ธงชาติอินเดีย (ที่มา: pixabay/Pexels)
Posted: 01 Aug 2018 04:01 AM PDT
Submitted on Wed, 2018-08-01 18:01
กรมทะเบียนราษฎร์อินเดียให้ประชาชนรัฐอัสสัมหลายล้านพิสูจน์สัญชาติว่าเข้ามาตั้งรกรากในอินเดียก่อนบังกลาเทศประกาศอิสรภาพหนึ่งวัน หลายฝ่ายกังวลว่ารัฐบาลปัจจุบันที่มีฐานเสียงเป็นชาวฮินดูกำลังอ้างเหตุกวาดล้างชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์อย่างชาวเบงกาลีที่เป็นมุสลิมหรือไม่
31 ก.ค. 2561 หน่วยงานทะเบียนราษฎร์ของทางการอินเดีย (NRC) เผยแพร่รายชื่อที่อาจจะทำให้ประชากรราว 4 ล้านคนในรัฐอัสสัมที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศถูกตัดสถานะพลเมืองอินเดีย
หน่วยงานทางการให้ประชาชนที่อยู่ในรายชื่อพิสูจน์ตัวเองว่าพวกเขาเข้ามาอยู่ในอินเดียตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค. 2514 หรืออีกนัยหนึ่งคือหนึ่งวันก่อนที่บังกลาเทศจะประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากปากีสถาน โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการคัดแยกชาวบังกลาเทศผู้อพยพเข้าเมือง "อย่างผิดกฎหมาย" แต่ก็ทำให้เกิดความกลัวว่าแนวปฏิบัติเช่นนี้อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือล่าแม่มดต่อชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธ์ในรัฐอัสสัม
เจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียกล่าวว่าจะไม่มีการส่งตัวคนที่เป็นผู้อพยพเข้าเมือง "อย่างผิดกฎหมาย" ออกนอกประเทศโดยทันทีเพราะเกรงว่าจะเกิดความรุนแรง แต่จะมีกระบวนการให้ทุกคนอุทธรณ์ได้ ซึ่งบีบีซีก็รายงานว่าเป็นกระบวนการที่กินเวลายาวนานที่ครอบครัวหลายล้านครอบครัวอาจต้องตกอยู่ในสภาพกลับไม่ได้ไปไม่ถึงในช่วงที่รอคอยการตัดสินใจสุดท้ายว่าสถานะทางกฎหมายของพวกเขาจะเป็นอย่างไร
ในช่วงที่บังกลาเทศประกาศอิสรภาพจากปากีสถานนั้นเกิดสงครามยาวนานจนถึงช่วงเดือน ธ.ค. ในปีเดียวกัน ประชาชนหลายล้านคนอพยพหนีไปที่ประเทศอินเดียซึ่งอยู่ใกล้เคียง และผู้ลี้ภัยจำนวนมากก็ลงหลักปักฐานอยู่ที่รัฐอัสสัม
ภายใต้สนธิสัญญาอัสสัมที่มีการลงนามรับรองจากนายกรัฐมนตรี ราจีฟ คานธี ของอินเดียเมื่อปี 2528 ระบุว่าคนที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเข้ามาในรัฐอัสสัมก่อนวันที่ 24 มี.ค. 2514 จะถูกตัดสิทธิ์จากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและถูกขับไล่เนื่องจากไม่ได้เป็นพลเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในตอนนั้นมีคน 32 ล้านคนที่ส่งเอกสารให้ทะเบียนราษฎร์เพื่อพิสูจน์ตัวเองแต่ก็มีจำนวน 4 ล้านคนที่ไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อ
สิ่งที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้ทำให้ชาวเชื้อสายเบงกาลีจำนวนมากซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในอัสสัมกลัวว่าจะถูกเนรเทศหมู่ นั่นรวมถึงแม้แต่กับคนที่เข้ามาในอินเดียก่อนปี 2517 ด้วย หนึ่งในผู้ที่กังวลเรื่องนี้คือ ฮาสิตัน นิสซา ครูอายุ 47 ปีผู้ที่ใช้ชีวิตวัยเด็กและเติบโต ทำงาน แต่งงานมีลูก ในอินเดีย ครอบครัวของเธอเข้ามาในอินเดียก่อนปี 2517 แต่ก็ยังกังวลว่าเธอจะถูกปลดสัญชาติ ถูกริบกรรมสิทธิที่ดินและสิทธิพลเมืองต่างๆ อย่างสิทธิในการเลือกตั้งและเสรีภาพอื่นๆ
