iLaw

ใช้ พ.ร.บ.คอมฯ ฟ้องปิดปาก ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย

ดูเหมือน มหากาพย์การใช้ พ.ร.บ.คอมฯ หรือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อ 'ปิดปาก' สื่อ จะกลายเป็นหนังม้วนยาว เนื่องจากบางมาตราของกฎหมายฉบับนี้ยังถูกนำมาใช้อย่างผิดเจตนารมณ์

มาตรา 14 (1) ของ พ.ร.บ.คอมฯ ปี 2550 เป็นหนึ่งในมาตราเจ้าปัญหา และมักถูกหยิบมาใช้ฟ้องพ่วงกับข้อหาหมิ่นประมาท เนื่องจากข้อความตามกฎหมายมีความกำกวมและสามารถตีความเอาผิดคนจากการโพสต์เฟสบุ๊กหรือโพสต์ข้อความในอินเทอร์เน็ตได้

แต่หัวใจของมาตรา 14 (1) จริงๆ แล้วคือ การป้องกันและปราบปรามการปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น การปลอมหน้าเว็บไซต์ให้ผู้ใช้เข้าใจผิดเพื่อขโมยข้อมูลของผู้ใช้ หรือที่เรียกว่า Phishing

แม้ว่า สนช. ชุดปัจจุบัน พยายามจะลบล้างผลพ่วงของกฎหมายฉบับนี้ ด้วยการแก้ไขและเพิ่มข้อความเพื่อป้องกันไม่ให้ใช้กับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

แต่ทว่า สนช. กลับไปเพิ่มข้อความคำว่า 'บิดเบือน' ลงไป สุดท้าย กฎหมายฉบับนี้จึงยังถูกใช้เพื่อขู่หรือฟ้องปิดปาก สื่อ นักเคลื่อนไหว และประชาชน ที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐหรือเอกชน

ล่าสุด แม้แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. และนายกรัฐมนตรี ก็ยังเข้าใจผิด คิดว่า กฎหมายฉบับนี้ ถูกใช้เพื่อควบคุมการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์..


//////////////////////////////////

อ่านบทความเรื่องปัญหารแก้ไข พ.ร.บ.คอมฯ ปี 2560 ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/4399

อ่านความเห็นเจตนารมณ์ของคนร่างกฎหมาย พ.ร.บ.คอมฯ ได้ที่ https://ilaw.or.th/node/4513

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.