Posted: 20 Nov 2017 01:01 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
เครือข่ายนักพัฒนาองค์กรเอกชนออกแถลงการณ์ไม่ร่วมกับกลไกกับดักสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลทหาร ชี้เป็นกลไกยุทธศาสตร์ชาติออกแบบมาเพื่อสนองตอบการเติบโตของกลุ่มทุน
20 พ.ย.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เครือข่ายนักพัฒนาองค์กรเอกชนจำนวน 72 คน ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์เครือข่ายฯ แสดงจุดยืนการไม่ร่วมกับกลไกกับดักสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลทหาร แถลงระบุว่า เป็นการแสดงจุดยืนต่อการไม่ร่วมกับกลไกใดๆ ของรัฐบาลทหารที่จะนำไปสู่กับดักและสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลในการสร้างความทุกข์ยากให้กับประชาชนในอนาคตเว้นเพียงการร่วมมือกันทำงานกับส่วนราชการซึ่งมีมาแต่เดิมแล้ว
เนื่องจากกลไกยุทธศาสตร์ชาติเป็นสิ่งที่จะนำมาซึ่งการควบคุมประเทศให้เดินไปตามทางที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องการอย่างยาวนาน เมื่อเราพิจารณาการออกแบบของคณะรัฐประหารครั้งนี้ในภาพรวมจะพบว่า กลไกที่ออกแบบมานั้นเป็นไปเพื่อสนองตอบการเติบโตของกลุ่มทุน มิได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมและหลักประกันสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนโดยรวม ฉะนั้นการทำความจริงให้ชัดเจนเป็นภารกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของประชาชน
"การเข้าร่วมอื่นใดกับรัฐบาลทหารของภาคประชาชน เช่น การเข้าร่วมมีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ, อนุกรรมการบูรณาการและขับเคลื่อนการปฏิรูปเชิงระบบและโครงสร้างในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.), อนุกรรมการการมีส่วนร่วมเพื่อการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น การกระทำเช่นนี้คือการยินยอมเข้าร่วมกับกลไกของรัฐบาลทหารที่เพิกเฉยต่อสิทธิชุมชนและจะทำให้ประเทศไปสู่ความทุกข์ยากในอนาคตอันใกล้ ความจริงซึ่งควรจะปรากฏให้ประชาชนได้เรียนรู้นั้นกลายเป็นความพร่ามัวต่อทิศทางการขับเคลื่อนสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ชัดเจนและมีพลังได้" แถลงการณ์เครือข่ายนักพัฒนาองค์กรเอกชน ระบุ
รายละเอียดแถลงการณ์ :
แถลงการณ์เครือข่ายนักพัฒนาองค์กรเอกชน
แสดงจุดยืนการไม่ร่วมกับกลไกกับดักสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลทหาร
ตามที่รัฐบาลทหาร คสช. ได้บริหารราชการแผ่นดินมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้วนั้น ผลประจักษ์ในทางนโยบายและกฎหมายจำนวนมากจะชักนำประเทศไปสู่ความทุกข์ยากทั้งในปัจจุบันและอนาคต ด้วยการนำพาประเทศไปสู่ กลไกการบริหารประเทศที่ เอื้ออำนวยต่อกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ลดทอนสิทธิชุมชน เพิกเฉยการมีส่วนร่วมและหลักประกันสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชน อาทิ
1. การดำเนินการสร้างพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษด้วยการยกสิทธิพิเศษให้นักลงทุน ยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายหลายฉบับเพื่อให้สิทธินั้นกระทำได้โดยง่าย
2. การเขียนร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชฉบับใหม่ ที่จะก่อให้เกิดการควบคุมของกลุ่มทุนต่อระบบอาหารของประเทศ ลดทอน บังคับ ให้ประชาชนซื้อเมล็ดพันธุ์จากกลุ่มทุน มีบทลงโทษสำหรับการนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อ ด้วยการให้สิทธิแก่กลุ่มทุนในการผูกขาดพันธุ์พืช อันเป็นการทำลายอิสรภาพด้านอาหารของประเทศ
3. การแก้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ด้วยการบรรจุเนื้อหาคำสั่งหัวหน้า คสช. ภายใต้อำนาจตามมาตรา 44 เข้าไปใน พระราชบัญญัติฉบับใหม่ เพื่อเอื้อให้กลุ่มทุนสามารถดำเนินโครงการได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่ควรมีมาตรการการรักษาสิ่งแวดล้อมมากกว่าการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
