ศักราชใหม่ สหรัฐถอนตัว TPP - รมว.พาณิชย์ยันไม่กระทบไทย เตรียมมุ่งกรอบ RCEP-TIFA

Posted: 23 Jan 2017 11:41 PM PST  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)

TPP ข้อตกลงใหญ่ที่ภาคประชาชนไทยกังวลปัญหาทรัพย์สินทางปัญญาและการคุ้มครองการลงทุนที่จะกระทบนโยบายสาธารณะมาถึงคราวหยุดชะงักเมื่อสหรัฐถอนตัว แต่ทางการไทยก็เตรียมเจรจากรอบความตกลงอื่นที่สาธารณชนยังต้องจับตามอง

เมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีใหม่หมาดที่เพิ่งรับตำแหน่งเมื่อ 3 วันก่อน ก็เริ่มต้นดำเนินการตามนโยบายที่หาเสียงไว้ ด้วยการลงนามในคำสั่งพิเศษ ถอนสหรัฐฯ ออกจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP)

ข้อตกลงนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามจากภาคธุรกิจของสหรัฐฯ ในสมัยของบารัค โอบามา แต่ยังไม่ผ่านสภาคองเกรส เป็นกรอบความร่วมมือที่ใหญ่ที่สุดเริ่มต้นเมื่อปี 2548 และมีกำหนดจะบรรลุข้อตกลงร่วมกันให้ได้ภายในปี 2561 ประเทศที่อยู่ในข้อตกลง ทีพีพี ประกอบด้วย 12 ประเทศ คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา เม็กซิโก มาเลเซีย บรูไน เวียดนาม สิงคโปร์ ชิลี และเปรู

กลุ่มประเทศภาคีทีพีพี 12 ประเทศ มีประชากรรวมกันราว 800 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 40 ของการค้าทั่วโลก ภายใต้ข้อตกลงนี้ กลุ่มประเทศภาคีจะตัดทิ้งภาษีสินค้าหลายรายการรวมร้อยละ 98 รวมทั้งชิ้นส่วนรถยนต์ ผลิตภัณฑ์นม น้ำตาลและพลังงาน ฯลฯ นอกเหนือจากการตั้งการค้า การลงทุนและระเบียบธุรกิจให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ขณะที่ภาคประชาสังคมไทยนั้นออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการเจรจา TPPอย่างแข็งขัน นอกจากประเด็นความโปร่งใสที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากแล้ว ยังมีประเด็นใหญ่ของผลประโยชน์ที่ว่าภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอาจได้ประโยชน์แต่นโยบายสาธารณะหลายอย่างจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก ข้อกังวลหลักได้แก่ ประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการผลิตยาเองและการต่อรองราคายากับต่างประเทศ ประเด็นการคุ้มครองการลงทุนของต่างชาติที่อาจกระทบต่อสาธารณะ

การถอนตัวของยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกานั้น ทำให้เกิดความไม่แน่ใจในการบรรลุข้อตกลนี้ ลี เซียง ลุง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ระบุว่าทีพีพีนั้นสำเร็จได้ยกและสิงคโปร์เตรียมผลักดันความร่วมมือเศรษฐกิจรูปแบบอื่นๆ ขณะที่ญี่ปุ่นกับออสเตรเลียนั้นยังคงยืนยันจะเดินหน้าต่อ และยังกระชับความสัมพันธ์ด้านกลาโหมต่อกันโดยลงนามในข้อตกลงจัดหาและเอื้อเฟื้อภาระในแก่การปฏิบัติงานองกำลังทหาร ซึ่งเป็นความร่วมมือในการซ้อมรบและภารกิจรักษาสันติภาพ เป็นการผนึกกำลังปกป้องผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์และการค้าในเอเชียแปซิฟิกยากมที่จีนรุกกร้าวมากขึ้นในทะเลจีนใต้

ขณะเดียวกันเว็บไซต์ทำเนียบขาวได้ปรับปรุงเนื้อหาเกี่ยวกับนาฟตาทันทีที่นายทรัมป์สาบานตนรับตำแหน่งเพื่อตอกย้ำสิ่งที่ได้หาเสียงไว้ว่าจะรื้อการเจรจานาฟตาที่สหรัฐทำไว้กับแคนาดาและเม็กซิโกตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งระหว่างการหาเสียงนายทรัมป์ตำหนิข้อตกลงนาฟตาว่าเป็นข้อตกลงการค้าเลวร้ายที่สุดเท่าที่สหรัฐเคยลงนามมา ทั้งนี้ ระเบียบนาฟตาเปิดทางให้สมาชิกสามารถถอนตัวได้ด้วยการแจ้งประเทศอื่นในกลุ่ม โดยมีเวลาในการเจรจา 180 วัน หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ภายในเวลานั้น ข้อตกลงนาฟตาก็จะถูกยกเลิก ด้านแคนาดาและเม็กซิโกประกาศหลังจากนายทรัมป์ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีว่า พร้อมเจรจากับรัฐบาลใหม่สหรัฐเพื่อทบทวนเงื่อนไขในนาฟตา โดยแคนาดาหวังว่าจะคงนาฟตาไว้แม้สหรัฐถอนตัว

สำหรับท่าทีของไทย อภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ไทยไม่ได้รับผลกระทบจากการฉีกทีพีพีของทรัมป์ เพราะยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก สิ่งที่จะดำเนินการต่อจากนี้คือ ผลักดัน "อาร์เซ็ป" (The Regional comprehensive economic partnership-RCEP) หรือความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจในภูมิภาค ระหว่างอาเซียนและอีก 6 ประเทศ รวมเป็น 16 ประเทศ เริ่มต้นกันมาตั้งแต่ปี 2555 เป็นกรอบการเจรจาที่ใหญ่ที่สุดในโลก หากไม่มีทีพีพี นอกจากนี้ไทยยังจะสัมพันธ์กับสหรัฐโดยมุ่งไปในกรอบข้อตกลงการค้าและการลงทุนสหรัฐอเมริกา (Trade and Investment Framework Agreement-TIFA) ซึ่งปีนี้ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมด้วย

เรียบเรียงจาก
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/737276
http://www.posttoday.com/biz/gov/477295
http://prachatai.com/journal/2012/12/44006

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.