นักวิชาการและประชาชนราว 40 คน เดินเท้าออกจากประตู มธ.ศูนย์รังสิต มุ่งหน้าไปยังสภ.คลองหลวง โดยมีจนท.นอกเครื่องแบบติดตามถ่ายภาพกิจกรรมโดยตลอด









เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง - คนส.

We Walk "จาก มธ. สู่ สภ.คลองหลวง"
ชวนกันเดินไปให้กำลังใจกำลังสมาชิก 8 We Walk 31 มกราคม 2561


==========

กำหนดการ
11.00 น. พบกันที่วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (ธรรมศาสตร์ รังสิต) เจอกันตรงลานด้านหน้าอาคารเก่าด้านใน (ถัดจากตลาดนัด) (จอดรถได้ที่ลานจอดด้านข้างวิทยาลัยฯ)


11-12.30 น. เริ่มเดินจากวิทยาลัยฯ ป๋วย ไปยัง สถานีตำรวจภูธรคลองหลวง (ผู้เดินควรเตรียมอุปกรณ์กันแดด เช่น หมวก ร่ม ครีมกันแดด รองเท้าที่เหมาะแก่การเดินทางไกล รวมทั้งน้ำดื่มให้พร้อม ระยะทาง 4 กิโลเมตร)

13.00 น. ถึง สภ.คลองหลวง และพบปะพูดคุยกับ 8 สมาชิก “We Walk... เดินมิตรภาพ” ที่โดนตั้งข้อหา และ ตัวแทนของ 5 เครือข่ายประชาชนและนักวิชาการทยอยอ่านแถลงการณ์ ประกอบด้วย
เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการและกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกและความมั่นคงทางอาหาร
เครือข่ายทรัพยากรและสิทธิชุมชน
เครือข่ายสลัมสี่ภาค
เครือข่ายนักกฎหมายและเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)

13.30 - 15.30 น. รอเป็นกำลังใจให้เพื่อนทั้ง 8 ที่หน้าโรงพัก

ราว 15.30 น. 8 สมาชิก “We Walk... เดินมิตรภาพ” ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน และถ่ายรูปร่วมกันกับพี่น้องที่มารอให้กำลังใจ


Posted: 28 Jan 2018 11:07 PM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซต์ประชาไท)

Rapeepan S.

วาทกรรม "พลังบริสุทธิ์" มักถูกหยิบยกมาใช้เสมอเมื่อมีกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง แต่มันจะถูกใช้ในฝ่ายที่ผู้พูดสนับสนุนอยู่เท่านั้น สำหรับกิจกรรมการชุมนุมทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม ก็มักจะถูกเรียกผู้ที่มาชุมนุมว่าเป็นพวก "มวลชนจัดตั้ง"

รู้สึกไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ กับคำว่า “พลังบริสุทธิ์” ที่มักถูกเอามาใช้เพื่อลดทอนคุณค่าของพลัง “จัดตั้ง” ซึ่งโดยนัยยะหมายถึงคนเสื้อแดง (เพราะมีอยู่กลุ่มเดียวที่เคยต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในยุคปัจจุบัน)

มีคนมากมายที่ตื่นตัวและเข้าร่วมต่อสู้กับคนเสื้อแดงโดยอิสระ ไม่ได้ถูกชักจูงโดยพรรค แต่แน่นอนว่าพวกเขาสนับสนุนและชื่นชอบพรรค ...พลังเหล่านี้ไม่บริสุทธิ์พอหรือ

มีคนจำนวนมากที่ต้องการมาร่วมต่อสู้ในขบวนคนเสื้อแดง แต่ยากไร้ไปทุกสิ่ง เมื่อได้รับการสนับสนุนทางปัจจัยการเดินทาง และการกินอยู่ในม๊อบ จากกลุ่มการเมือง ...พลังเหล่านี้ไม่บริสุทธิ์พอหรือ

คนที่ยอมขายวัวขายควาย ทิ้งลูกเมีย ขึ้นรถตู้ รถโดยสารที่ ส.ส.ในพื้นที่จัดหาให้ เพื่อมาตามความฝันในม๊อบ ...เหล่านี้คือการจัดตั้งใช่หรือไม่

