นักวิชาการชี้ วิกฤตภัยแล้งและน้ำท่วมจะเกิดถี่ขึ้น เร่งแก้ปัญหาตั้งแต่พื้นที่ชนบทสู่ชุมชนเมือง
นักวิชาการด้านภัยพิบัติและผังเมืองร่วมถกวิกฤตเรื่องน้ำในงานเสวนา “ภัยแล้ง-น้ำท่วม: ความรับผิดชอบจากปลายนาสู่มหานคร” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้วงล้อวิกฤตน้ำแล้งและน้ำท่วมในประเทศไทยจะมีความถี่มากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากธรรมชาติ อีกด้านหนึ่ง มาจากการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด แนะทุกภาคส่วนใช้วิธีบูรณาการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำพร้อมกับให้คนเมืองตระหนักถึงปัญหาก่อนสายเกินแก้
นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) ชี้ว่าวัฏจักรของวิกฤตภัยแล้งหรือน้ำท่วมโดยปกติจะเกิดขึ้นทุกๆ รอบ 8-12 ปี แต่ขณะนี้ลดลงเหลือ 6 ปีต่อครั้ง โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก แต่ระบุว่าอีกสาเหตุสำคัญของประเทศไทย คือ พื้นที่ป่าต้นน้ำลดลง ขณะที่รัฐเน้นแก้ปัญหาด้วยโครงการที่เห็นผลรวดเร็ว เช่นก่อสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำและเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทางน้ำ แต่วิธีการเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ได้น้ำกลับมาสู่ระบบบนิเวศต้นน้ำ
นักวิชาการด้านภัยพิบัติและผังเมืองร่วมถกวิกฤตเรื่องน้ำในงานเสวนา “ภัยแล้ง-น้ำท่วม: ความรับผิดชอบจากปลายนาสู่มหานคร” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้วงล้อวิกฤตน้ำแล้งและน้ำท่วมในประเทศไทยจะมีความถี่มากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากธรรมชาติ อีกด้านหนึ่ง มาจากการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด แนะทุกภาคส่วนใช้วิธีบูรณาการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำพร้อมกับให้คนเมืองตระหนักถึงปัญหาก่อนสายเกินแก้
นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) ชี้ว่าวัฏจักรของวิกฤตภัยแล้งหรือน้ำท่วมโดยปกติจะเกิดขึ้นทุกๆ รอบ 8-12 ปี แต่ขณะนี้ลดลงเหลือ 6 ปีต่อครั้ง โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก แต่ระบุว่าอีกสาเหตุสำคัญของประเทศไทย คือ พื้นที่ป่าต้นน้ำลดลง ขณะที่รัฐเน้นแก้ปัญหาด้วยโครงการที่เห็นผลรวดเร็ว เช่นก่อสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำและเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทางน้ำ แต่วิธีการเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ได้น้ำกลับมาสู่ระบบบนิเวศต้นน้ำ
นายหาญณรงค์ ระบุว่า การฟื้นฟูสภาพป่าให้ได้ผลต้องเน้นที่คนในพื้นที่เป็นสำคัญ เพราะถ้าภาครัฐเป็นเจ้าภาพฝ่ายเดียว ผลลัพธ์จะไม่ยั่งยืน ควรทำให้ชุมชนที่อาศัยอยู่กับป่ารู้สึกว่าเป็นเจ้าของป่า สามารถดำรงวิถีชีวิตอยู่ได้ แต่ไม่มีสิทธิตัดต้นไม้ใหญ่ ซึ่งเป็นแนวทางแก้วิกฤตพื้นที่ต้นน้ำได้มาก และเชื่อว่าการแก้ไขปัญหาในระดับตัวชุมชนและตัวบุคคลที่ง่ายที่สุด คือ ต้องสอดส่องดูแลถ้ามีการก่อสร้างถนนหรืออาคารในพื้นที่ ชุมชนต้องชี้ว่าทิศทางน้ำไหนอยู่ตรงไหน อย่างน้อยเพื่อให้สิ่งก่อสร้างมีความสมดุลกับธรรมชาติมากที่สุด ในส่วนถ้ามีโครงการขอความร่วมมือ เช่นมาตรการลดน้ำ หรือการฟื้นฟูป่า ทุกคนอาจจะเข้าร่วม โดยให้ตระหนักผลลัพธ์ที่จะเกิดกับตัวเองและภาพรวมของประเทศด้วย
