สืบพยานนักกิจกรรมฝ่าหลุนกง คดีหลบหนีเข้าเมือง 25 ม.ค.นี้ นักสิทธิชี้ได้สถานะผู้ลี้ภัยแล้ว
Posted: 23 Jan 2017 11:39 PM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ศาลชุมพรนัดสืบพยาน นักกิจกรรมฝ่าหลุนกงคดีหลบหนีเข้าเมือง 25 ม.ค.นี้ เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ ระบุได้รับการรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัยจาก UNHCR ว่าเป็นผู้ลี้ภัยและมีเหตุสมควรได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศ
24 ม.ค.2560 เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ (CRSP) แจ้งว่า วันที่ 25 ม.ค.นี้ ศาลจังหวัดชุมพรนัดสืบพยานอัยการโจทก์ กับ ซ่ง จือ ยวี่ (Mr. Song Zhiyu) จำเลย วิศวกรออกแบบเครื่องกลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฐานหลบหนีเข้าเมืองและอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยผิดกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 แม้ว่า ซ่ง จะได้รับการรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัยจาก สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR) ประเทศไทย ว่าเป็นผู้ลี้ภัยและมีเหตุสมควรได้รับการคุ้มครอง ระหว่างประเทศ ก็ตาม
เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ ระบุด้วยว่า เหตุการณ์นี้ สืบเนื่องจาก ซ่ง ซึ่งเป็นผู้ถือและผู้ปฏิบัติตามความเชื่อฝ่าหลุนกง (Falun Gong) อีกทั้งเป็น ผู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนผ่านเว็บไซต์โดยเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการประหัตประหารและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ ถูกรัฐบาลจีนประหัตประหาร กักขัง ทรมาน จำคุกและบังคับใช้แรงงานในค่ายแรงงาน หลาย ครั้งในระหว่างปี พ.ศ. 2551 – 2557 จนกระทั่งในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2557 ซ่ง ได้ตัดสินในเดินทางหนีออกจาก ประเทศจีนเพื่อไปลี้ภัยในประเทศที่สามโดยผ่านประเทศไทย จนกระทั่งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ซ่งและผู้ลี้ภัย ชาวจีนคนอื่นๆ ซึ่งนั่งเรือจากพัทยา เกิดประสบภัยเหตุเรืออับปาง ในบริเวณอ่าว อ.ปะทิว จ.ชุมพร ระหว่างทางลี้ภัย อันมีจุดหมายปลายทางที่ประเทศนิวซีแลนด์ จึงถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ตรวจคนเข้าเมืองจับกุมตัวและถูกดำเนินคดีที่ ศาลจังหวัดชุมพรฐานหลบหนีเข้าเมืองและลักลอบอาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งข่าวนี้ได้ตกเป็นที่สนใจของสื่อทั้ง ต่างประเทศและในประเทศกลางปีที่ผ่านมา
ซ่ง จือ ยวี่ ให้ข้อเท็จจริงกับ กรวิไล เทพพันธ์กุลงาม ทนายความและสมาชิกเครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัย และคนไร้รัฐ (Coalition for the Rights of Refugees and Stateless Persons--CRSP) ว่าก่อนหน้าที่จะเดิน ทางเข้ามาในประเทศไทย ซ่งถูกรัฐบาลจีนจับกุม กักตัว ขังและบังคับใช้แรงงานในค่ายแรงงานหลายครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึงปี พ.ศ. 2557 เนื่องจากนายซ่งนับถือลัทธิฝ่าหลุนกงซึ่งรัฐบาลจีนเห็นว่าเป็นอันตรายต่อรัฐบาลระบอบ คอมมิวนิสต์ นอกจากนี้นายซ่งเป็นผู้เปิดเผยข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลจีนผ่านทางเว็บไซต์ และปฏิเสธ ไม่ยอมถูกบังคับให้เลิกถือศาสนา จนกระทั่งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 ซ่งตัดสินใจหนีออกจากประเทศจีนเพื่อลี้ ภัยไปประเทศที่สามโดยผ่านประเทศไทย