4. การเร่งรัดออกคำสั่ง คสช. และนโยบายต่างๆ จำนวนมากนั้น ได้สร้างผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนที่มีวิถีชีวิตพึ่งพิงกับฐานทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า เช่น การออกคำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 และ ที่ 66/2557 เพื่อทวงคืนผืนป่า สร้างความเดือดร้อนกับพี่น้องประชาชนจำนวนมาก ประกอบกับไม่เปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม จำกัดสิทธิในการรวมตัวรวมกลุ่ม และคุกคามประชาชนในการเสนอความคิดเห็น สิ่งที่เกิดขึ้นคือการนำพาประเทศชาติก้าวถอยหลัง หาใช่การเดินหน้าเพื่อการปฏิรูปไม่ ฯลฯ
การมีสภาปฏิรูปล้วนไม่เกิดผลอันใด การมีสภาขับเคลื่อนประเทศล้วนเป็นกลไกที่กำหนดทิศทางเพียงฝ่ายเดียวของรัฐบาล การบริหารงานที่ก่อความเสื่อมต่อประเทศในทุกด้าน ในขณะที่กลุ่มทุนและทหารเติบโตอย่างมากในรัฐบาลยุคนี้ ล้วนเป็นตัวชี้วัดถึงเจตนารมณ์อันแท้จริงที่กระทำการรัฐประหารเข้ามายึดอำนาจการบริหารประเทศ
ประเด็นสำคัญคือการนำกลุ่มทุนธุรกิจเอกชนเข้ามาเพื่อให้มีบทบาทในทางนโยบายและกลไกการบริหาร ในขณะที่การกีดกันจำกัดสิทธิของประชาชนเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในรัฐบาลนี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของ คสช. ประเด็นสำคัญยิ่งอีกประเด็นหนึ่งคือ ว่าด้วยการควบคุมประเทศไปอีก 20 ปี ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยพบว่า กลไกของยุทธศาสตร์ชาตินั้นกำเนิดขึ้นมาเพื่อบังคับให้หน่วยงานรัฐกระทำตามสิ่งที่เขียนขึ้นมาโดยมีสาระที่เป็นข้อสังเกตบางประการดังนี้
1. เมื่อยุทธศาสตร์ชาติใช้บังคับแล้ว จะมีผลให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องแถลงนโยบายและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่ดําเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติด้วย
2. การทบทวนแผนยุทธศาสตร์ชาติทุก 5 ปี ไม่ได้มีการกำหนดมาตรการในเรื่องการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั้งที่มีสภาพบังคับต่อประชาชน และเกี่ยวข้องกับงบประมาณของประเทศ
3. หากหน่วยงานรัฐไม่ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ให้สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภามีมติ ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาดำเนินการกับหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นตามหน้าที่และอำนาจให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง และในกรณีที่ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหามีมูล ให้ผู้บังคับบัญชาของ ผู้ถูกกล่าวหานั้นสั่งให้ผู้นั้นพักราชการหรือพักงาน หรือสั่งให้ออกจากราชการ หรือออกจากงานไว้ก่อน หรือสั่งให้พ้นจากตำแหน่งต่อไป
4. การรับฟังความเห็นประชาชนในการทำยุทธศาสตร์ชาติทำอย่างพอเป็นพิธีโดยให้ถือว่า การรับฟังความคิดเห็นที่คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 และสำนักงาน ได้ดำเนินการก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถือเป็นการดำเนินการรับฟังความเห็นประชาชนแล้ว
5. ในกรณีที่การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เป็นผลจาก มติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีโดยตรง ก็จะถูกส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หากศาลวินิจฉัยว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติต้องส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่โดยเร็ว
6. รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่ต้องการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม และไม่สนใจการปกป้องสิทธิชุมชนอย่างที่ควรจะเป็น ทั้งยังเป็นรัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การสูญเสียฐานทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อตอบสนองการเติบโตของระบบทุนอย่างไม่เคยมีมาก่อน ที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือยังเป็นรัฐธรรมนูญที่หวังจะให้มีการสืบทอดอำนาจรัฐบาลทหารผ่านกลไกที่มีการจัดตั้งขึ้นตามเจตนาที่จะทำให้รัฐข้าราชการ (ทหาร) เข้มแข็งกว่าอำนาจประชาชน และน่าเชื่อว่าจะนำไปสู่การสืบทอดอำนาจไปอีกชั่วเวลาหนึ่ง