ด้าน ดร.ธงชัย โรจนกนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวางผังสถาปัตยกรรมระบบนิเวศ จากกรมโยธาธิการและผังเมือง ระบุว่า ถ้าต้นน้ำป่วยในระดับที่เป็นอยู่นี้ พฤติกรรมการจะใช้น้ำอย่างสบายแบบเดิมของคนเมืองจะต้องเปลี่ยนไป ดังนั้น คนท้ายน้ำต้องเข้าถึงข้อมูลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่เช่นนั้นโอกาสเกิดผลกระทบรุนแรงจะเพิ่มขึ้น โดยระบุว่าเมืองคือศูนย์กลางของการบริโภค คนเมืองจะต้องทบทวนวิธีที่จะเบียดเบียนธรรมชาติให้น้อยที่สุด
ดร.ธงชัย กล่าวในส่วนของภาวะน้ำท่วมคงจะมาคู่กัน พอมีน้ำมากขึ้น ระบบที่ใช้ในการรับมือกับปริมาณน้ำอาจมีปัญหา เช่นเหตุการณ์น้ำเต็มเขื่อนแล้ว แต่มีฝนตกโดยที่เขื่อนไม่สามารถรับน้ำได้ มีโอกาสเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งนี้ ยังมีปัญหาซึ่งเกิดจากคนเมืองหรือภาครัฐเอง คือ การแก้ไขผังเมืองสำหรับการก่อสร้างซึ่งอาจกีดขวางทางน้ำ ส่งผลให้พื้นที่ที่ติดทะเลอย่างเมืองพัทยาหรือ อ.หัวหิน เกิดน้ำท่วมได้ง่าย
ดร.ธงชัย กล่าวว่าปัญหาอีกส่วนที่ทำให้การวางแผนจัดการน้ำทำไม่ได้เต็มที่เพราะบางพื้นที่ที่ควรจะอยู่ในแผนจัดการน้ำถือครองโดยกลุ่มทุน เช่น จ.ปทุมธานี ดังนั้น มาตรการทางกฏหมายเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ภาครัฐควรปรับแก้
ด้าน ดร.ธงชัย โรจนกนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวางผังสถาปัตยกรรมระบบนิเวศ จากกรมโยธาธิการและผังเมือง ระบุว่า ถ้าต้นน้ำป่วยในระดับที่เป็นอยู่นี้ พฤติกรรมการจะใช้น้ำอย่างสบายแบบเดิมของคนเมืองจะต้องเปลี่ยนไป ดังนั้น คนท้ายน้ำต้องเข้าถึงข้อมูลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่เช่นนั้นโอกาสเกิดผลกระทบรุนแรงจะเพิ่มขึ้น โดยระบุว่าเมืองคือศูนย์กลางของการบริโภค คนเมืองจะต้องทบทวนวิธีที่จะเบียดเบียนธรรมชาติให้น้อยที่สุด
ดร.ธงชัย กล่าวในส่วนของภาวะน้ำท่วมคงจะมาคู่กัน พอมีน้ำมากขึ้น ระบบที่ใช้ในการรับมือกับปริมาณน้ำอาจมีปัญหา เช่นเหตุการณ์น้ำเต็มเขื่อนแล้ว แต่มีฝนตกโดยที่เขื่อนไม่สามารถรับน้ำได้ มีโอกาสเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งนี้ ยังมีปัญหาซึ่งเกิดจากคนเมืองหรือภาครัฐเอง คือ การแก้ไขผังเมืองสำหรับการก่อสร้างซึ่งอาจกีดขวางทางน้ำ ส่งผลให้พื้นที่ที่ติดทะเลอย่างเมืองพัทยาหรือ อ.หัวหิน เกิดน้ำท่วมได้ง่าย
ดร.ธงชัย กล่าวว่าปัญหาอีกส่วนที่ทำให้การวางแผนจัดการน้ำทำไม่ได้เต็มที่เพราะบางพื้นที่ที่ควรจะอยู่ในแผนจัดการน้ำถือครองโดยกลุ่มทุน เช่น จ.ปทุมธานี ดังนั้น มาตรการทางกฏหมายเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ภาครัฐควรปรับแก้
แสดงความคิดเห็น