“การกระทำต่อ ซ่ง จือ ยวี่ ที่ถูกลิดรอนเสรีภาพในการ แสดงความคิดเห็น บังคับให้เลิกถือศาสนา บังคับใช้แรงงาน ปฏิบัติต่อ ซ่ง โดยการทรมาน ถือเป็นการประหัตประหารและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงตามกฎหมายระหว่างประเทศ และซ่งนอกจากจะเป็นผู้ลี้ภัยตามกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ยังเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (human rights defender) และเหยื่อ ของการถูกทรมานอีกด้วย การที่เจ้าหน้าที่ไทยดำเนินคดีกับ ซ่ง โดยที่ไม่คำนึงถึงสาเหตุของการทเี่ขาหนีภัยมา อาจ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณี” กรวิไล กล่าว
“เมื่อผู้ลี้ภัยถูกดำเนินคดีหรือได้รับโทษเสร็จสิ้นแล้ว จะถูกส่งตัวไปยังสถานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อรอการ ผลักดันกลับหรือการอนุญาตจากประเทศที่สามให้สามารถลี้ภัยไปได้ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกหลายปี และในช่วงที่ผู้ลี้ภัยอยู่ ในสถานตรวจคนเข้าเมืองนี้ จะเป็นช่วงที่ถูกแสวงหาประโยชน์จากนายหน้าและขบวนการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน หรือขบวนการอาชญากรรมได้ง่าย เพราะผู้ลี้ภัยซึ่งรู้สึกเหมือนตนเองไร้หนทางและสูญเสียอิศรภาพอย่างถาวรจะดิ้นรนเพื่อเดินทางต่อไปในประเทศที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของเขา การดำเนินคดีกับผู้ลี้ภัยจึงไม่ได้เป็นการหยุดยั้ง ขบวนการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานหรือการฝ่าฝืนกฎหมายคนเข้าเมือง” กรวิไล กล่าว
เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ ระบุอีกว่า นอกจาก ซ่งแล้ว ยังมีผู้ลีภัยการเมืองจากประเทศจีน และประเทศอื่นๆ อีกมากที่ภายหลังจากการถูก ดำเนินคดีจะถูกกักตัวอยู่ในสถานตรวจคนเข้าเมือง สวนพลู โดยไม่มีกำหนด เนื่องจากไม่สามารถเดินทางกลับไปยัง ประเทศต้นทางที่มีอันตรายต่อชีวิตตนได้ หนึ่งในนั้นคือ กู่ เฉียว (Gu Qiao) และบุตรอายุประมาณ 1 ปีเศษ ซึ่ง เป็นผู้ลี้ภัยฝ่าหลุนกงที่ลงเรือลำเดียวกันกับ ซ่ง ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2557
แม้ว่าประเทศไทยจะมิได้เป็นภาคีในอนุสัญญาและพิธีสารว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย แต่ประเทศไทยเป็นภาคีใน อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหลายฉบับ โดยเฉพาะอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน ซึ่งมี หลักการห้ามผลักดัน แต่ในช่วงปีที่ผ่านมาพบว่า มีผู้ลี้ภัยชาวจีนจ านวนมากถูกรัฐบาลไทยบังคับส่งกลับไปยังประเทศ จีน เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ (Coalition for the Rights of Refugees and Stateless Persons--CRSP) จึง ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยพิจารณาข้อเสนอแนวทางซึ่งเป็นทางเลือกแทนการกักขัง (alternative to detention) และการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้มีหน่วยงานคัดแยกผู้ลี้ภัยและอนุญาตผ่อนผันให้ผู้ลี้ ภัยในเมือง (urban refugees) อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวระหว่างรอการไปตั้งรกรากในประเทศที่สาม อันเป็นการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอย่างยั่งยืน
แสดงความคิดเห็น