“ลูกชาวนา ซับน้ำตาพ่อแม่”
ก่อนอื่น ผมต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ พี่น้องทุกๆ ท่านที่ส่งผ่านความห่วงใย และน้ำใจไมตรีที่มีต่อพี่น้ องชาวนาเข้ามาอย่างล้นหลาม ด้วยความรู้สึกว่า ถึงเวลาแล้วที่เราคนไทยต้อง ช่วยกัน และชาวนาต้องไม่เดินเดียวดา ย
แต่สถานการณ์ที่ชาวนาไทยเผช ิญอยู่ในเวลานี้นั้นหนักหนา มาก เพราะพี่น้องชาวนาตกอยู่ในก ลไกการตลาดที่แทบไม่มีทางเล ือก ความจำเป็นทางการเงินบวกกับ การขาดสถานที่เก็บ และไม่มีช่องทางการตลาด ทำให้ชาวนาส่วนมากต้องขายข้ าวที่มีความชื้นสูงทันทีหลั งการเก็บเกี่ยว และขายพร้อมๆ กันในช่วงเวลาที่ข้าวออกมาม าก ราคาข้าวที่ชาวนาได้รับจึงต ่ำมาก จนฟังแล้วหมดแรงหมดกำลังใจ
เราจึงต้องการช่องทางการตลา ดแบบใหม่ๆ และผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ที่จะช่วยส่งมอบผลิตภัณฑ์ข้ าวจากชาวนาไปถึงผู้บริโภคที ่อยู่รอบๆ ตัวเขา เพราะส่วนต่างระหว่างราคาข้ าวเปลือกในตลาดที่ 6-10 บาท/กก. กับราคาข้าวสารในตลาดที่ 20-50 บาท/ กก. (แล้วแต่คุณภาพของข้าวและกลยุทธ์ ทางการตลาด ทั้งนี้ มิได้กล่าวถึงข้าวพรีเมี่ยม ในตลาดเฉพาะ) ในขณะนี้ ยังเพียงพอที่จะให้ผู้ประกอ บการรายใหม่เข้ามาแข่งขัน โดยช่วยซื้อข้าวเปลือกจากชา วนาในราคาที่สูงกว่าตลาด เช่น ข้าวขาวที่ 8 บาท/กก. ข้าวหอมมะลิที่ 15 บาท/ กก. แล้วยังมีผลตอบแทนเหลืออยู่บ้าง
ผลตอบรับจากพี่น้องผู้บริโภ คชาวไทยผ่านทางเฟซของผมและห ลายๆ คน ก็เป็นอีกหนึ่งเสียงที่ยืนย ันว่า ถ้าข้าวสารที่ผ่านการซื้อขา ยที่เป็นธรรมสามารถส่งมาถึง ผู้บริโภคได้ ผู้บริโภคยินดีตอบรับแน่นอน เพราะในข้าวสวยหนึ่งจานที่เ ราทานนั้น ที่แม้จะนำข้าวหอมมะลิที่มี คุณภาพที่ดีที่สุดมาหุง ก็จะมีต้นทุนค่าข้าวสารเพีย งประมาณ 3-4 บาท/จาน เท่านั้นเอง
แต่ในเวลาที่จำกัด (ผลผลิตข้าวกว่าครึ่งหนึ่งข องรอบการผลิตนาปีจะออกมาพร้ อมกันในเดือนพฤศจิกายน) และกลุ่มผู้บริโภคที่กระจาย ตัวอยู่ที่ต่างๆมากมาย (ในขณะที่พวกเราเองก็ไม่ได้ มีสาขาเหมือนโมเดิร์นเทรด) แล้วเราจะหา “ผู้ประกอบการ” ที่จะเข้าไปคุยกับชาวนา และคุยกับผู้บริโภค มากมายหลายแสนหลายล้านคน มาจากไหนกัน?
