มาเลเซียชุมนุม Bersih 5.0 ตามนัด 'มหาธีร์' ร่วมด้วย-แม้รัฐบาลกวาดจับฝ่ ายค้าน
Posted: 19 Nov 2016 09:49 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
แม้ตำรวจจะกวาดจับแกนนำ ฝ่ายค้าน และนักศึกษาไปนับสิบ แต่ผู้ชุมนุมหลายหมื่นยังคงร่ วมชุมนุม Bersih 5.0 ก่อนสลายตัวอย่างสงบในช่วงเย็น โดยไม่มีเหตุปะทะกับผู้สนับสนุ นรัฐบาล ด้านผู้สังเกตการณ์ชี้ผู้ชุมนุ มกลุ่มใหญ่เป็นคนรุ่นหนุ่มสาว ขณะที่ชาวมลายูเข้าร่วมมากขึ้น ปัจจัยมาจาก 2 พรรคการเมืองเกิดใหม่ พรรคหนึ่งแยกจากพรรคอิสลาม พรรคหนึ่งแยกจากพรรครัฐบาล และการยูเทิร์นของ 'มหาธีร์' อดีตคู่ปรับฝ่ายค้านหลายทศวรรษ
(ซ้าย) ผู้ชุมนุม Bersih 5.0 ที่กัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน (ขวา) อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย คู่ปรับฝ่ายค้าน "มหาธีร์ โมฮัมหมัด" ร่วมชุมนุมและปราศรัยด้วย (ที่มา: Sean Ang และ KiniTV)
19 พ.ย. 2559 ผู้ชุมนุมฝ่ายค้านหลายหมื่ นคนในนาม "พันธมิตรเพื่อการเลือกตั้งเสรี และยุติธรรมหรือกลุ่มเบอเซะ" หรือ Bersih จัดการชุมนุมใหญ่ที่เรียกว่า Bersih 5.0 กลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย วานนี้ (19 พ.ย.) เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี มาเลเซีย นาจิบ ราซัก ลาออกจากเหตุทุจริต ในข้อหายักยอกเงินกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ จากกองทุนพัฒนาเศรษฐกิ จของมาเลเซีย "วันมาเลเซียเดเวลอปเมนท์ เบอรฮาด" หรือ 1MDB
ผู้ชุมนุม Bersih 5.0 มาตามนัด แม้ตำรวจกวาดจับแกนนำ
โดยการชุมนุมยังคงเกิดขึ้น แม้ว่าเมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมาจะมีการกวาดจับฝ่ายค้ าน นักกิจกรรม และนักศึกษานับสิบคน ในจำนวนนี้รวมทั้งประธานเบอเซะ มาเรีย ชิน อับดุลลาห์ (Maria Chin Abdullah) และเลขาธิการเบอเซะ มันดีฟ สิงห์ ด้วย โดยในการจับกุมเจ้าหน้าที่ ตำรวจยังได้บุกสำนักงานและยึดสิ่ งของอีกด้วย (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)
ทั้งนี้ผู้ชุมนุมเบอเซะรวมตัวกั นตั้งแต่ช่วงเช้ามืด โดยส่วนใหญ่สวมเสื้อสีเหลืองมี ข้อความ Bersih 5.0 ผู้ชุมนุมรวมตัวในหลายจุดนั ดหมายของกัวลาลัมเปอร์ เช่น สถานีรถไฟฟ้า LRT Bangsar ย่านบริกฟิลด์ ถนนตุนเปรัก ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า LRT มัสยิดจาเม็ก และมัสยิดเนอการา ถนนรายาลาอุต ถนนตนกู อับดุล ระห์มัน อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ ตำรวจสกัดไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้ าไปยังจตุรัสเมอเดกา ทำให้ในช่วงบ่ายมีการเปลี่ยนที่ นัดหมายเป็นลานใกล้กับตึ กแฝดเปโตรนาสหรือ KLCC แทน
