Posted: 09 Aug 2018 05:17 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Thu, 2018-08-09 19:17


นักคิดเสรีนิยมใหม่ต้องการให้อิสรภาพแก่ทุนนิยมโดยเฉพาะตลาดและทุน ลดบทบาทรัฐให้เหลือน้อยที่สุด ลดนโยบายที่กำกับทุนนิยมเอาไว้รวมทั้งระบบสวัสดิการ ผลทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นในกลุ่มประเทศ OECD

ในการอภิปราย "ความท้าทายที่เสรีนิยมใหม่คิดไม่ถึงกับโลกหลังศตวรรษที่ 21 ในมุมมองเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และประวัติศาสตร์" ตอนหนึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงนักคิดเสรีนิยมใหม่ว่าต้องการให้อิสรภาพแก่ทุนนิยมโดยเฉพาะตลาดและทุน และลดบทบาทรัฐให้เหลือน้อยที่สุด ลดนโยบายที่กำกับทุนนิยมเอาไว้รวมทั้งระบบสวัสดิการ ผลทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นในกลุ่มประเทศ OECD (อ่านรายละเอียด)

โดยผาสุกอภิปรายว่า "หัวใจของนักคิดตลาดเสรีทั้งหลายคือเสนอว่าทุนนิยมจะเติบโตต่อไปได้ ต้องให้อิสรภาพแก่ทุนนิยม ด้วยการยกเลิกเพิกถอนกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่มันพันธนาการทุนอยู่ แล้วก็รวมทั้งนโยบายต่างๆ ที่กำกับทุนนิยมไว้ รวมทั้งระบบรัฐสวัสดิการต้นทุนสูง รวมทั้งลดบทบาทรัฐให้เหลือน้อยที่สุด"

"อย่าง Friedrich Hayek ก็เป็นนักคิดแนวตลาดเสรีที่เรียกว่าสุดๆ เลยนะ แต่ Hayek ก็ยังดีกว่าบางคน ที่ยังยอมรับว่าบทบาทรัฐในเรื่องการทหาร กฎหมาย แล้วการควบคุมความสงบภายในก็พอรับได้ แล้วก็ยังพอรับได้บ้างว่าสาธารณูปโภคบางอย่างที่ตลาดไม่สามารถจัดหาได้ รัฐบาลจัดการก็พอรับได้ แต่จริงๆ แล้วอยากให้ไม่มีรัฐบาล มีรัฐบาลน้อยที่สุด อยากให้ทุกอย่างทำงานโดยตลาด"


กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด: ไทย ตัวละครที่ถูกชักใยบนเวทีทุนนิยมโลกถึงเสรีนิยมใหม่

ผาสุก พงษ์ไพจิตร: ชัยชนะของเสรีนิยมใหม่ในสงครามความคิดและความเหลื่อมล้ำที่ขยายตัว

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ: กลุ่มจารีตไทยในกระแสต้านเสรีนิยม

เวลาพูดถึงการเปิดเสรีตลาดทุน จะไม่พูดถึงการเปิดเสรีตลาดแรงงานข้ามชาตินะ คือถ้าเปิดเสรีตลาดแรงงานแต่เฉพาะภายในประเทศ แล้วก็ประเด็นที่บอกว่าต้องการให้เปิดเสรีการเงินทั่วประเทศก็เป็นส่วนสำคัญของ Neoliberalism

แล้วก็ข้อเสนอของพวกนี้ที่ว่านโยบายชุดใหม่ที่จะมากับ Neoliberalism จะทำให้ทุนนิยมเบ่งบานด้วยการทำลายที่สร้างสรรค์ ที่เรียกว่า Creative Destruction ข้อเสนอเหล่านี้ดึงดูดใจนักธุรกิจ เพราะจะทำให้สัดส่วนของค่าจ้างลดลง แต่ผลกำไรเพิ่ม

การเปิดเสรีตลาดแรงงานหมายความว่าจะลดกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่กำกับตลาดแรงงาน เช่น ค่าจ้างขั้นต่ำ การให้เสรีภาพให้สิทธิกับสหภาพที่จะเจรจาต่อรองกับนายจ้าง ซึ่งสำหรับพวกเสรีนิยมใหม่ไม่ชอบสหภาพแรงงาน ไม่ชอบการเจรจาต่อรองใดๆ

"เรื่องต่อมาคือผลสะเทือนสู่โลก เป็นผลพวงของเสรีนิยมใหม่ ที่กลุ่มประเทศโออีซีดีนำไปปรับใช้เกือบทั้งหมด คือความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น ปัญหาสุขภาพ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาความเครียด ปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ซึ่งในบางประเทศรุนแรงถึงกับตกลงกันไม่ได้ว่าจะร่วมมือพัฒนาประเทศไปในแนวทางไหนดี คุณคงนึกออกว่าเป็นประเทศไหน"

เรื่องช่องว่างรายได้ที่ถ่างขึ้นระหว่างคนกลุ่มต่างๆ มันเป็นเรื่องจริง เพราะว่าโออีซีดีเพิ่งทำการศึกษาไปเมื่อปี 2014 ศึกษาประสบการณ์การใช้แนวคิดเสรีนิยมใหม่ใน 35 ประเทศสมาชิกจากช่วงปี 1980-2000 พบว่า ค่าจีนี (ตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำมีค่าระหว่าง 0-1 ยิ่งเข้าใกล้ 1 แสดงว่าความเหลื่อมล้ำยิ่งสูง) เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยจาก 0.29 ในปี 1980 เป็น 0.32 ในปี 2000 และยังพบว่าจีดีพีเติบโตในอัตราช้าลง และได้ประมาณการต่อไปว่าในอนาคตจีดีพีของโออีซีดีทั้งกลุ่มจะลดลงต่อไปปีละ 0.35 เปอร์เซ็นต์ และในปีสุดท้ายจีดีพีจะหดตัว 10 เปอร์เซ็นต์ มันจะเป็นอย่างนี้ไปอีก 25 ปี เพราะเขาพบว่าความเหลื่อมล้ำมีการตกทอดจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูก ขณะที่ของประเทศไทยค่าจีนีอยู่ที่ 0.41 กว่าๆ และสมัยที่ความเหลื่อมล้ำของเราสูงมากๆ คือ 0.456 เมื่อปี 1992 แต่เราก็ยังสูงอยู่


[right-side]

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.