คำตอบของพวกเราที่นั่งหารือ กัน ออกมาตรงกันคือ “ลูกชาวนา” ครับ
รอบๆ ตัวของเรา ในออฟฟิศของเรา ในโรงงานของเรา ในคณะของเรา ในห้องเรียนของเรา ในหมู่บ้าน/คอนโดของเรา เพื่อนในเฟซบุ๊คของเรา มักจะมี “ลูกชาวนา” อยู่ร่วมกันเสมอ
ดังนั้น แทนที่ “ลูกชาวนา” จะโพสต์ปรับทุกข์กลุ้มใจเรื ่องราคาข้าวของพ่อแม่ (ซึ่งน่ากลุ้มจริงๆ) ผมอยากชวนให้ “ลูกชาวนา” มาช่วยพ่อแม่ขายข้าวกันดีกว ่าครับ
เช่นเดียวกัน แทนที่พวกเราที่เป็นเพื่อนก ับ “ลูกชาวนา” จะช่วยกันกดปุ่มเศร้าในเฟซบ ุ๊คเพื่อปลอบใจกัน เรามาช่วยกันบอก ช่วยกันเชียร์เพื่อนเรา “ลูกชาวนา” ว่า “เราพร้อมแล้วที่ซื้อข้าวจา กคุณ” ข้าวที่พ่อแม่ของคุณลงทุนลง แรงปลูกมาอย่างตั้งใจ
เพราะฉะนั้น หาก “ลูกชาวนา” สามารถคุยกับพ่อแม่ได้ว่า อย่าเพิ่งรีบขายข้าวในราคาป วดใจ และ “ลูกชาวนา” สามารถคุยกับเพื่อนๆ ในออฟฟิศ และสถานที่อื่นๆ ว่าจะช่วยทยอยซื้อข้าวรวมกั นได้สักกี่กิโลกรัม เราก็สามารถเริ่มต้นวางแผนบ ริหารจัดการ “การตลาด” ข้าวให้กับพ่อแม่ของเราได้ท ันที
ด้วยวิธีการนี้ เราจะมั่นใจว่า ชาวนา (อย่างน้อยส่วนหนึ่ง) จะสามารถขายข้าวเปลือกในราค าที่สูงกว่าตลาด ในเบื้องต้น เราคาดว่า เพื่อให้เพื่อนๆ ผู้บริโภคของเรา ซื้อข้าวในราคาที่ไม่แตกต่า งจากตลาด เราน่าจะขายข้าวให้พ่อได้ใน ราคา 15 บาท/ กก (เมื่อเทียบเป็นราคาข้าวเปลือก) ในกรณีข้าวหอมมะลิ และ 8 บาท/กก. ในกรณีข้าวขาว
และถ้าเรามี “ลูกชาวนา” “หลานชาวนา” และเพื่อนๆ ของลูกๆ และหลานๆ ชาวนากันเยอะ และกระจายตัวอยู่ทั่วไป เราก็สามารถกระจายกันช่วยชา วนาได้มากขึ้นด้วย
แน่นอน การตลาดแบบลูกชาวนานั้น ต้องเผชิญ “ความท้าทาย” หลายประการ เริ่มตั้งแต่
หนึ่ง จะสีข้าวที่ไหน สีข้าวแบบไหน จะบรรจุแบบไหน ซึ่งในประเด็นนี้ “ลูกชาวนา” ควรสอบถามเพื่อนๆ ก่อนนะครับ ว่าจะกินข้าวแบบไหน อย่างไร
สอง จะตรวจคัดคุณภาพข้าวอย่างไร เพราะเพื่อนๆ ผู้บริโภคคนไทย (รวมถึงตัวเราด้วย) อาจคุ้นเคยกับข้าวถุงที่ผ่า นเครื่องยิงสีราคาหลายสิบล้ าน จนสีของข้าวสารจะออกมาเหมือ นกันเป๊ะเลย แต่เรามีเพียงตาของเรา หรือของพ่อแม่เรา กับกำลังใจเท่านั้น
สาม เราจะขนส่งข้าวจากพ่อแม่มาถ ึงเพื่อนของเราอย่างไร แต่ปัญหานี้ตอนนี้เราน่าจะจ ัดการได้ง่ายขึ้น เพราะเรามีวิธีการขนส่งหลาก หลายรูปแบบมากขึ้น รวมถึงตัวเราเองด้วย เพราะเราก็ไปเยี่ยมบ้านกันอ ยู่แล้วในช่วงเทศกาลปีใหม่ ถ้าเราเอาข้าวของพ่อกลับมาด ้วยก็จะทุนค่าขนส่งไปได้อีก
