Posted: 31 Oct 2017 12:08 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เผยเตรียมร้องผู้ตรวจการแผ่นดินเอาผิด 'หัวหน้า.คสช. - มีชัย' กรณีแต่งตั้งลูกสาวมากินตำแหน่งรองเลขาธิการ 1 พ.ย.นี้ ชี้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กันและกันของ หัวหน้า คสช.และประธาน กรธ.


แฟ้มภาพ

31 ต.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ว่า วันพุธที่ 1 พ.ย. 2560 เวลา 10.30 น. ณ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ชั้น 9 ห้อง 903 ศูนย์ราชการฯ อาคาร B สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จะร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อดำเนินการไต่สวนเอาผิดและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อ หัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กรณีแต่งตั้งบุตรสาวของ มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และมือกฎหมายของ คสช.ให้ดำรงตำแหน่ง “รองเลขาธิการ” ประจำตัวของ มีชัย โดยได้รับเงินค่าตอบแทนจากภาษีของประชาชนจำนวน 47,500 บาทมาตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2557 มาจนถึงปัจจุบันนั้น โดยระบุว่าเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กันและกันของ หัวหน้าคสช.และประธาน กรธ.

มีชัย แจง ลูกสาวนั่งรองเลขาฯ ตนเอง เหตุไว้ใจได้รักษาความลับได้

ศรีสุวรรณ แจ้งด้วยว่าตามที่ปรากฏเป็นการทั่วไปว่า หัวหน้า คสช. ได้แต่งตั้งบุตรสาวของ มีชัย ดำรงตำแหน่ง “รองเลขาธิการ” ประจำตัวของ มีชัย โดยได้รับเงินค่าตอบแทนจากภาษีของประชาชนจำนวน 47,500 บาท มาตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2557 มาจนถึงปัจจุบันนั้น การกระทำดังกล่าว เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กันและกันของ หน.คสช.และประธาน กรธ. โดยใช้เงินภาษีของประชาชนเป็นค่าตอบแทน ผ่านกลไกที่แยบยลด้วยการกำหนดอัตราตำแหน่งและค่าตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานใน คสช. โดยการออกประกาศ คสช.ที่ 93/2557 ซึ่งฝ่ายกฎหมายเป็นคนยกร่างนั่นเอง

การใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. และประธาน กรธ. จึงเข้าข่ายการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของรัฐ และขัดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง 2551 ข้อ 8 ข้อ 14 ข้อ 16 และข้อ 22 และยังขัดต่อ
พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 100 และมาตรา 103 โดยชัดแจ้ง
2)กรณีที่ปรากฏเป็นการทั่วไปว่า บิ๊ก 3 ป. ได้แก่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ได้ร่วมมือกันเสนอและอนุมัติให้มีการจัดซื้อ-จัดหาเครื่องตรวจจับความเร็วแบบพกพา 849 เครื่อง ๆละ 575,000 บาท รวมมูลค่า 573 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่แพงกว่าท้องตลาดหลายเท่าตัว โดยการใช้เล่ห์ฉลในการกำหนด Spec ของเครื่องให้สูงมากนั้น การร่วมมือกันใช้อำนาจดังกล่าว เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการที่ขัดต่อกฎหมายหลายฉบับ อาทิ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ป. ป.ป.ช.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม และ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 ฯลฯ

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.