หรือการจัดตั้งคือการจ้างคนมาม๊อบ เขาจะจ้างกันได้นานขนาดไหนถ้าผู้ชุมนุมไม่สมัครใจมา แล้วถ้าเขาสมัครใจมา ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม การจัดตั้งมันดูแย่ที่ตรงไหน

คำว่า”บริสุทธิ์” มันเป็นนามธรรม พอๆกับคำว่า”ดี” ถ้าคุณเคยมีปัญหากับคำว่า”ดี” คำว่า”บริสุทธิ์”ก็ย่อมสร้างปัญหาได้เช่นกัน!

พลังบริสุทธิ์ หมายถึงอะไรกันแน่ หรือต้องเป็นมวลชนที่ไม่ฝักใฝ่การเมือง โดยเฉพาะไม่ควรฝักไฝ่พรรคยอดนิยม แต่ถ้าฝักใฝ่พรรคอื่นไม่เป็นไร หรือใครที่เคยเรียกร้องการรัฐประหาร เคยเป่านกหวีด ถนัดแต่การไล่ เมือออกมาไล่ คสช. แล้วก็จะกลายเป็นพลังบริสุทธิ์ทันที ใครก็ได้กรุณาทำวิจัยให้ทีเถิด

สิ่งที่น่าขบขันยิ่งขึ้นก็คือ ขณะที่ยกย่องกลุ่มเคลื่อนไหวว่าเป็นพลังบริสุทธิ์ แต่ก็มีการเรียกร้องให้นักธุรกิจออกมาให้การสนับสนุน (ปัจจัยนั่นแหละ) กับกลุ่มพลังบริสุทธิ์ แล้วมันจะบริสุทธิ์ต่อไปได้อย่างไร ในเมื่อนักธุรกิจทั้งหลายก็ล้วนหากำไร หาประโยชน์ มีคอนเนคชั่น มีพรรคการเมืองที่ชื่นชอบ เผลอๆ ก็มีคอนเนคชั่นกับพรรคการเมืองโดยตรง

มันน่าประหลาดขึ้นมาทันที เพราะพอชาวบ้านจะมีคอนเน็คชั่นกับพรรคการเมืองบ้าง มันจะดูเป็นการ “จัดตั้ง”กลับกลายเป็นความ ”ไม่บริสุทธิ์” ไปในทันที

พอได้แล้ว นักคิดนักพูดทั้งหลาย ที่พยายามแบ่งแยกนักต่อสู้เป็นพวกบริสุทธิ์และพวกจัดตั้ง จัดเกรดยกยอกดทับกันเสร็จสรรพ และพยายามกีดกันนักการเมืองออกจากการต่อสู้ เพียงเพราะกลัวฝ่ายตรงข้ามโจมตีเป็นจุดอ่อน ทั้งๆ ที่ชีวิตประจำวันของพวกคุณล้วนขึ้นอยู่กับการเมืองอย่างแยกไม่ออก

ถ้าไม่มีความกล้าที่จะเผชิญกับความจริงกันให้รู้ดำรู้แดง แถมยังปัดความคิดที่ถูกฝ่ายตรงข้ามสั่งสมมาให้ในสมองว่าการต่อสู้ที่ดีต้องไม่ฝักใฝ่การเมือง ออกจากหัวไม่ได้ ก็อย่าหวังจะมีชัย เพราะเพียงแค่ประกาศจุดยืนว่าสู้ร่วมกับพรรคการเมืองไหนก็ยังไม่กล้า

ถ้าไม่มีจุดมุ่งหมายในใจ ถ้าไม่มีประโยชน์กับชีวิต แล้วคนจะไปเลือกตั้งเพื่ออะไร สุดท้ายก็เพื่อให้พรรคการเมืองที่ตนเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตดีขึ้น ได้เป็นรัฐบาล หรือมิใช่
แต่ถ้าไม่ใช่ และคิดว่าต้องบริสุทธิ์เสียจนยอมรับความจริงข้อนี้ไม่ได้ ก็อย่าไปเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งเลย