สี่ แล้วเราจะขายใคร? ซึ่งในกรณี “ลูกชาวนา” บางรายอาจไม่มีปัญหา เพราะมีเพื่อนๆ ที่มีกำลังซื้ออยู่มากมายใน ออฟฟิศ แต่ในบางกรณีอาจมีปัญหาเช่น นิสิตในมหาวิทยาลัยเกษตรศาส ตร์ของผม ในกรณีนี้เราต้องช่วยกัน เมื่อวานคณบดีคณะเศรษฐศาสตร ์ของผม ก็ได้อนุญาตให้นิสิต ม.เกษตรศาสตร์ มาใช้คณะเป็นสถานที่ขายหรือ ส่งมอบสินค้าด้วย แถมยังจะช่วยประชาสัมพันธ์ใ ห้กับอาจารย์และบุคลากรในมห าวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วย
ฟังอย่างนี้แล้ว “ลูกชาวนา” หลายๆ ท่าน อย่าเพิ่งท้อใจนะครับ ลองนึกดูครับ กว่าพ่อแม่จะเก็บออมผ่านการ ปลูกและขายข้าวแต่ละปี จนสามารถส่งเสียให้เรากลายส ภาพเป็น “ลูกชาวนา” มิใช่ชาวนาอย่างท่าน ท่านต้องเหนื่อยยากขนาดไหน แล้วเราจะใช้วิชาความรู้ของ เรา ใช้เครือข่ายเพื่อนของเรา ใช้เฟซบุ๊คของเรา ช่วยท่านสักคราไม่ได้เชียวห รือ
เพื่อช่วยให้ “ลูกชาวนา” ที่ยังไม่มั่นใจ มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ผมและเพื่อนๆ จะจัดประชุมเพื่อแนะนำหลักก าร และเทคนิควิธีการด้านต่างๆ ที่จำเป็นในการวางแผนการตลา ด เพื่อช่วยพ่อแม่ขายข้าว ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2559 เวลา 13.00-16.00 น. ท่านที่ไม่สะดวกที่จะมาร่วม ในวันดังกล่าว เราก็จะอัดวิดีโอไว้ให้ท่าน ชมกันครับ
นอกจากนั้น เราจะเปิดช่องทางในการติดต่ อออนไลน์ เพื่อช่วยตอบข้อสงสัยและหาผ ู้บริโภคที่ใกล้ๆตัว “ลูกชาวนา” ด้วยครับ
ความพยายามของเรา “ลูกชาวนา” ครั้งนี้ แม้จะช่วยพ่อแม่และช่วยชาวน าได้เพียงบางส่วนในปีนี้ แต่เป้าหมายระยะยาวของเราคื อ การสร้างช่องทางการตลาดแบบใ หม่ ที่เรา “ลูกชาวนา” เป็นผู้ประกอบการที่จะเชื่อ มต่อพ่อแม่กับเพื่อนของเรา ด้วยระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรร มและเกื้อกูลกัน
แล้วปีหน้าเราจะสามารถขยายต ลาดจากพ่อแม่ของเราไปสู่เพื ่อนบ้านของเรา และขาวนารายอื่นๆ ในชุมชนและในประเทศของเรา
แม้ว่า เราอาจเรียกแคมเปญนี้ว่า “ลูกชาวนา” แต่เราก็พร้อมรับและสนับสนุ นการดำเนินการช่วยชาวชาวนาข อง “หลานชาวนา” และ “เพื่อนชาวนา” ทุกรายครับ ขอเพียงให้ท่านช่วยชาวนาได้ รับราคาที่เป็นธรรม เราต้อนรับทุกราย
ต่อไปเวลาที่เราส่งมอบข้าวข องพ่อแม่เราให้กับเพื่อนๆ ผู้บริโภค เราจะไม่ได้บอกเพียง ราคาข้าว (สาร) ที่ “ผู้บริโภคต้องจ่าย” แต่เราจะบอกราคาข้าว (เปลือก) “ที่ชาวนาได้รับ” ควบคู่ไปด้วย
รองสุดท้ายแล้วครับ คำว่า “ลูกชาวนา” เป็นแนวความคิดที่ใช้ร่วมกั นนะครับ ไม่ใช่ “แบรนด์” ของใครคนใดคนหนึ่ง เพราะฉะนั้น ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตผม (และไม่ต้องขอบคุณผมด้วยนะค รับ) แต่ผมจะช่วยเชียร์ลูกชาวนาท ุกๆ คนกับเพื่อนๆ ของคนในจังหวัดต่างๆ (ตอนนี้เพื่อนที่ชุมพรเตรีย มสั่งซื้อข้าวหอมมะลิแล้วคร ับ) แล้วช่วยให้ท่านได้เจอกันกั บผู้บริโภค ช่วยให้ท่านหาผู้ที่จะมาช่ว ยเหลือท่านในด้านต่างๆ ให้ดีที่สุด
