยู่ในองค์กรอิสระซึ่งควรจะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช. เช่นกัน นอกจากนี้ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะนำไปสู่การเลือกตั้ง กรรมการองค์กรอิสระต่างๆ สามารถดำรงตำแหน่งได้ยาวข้ามรัฐบาล ซึ่งจะเป็นกลไกหนึ่งในการสืบทอดอำนาจของ คสช.” ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
ข้อมูลเพิ่มเติม :
ดูข้อมูล สี่ปี สนช.: “สภาตามสั่ง” ผ่านกฎหมายเพิ่มอำนาจ-ปูทาง คสช. อยู่ยาว ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/4881
ดูข้อมูล สี่ปี สนช.: เลือก 60 คนนั่ง 13 องค์กรตรวจสอบ ช่วย คสช. ยึดประเทศอย่างช้าๆ ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/4883
ดูข้อมูล สี่ปี สนช.: ผ่านกฎหมายแปดฉบับอนุมัติงบประมาณ 14 ล้านล้านบาท ให้ คสช. ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/4884
ดูข้อมูล สี่ปี สนช.: “เตะถ่วง” ไม่ผ่านยืดเวลากฎหมายกระทบนายทุนและตัวเอง ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/4882
แสดงความคิดเห็น