Posted: 28 Jan 2018 11:31 PM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซต์ประชาไท)

'การ์ตูน NDM' เผยอยู่นอกประเทศไทย พร้อมขอสถานะผู้ลี้ภัย หลังถูกหมายเรียกคดี ม.112 ปมแชร์ พระราชประวัติ ร.10 จาก BBC Thai ด้านตำรวจระบุเตรียมขอศาลออกหมายจับ

29 ม.ค. 2561 ความคืบหน้าเพิ่มเติมหลังจากวานนี้ (28 ม.ค.61) ชนกนันท์ รวมทรัพย์ หรือ การ์ตูน อดีตโฆษกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) โพสต์ภาพหมายเรียกจากตำรวจในคดีที่ตนเองตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ จากการแชร์รายงานพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ บีบีซีไทย รายงานซึ่งมีผู้แชร์ร่วมกันกับเขาราว 2,800 คน ลงในเฟซบุ๊กตั้งแต่ ธ.ค.ปี 2559 ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว โดยหมายเรียกดังกล่าวระบุผู้ฟ้องคือ ร.ท.สมบัติ ต่างทา และระบุให้ ชนกนันท์ มารับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.คันนายาว ในวันที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมา นั้น

'การ์ตูน NDM' ถูกหมายเรียกคดี ม.112 ปมแชร์ พระราชประวัติ ร.10 จาก BBC Thai
คุยกับการ์ตูน : เมื่อ NDM เปิดฉากรณรงค์ Vote No กลางงานหนังสือ
1 ปีในคุกของ ‘ไผ่ ดาวดิน’ สิทธิประกันตัวคดี 112 ที่เขียนไว้แต่ไม่มีจริง

วันเดียวกัน บีบีซีไทย รายงานว่า พ.ต.อ.วิบูลย์ ถิ่นวัฒนากูล ซึ่งเป็นผู้ออกหมายเรียกผู้ต้องหา ยืนยันกับบีบีซีไทยว่า ชนกนันท์ถูกต้องข้อหาในคดีอาญามาตรา 112 จากการแชร์ข่าวที่แปลเป็นภาษาไทยโดยบีบีซีไทยเมื่อเดือน ธ.ค. 2559 ทางตำรวจได้รับการติดต่อจากทนายความของชนกนันท์ในช่วงประมาณวันที่ 16-17 ม.ค.ที่ผ่านมาว่าต้องการขอเลื่อนนัดรับทราบข้อกล่าวหา แต่ก็ยังไม่เห็นหนังสือของเลื่อนนัดอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งได้มาอ่านโพสต์ทางเฟสบุ๊คของชนกนักน์ในที่ 28 ม.ค.61

"เพิ่งจะมาอ่านวันนี้นะ เป็นไปได้ว่าเขาจะไม่อยู่ [ในเมืองไทย] แล้ว เมื่อสักครู่มีเจ้าหน้าที่ทหารโทรมาหา สงสัยว่าชนกนันท์จะไม่อยู่แล้ว ก็เลยเข้าไปอ่าน สงสัยชนกนันท์ก็จะไม่อยู่แล้วจริง ๆ" พ.ต.อ.วิบูลย์ กล่าวกับบีบีซีไทย

พ.ต.อ.วิบูลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "หลังจากที่ได้อ่านโพสต์แล้ว อาจจะต้องตรวจสอบกับทางตม. ว่าเขาได้เดินทางออกนอกประเทศหรือเปล่า ถ้าเดินทางออกนอกประเทศก็มีข้อมูลว่าน่าจะหลบหนีนะ ก็จะขอศาลออกหมายจับเลย"

ชนกนันท์ กล่าวกับ บีบีซีไทย ว่า ขณะที่กำลังพำนักอยู่ในประเทศหนึ่งในทวีปเอเชีย เป็นประเทศที่ไม่มี กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และอยู่ระหว่าง การรวบรวมเอกสารเพื่อขอสถานะผู้ลี้ภัยในประเทศนี้