แม้ว่า คำว่า “ลูกชาวนา” จะไม่ใช่ “แบรนด์” ของใครคนใดคนหนึ่ง ที่จะต้องรักษาคุณค่าแบรนด์ เอาไว้ ตามทฤษฎีการตลาด แต่เราก็มี “เกียรติ” ที่เราจะต้องรักษาร่วมกัน นั่นคือ เกียรติของความเป็น “ลูกชาวนา” เพราะการกระทำใดๆ ที่เราทำให้ความเชื่อมั่นขอ งผู้บริโภคลดลง นั่นหมายถึง การทำให้เกียรติของลูกชาวนา และเกียรติของ “ชาวนา” (ซึ่งก็คือพ่อแม่ของเรา) ลดลงไปด้วย เราจึงต้องช่วยกันดูแลคุณภา พ บริการ และความเป็นธรรมของผู้บริโภ ค (ซึ่งก็คือเพื่อนของเรา) ให้ดีที่สุด
สุดท้ายแล้วครับ ขออนุญาตฝากถึงรัฐบาลประเด็ นเดียวครับ ในบรรดาความท้าทายทั้งหมดที ่ “ลูกชาวนา” จะต้องเผชิญในการช่วยพ่อแม่ ขายข้าวครั้งนี้ ความท้าทายที่หนักหนาที่สุด ปัญหาหนึ่งก็คือ เงินทุนหมุนเวียน ซึ่งพ่อแม่หลายคนจะต้องเสีย เงินเพื่อเป็นค่าจ้างรถเกี่ ยวนวดข้าว และเป็นเหตุตัดสินใจขายข้าว เปลือกทันทีที่เกี่ยวเสร็จ เพราะฉะนั้น การที่ “ลูกชาวนา” จะชะลอการขายข้าวเปลือกของพ ่อแม่ และหันมาขายข้าวสารที่ได้รา คาดีกว่าแทนได้ ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนครับ
ผมทราบว่า รัฐบาลมีโครงการนาโนไฟแนนซ์ และพิโคไฟแนนซ์ที่จะมาช่วยผ ู้ประกอบการมากมาย ผมอยากให้รัฐบาลช่วยจัดสรรส ินเชื่อเพื่อมาเป็นเงินทุนห มุนเวียนให้ลูกชาวนา ในการจ่ายค่าเกี่ยวข้าว สีข้าว เก็บรักษาข้าว ซื้อบรรจุภัณฑ์ และอื่นๆ (เหมือนที่ท่านจัดให้สินเชื ่อดอกเบี้ยต่ำให้โรงสีซื้อข ้าวจากชาวนาในปัจจุบันนี้) ผมเชื่อว่า ถ้ารัฐบาลสามารถเข้ามาช่วยเ ติมเต็มในส่วนนี้ได้ เครือข่าย “ลูกชาวนา” ช่วยพ่อแม่ขายข้าวจะเต็มประ เทศแน่นอน
แต่ถ้ารัฐบาลยังไม่สะดวกที่ จะเข้ามาสนับสนุน ผมเสนอให้บริษัทและหน่วยงาน ช่วยออกเงินกู้ฉุกเฉินดอกเบ ี้ยต่ำให้พนักงานที่เป็น “ลูกชาวนา” ในหน่วยงานของท่าน ได้ช่วยพ่อแม่ชาวนา และช่วยเพื่อนๆ ในบริษัทด้วยครับ ผมคิดว่า นี่เป็นหนึ่งของ “ความรับผิดชอบทางสังคม” ที่บริษัทและหน่วยงานต่างๆ สามารถช่วยได้ครับ
เราจะเดินเคียงข้างกับชาวนา ครับ แน่นอนพวกเรายอมรับกลไกตลาด แต่ก็อาจถึงเวลาที่กลไกตลาด จะได้ยอมรับ “กลไกน้ำใจในสังคมไทย” บ้างเช่นกัน
มาถึงย่อหน้าสุดท้ายแล้วครั บ ผมฝันว่า ถ้าไอเดียนี้สำเร็จ ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุ ดในหัวใจของผมคือ การได้ยินเพื่อนๆ ทั้งคนรุ่นผมและคนรุ่นใหม่ แนะนำตัวเองกับผมหรือคนอื่น ๆว่า “ผม/ดิฉันเป็นลูกชาวนาครับ/ ค่ะ”