ทั้งนี้ นักกิจกรรมก็มองว่ามาตรการดังกล่าวเป็นการพยายามเอาใจกลุ่มชาตินิยมฮินดูและกลุ่มหัวแข็งในอัสสัมโดยการกำจัดชาวเชื้อสายเบงกาลีอย่างฮาสิตัน ที่สถานะในเอกสารมีความคลุมเครือแต่ก็เป็นผู้อาศัยแถบแม่น้ำพรหมบุตรที่ย้ายถิ่นฐานไปมาในช่วงฤดูน้ำขึ้น รัฐบาลอินเดียมักจะอ้างว่ามีชาวบังกลาเทศแฝงตัวอยู่ในชาวเบงกาลีและใช้เอกสารปลอมในการอาศัยอยู่ แต่นาซรูล อาลี อาห์เหม็ด นักกิจกรรมเบงกาลีก็พูดถึงเรื่องนี้ว่ารัฐบาลอินเดียแค่พยายามรวมหัวกันก่อเรื่องเลวร้ายต่อชาวเบงกาลีซึ่งเป็นชาวมุสลิม และเป็นที่น่ากังวลว่าพวกเขาอาจจะประสบความเลวร้ายแบบเดียวกับชาวโรฮิงญาในพม่า
นักข่าวบีบีซีประจำภูมิภาครายงานว่า หลังจากที่มีองค์กรสิทธิมนุษยชนแสดงความกังวลในเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร์ของอินเดียก็แถลงว่า ตามกฎหมายแล้วพวกเขาจะพิจารณาสัญชาติโดยไม่แบ่งแยกศาสนาหรือการใช้ภาษา แต่ทว่าทางนายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี เองกลับเป็นคนที่เลือกปฏิบัติโดยเอื้อประโยชน์ต่อผู้อพยพจากบังกลาเทศที่นับถือศาสนาฮินดูมากกว่า โดยบอกว่าเป็นกลุ่มคนที่อินเดียควรจะรับไว้และเคยเรียกผู้อพยพกลุ่มอื่นๆ ว่า เป็น "ผู้แทรกซึม" นอกจากนี้ พรรคบีเจพีซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของอินเดียยังได้พิจารณาจะออกกฎหมายส่งเสริมผู้อพยพที่นับถือศาสนาฮินดูด้วย
นักข่าวบีบีซียังวิเคราะห์ว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นการพยายามเรียกร้องเสียงสนับสนุนจากกลุ่มชาวฮินดูที่เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของพรรคบีเจพีช่วงก่อนการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ยังมีความกังวลในเรื่องการใช้โวหารของรัฐบาลอินเดียที่ดูเป็นการส่งเสริมให้เกิดการล่าแม่มด เช่น ตัวแทนจากกลุ่มชื่อองค์กรสหพันธ์ 'นักศึกษาทั่วอัสสัม' ที่ยุยงปลุกปั่นให้เกิดการขับไล่ผู้อพยพจากบังกลาเทศมาเป็นเวลานานแล้ว โดยพวกเขากล่าวอ้างว่า "พวกต่างชาติผิดกฎหมายจะรุกล้ำสับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจ" ของพวกเขา ขณะที่เพลงโปรโมทของหน่วยงานทะเบียนราษฎร์อินเดียก็มีเนื้อเพลงแบบชาตินิยมสุดโต่งที่มีใจความว่า "สัญญาณการปฏิวัติใหม่เพื่อกำจัดต่างด้าวศัตรู" ล้วนเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง
นิสซาบอกว่าโวหารพวกนี้เป็นเรื่องจริงจังสำหรับเธอ เธอโต้ตอบว่า "พวกเราไม่เคยทำอันตรายอะไรชาวฮินดูเลย พวกเราสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติเคียงข้างกันไปได้" แต่นิสซาก็กลัวว่าอาจจะมีข่าวร้ายในเร็วๆ นี้
เรียบเรียงจาก
Assam register: Four million risk losing India citizenship, BBC, Jul 39, 2018
