...ฉาว..อีกแล้ว..สตง.
หมูไม่กลัวน้ำร้อน.! ผอ.กลุ่มตรวจสอบดังพิเศษ สตง.ภูมิภาคที่ 14 ดับเครื่องชนฟ้องอาญาผู้ว่า สตง.รับสินบน
สั่นสะเทือนประเทศไทย เมื่อหมู่ไม่กลัวน้ำร้อน ผอ.กลุ่มตรวจสอบดังพิเศษ สตง.ภูมิภาคที่ 14 ดับเครื่องชนครั้งประวัติศาสตร์ฟ้องอาญา ผู้ว่า ฯสตง.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ รับสินบน-จากมหากาพย์ “ตรวจสอบทุจริตก่อสร้างศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์-พร้อมยื่นฟ้องศาลปกครองซ้ำ-ยืนยันเตรียมหมัดเด็ดเผด็จศึกสนั่นประเทศไทย
(26 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าได้มีกระแสการวิพากวิจารณ์ว่ากรณีที่นายพงศ์ปณพ สนิท นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินชำนาญการพิเศษ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบพิเศษ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่ 14 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ยื่นฟ้องศาลคดีอาญานายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ในความผิดข้อกล่าวหา เป็นผู้ใช้ ,เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เรียกรับสินบน ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามคดีหมายเลขดำที่ 3766/2559 ลงวันที่ 23 พ.ย. 2559 ที่ผ่านมา โดยศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชประทับรับฟ้องและนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 6 ก.พ. 2560 โดยเฉพาะในกลุ่มของข้าราชการสำนักตรวจเงินแผ่นดินทั่วประเทศ ได้มีการส่งสำนวนคำฟ้องถึงกันและมีการวิพากวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ข้าราชการสังกัดสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ระดับผู้ปฏิบัติซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ยื่นฟ้องดำเนินคดีอาญาผู้บังคับบัญชาสูงสุดในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
ผู้สื่อข่าวจึงได้สอบถามเรื่องนี้กับนายพงศ์ปณต สนิท ได้รับการยืนยันว่าการยื่นฟ้องนายพิศิษฐ์ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามที่มีการวิพากวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้นั้นเป็นเรื่องจริง ตนยื่นห้องโดยกล่าวหาว่านายพิศิษฐ์ เป็นผู้ใช้ ,เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เรียกรับสินบน ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามคดีหมายเลขดำที่ 3766/2559 ลงวันที่ 23 พ.ย. 2559 ที่ผ่านมา โดยศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชประทับรับฟ้องและนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 6 ก.พ. 2560
ซึ่งในสำนวนคำฟ้องระบุว่าเนื่องมาจากโจทก์ในนฐานะนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน ชำนาญการพิเศษ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบพิเศษ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่ 14 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้เข้าตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และตรวจพบว่านายวิจิตร ศรีสอ้านนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับพวกได้กระทำการทุจริตในการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดิน จึงเสนอรายงานผลการตรวจสอบไปตามระบบราชการ จนถึงนายพิศิษฐ์ ผู้ว่า ฯ นอกจากนี้โจทก์ยังตรวจพบว่านายวิจิตร กับพวกยังเกี่ยวข้องกับการทุจริตในเรื่องอื่น ๆ ด้วยรวมประมาณ 10 ประเด็น ทำให้รัฐเสียหายกว่า 400 ล้านบาท ในเดือน พ.ย.2558 นายวิจิตร กับฟ้องจึงยื่นฟ้อง นายพิศษฐ์ ต่อศาลอาญา ตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ อท.47/2558 ทำให้นายพิศิษฐ์ เกิดความกลับต่อนายวิจิตร และพยายามขอให้นายวิจิตรถอนฟ้องตัวเอง โดยนายวิจิตร มีข้อแม้ว่านายพิศิษฐ์ จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของนายวิจิตร มีการนัดเจรจากันที่ศาลอาญาและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหลายครั้ง ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้ตรวจสอบพบการทุจริตของนายวิจิตร กับพวก ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้เข้าร่วมเจรจาด้วย
“โดยการเจรจาเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2559 ซึ่งในการเจรจานายวิจิตร ได้สั่งให้นายพิศิษฐ์ ปฏิบัติตามคำสั่งของนายวิจิตร 4 ข้อ ประกอบด้วย 1. ให้นายพิศิษฐ์ มีคำสั่งห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของนายพิศิษฐ์ เข้าไปตรวจสอบการทุจริตในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อีก 2 .เรื่องที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบไปแล้วให้นายพิศิษฐ์ หาทางช่วยเหลือเพื่อให้นายวิจิตร กับพวกพ้นความผิด 3.ให้สั่งห้ามตนเข้าไปเกี่ยวข้องใด ๆ กับการตรวจสอบ และ 4 .ให้นายพิศิษฐ์ มีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ที่จังหวัดอื่นไกลจากนครศรีธรรมราช”
โจทก์ไม่ไม่เห็นด้วยที่นายพิศิษฐ์ ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งของนายวิจิตร และไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งโดยมอชอบของนายพิศิษฐ์ โจทก์จึงเข้าไปตรวจสอบในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพิ่มเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2559 และตรวจพบการทุจริตเพิ่มเติมอีก 2 เรื่อง มีการทุจริตการคำนวณปริมาณดินถมพื้นที่ก่อสร้างศูนย์การแพทย์ทำให้รัฐเสียหาย 55 ล้านบาทและพบว่าผู้บริหารของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นตัวการรับจ้างถมดินสถานที่ก่อสร้างศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เสียเอง ซึ่งโจทก์ได้นัดสอบพยานปากสำคัญในวันที่ 15 พ.ย. 2559 ที่ผ่านมา แต่ในวันที่ 9 พ.ย. 2559 นายพิศิษฐ์ ได้เดินทางไปต่อรองกับนายวิจิตรที่ศาลอาญา หลังจากนั้นจึงออกคำสั่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเลขที่ 623/2559 ย้าโจทก์จากตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบพิเศษ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่ 14 ไปเป็นผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบการดำเนินงาน สำนักงานตรวจสอบพิเศษภาค 2 จ.ชลบุรี แต่โจทก์ยังไม่ได้รับคำสั่งเพราะติดพันอยู่กับการออกตรวจสอบทุจริตมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายวิจิตร จึงสั่งให้นายพิศิษฐ์ ออกคำสั่งฉุกเฉินกลางดึกของคืนวันที่ 13 พ.ย. 2559 สั่งการมายัง น.ส.อำไพ ยุกตเวทย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ปรึกษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 14 ให้ น.ส.อำไพออกคำสั่งห้ามตนปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 2559 ซึ่ง น.ส.อำไพ ก็ปฏิบัติการออกคำสั่งสำนักงานตรวจสอบพิเศษภาค 14 เลขที่ 28/2559 ลงวันที่ 14 พ.ย. 2559 สั่งห้ามโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ หากฝ่าฝืนถือว่าตนมีความผิดทางวินัยร้ายแรง โจทก์จึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่สอบปากคำพยานในวันที่ 15 พ.ย. 2559 ตามที่นัดไว้ได้
ในวันที่ 15 พ.ย. 2559 โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องความผิดอาญา กับ น.ส.อำไพ ยุกตเวทย์ ข้อกล่าวหากระทำไม่สุจริต และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ 3682 /2559 ศาลประทับรับฟ้องและนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 23 ม.ค. 2560 และยื่นฟ้องนายพิศิษฐ์ ในวันที่ 23 พ.ย. 2559 ดังกล่าว นอกจากนี้ในวันที่ 23 พ.ย. 2559
นายพงศ์ปณพ กล่าวย้ำว่า ในวันเดียวกัน (23 พ.ย.) ตนได้ยื่นฟ้องนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ต่อศาลปกครองนครศรีธรรมราช ตามคดีหมายเลขดำที่ บ.47/2559 เพื่อให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินและคุ้มครองชั่วคราว และให้นายพิศิษฐ์ ผู้ถูกฟ้องเพิกถอนคำสั่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่ย้ายตนไปประจำสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 2 จ.ชลบุรี ทั้งในส่วนของการฟ้องคดีอาญา และศาลปกครอง ตนมีข้อมูลพยานหลักฐานชัดเจนทุกขั้นตอน ซึ่งจะจะนำมาแสดงต่อศาลและเปิดเผยกับสื่อมวลชนต่อไป และขอรับร้องว่าพยานหลักฐานเด็ด ๆ จำนวนมากที่ตนมีอยู่ในมือขณะนี้จะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้ที่ตกเป็นจำเลยดิ้นไม่หลุดแน่ คนทั้งประเทศจะได้ตาสว่างกับสิ่งที่รับรู้และจะมองภาพลักษณ์ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินกันว่าอย่างไร นายพงศ์ปณพต กล่าวย้ำในที่สุด.
ไพฑูรย์ อินทศิลา /กัญญาณัฐ เพ็ญสวัสดิ์ /นครศรีธรรมราช
แสดงความคิดเห็น