Pipob Udomittipong

ประเด็นสำคัญของเรื่อง #โรฮิงญา คือคนพม่า รัฐบาลพม่า และอองซานซูจี “ไม่เคยยอมรับ” ว่าพวกเขาเป็นหนึ่งใน 135 ชาติพันธุ์ของประเทศ พูดง่าย ๆ คือไม่ยอมรับว่าโรฮิงญาเป็น “คนพม่า”

ตั้งแต่ปี 2013 สมัยยังเป็นฝ่ายค้าน ดอว์ซูพูดไว้ชัดเจนที่ญี่ปุ่นว่า โรฮิงญา 1.3 ล้านคนไม่มีคุณสมบัติจะได้รับสัญชาติพม่า และเป็นไปตามกฎหมาย (https://www.youtube.com/watch?v=Q3WQE-hVucI) สมัยรณรงค์เลือกตั้งปีที่แล้ว พรรด NLD ไม่ส่งผู้สมัครที่เป็นมุสลิมแม้แต่คนเดียว และระวังการแสดงออกมาก เพราะพรรคฝ่ายตรงข้ามมักโจมตีว่าเห็นใจมุสลิมที่เป็นคิดเป็นประชากรไม่น้อยกว่า 4%

เมื่อเดือนพ.ค.ที่แล้ว ดอว์ซูแจ้งต่อทูตสหรัฐฯ คนใหม่ที่มาประจำพม่าว่า ไม่ให้ใช้คำว่า “โรฮิงญา” ให้เรียกว่า “เบงกาลี” เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็น “คนอื่น” ที่ไม่ใช่พม่า (http://nyti.ms/1UEJSS0) หนึ่งเดือนต่อมา มิ.ย. ดอว์ซูแจ้งต่อผู้รายงานพิเศษ UN special rapporteur ในทำนองเดียวกันว่า ไม่ใช้คำว่า “โรฮิงญา” (https://www.theguardian.com/…/aung-san-suu-kyi-tells-un-tha…)

ถามว่าดอว์ซูเคยประณามการใช้กำลังข่มเหงรังแกชาวโรฮิงญามั้ย? เคยครับ ช่วงหาเสียงเลือกตั้งปีที่แล้ว เธอเคยประณามการข่มเหงชาวโรฮิงญา (https://youtu.be/Zh7cleCVJ0Y) แล้วตอนนี้ล่ะ เลิกไปแล้วครับ ทุกวนนี้ รัฐบาลดอว์ซูบอกว่าไม่มีหลักฐานว่ากองทัพพม่าละเมิดชาวโรฮิงญา และตำหนิสื่อที่ปล่อยข่าวบิดเบือนความจริง (http://www.president-office.gov.mm/en/…) ทั้ง ๆ ที่ทหารพม่าเพิ่งสังหารคนเหล่านี้ไปหลายสิบคน เผาบ้านเรือน ข่มขืนเด็กและผู้หญิง จนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ UN ออกมายอมรับว่ามันเป็น ethnic cleansing การชำระล้างเผาพันธุ์ (http://www.bbc.com/news/world-asia-38091816)

ทั้งหมดแสดงให้เห็นจุดยืนอย่างชัดเจนว่า “วีรสตรีประชาธิปไตย” ของพม่า ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มพุทธชาตินิยมสุดโต่งที่ไม่ยอมรับและไม่ต้องการให้มีมุสลิมหรือโรฮิงญาในพม่า เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? #Rohingya

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.