วิถีชีวิตใกล้ชิดปศุสัตว์ของชาวอามิช อาจทำให้เด็กมีภูมิคุ้มกันโรคหอบหืด
งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine บ่งชี้ว่า วิถีชีวิตที่ใกล้ชิดกับปศุสัตว์ในฟาร์มของชาวอามิช ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตแบบดั้งเดิมในชนบท โดยไม่พึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้น อาจมีส่วนช่วยให้เด็กที่เกิดในชุมชนนี้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคหอบหืดมากกว่าเด็กทั่วไป
ทีมนักวิจัยในสหรัฐฯ ศึกษาเรื่องนี้โดยเปรียบเทียบเด็กชาวอามิชกับเด็กชาวฮัตเตอร์ไรต์ ซึ่งมีบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกัน และมีวิถีชีวิต รวมทั้งอาหารการกินคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ชาวฮัตเตอร์ไรต์มักนิยมใช้วิธีทำการเกษตรที่ทันสมัยกว่าชาวอามิช
งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine บ่งชี้ว่า วิถีชีวิตที่ใกล้ชิดกับปศุสัตว์ในฟาร์มของชาวอามิช ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตแบบดั้งเดิมในชนบท โดยไม่พึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้น อาจมีส่วนช่วยให้เด็กที่เกิดในชุมชนนี้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคหอบหืดมากกว่าเด็กทั่วไป
ทีมนักวิจัยในสหรัฐฯ ศึกษาเรื่องนี้โดยเปรียบเทียบเด็กชาวอามิชกับเด็กชาวฮัตเตอร์ไรต์ ซึ่งมีบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกัน และมีวิถีชีวิต รวมทั้งอาหารการกินคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ชาวฮัตเตอร์ไรต์มักนิยมใช้วิธีทำการเกษตรที่ทันสมัยกว่าชาวอามิช
ผลการวิจัยพบว่า แม้เด็กทั้งสองกลุ่มจะมีลักษณะทางพันธุกรรมที่คล้ายกัน แต่เด็กชาวอามิชกลับมีอัตราการป่วยเป็นโรคหอบหืดเพียง 5% ขณะที่เด็กชาวฮัตเตอร์ไรต์มีอัตราการป่วยเป็นโรคดังกล่าวถึง 21.3%
ทีมนักวิจัย ระบุว่า ที่เป็นเช่นนี้น่าจะมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็กชาวอามิชถูกกระตุ้นจากการที่เด็กได้สัมผัสกับฝุ่นละอองในบ้านที่มีจุลินทรีย์จากสัตว์ในฟาร์ม เช่น ม้า มากเป็นพิเศษนั่นเอง เพราะชาวอามิชยังคงยึดการใช้รถม้าเป็นพาหนะในการเดินทาง รวมถึงการทำเกษตร และมักสร้างโรงนาติดกับบ้าน
ศ.แคโรล์ โอเบอร์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก บอกว่าบ้านของทั้งชาวอามิช และชาวฮัตเตอร์ไรต์ต่างมีการเก็บกวาดทำความสะอาดอย่างดี สิ่งที่แตกต่างกันก็คือบ้านของชาวอามิชมักมีโรงนาอยู่ใกล้ ๆ ซึ่งจากการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดของเด็ก อายุ 7-14 ปี จากทั้งสองชุมชน พบว่า เด็กอามิชมีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาว “นิวโทรฟิล” ซึ่งมีหน้าที่ในการต่อต้านการติดเชื้อมากกว่าเด็กฮัตเตอร์ไรต์ นอกจากนี้ เด็กอามิชยังมีเซลล์เม็ดเลือดขาว “อีโอซิโนฟิล” ที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้น้อยกว่าด้วย
ทีมนักวิจัยหวังว่า ผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการใหม่ ๆ ในการป้องกันโรคหอบหืด และโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ในเด็กรุ่นใหม่ต่อไป
ทีมนักวิจัย ระบุว่า ที่เป็นเช่นนี้น่าจะมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็กชาวอามิชถูกกระตุ้นจากการที่เด็กได้สัมผัสกับฝุ่นละอองในบ้านที่มีจุลินทรีย์จากสัตว์ในฟาร์ม เช่น ม้า มากเป็นพิเศษนั่นเอง เพราะชาวอามิชยังคงยึดการใช้รถม้าเป็นพาหนะในการเดินทาง รวมถึงการทำเกษตร และมักสร้างโรงนาติดกับบ้าน
ศ.แคโรล์ โอเบอร์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก บอกว่าบ้านของทั้งชาวอามิช และชาวฮัตเตอร์ไรต์ต่างมีการเก็บกวาดทำความสะอาดอย่างดี สิ่งที่แตกต่างกันก็คือบ้านของชาวอามิชมักมีโรงนาอยู่ใกล้ ๆ ซึ่งจากการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดของเด็ก อายุ 7-14 ปี จากทั้งสองชุมชน พบว่า เด็กอามิชมีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาว “นิวโทรฟิล” ซึ่งมีหน้าที่ในการต่อต้านการติดเชื้อมากกว่าเด็กฮัตเตอร์ไรต์ นอกจากนี้ เด็กอามิชยังมีเซลล์เม็ดเลือดขาว “อีโอซิโนฟิล” ที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้น้อยกว่าด้วย
ทีมนักวิจัยหวังว่า ผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการใหม่ ๆ ในการป้องกันโรคหอบหืด และโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ในเด็กรุ่นใหม่ต่อไป
แสดงความคิดเห็น