ในเวลา 09.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นซึ่งเร็วกว่ าเวลาประเทศไทย 1 ชั่วโมง ที่สถานีรถไฟฟ้า LRT Bangsar อดีตประธานเบอเซะ อัมพิกา ศรีเนวาสัน กล่าวกับผู้ชุมนุมถึงเหตุการณ์ จับกุมเมื่อวานนี้ว่า "ช่างเป็นวันที่เลวร้าย" เพราะในวันดังกล่าวมีการดำเนิ นคดีต่อเว็บไซต์มาเลเซียกินี ตำรวจยังบุกสำนักงานเบอเซะ รวมทั้งการจับกุมนักกิจกรรมซึ่ งรวมทั้งประธานเบอเซะคนปัจจุบัน "มาเรีย ชิน อับดุลลาห์"
"แม้ว่าพวกเขาที่ถูกจับกุมจะไม่ อยู่ ณ ที่ชุมนุมแห่งนี้ แต่จิตใจต่อสู้ของพวกเขาอยู่กั บพวกเรา พวกเขาส่งข้อความมาให้พวกเราชุ มนุม Bersih 5.0 ต่อไป"
ทั้งนี้อัมพิกากล่าวด้วยว่า รัฐบาลนั้นกลัวความจริง ความแข็งแกร่งของ Bersih 5.0 และแรงสนับสนุนของมวลชน
ขณะที่ โมหมัดหมัด ซาบู (Mohamad Sabu) แกนนำพรรคความเชื่อมั่นแห่งชาติ หรือ AMANAH ซึ่งเป็นพรรคที่แยกตั วออกจากพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย หรือ PAS มี ส.ส. ในสภา 6 ที่นั่ง ได้ร่วมชุมนุมและปราศรัยกับผู้ ชุมนุมเบอเซะด้วย
นอกจากนี้ยังมี มารีนา มหาธีร์ (Marina Mahathir) บุตรสาวของอดีตนายกรัฐมนตรี มาเลเซียคนที่ 4 มหาธีร์ โมฮัมหมัด และแกนนำฝ่ายค้านพรรคกิจประชาธิ ปไตย (DAP) หลิม กิตเสียง (Lim Kit Siang) รวมปราศรัยกับผู้ชุมนุมด้วย
ผู้สนับสนุนรัฐบาลเดินขบวนประชั น ก่อนเลิกไปในช่วงบ่าย
ขณะเดียวกันมีการชุมนุมเผชิญหน้ าโดยผู้ชุมนุมเสื้อแดง ซึ่งนำโดยแกนนำของพรรคองค์ การสหมาเลย์แห่งชาติ หรือ UMNO ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนนำพรรครัฐบาล หรือ "แนวร่วมแห่งชาติ" (Barisan Nasional) ทั้งนี้แม้แกนนำหลักอย่าง จามาล ยูโนส จะถูกจับกุมไปแล้วในช่วงเช้ามืด แต่แกนนำเยาวชนคนอื่นๆ ของพรรค UMNO ก็ยังคงนำมวลชนมาร่วมชุมนุม
โดยผู้ชุมนุมฝ่ายสนับสนุนรั ฐบาลรวมตัวกันที่หน้าอาคาร PTWC ก่อนที่ช่วงสายในเวลา 11.00 น. จะเคลื่อนเข้ามาใกล้จตุรั สเมอเดกา มีการตะโกนว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอั ลเลาะห์" และ "อัลเลาะห์ยิ่งใหญ่" นอกจากนี้มีการร้องเพลง "Perajurit Tanah Air" หรือ "Inilah Barisan Kita" ซึ่งใช้เป็นเพลงปลุกใจของกองทัพ
แกนนำของผู้ชุมนุมฝ่ายสนับสนุ นรัฐบาล ซึ่งเป็นกลุ่มเชื้อชาติมลายูนิ ยม ได้เชิญชวนผู้ชุมนุมตะโกนคำขวั ญว่า "นี่คือแผ่นดินของเรา" (Ini adalah bumi kita) ซ้ำไปมาระหว่างเคลื่อนขบวน นอกจากนี้ยังตะโกนว่า "อัลเลาะห์ยิ่งใหญ่ อัลเลาะห์ยิ่งใหญ่" ระหว่างที่เดินขบวนด้วย (ที่มา: KiniTV)
