โรงบำบัดน้ำเสียใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่กรุงวอชิงตัน
โรงบำบัดน้ำเสียในกรุงวอชิงตันช่วยพิทักษ์แหล่งน้ำและสิ่งเเวดล้อม

โรงบำบัดน้ำเสียที่กรุงวอชิงตันถือเป็นโรงงานบำบัดน้ำเสียที่ใหญ่ที่สุดในโลก Chris Peot วิศวกรด้านขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียแห่งสำนักงานน้ำกรุงวอชิงตัน หรือ DC Water กล่าวว่า ทางสำนักงานบำบัดน้ำเสียที่สร้างโดยประชาชนมากกว่าสองล้านคนในกรุงวอชิงตัน

สำนักงาน DC Water ใช้หลายขั้นตอนในการกำจัดเอาขยะของเเข็งและสารอินทรีย์ออกจากน้ำเสียที่โรงงานบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่เเห่งนี้ ขั้นตอนนี้เริ่มต้นด้วยการกำจัดขยะอินทรีย์ออกจากน้ำเสียก่อนเป็นอันดับเเรก

Chris Peot วิศวกรขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย กล่าวว่า ขยะที่แยกได้เป็นเพียงสิ่งเดียวที่ทางโรงงานไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยขยะอินทรีย์ที่เเยกได้จะถูกนำไปฝังในหลุมฝังกลบขยะ ในขณะที่น้ำเสียปริมาณมหาศาลจะไหลผ่านเข้าไปในโรงงานบำบัดเป็นประจำทุกวัน



เเละในขั้นตอนนี้ จะมีจุลินทรีย์ปริมาณมากช่วยย่อยสารไนโตรเจนอินทรีย์ในน้ำ

Chris Peot วิศวกรเเห่ง DC Water กล่าวว่า ตะกอนจุลินทรีย์เป็นฟองลอยอยู่เหนือน้ำ จะสร้างกระบวนการทางชีวภาพที่ช่วยเปลี่ยนสภาพแอมโมเนียไนโตรเจนให้เป็นไนเตรต เเล้วเปลี่ยนไนเตรตให้เป็นเเก๊สไนโตรเจน โดยใช้ออกซิเจน และขั้นตอนนี้ช่วยป้องกันไม่ให้ไนโตรเจนลงไปในอ่าว Chesapeake

ตะกอนจุลินทรีย์ในน้ำเสียยังมีประโยชน์ในขั้นตอนที่สองของการบำบัดน้ำเสียอีกด้วย โดยฟองอากาศที่ขึ้นมาจากก้นบ่อบำบัดที่ลึก 9 เมตรกว่า ช่วยกระจายจุลินทรีย์เพื่อให้สามารถทำงานย่อยของเสียได้อย่างทั่วถึง

ขั้นตอนที่สองเป็นการบำบัดด้วยระบบที่เรียกว่าแอคติเวทเต็ดสลัดจ์ (activated sludge) ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีจุลินทรีย์เเขวนลอยอยู่ในระบบ ระบบกำจัดน้ำเสียด้วยกระบวนการทางชีวภาพจะมีกากตะกอนจุลิน ทรีย์หรือที่เรียกว่า “สลัดจ์” เป็นผลพลอยได้เสมอ ขั้นตอนที่สองนี้จะมีการกำจัดกากตะกอนจุลินทรีย์แขวนลอยนี้ออกจากน้ำ โดยในขั้นตอนนี้ กากตะกอนจุลินทรีย์จะเต็มไปด้วยเเก๊สคาร์บอน เเละจะถูกส่งไปยังถังย่อยเพื่อเปลี่ยนสภาพให้เป็นพลังงาน ถังย่อยนี้เป็นระบบที่ใช้เเรงดันและความร้อนสูงมากที่เรียกว่า "ระบบถังย่อยเทอร์มัล - ไฮโดรไลซิส" (thermal-hydrolysis)

Chris Peot กล่าวว่า ถังย่อยในโรงบำบัดน้ำเสิยแห่งนี้ก็เหมือนกับกระเพาะอาหารของกรุงวอชิงตัน ในถังย่อยมีอาร์เคียเเบคทีเรียอยู่อย่างหนาเเน่น คนเราก็มีอาร์เคียเเบคทีเรียในกระเพาะอาหารเพื่อช่วยในการย่อยอาหารเเละผลิตแก๊สออกมาเป็นครั้งคราว

อาร์เคียเเบคทีเรีย (Archaebacteria) เป็นแบคทีเรียที่มีลักษณะพิเศษคือสามารถอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตอื่นได้ เช่น ในสภาพที่มีแก๊สมีเทนหรือสภาพไร้อากาศ มีการกักเเก๊สที่ผลิตได้ในถังย่อยเเละใช้เป็นพลังงาน

สำนักงาน DC Water ผลิตกระเเสไฟฟ้าไว้ใช้เองได้ถึง 1 ใน 3 ของปริมาณที่โรงงานบำบัดน้ำเสียต้องใช้ทั้งหมดที่ 25 เมกะวัตต์ เเละยังนำเอาขยะเเขวนลอยที่แยกได้จากน้ำเสียไปใช้เป็นปุ๋ยอีกด้วย

Chris Peot วิศวกรเเห่ง DC Water กล่าวว่า ได้นำขยะที่แยกได้จากน้ำเสียไปใช้เป็นปุ๋ยในชุมช นและเขาเองก็ใช้ขยะจากโรงบำบัดน้ำเสียเป็นปุ๋ยใส่หญ้าเเละเเปลงดอกไม้และผักที่บ้าน เขาปลูกมะเขือเทศกับเเตงกวาเอาไว้รับประทานกันเองในครอบครัวเพราะรู้ดีว่าปลอดภัยสำหรับทุกคน

Peot บอกว่า เเม้เเต่ในช่วงที่ประสบกับภาวะน้ำเสียเพิ่มปริมาณมากขึ้นเนื่องจากพายุครั้งใหญ่ที่ผ่านมา โรงงานบำบัดนำเสียอย่างโรงงานเเห่งนี้ในกรุงวอชิงตันจะยังสามารถทำงานได้เป็นปกติเพื่อช่วยปกป้องระบบนิเวศของท้องถิ่น

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)


http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=166098355606110479

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.