ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Western Sydney เปิดเผยผลการศึกษาเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งสร้างข้อสงสัยต่อความเชื่อในระดับทั่วโลกว่า เเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเป็นประโยชน์ต่อต้นไม้และต้นไม้ช่วยลดปริมาณแก๊สชนิดนี้ในอากาศลงได้จริงหรือ?

ทีมนักวิจัยชาวออสเตรเลียกล่าวว่า ผลการศึกษาชี้ว่าตัวเลขปริมาณเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต้นไม้สามารถดูดซับเอาไว้ น่าจะสูงเกินความเป็นจริง

ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยออสเตรเลียได้ติดตามศึกษาป่าต้นยูคาลิปตัสที่บริเวณชานเมืองของซิดนีย์ เพื่อวัดดูระดับการสั่งสมของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับสูงสู่ต้นไม้ในพื้นที่ศึกษาผ่านท่อสูง 28 เมตรหลายท่อ

การศึกษาพบว่าคุณภาพของดินที่เสื่อมลง โดยเฉพาะการขาดสารฟอสฟอรัสในดินซึ่งเป็นสารอาหารหลักของต้นไม้ มีผลให้ต้นไม้ประจำถิ่นของออสเตรเลียไม่สามารถดูดซับเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพิ่มขึ้น


Eucalyptus trees

ศาสตราจารย์ David Ellsworth แห่งมหาวิทยาลัย Western Sydney เชื่อว่าผลการศึกษานี้อาจจะมีผลกระทบรุนเเรงต่อพื้นที่ป่าในเขตกึ่งร้อนและป่าเขตร้อน เขากล่าวว่าผลการศึกษานี้เป็นตัวชี้ถึงผลกระทบแบบเดียวที่อาจพบในพื้นที่ป่าที่ดินขาดสารฟอสฟอรัสแบบเดียวกับดินในออสเตรเลีย

ทีมงานพบความเหมือนกันหลายประการระหว่างพื้นที่ป่าในซิดนีย์ที่ทีมงานศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ป่าเขตร้อนอื่นๆ

ผลการศึกษานี้ชี้ว่าดินที่เสื่อมคุณภาพเพราะขาดฟอสฟอรัสไม่ว่าจะที่ใดก็ตาม จะส่งผลให้ต้นไม้ดูดซับเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้น้อยลง

การทดลองที่เรียกว่า Free Air CO2 Experiment โดยทีมนักวิจัยชาวออสเตรเลียนี้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 2012 หรือห้าปีที่แล้ว และคาดว่าจะดำเนินต่อไปอีกห้าปีจากนี้

โดยการวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยออสเตรเลียและสถาบันอื่นๆ ในต่างประเทศอีกหลายเเห่ง

ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Climate Change ไปเมื่อเร็วๆนี้


source :- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=065997259707216477

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.