วันนี้ (27 พ.ค.) นายอาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ อาจารย์ประจำสาขาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา โพสต์ข้อความเปิดเผยว่า ขณะนี้มีหนังสือจากผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ส่งไปถึงคณบดีทุกคณะ โดยในหนังสือระบุว่า ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ แจ้งข้อมูลการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พบว่ามีบุคลากรของมหาวิทยาลัย โพสต์แสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้เห็นว่ามหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานของรัฐต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาล และให้ทำการว่ากล่าวตักเตือนและห้ามบุคลากร ว่าไม่ควรโพสต์ข้อความที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม หรือไม่สร้างสรรค์ ซึ่งอาจผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ได้
โดยอ.ท่านดังกล่าวได้โพสต์ข้อความแสดงความเห็น ระบุว่า เมื่อมหาวิทยาลัยสอดส่องเฟสบุคคุณ
ผมได้รับหนังสือเวียนนี้ เป็นบันทึกข้อความส่งถึงคณบดีทุกคนให้กับชับการใช้เฟสบุคของบุคลากรของมหาวิทยาลัย มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่มากดังนี้
1. บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีจำนวนร่วม 1,000 คน มหาวิทยาลัยรู้ได้อย่างไรว่าใคร ใช้เฟสบุคชื่ออะไร และใช้หน่วยงานไหนเป็นคนสอดส่อง
2. ในหนังสือระบุว่า “มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานของรัฐต้องให้ความร่วมมือกับรัฐ” หมายความว่าอย่างไร คือห้ามบุคลากรของมหาวิทยาลัยวิจารณ์ คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐบาล ร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ หรืออย่างไร???????
3. การโพสต์ข้อความหรือแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในเฟสบุค เป็นความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยหรือไม่? หากข้อความดังกล่าวสร้างความแตกแยก ความไม่สงบ หรือผิด พรบ.คอมฯ มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องรับผิดชอบ หรือเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ต้องรับผิดชอบ
4. การที่มหาวิทยาลัยสอดส่องการใช้เฟสบุคของบุคลากร (ผมสัญนิษฐานว่ามีการสอดส่องเรียบร้อยแล้ว ถึงมีหนังสือเวียนฉบับนี้ออกมา) เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และเป็นการคุกคามเสรีภาพในการแสดงออกหรือไม่
ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยอาจจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ต่อสาธารณะชนครับ
ทั้งนี้ นายนพพร ขุนค้า อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 พฤษภาคมนี้ ที่ประชุมสภา มรภ.ราชนครินทร์ ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธาน จะประชุมวาระพิเศษ ซึ่งมีวาระลับ พิจารณาถอดถอนนายอุทัย ศิริภักดิ์ ออกจากตำแหน่งอธิการบดี อ้างว่า ตั้งแต่นายอุทัย ดำรงตำแหน่งมาเป็นเวลา 3 ปี ได้กระทำความผิดในการอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการเพื่อให้ตนเอง และผู้อื่น ได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยทุจริต ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ใช้จ่ายเงินของทางราชการโดยไม่เหมาะสม หย่อนความสามารถ และบริหารงานขาดประสิทธิภาพหลายประการ จึงไม่อาจวางใจให้นายอุทัยปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอธิการบดีต่อไปได้
นอกจากนี้ นายนพพร ยังเปิดเผยว่า เหตุการณ์ที่มีการออกคำสั่งให้บุคลากรร่วมมือรัฐ ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะล่าสุด มีอาจารย์มหาวิทยาลัยรายหนึ่งโพสต์แสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญในทิศทางที่ขัดแย้งกับนายกสภาฯ อีกด้วย
soure:- http://www.matichon.co.th/news/151165
แสดงความคิดเห็น