[full-post]
Submitted on Wed, 2018-08-01 18:01
กรมทะเบียนราษฎร์อินเดียให้ประชาชนรัฐอัสสัมหลายล้านพิสูจน์สัญชาติว่าเข้ามาตั้งรกรากในอินเดียก่อนบังกลาเทศประกาศอิสรภาพหนึ่งวัน หลายฝ่ายกังวลว่ารัฐบาลปัจจุบันที่มีฐานเสียงเป็นชาวฮินดูกำลังอ้างเหตุกวาดล้างชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์อย่างชาวเบงกาลีที่เป็นมุสลิมหรือไม่
31 ก.ค. 2561 หน่วยงานทะเบียนราษฎร์ของทางการอินเดีย (NRC) เผยแพร่รายชื่อที่อาจจะทำให้ประชากรราว 4 ล้านคนในรัฐอัสสัมที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศถูกตัดสถานะพลเมืองอินเดีย
หน่วยงานทางการให้ประชาชนที่อยู่ในรายชื่อพิสูจน์ตัวเองว่าพวกเขาเข้ามาอยู่ในอินเดียตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค. 2514 หรืออีกนัยหนึ่งคือหนึ่งวันก่อนที่บังกลาเทศจะประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากปากีสถาน โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการคัดแยกชาวบังกลาเทศผู้อพยพเข้าเมือง "อย่างผิดกฎหมาย" แต่ก็ทำให้เกิดความกลัวว่าแนวปฏิบัติเช่นนี้อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือล่าแม่มดต่อชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธ์ในรัฐอัสสัม
เจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียกล่าวว่าจะไม่มีการส่งตัวคนที่เป็นผู้อพยพเข้าเมือง "อย่างผิดกฎหมาย" ออกนอกประเทศโดยทันทีเพราะเกรงว่าจะเกิดความรุนแรง แต่จะมีกระบวนการให้ทุกคนอุทธรณ์ได้ ซึ่งบีบีซีก็รายงานว่าเป็นกระบวนการที่กินเวลายาวนานที่ครอบครัวหลายล้านครอบครัวอาจต้องตกอยู่ในสภาพกลับไม่ได้ไปไม่ถึงในช่วงที่รอคอยการตัดสินใจสุดท้ายว่าสถานะทางกฎหมายของพวกเขาจะเป็นอย่างไร
ในช่วงที่บังกลาเทศประกาศอิสรภาพจากปากีสถานนั้นเกิดสงครามยาวนานจนถึงช่วงเดือน ธ.ค. ในปีเดียวกัน ประชาชนหลายล้านคนอพยพหนีไปที่ประเทศอินเดียซึ่งอยู่ใกล้เคียง และผู้ลี้ภัยจำนวนมากก็ลงหลักปักฐานอยู่ที่รัฐอัสสัม
ภายใต้สนธิสัญญาอัสสัมที่มีการลงนามรับรองจากนายกรัฐมนตรี ราจีฟ คานธี ของอินเดียเมื่อปี 2528 ระบุว่าคนที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเข้ามาในรัฐอัสสัมก่อนวันที่ 24 มี.ค. 2514 จะถูกตัดสิทธิ์จากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและถูกขับไล่เนื่องจากไม่ได้เป็นพลเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในตอนนั้นมีคน 32 ล้านคนที่ส่งเอกสารให้ทะเบียนราษฎร์เพื่อพิสูจน์ตัวเองแต่ก็มีจำนวน 4 ล้านคนที่ไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อ
สิ่งที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้ทำให้ชาวเชื้อสายเบงกาลีจำนวนมากซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในอัสสัมกลัวว่าจะถูกเนรเทศหมู่ นั่นรวมถึงแม้แต่กับคนที่เข้ามาในอินเดียก่อนปี 2517 ด้วย หนึ่งในผู้ที่กังวลเรื่องนี้คือ ฮาสิตัน นิสซา ครูอายุ 47 ปีผู้ที่ใช้ชีวิตวัยเด็กและเติบโต ทำงาน แต่งงานมีลูก ในอินเดีย ครอบครัวของเธอเข้ามาในอินเดียก่อนปี 2517 แต่ก็ยังกังวลว่าเธอจะถูกปลดสัญชาติ ถูกริบกรรมสิทธิที่ดินและสิทธิพลเมืองต่างๆ อย่างสิทธิในการเลือกตั้งและเสรีภาพอื่นๆ
