Geoffrey Kirui of Kenya leads Galen Rupp of the United States and the rest of the field along the course of the 121st Boston Marathon in Brookline, Massachusetts, April 17, 2017.

ผลการศึกษาชิ้นใหม่ในสหรัฐฯ พบว่าในวันที่มีการเเข่งขันวิ่งมาราธอนในเมืองต่างๆ ในสหรัฐฯ รถพยาบาลฉุกเฉินจะใช้เวลานานกว่าเดิมในการนำผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาล เพราะถนนหลายสายต้องปิดการจราจร

ทีมนักวิจัยยังระบุด้วยว่า "คนวัยทองที่ล้มป่วยในวันที่มีการเเข่งขันมาราธอน มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเสียชีวิต"

ผลการศึกษานี้ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine พบว่า รถพยาบาลฉุกเฉินในเมืองใหญ่ที่สุด 11 เมืองในสหรัฐฯ จะใช้เวลาเดินทางนานขึ้นโดยเฉลี่ย 4.4 นาที ในการนำตัวผู้ป่วยสูงวัยไปส่งโรงพยาบาลในช่วงก่อนเที่ยงวันของวันที่มีการเเข่งขันวิ่งมาราธอน เมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนเเละหลังการเเข่งขัน

เเต่รถพยาบาลฉุกเฉินในเมืองเหล่านี้ไม่เจอกับปัญหาเดียวกันนี้ในการนำตัวผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาลในตอนเย็นของวันที่มีการเเข่งขันวิ่งมาราธอน เพราะถนนเปิดใช้การได้ตามปกติ

ผลการศึกษานี้ยังพบด้วยว่า ผู้ป่วยสูงวัยที่มีสิทธิ์ล้มป่วยกระทันหันด้วยอาการหัวใจวายหรือหัวใจหยุดเต้น ในวันที่มีการเเข่งขันมาราธอน มีความเสี่ยงสูงขึ้น 13 เปอร์เซ็นต์ต่อการเสียชีวิตภายใน 30 วันต่อมา เมื่อเทียบกับผู้ป่วยประเภทเดียวกันที่ล้มป่วยด้วยสาเหตุเดียวกันในวันอื่นๆ

ไม่ว่าผู้ป่วยจะเดินทางถึงโรงพยาบาลด้วยรถพยาบาลฉุกเฉินหรือด้วยวิธีอื่นก็ตาม

จากการศึกษาพบว่า การปิดถนน การนำรถพยาบาลฉุกเฉินไปใช้ในงานอื่นๆ และการเดินทางถึงโรงพยาบาลล่าช้า ล้วนเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ป่วยหัวใจวายในการศึกษาเสียชีวิตสูงขึ้น

ทีมงานวิจัยได้เเนะนำให้เมืองใหญ่เมืองต่างๆ ทั่วสหรัฐฯ พิจารณาถึงความเสี่ยงนี้ในระหว่างการเตรียมตัวจัดงานสาธารณะครั้งใหญ่

Dr. Anupam Jena สมาชิกทีมนักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า ผลการศึกษานี้ไม่ได้เสนอเเนะว่าเมืองใหญ่ต่างๆ ควรงดจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอน

โดยเมืองใหญ่ 11 เมืองของสหรัฐฯ ที่ทีมนักวิจัยศึกษา รวมทั้ง เมือง Boston, เมือง Chicago, เมือง Honolulu, เมือง Houston, นคร Los Angeles, นคร New York, เมือง Philadelphia, เมือง Seattle และ กรุง Washington

Dr. Jena กล่าวว่า การเเข่งขังวิ่งมาราธอนเป็นงานสาธารณะที่สร้างความสนุกสนานเเก่ประชาชน จึงไม่ควรยกเลิกการเเข่งขัน และผลการศึกษาของทีมงานนี้มุ่งสร้างความตื่นตัวต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไม่จงใจจากการเเข่งขันวิ่งมาราธอน เเละควรหาทางออกเเก่ปัญหา

ข้อมูลจาก Running USA ชี้ว่า ในสหรัฐฯ จำนวนการจัดการเเข่งขันวิ่งมาราธอนเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มจากทั้งหมด 850 ครั้งในการวิ่งระยะทาง 26.2 ไมล์ ในปี ค.ศ. 2012 เป็น 1,100 ครั้งในปีค.ศ. 2015

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบด้วยว่า ผู้ป่วยหัวใจวายที่ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในวันที่มีการเเข่งขันมาราธอน มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเกิดอาการหัวใจหยุดเต้น

ด้านศาสตราจารย์ด้านโรคหัวใจเเละหลอดเลือดที่มหาวิทยาลัยมิชิเเกน Brahmajee Nallamothu ชี้ว่า "การล่าช้าในการรักษาพยาบาล อาจเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสี่ยงมากขึ้นต่อการเกิดอาการหัวใจหยุดเต้น"

source ;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=065998357400710074

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.