Pinkaew Laungaramsri
ช่วงปีที่ผ่านมา ดิฉันนั่งอ่านงานศึกษาเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษในที่ต่างๆ กลุ่มคนที่ผลิตงานจำนวนนี้ออกมามากที่สุด ได้แก่นักเศรษฐศาสตร์ที่ปรึกษาของธนาคารโลกและเอดีบี มีงานเศรษฐศาสตร์ในสายเศรษฐศาสตร์การเมืองบ้าง และในสายอื่นๆบ้างเล็กน้อย งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มวิจัยชายแดนศึกษา 4 มหาลัยที่มีโจทย์ร่วมกันในเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในส่วนที่ดิฉันรับผิดชอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อประมวลให้เห็นว่า SEZ ที่มักอ้างว่าประสบความสำเร็จนั้น มีเงื่อนไขมาจากอะไรบ้าง และในประเทศที่ล้มเหลวนั้นเกิดจากอะไร
อ.พอพันธุ์ อุยยานนท์ และอ.สมชัย ภัทรธนานันท์ ได้กรุณาอ่านร่างงานวิจัย และให้ความเห็นที่น่าสนใจมากในวันนี้ ทั้งสองท่านเห็นตรงกันว่า บริบทที่สำคัญและจำเป็นต้องนำมาพิจารณาคือ รัฐ อ.พอพันธุ์บอกว่า หลังจากอ่านกรณีศึกษาต่างๆที่ดิฉันยกมาแล้ว เห็นว่า กลุ่มประเทศที่ประสบความสำเร็จนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศอุตสาหกรรมมาทีหลังที่ได้ประโยชน์ของการเรียนรู้บทเรียนก่อนหน้าและมีต้นทุนต่ำทางเทคโนโลยี รัฐมีบทบาทอย่างมากในการใช้ SEZ เป็นเครื่องมือในการก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจ SEZ มักประสบความสำเร็จในรัฐที่เข้มแข็ง และล้มเหลวในรัฐที่อ่อนแอ ส่วนอ.สมชัย เห็นว่าถ้ากลับไปดูงานในสาย developmental state จะพบว่า รัฐที่สามารถจัดการกับ rent seeking ได้ มี rent seeking ต่ำ มักสามารถพาตัวเองออกจากความอ่อนแอ และก้าวกระโดดสร้างความเข้มแข็งทางอุตสาหกรรมได้ SEZ ในประเทศเหล่านี้ อาทิ จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ ตลอดจน เกาหลีใต้ จึงมักไปได้ไกล
อ.พอพันธุ์เห็นว่า ไทยไม่เคยเป็น strong state อาจเคยมี strong government บางช่วง แต่เป็นรัฐที่อ่อนแอมาโดยตลอด เต็มไปด้วย rent seeking คิดและทำได้แต่การแข่งขันระยะสั้น ที่เน้นเรื่อง labor intensive แต่ไม่เคยผลักดันให้เกิดนโยบายที่จะสร้างการแข่งขันเชิงเทคโนโลยีได้ ไม่มีวิสัยทัศน์ที่จะทะยานไปข้างหน้า
กรณีเขตเศรษฐกิจพิเศษ ไม่เพียงแต่ไทยมาช้า แต่ได้ตกขบวนประวัติศาสตร์ไปเรียบร้อยแล้ว และภายใต้รัฐที่อ่อนแอ ที่มีต้นทุนค่าเช่าทางเศรษฐกิจสูงแบบไทย ย่อมไม่มีปัญญาไปแข่งกับใครเขาได้
ช่วงปีที่ผ่านมา ดิฉันนั่งอ่านงานศึกษาเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษในที่ต่างๆ กลุ่มคนที่ผลิตงานจำนวนนี้ออกมามากที่สุด ได้แก่นักเศรษฐศาสตร์ที่ปรึกษาของธนาคารโลกและเอดีบี มีงานเศรษฐศาสตร์ในสายเศรษฐศาสตร์การเมืองบ้าง และในสายอื่นๆบ้างเล็กน้อย งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มวิจัยชายแดนศึกษา 4 มหาลัยที่มีโจทย์ร่วมกันในเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในส่วนที่ดิฉันรับผิดชอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อประมวลให้เห็นว่า SEZ ที่มักอ้างว่าประสบความสำเร็จนั้น มีเงื่อนไขมาจากอะไรบ้าง และในประเทศที่ล้มเหลวนั้นเกิดจากอะไร
อ.พอพันธุ์ อุยยานนท์ และอ.สมชัย ภัทรธนานันท์ ได้กรุณาอ่านร่างงานวิจัย และให้ความเห็นที่น่าสนใจมากในวันนี้ ทั้งสองท่านเห็นตรงกันว่า บริบทที่สำคัญและจำเป็นต้องนำมาพิจารณาคือ รัฐ อ.พอพันธุ์บอกว่า หลังจากอ่านกรณีศึกษาต่างๆที่ดิฉันยกมาแล้ว เห็นว่า กลุ่มประเทศที่ประสบความสำเร็จนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศอุตสาหกรรมมาทีหลังที่ได้ประโยชน์ของการเรียนรู้บทเรียนก่อนหน้าและมีต้นทุนต่ำทางเทคโนโลยี รัฐมีบทบาทอย่างมากในการใช้ SEZ เป็นเครื่องมือในการก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจ SEZ มักประสบความสำเร็จในรัฐที่เข้มแข็ง และล้มเหลวในรัฐที่อ่อนแอ ส่วนอ.สมชัย เห็นว่าถ้ากลับไปดูงานในสาย developmental state จะพบว่า รัฐที่สามารถจัดการกับ rent seeking ได้ มี rent seeking ต่ำ มักสามารถพาตัวเองออกจากความอ่อนแอ และก้าวกระโดดสร้างความเข้มแข็งทางอุตสาหกรรมได้ SEZ ในประเทศเหล่านี้ อาทิ จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ ตลอดจน เกาหลีใต้ จึงมักไปได้ไกล
อ.พอพันธุ์เห็นว่า ไทยไม่เคยเป็น strong state อาจเคยมี strong government บางช่วง แต่เป็นรัฐที่อ่อนแอมาโดยตลอด เต็มไปด้วย rent seeking คิดและทำได้แต่การแข่งขันระยะสั้น ที่เน้นเรื่อง labor intensive แต่ไม่เคยผลักดันให้เกิดนโยบายที่จะสร้างการแข่งขันเชิงเทคโนโลยีได้ ไม่มีวิสัยทัศน์ที่จะทะยานไปข้างหน้า
กรณีเขตเศรษฐกิจพิเศษ ไม่เพียงแต่ไทยมาช้า แต่ได้ตกขบวนประวัติศาสตร์ไปเรียบร้อยแล้ว และภายใต้รัฐที่อ่อนแอ ที่มีต้นทุนค่าเช่าทางเศรษฐกิจสูงแบบไทย ย่อมไม่มีปัญญาไปแข่งกับใครเขาได้
แสดงความคิดเห็น