ทั้งนี้ในรายงานของมาเลเซียกินี เมื่อเวลา 11.50 น. ผู้ชุมนุมเสื้อแดงได้เคลื่ อนขบวนผ่านผู้ชุมนุมเบอเซะซึ่ งกำลังกินข้าว และเกิดกระทบกระทั่งด้วยวาจา ทำให้แกนนำได้เข้ามาห้ามไม่ให้ ไปรบกวนผู้ชุมนุมเบอเซะ และบอกให้ผู้ชุมนุมเคลื่ อนขบวนต่อไป ย้ำว่าพวกเราเป็นเชื้อชาติที่มี ศักดิ์ศรี อย่างไรก็ตามมีผู้ชุมนุมบางส่ วนปาขวดพลาสติกใส่ผู้ชุมนุ มเบอเซะ แต่ที่สุดก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ ายแรงเกิดขึ้น เมื่อขบวนผู้ชุมนุมฝ่ายสนับสนุ นรัฐบาลผ่านบริเวณดังกล่าว
โดยหลังจากนั้นในเวลา 12.05 น. แกนนำผู้ชุมนุมเสื้อแดงได้ เจรจากับตำรวจเพื่อขอเคลื่อนผ่ านไปตามถนนคินาบาลู ไปยังสวนเมอบก ซึ่งเป็นปลายทางของผู้ชุมนุม
ทั้งนี้อามันด์ อัซฮา (Armand Azha) แกนนำเยาวชนพรรค UMNO ซึ่งนำขบวนผู้ชุมนุมเสื้ อแดงมาถึงสวนเมอบกในเวลา 12.47 น. กล่าวว่า พวกเขามาชุมนุมในวันนี้เพื่ อแสดงให้เห็นว่าพวกเขารักสันติ ภาพ ไม่เหมือนผู้ชุมนุมเสื้อเหลือง เป็นข้อสรุปที่ผิด ที่กล่าวหาว่าพวกเขานิยมความรุ นแรง พวกเขาย้ำด้วยว่าพวกเขาทำตามที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งทุกอย่าง
โดยผู้ชุมนุมฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ซึ่งมาเลเซียกินีประเมินว่ามี ยอดสูงสุดราว 4,000 คน สลายตัวไปตั้งแต่ก่อนเวลา 14.00 น.
ผู้ชุมนุม Bersih เปลี่ยนจุดรวมตัวที่หน้าตึกแฝด
อดีตคู่ปรับ มหาธีร์-หลิม กิตเสียง ร่วมปราศรัย
ผู้ชุมนุม Bersih 5.0 ที่ลานใกล้กับตึกแฝดเปโตรนาส หรือ KLCC (ที่มา: Adrian Wong/Malaysiakini)
ผู้ชุมนุม Bersih 5.0 เมื่อเวลา 16.30 น. (ที่มา: KiniTV)
ผู้ชุมนุม Bersih 5.0 ร้องเพลงชาติ "เนอการากู" ก่อนยุติการชุมนุม (ที่มา: KiniTV)
ด้านผู้ชุมนุมเบอเซะที่รวมตั วหลายจุดในกัวลาลัมเปอร์ และถูกตำรวจตั้งแนวป้องกัน ทำให้ไม่สามารถไปยังจตุรั สเมอเดก้าได้นั้น ต่อมาในช่วงบ่ายได้เปลี่ยนจุดนั ดหมายเป็นลานหน้าตึ กแฝดเปโตรนาสหรือ KLCC แทน ทั้งนี้มาเลเซียกินีได้ รายงานยอดผู้ชุมนุมสูงสุดเมื่ อเวลา 17.00 น. อยู่ที่ 4 หมื่นคน
ทั้งนี้ อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มหาธีร์ โมฮัมหมัด ซึ่งเคยเป็นไม้เบื่อไม้เมากับผู้ ชุมนุมเบอเซะ ต่อมาเปลี่ยนมาสนับสนุนเมื่อปี ก่อน ได้มาปรากฏตัวในที่ชุมนุมด้วย โดยมาพร้อมกับภริยาคือ แพทย์หญิงสิตี ฮัสมา อาลี
ที่ถนนอัมปัง ใกล้เคียงกับย่าน KLCC มหาธีร์กล่าวกับผู้ชุมนุม ว่าผู้ชุมนุมเบอเซะมาที่นี่ เพราะต้องการสันติ ไม่เหมือนจามาล แกนนำผู้ชุมนุมสนับสนุนรัฐบาล ที่ถูกชกเข้าที่จมูกแล้วร้องไห้
มหาธีร์ กล่าวต่อผู้มาชุมนุมว่า "เราไม่ได้อยู่ภายใต้ประชาธิ ปไตยแล้ว ตอนนี้เราอยู่ในระบอบโจราธิปไตย (kleptocracy) แล้ว"
ด้านมุไฮยิดดิน ยาซิน (Muhyiddin Yasin) ส.ส.จากรัฐยะโฮร์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีรัฐบาลนาจิบ ต่อมาแยกตัวออกมาตั้ งพรรคเบอซาตู (Bersatu) ซึ่งเขาเชิญมหาธีร์ร่วมด้วย กล่าวปราศรัยเรียกร้องให้ ประชาชนเลือกเพื่อการเปลี่ ยนแปลง ในการเลือกตั้งที่จะมาถึงในปี ค.ศ. 2018 เพื่อยุติการปกครองของพรรครั ฐบาล "อนาคตของพวกเราเป็นของทุกคน ไม่ใช่เพื่อผม เพราะผมอายุมากแล้ว แต่พวกคุณยังหนุ่ม" มุไฮยิดดินกล่าว
