ส่องจักรวาลจากเทือกเขาสูงในชิลี กับกล้องโทรทรรศน์วิทยุ "อัลมา"
กิเดียน ลอง ผู้สื่อข่าวบีบีซี ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมกล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา (ALMA radio telescope) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ทรงพลังที่สุดในโลกสำหรับใช้ในการศึกษาวิจัยด้านดาราศาสตร์
กล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา เป็นโครงการดาราศาสตร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยเป็นความร่วมมือกันของหน่วยงานด้านอวกาศและวิทยาศาสตร์ในชิลี ยุโรป สหรัฐฯ แคนาดา ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เริ่มเปิดดำเนินการมาตั้งแต่เดือน มี.ค. 2556
กิเดียน ลอง ผู้สื่อข่าวบีบีซี ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมกล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา (ALMA radio telescope) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ทรงพลังที่สุดในโลกสำหรับใช้ในการศึกษาวิจัยด้านดาราศาสตร์
กล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา เป็นโครงการดาราศาสตร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยเป็นความร่วมมือกันของหน่วยงานด้านอวกาศและวิทยาศาสตร์ในชิลี ยุโรป สหรัฐฯ แคนาดา ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เริ่มเปิดดำเนินการมาตั้งแต่เดือน มี.ค. 2556
โครงการนี้ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงชาห์นันเตอร์ ในเขตทะเลทรายอะตากามา ของชิลี ซึ่งอยู่ในแถบเทือกเขาแอนดีสใกล้กับพรมแดนที่ติดกับอาร์เจนตินาและโบลิเวีย ผู้สื่อข่าวบอกว่า สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศในพื้นที่แถบนี้จัดว่าอยู่ในขั้นหฤโหด เพราะตั้งอยู่บนความสูง 5,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ทำให้มีออกซิเจนเบาบาง อีกทั้งยังมีสภาพอากาศที่แห้งแล้งและหนาวเหน็บ แต่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการตรวจจับคลื่นวิทยุจากนอกโลก
กล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา ประกอบไปด้วยจานรับสัญญาณขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เมตร จำนวน 66 ตัว ตั้งเรียงรายอยู่ทั่วที่ราบสูงชาห์นันเตอร์ ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายไปตามตำแหน่งในจักรวาลที่นักดาราศาสตร์ต้องการศึกษาได้ จานรับสัญญาณเหล่านี้จะทำงานสอดประสานกัน เพื่อตรวจจับคลื่นวิทยุจากนอกโลก ซึ่งจะถูกแปลงไปเป็นข้อมูลด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แล้วถูกส่งต่อไปยังศูนย์ปฏิบัติการที่ตั้งอยู่ต่ำลงไปบริเวณไหล่เขา จากนั้นนักดาราศาสตร์จะนำข้อมูลที่ได้ไปศึกษา เพื่อนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับจักรวาล
สำหรับความพิเศษของกล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา อยู่ตรงที่สามารถใช้ส่องดูบริเวณที่ค่อนข้างมืดของจักรวาล เช่น จุดศูนย์กลางของหลุมดำ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ทีมนักดาราศาสตร์สามารถวัดความหนาแน่นของหลุมดำยักษ์หรือหลุมดำมวลยิ่งยวดที่อยู่ห่างจากโลก 73 ล้านปีแสง นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจจับโมเลกุลน้ำตาลในก๊าซที่อยู่โดยรอบดวงดาวอายุน้อยที่มีลักษะคล้ายกับดวงอาทิตย์ของเรา ซึ่งบ่งชี้ว่าระบบสุริยะอื่น ๆ นอกเหนือไปจากระบบสุริยะของเรา อาจมีสภาพเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตได้
http://www.bbc.co.uk/news/world-latin-america-36357501
กล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา ประกอบไปด้วยจานรับสัญญาณขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เมตร จำนวน 66 ตัว ตั้งเรียงรายอยู่ทั่วที่ราบสูงชาห์นันเตอร์ ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายไปตามตำแหน่งในจักรวาลที่นักดาราศาสตร์ต้องการศึกษาได้ จานรับสัญญาณเหล่านี้จะทำงานสอดประสานกัน เพื่อตรวจจับคลื่นวิทยุจากนอกโลก ซึ่งจะถูกแปลงไปเป็นข้อมูลด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แล้วถูกส่งต่อไปยังศูนย์ปฏิบัติการที่ตั้งอยู่ต่ำลงไปบริเวณไหล่เขา จากนั้นนักดาราศาสตร์จะนำข้อมูลที่ได้ไปศึกษา เพื่อนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับจักรวาล
สำหรับความพิเศษของกล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา อยู่ตรงที่สามารถใช้ส่องดูบริเวณที่ค่อนข้างมืดของจักรวาล เช่น จุดศูนย์กลางของหลุมดำ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ทีมนักดาราศาสตร์สามารถวัดความหนาแน่นของหลุมดำยักษ์หรือหลุมดำมวลยิ่งยวดที่อยู่ห่างจากโลก 73 ล้านปีแสง นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจจับโมเลกุลน้ำตาลในก๊าซที่อยู่โดยรอบดวงดาวอายุน้อยที่มีลักษะคล้ายกับดวงอาทิตย์ของเรา ซึ่งบ่งชี้ว่าระบบสุริยะอื่น ๆ นอกเหนือไปจากระบบสุริยะของเรา อาจมีสภาพเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตได้
http://www.bbc.co.uk/news/world-latin-america-36357501
แสดงความคิดเห็น