มาเป็น “ลูกชาวนา” และ เพื่อนชาวนา” กันนะครับ
ก่อนอื่น ผมต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ พี่น้องทุกๆ ท่านที่ส่งผ่านความห่วงใย และน้ำใจไมตรีที่มีต่อพี่น้
แต่สถานการณ์ที่ชาวนาไทยเผช
เราจึงต้องการช่องทางการตลา
ผลตอบรับจากพี่น้องผู้บริโภ
แต่ในเวลาที่จำกัด (ผลผลิตข้าวกว่าครึ่งหนึ่งข
คำตอบของพวกเราที่นั่งหารือ
รอบๆ ตัวของเรา ในออฟฟิศของเรา ในโรงงานของเรา ในคณะของเรา ในห้องเรียนของเรา ในหมู่บ้าน/คอนโดของเรา เพื่อนในเฟซบุ๊คของเรา มักจะมี “ลูกชาวนา” อยู่ร่วมกันเสมอ
ดังนั้น แทนที่ “ลูกชาวนา” จะโพสต์ปรับทุกข์กลุ้มใจเรื
เช่นเดียวกัน แทนที่พวกเราที่เป็นเพื่อนก
เพราะฉะนั้น หาก “ลูกชาวนา” สามารถคุยกับพ่อแม่ได้ว่า อย่าเพิ่งรีบขายข้าวในราคาป
ด้วยวิธีการนี้ เราจะมั่นใจว่า ชาวนา (อย่างน้อยส่วนหนึ่ง) จะสามารถขายข้าวเปลือกในราค
และถ้าเรามี “ลูกชาวนา” “หลานชาวนา” และเพื่อนๆ ของลูกๆ และหลานๆ ชาวนากันเยอะ และกระจายตัวอยู่ทั่วไป เราก็สามารถกระจายกันช่วยชา
แน่นอน การตลาดแบบลูกชาวนานั้น ต้องเผชิญ “ความท้าทาย” หลายประการ เริ่มตั้งแต่
หนึ่ง จะสีข้าวที่ไหน สีข้าวแบบไหน จะบรรจุแบบไหน ซึ่งในประเด็นนี้ “ลูกชาวนา” ควรสอบถามเพื่อนๆ ก่อนนะครับ ว่าจะกินข้าวแบบไหน อย่างไร
สอง จะตรวจคัดคุณภาพข้าวอย่างไร
สาม เราจะขนส่งข้าวจากพ่อแม่มาถ
สี่ แล้วเราจะขายใคร? ซึ่งในกรณี “ลูกชาวนา” บางรายอาจไม่มีปัญหา เพราะมีเพื่อนๆ ที่มีกำลังซื้ออยู่มากมายใน
ฟังอย่างนี้แล้ว “ลูกชาวนา” หลายๆ ท่าน อย่าเพิ่งท้อใจนะครับ ลองนึกดูครับ กว่าพ่อแม่จะเก็บออมผ่านการ
เพื่อช่วยให้ “ลูกชาวนา” ที่ยังไม่มั่นใจ มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ผมและเพื่อนๆ จะจัดประชุมเพื่อแนะนำหลักก
นอกจากนั้น เราจะเปิดช่องทางในการติดต่
ความพยายามของเรา “ลูกชาวนา” ครั้งนี้ แม้จะช่วยพ่อแม่และช่วยชาวน
แล้วปีหน้าเราจะสามารถขยายต
แม้ว่า เราอาจเรียกแคมเปญนี้ว่า “ลูกชาวนา” แต่เราก็พร้อมรับและสนับสนุ
ต่อไปเวลาที่เราส่งมอบข้าวข
รองสุดท้ายแล้วครับ คำว่า “ลูกชาวนา” เป็นแนวความคิดที่ใช้ร่วมกั
แม้ว่า คำว่า “ลูกชาวนา” จะไม่ใช่ “แบรนด์” ของใครคนใดคนหนึ่ง ที่จะต้องรักษาคุณค่าแบรนด์
สุดท้ายแล้วครับ ขออนุญาตฝากถึงรัฐบาลประเด็
ผมทราบว่า รัฐบาลมีโครงการนาโนไฟแนนซ์
แต่ถ้ารัฐบาลยังไม่สะดวกที่
เราจะเดินเคียงข้างกับชาวนา
มาถึงย่อหน้าสุดท้ายแล้วครั
มาเป็น “ลูกชาวนา” และ เพื่อนชาวนา” กันนะครับ
แสดงความคิดเห็น