เราเห็นว่า กลไกยุทธศาสตร์ชาตินั้นเป็นสิ่งที่จะนำมาซึ่งการควบคุมประเทศให้เดินไปตามทางที่ คสช. ต้องการอย่างยาวนาน เมื่อเราพิจารณาการออกแบบของคณะรัฐประหารครั้งนี้ในภาพรวมจะพบว่า กลไกที่ออกแบบมานั้นเป็นไปเพื่อสนองตอบการเติบโตของกลุ่มทุน มิได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมและหลักประกันสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนโดยรวม ฉะนั้นการทำความจริงให้ชัดเจนเป็นภารกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของประชาชน
การเข้าร่วมอื่นใดกับรัฐบาลทหารของภาคประชาชน เช่น การเข้าร่วมมีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ, อนุกรรมการบูรณาการและขับเคลื่อนการปฏิรูปเชิงระบบและโครงสร้างในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.), อนุกรรมการการมีส่วนร่วมเพื่อการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น การกระทำเช่นนี้คือการยินยอมเข้าร่วมกับกลไกของรัฐบาลทหารที่เพิกเฉยต่อสิทธิชุมชนและจะทำให้ประเทศไปสู่ความทุกข์ยากในอนาคตอันใกล้ ความจริงซึ่งควรจะปรากฏให้ประชาชนได้เรียนรู้นั้นกลายเป็นความพร่ามัวต่อทิศทางการขับเคลื่อนสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ชัดเจนและมีพลังได้
เพื่อให้ความจริงปรากฏเป็นที่เรียนรู้ของประชาชนเครือข่ายนักพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งได้ลงชื่อร่วมกันนี้ ขอแสดงจุดยืนต่อการไม่ร่วมกับกลไกใดๆ ของรัฐบาลทหารที่จะนำไปสู่กับดักและสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลในการสร้างความทุกข์ยากให้กับประชาชนในอนาคตเว้นเพียงการร่วมมือกันทำงานกับส่วนราชการซึ่งมีมาแต่เดิมแล้ว
ด้วยปณิธานในการกำหนดอนาคตตนเองของประชาชน
20 พฤศจิกายน 2560
1. นายเอกชัย อิสระทะ
2. นายสมบูรณ์ คำแหง
3. นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล
4. นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์
5. นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์
6. นายสิริศักดิ์ สะดวก
7. นายรณชัย ชัยนิวัฒนา
8. นายณัฐวุฒิ อุปปะ
9. นายสุรชัย ตรงงาม
10. นางสาวสุภาภรณ์ มาลัยลอย
11. นายกฤษดา ขุนณรงค์
12. นางสาวละม้าย มานะการ
13. นายกิตติภพ สุทธิสว่าง
14. นางสาวศุภวรรณ ชนะสงคราม
15. นายชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์
16. นายศักดิ์กมล แสงดารา
17. นางสาวจุฑา สังขชาติ
18. นางสาวจินดารัตน์ เพิ่มลาภวิรุฬห์
19. นางสาวสุธาวัลย์ บัวพันธ์
20. นางสาวบัณฑิตา อย่างดี
21. นางสาวกรรณิการ์ แพแก้ว
22. นายมงคล หมวกดำ
23. นางสาวเสาวคนธ์ รสสุคนธ์
24. นางสาววรรณิศา จันทร์หอม
25. นายพร้อมศักดิ์ จิตจำ
26. นางสาวโชติมา สมัครพงศ์
27. นางสาวบารีย๊ะ ยาดำ
28. นางณัฑฐวรรณ อิสระทะ
29. นางสาว ฐิตารัตน์ แก้วศร
30. นายนิติกร ค้ำชู
31. นางพิมพ์วิมล พลพิทักษ์
32. นายวิทวัจน์ ทองบุ
33. นายอาทิตย์ พิลาบุตร
34. นายจักรพงศ์ ธนวรพงศ์
35. นายกรชนก แสนประเสริฐ
36. นางสาวเปรมฤดี ดาวเรือง
37. นายยงยุทธ ดงประภา
38. นายยงยุทธ พงสาลี
39. นางปรียานุช ป้องภัย
40. น.ส.แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา
41. นายปฏิวัติ เฉลิมชาติ
42. นางสาวศิรินาฎ มาตรา
43. นายอิทธิฤทธิ์ สุวรรณคำ
44. นางสาววรีรัตน์ ชูวา
45. นางสาวจินตนา ศรีนุเดช
46. นางสาวพงศ์สุดา กาศยปนันท์
47. นางสาวณัฐพร อาจหาญ
48. นายอกนิษฐ์ ป้องภัย
49. นางสาวชวกร ศรีโสภา
50. นางจรูญพิศ จันทะศรี
51. นายสุนทร ยุขะสี
52. นางสาวณภาวรรณ ผิวขม
53. นางปราณี ยิ่งรุ่งโรจน์
54. นายศตคุณ คนไว
55. นายธีระศักดิ์ ศรีเดช
56. นายประกาศ เรืองดิษฐ์
57. นางสาวดรุณี บุตรสุ
58. นางสาวสดใส สร่างโศรก
59. นายภานุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์
60. นายมารุต พลายอยู่วงษ์
61. นายโกวิทย์ บุญเจือ
62. นายเดชา เปรมฤดีเลิศ
63. นายพงศ์ศักดิ์ สายวรรณ์
64. นายคำพอง เทพาคำ
65. จุฑามาศ ศรีหัตถผดุงกิจ
66. นางสาวชฎาพร ชินบุตร
68. นางสาวบุบผาทิพย์ แช่มนิล
67. นาย สมนึก จงมีวศิน
68. นางสาวศุภมาศ มะละสี
69. นายสุทธิเกียรติ คชโส
70. นายอัมรินทร์ สายจันทร์
71. นางสาวมนัญญา พูลศิริ
72. นางสาวชนะจิต รอนใหม่
แสดงความคิดเห็น