ขณะที่หลิม กิตเสียง แกนนำฝ่ายค้านจากพรรค DAP คู่ปรับเก่าของมหาธีร์ กล่าวด้วยว่า "ไม่ได้ต้องการแค่เลือกตั้ งสะอาด แต่ต้องการรักษาประเทศมาเลเซี ยเอาไว้"
"เราต้องการให้มาเลเซียเป็ นประชาธิปไตย ไม่ใช่โจราธิปไตย เรามาชุมนุมที่นี่เพื่อแสดงสั ญลักษณ์ว่าต้องการแตะขอบฟ้า"
เขากล่าวด้วยว่าเชื่อว่ามหาธีร์ จะไม่เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในขณะที่ตัวเขาก็ไม่ได้คิดหวั งแบบนั้น
ขณะที่ราฟิซิ รามลี (Rafizi Ramli) รองประธานพรรคยุติธรรมประชาชน PKR ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านอีกพรรคหนึ่ ง ปราศรัยว่านายกรัฐมนตรีมาเลเซี ยนาจิบ ราซักจะไม่ได้หลับสนิทคืนนี้ เพราะผู้คนจำนวนมากต้องการให้ เขาลาออก ทั้งนี้เขายังปราศรัยอภิปรายถึ งเรื่องหนี้สาธารณะของรั ฐบาลมาเลเซียด้วย
ทั้งนี้ผู้ชุมนุมเบอเซะได้ร้ องเพลงชาติ "เนอการากู" เมื่อเวลา 17.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ก่อนสลายการชุมนุม
ผู้ชุมนุม Bersih 5.0 ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2016 (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพโดย Sean Ang)
ผู้สังเกตการณ์ชี้ Bersih 5.0 ชาวมลายูเข้าร่วมเพิ่มขึ้น
แม้พรรคอิสลาม PAS จะถอนตัว
ฌอน อัง นักวิจัยและผู้สังเกตการณ์ ทางการเมืองชาวมาเลเซีย ให้สัมภาษณ์ประชาไท เกี่ยวกับองค์ประกอบของผู้ชุมนุ ม Bersih 5.0 ที่มีพัฒนาการต่างจากปีก่อน โดยในปีนี้มีผู้ชุมนุ มมาจากหลากหลายพื้นเพในสั งคมมาเลเซีย โดยเขาพบว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ เป็นคนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 25 ถึง 35 ปี เป็นประชากรอาศัยในเมือง และเมื่อเทียบกับการชุมนุม Bersih 4.0 เมื่อปีก่อน ปีนี้มีผู้ชุมนุมเชื้อสายมลายู มากขึ้น
ทั้งนี้เมื่อการชุมนุม Bersih 4.0 เมื่อปีก่อน พรรคอิสลามมาเลเซีย หรือ PAS เพิ่งถอนตัวจากแนวร่วมฝ่ายค้าน ทำให้ส่งผลกระทบต่อการชุมนุ มในปีนั้น เพราะแต่เดิมการมีอยู่ของพรรค PAS ทำให้มีผู้สนับสนุนเชื้ อสายมลายูเข้าร่วม และขณะนั้นพรรค AMANAH ที่นำโดย ส.ส.หลายสมัยอย่างโมหมัดหมัด ซาบู เพิ่งแยกตัวออกจากพรรค PAS จึงยังไม่มีขี ดความสามารถในการระดมผู้สนับสนุ นเชื้อสายมลายูเข้าร่วม
ได้พรรคการเมืองเกิดใหม่มาเข้ าร่วม พร้อมการยูเทิร์นของ 'มหาธีร์'
แต่ในปีนี้พรรค AMANAH เริ่มมีความพร้อมและมี บทบาทมากขึ้น โดยฌอนประเมินว่า ในการชุมนุม Bersih 4.0 เมื่อปีก่อนมีผู้ชุมนุมเชื้ อสายมลายูราวร้อยละ 5 แต่ในการชุมนุมปีนี้เขาประเมิ นว่ามีผู้ชุมนุมเชื้อสายมลายู เป็นสัดส่วนร้อยละ 30