ทั้งนี้ นักกิจกรรมก็มองว่ามาตรการดังกล่าวเป็นการพยายามเอาใจกลุ่มชาตินิยมฮินดูและกลุ่มหัวแข็งในอัสสัมโดยการกำจัดชาวเชื้อสายเบงกาลีอย่างฮาสิตัน ที่สถานะในเอกสารมีความคลุมเครือแต่ก็เป็นผู้อาศัยแถบแม่น้ำพรหมบุตรที่ย้ายถิ่นฐานไปมาในช่วงฤดูน้ำขึ้น รัฐบาลอินเดียมักจะอ้างว่ามีชาวบังกลาเทศแฝงตัวอยู่ในชาวเบงกาลีและใช้เอกสารปลอมในการอาศัยอยู่ แต่นาซรูล อาลี อาห์เหม็ด นักกิจกรรมเบงกาลีก็พูดถึงเรื่องนี้ว่ารัฐบาลอินเดียแค่พยายามรวมหัวกันก่อเรื่องเลวร้ายต่อชาวเบงกาลีซึ่งเป็นชาวมุสลิม และเป็นที่น่ากังวลว่าพวกเขาอาจจะประสบความเลวร้ายแบบเดียวกับชาวโรฮิงญาในพม่า
นักข่าวบีบีซีประจำภูมิภาครายงานว่า หลังจากที่มีองค์กรสิทธิมนุษยชนแสดงความกังวลในเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร์ของอินเดียก็แถลงว่า ตามกฎหมายแล้วพวกเขาจะพิจารณาสัญชาติโดยไม่แบ่งแยกศาสนาหรือการใช้ภาษา แต่ทว่าทางนายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี เองกลับเป็นคนที่เลือกปฏิบัติโดยเอื้อประโยชน์ต่อผู้อพยพจากบังกลาเทศที่นับถือศาสนาฮินดูมากกว่า โดยบอกว่าเป็นกลุ่มคนที่อินเดียควรจะรับไว้และเคยเรียกผู้อพยพกลุ่มอื่นๆ ว่า เป็น "ผู้แทรกซึม" นอกจากนี้ พรรคบีเจพีซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของอินเดียยังได้พิจารณาจะออกกฎหมายส่งเสริมผู้อพยพที่นับถือศาสนาฮินดูด้วย
นักข่าวบีบีซียังวิเคราะห์ว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นการพยายามเรียกร้องเสียงสนับสนุนจากกลุ่มชาวฮินดูที่เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของพรรคบีเจพีช่วงก่อนการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ยังมีความกังวลในเรื่องการใช้โวหารของรัฐบาลอินเดียที่ดูเป็นการส่งเสริมให้เกิดการล่าแม่มด เช่น ตัวแทนจากกลุ่มชื่อองค์กรสหพันธ์ 'นักศึกษาทั่วอัสสัม' ที่ยุยงปลุกปั่นให้เกิดการขับไล่ผู้อพยพจากบังกลาเทศมาเป็นเวลานานแล้ว โดยพวกเขากล่าวอ้างว่า "พวกต่างชาติผิดกฎหมายจะรุกล้ำสับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจ" ของพวกเขา ขณะที่เพลงโปรโมทของหน่วยงานทะเบียนราษฎร์อินเดียก็มีเนื้อเพลงแบบชาตินิยมสุดโต่งที่มีใจความว่า "สัญญาณการปฏิวัติใหม่เพื่อกำจัดต่างด้าวศัตรู" ล้วนเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง
นิสซาบอกว่าโวหารพวกนี้เป็นเรื่องจริงจังสำหรับเธอ เธอโต้ตอบว่า "พวกเราไม่เคยทำอันตรายอะไรชาวฮินดูเลย พวกเราสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติเคียงข้างกันไปได้" แต่นิสซาก็กลัวว่าอาจจะมีข่าวร้ายในเร็วๆ นี้
เรียบเรียงจาก
Assam register: Four million risk losing India citizenship, BBC, Jul 39, 2018
แสดงความคิดเห็น