ขณะที่อีกพรรคการเมืองหนึ่งที่ แยกตัวออกมาจากพรรครัฐบาล UMNO คือพรรค Bersatu ที่นำโดยมุไฮยิดดิน ยาซิน และมีมหาธีร์ โมฮัมหมัด เป็นที่ปรึกษานั้น ณอนเห็นว่า ยังไม่เห็นบทบาทว่าพรรค Bersatu มีส่วนทำให้มีผู้ชุมนุมเชื้ อสายมลายูเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ แต่จากบทบาทของมหาธีร์ ซึ่งเป็นเหมือนเป็น "ไอคอน" ใหม่ของเบอเซะนับว่ามีนัยยะสำคั ญ ทั้งนี้วิดีโอของมหาธีร์โด่งดั งกลายเป็นไวนัลในช่วงไม่กี่วั นก่อนการชุมนุม และข่าวเกี่ยวกับเขาก็ได้ลงหน้ าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ในมาเลเซี ย
ความสำคัญของการปรากฏตั วของมหาธีร์ก็คือ แต่เดิมพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคยุ ติธรรมประชาชนหรือ PKR มักจะได้ที่นั่งในพื้นที่เมือง ในขณะที่มีเพียงพรรค PAS ที่สามารถเจาะฐานเสียงพรรค UMNO ซึ่งเป็นพรรครั ฐบาลในเขตชนบทของมาเลเซีย ที่ประชากรฐานคะแนนส่วนใหญ่มี เชื้อสายมลายู แต่ปัจจุบันพรรค PAS เป็นพรรคที่กลายเป็นมิตรกับพรรค UMNO ไปแล้ว ทั้งนี้พรรค Bersatu อาจจะสามารถเจาะฐานเสียงของพรรค UMNO ได้ในฐานคะแนนที่เป็ นประชากรมลายูในรัฐเคดาห์ ซึงเป็นฐานเสียงของมหาธีร์ และรัฐยะโฮร์ ซึ่งเป็นฐานเสียงของมุไฮยิดดิน)
ทั้งนี้แม้ก่อนหน้านี้จะเห็ นบทบาทของสุลต่านยะโฮร์ ที่ไม่ได้สนับสนุนประชาชนรั ฐยะโฮร์ให้ร่วมชุมนุมเบอเซะ แต่การเห็นผู้ชุมนุมเดิ นทางมาจากรัฐยะโฮร์เพื่อเข้าร่ วมการชุมนุมนับเป็นข่าวน่าสนใจ ทั้งนี้รัฐยะโฮร์เป็นเสมือนป้ อมปราการของพรรค UMNO อย่างไรก็ตามการเมืองในยะโฮร์ เองก็มีความรู้สึกท้องถิ่นนิ ยมต้องการเป็นอิสระจากรั ฐบาลสหพันธรัฐมากขึ้น จากโครงการลงทุนในเขตอิสกันดาร์ ที่สุลต่านยะโฮร์เองก็มีส่วนสนั บสนุน
นอกจากนี้เขาเห็นว่ากลุ่มชาติพั นธุ์พื้นเมืองอย่าง "โอรัง อัสรี" ก็เข้าร่วมการชุมนุมเบอเซะด้วย ทั้งนี้ก็ด้วยโครงการเวนคืนที่ ดินของรัฐที่ทำให้ชุมชนดั้งเดิ มเหล่านี้ได้รับผลกระทบ
ส่วนการเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุ มสนับสนุนรัฐบาล หรือ "กลุ่มเสื้อแดง" ที่นำโดยจามาล ยูโนส นั้น เขาเห็นว่าแกนนำอย่างยูโนสมี สายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรี และไครี จามารุดดิน รัฐมนตรีกระทรวงเยาวชนและกีฬา อย่างไรก็ตามยุทธศาสตร์การชุมนุ มของกลุ่มเสื้อแดงที่ต้องการสร้ าง "ปัจจัยความกลัว" เพื่อทำให้ประชาชนรู้สึกไม่ ปลอดภัยที่จะเข้าร่วมกับการชุ มนุมเบอเซะดูเหมือนจะไม่ได้รั บการสนับสนุน เนื่องจากจุดมุ่งหมายของผู้ชุ มนุมสนับสนุนรัฐบาลดังกล่าวยั งไม่มีความชัดเจน
แปลและเรียบเรียงบางส่วนจาก
แสดงความคิดเห็น