"ตอนนี้อยู่ระหว่างการเตรียมเอกสาร มีการพูดคุยกับทนายทางนี้แล้ว เค้าบอกว่ามีความเป็นไปได้เพราะหลักฐานการคุกคามชัดเจน ก่อนหน้านี้จะโดนหมายเรียกนี้ เราก็โดนคุกคามมาตลอดตั้งแต่มีรัฐประหาร ต้องขึ้นศาลทหารอยู่ในคดีราชภักดิ์ โดนจับในการชุมนุมหลายครั้ง และมีทหารมาที่บ้านเกือบทุกเดือนตลอด 2 ปี" ชนกนันท์ เปิดเผยกับบีบีซีไทย


Posted: 29 Jan 2018 12:21 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซต์ประชาไท)

รายงานฉบับใหม่ของ ILO ระบุว่าอัตราว่างงานทั่วโลกในปี 2561 จะอยู่ที่ 5.5% คิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 192.3 ล้านคน

รายงานฉบับใหม่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) World Employment and Social Outlook: Trends 2018 ระบุว่าในขณะที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้น แต่คาดว่ากำลังแรงงานและอัตราการว่างงานทั่วโลกในปี 2561 จะยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่แล้ว (2560)

ในรายงานระบุว่าอัตราว่างงานในปี 2561 จะลดลงเหลือร้อยละ 5.5 หลังจากในปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 5.6 และคาดการว่าในปี 2562 อัตราว่างงานยังจะคงตัวที่ร้อยละ 5.5 ส่วนผู้ว่างงานทั่วโลกในปี 2561 คาดว่าจะอยู่ที่ 192.3 ล้านคน ลดลงจากปี 2560 ที่ 192.7 ล้านคน และคาดว่าในปี 2562 จะเพิ่มขึ้นเป็น 193.6 ล้านคน

"ถึงแม้ว่าการว่างงานทั่วโลกจะคงตัว แต่การขาดสภาพการจ้างงานที่ดีก็ยังคงแพร่หลายในทั่วโลก เศรษฐกิจโลกที่ชะงักงันก็ยังไม่สามารถสร้างตำแหน่งงานได้มากนัก" กาย ไรเดอร์ ผู้อำนวยการของ ILO ระบุ เขายังเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงคุณภาพงานให้แก่ผู้หางาน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้คนจะได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน

การจ้างงานที่ไม่มั่นคงเพิ่มขึ้น


ILO คาดการณ์ว่าภายในปี 2562 คนทำงานในประเทศกำลังพัฒนาทุก ๆ 3 ใน 4 คนจะถูกจ้างงานแบบไม่มั่นคง ที่มาภาพประกอบ: ILO in Asia and the Pacific (CC BY-NC-ND 2.0)

รายงานของ ILO ฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงความจริงที่ว่าความพยายามลดการจ้างงานที่ไม่มั่นคงได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งหมายความว่าคนทำงานเกือบ 1.4 พันล้านคน กำลังถูกจ้างงานในรูปแบบที่ไม่มั่นคง และเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมาคาดว่าจะมีผู้ที่ถูกจ้างงานไม่มั่นคงเพิ่มขึ้นอีก 35 ล้านคน ที่น่าตกใจคือภายในปี 2562 คนทำงานในประเทศกำลังพัฒนาทุก ๆ 3 ใน 4 คนจะถูกจ้างงานแบบไม่มั่นคง

ILO คาดว่าจำนวนคนทำงานที่ดำรงชีพต่ำกว่าเส้นความยากจนอยู่ที่ 176 ล้านคน ในปี 2561 หรือเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.2 ของคนที่ถูกจ้างงานทั้งหมดในโลก

"ในประเทศกำลังพัฒนา ความคืบหน้าในการลดความยากจนดูเหมือนจะดำเนินการช้าเกินไปเมื่อเทียบกับการขยายตัวของกำลังแรงงาน" สเตฟาน คูห์น นักเศรษฐศาสตร์ของ ILO ทีมเขียนรายงานฉบับนี้ระบุ

นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานของผู้หญิงอยู่ในระดับต่ำกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับคุณภาพงานและรายได้จากการทำงานต่ำกว่าผู้ชาย โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงมีโอกาสน้อยกว่าผู้ชายที่จะมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน ทั้งนี้พบว่าช่องว่างระหว่างเพศในการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานทั่วโลกมีสูงกว่าร้อยละ 26 ผู้หญิงไม่ค่อยมีโอกาสได้หางานทำ และช่องว่างเหล่านี้มีความห่างมากขึ้นในภูมิภาคแอฟริกาเหนือและอาหรับซึ่งผู้หญิงมีแนวโน้มการว่างงานสูงกว่าผู้ชายสองเท่า

และแม้จะได้รับการจ้างงาน แต่ผู้หญิงต้องเผชิญกับปัญหาการกีดกันทางเพศและการเข้าถึงการจ้างงานที่มีคุณภาพ ตัวอย่างเช่นในปี 2560 ผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนาร้อยละ 82 ทำงานในลักษณะที่มีการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ซึ่งเทียบผู้ชายที่ทำงานในลักษณะนี้มีเพียงร้อยละ 72 เท่านั้น

ส่วนปัญหาการว่างงานของแรงงานวัยหนุ่มสาว (อายุต่ำกว่า 25 ปี) เป็นอีกหนึ่งความท้าทายระดับโลกที่สำคัญ คนหนุ่มสาวมีโอกาสน้อยที่จะได้รับการว่าจ้างมากกว่าผู้ใหญ่ โดยมีอัตราการว่างงานของคนหนุ่มสาวทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 13 หรือสูงกว่าแรงงานผู้ใหญ่ถึง 4.3 เท่า ปัญหานี้เกิดขึ้นทั่วโลกและรุนแรงเป็นอย่างยิ่งในแอฟริกาเหนือซึ่งเกือบร้อยละ 30 ของคนหนุ่มสาวในตลาดแรงงานไม่มีงานทำ

การเปลี่ยนแปลงของการจ้างงานในอนาคต


ในปี 2573 อายุเฉลี่ยของคนวัยทำงานทั่วโลกจะอยู่ที่ 41 ปี ที่มาภาพประกอบ: ILO in Asia and the Pacific (CC BY-NC-ND 2.0)

เมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของภาคการจ้างงาน ในรายงานฉบับนี้ระบุว่าการจ้างงานภาคบริการจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการเติบโตของการจ้างงานในอนาคต ขณะที่การจ้างงานในภาคการเกษตรและภาคการผลิตจะยังคงลดลง

ในรายงานยังได้ระบุถึงอิทธิพลของการเข้าสู่สังคมสูงวัย การเติบโตของการจ้างงานทั่วโลกจะไม่เพียงพอที่จะชดเชยต่อการขยายตัวของคนวัยเกษียณที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการที่มีผู้เกษียณอายุจำนวนมากขึ้นจะส่งผลต่อระบบเงินบำนาญและตลาดแรงงานโดยตรง

โดยอายุเฉลี่ยของคนวัยทำงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากอายุเฉลี่ยที่ 40 ปี ใน ปี 2560 เป็น 41 ปี ในปี 2573 ส่วนในประเทศที่พัฒนาแล้ว ภายในปี 2573 คนทำงานเกือบ 5 คนจากทุก ๆ 10 คน จะมีอายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากในปี 2560 ที่มีเพียงร้อยละ 3.5 เท่านั้น



ที่มาเรียบเรียงจาก
ILO: Unemployment and decent work deficits to remain high in 2018 (ILO, 22/1/2018)
World Employment and Social Outlook: Trends 2018 (ILO, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 28/1/2018)


[full-post]

Posted: 29 Jan 2018 02:56 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซต์ประชาไท)

คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ส่งหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ ขอให้ทบทวนการดำเนินคดีกับผู้จัดกิจกรรมเดินมิตรภาพ และผ่อนปรนการแสดงออกของประชาชนที่เป็นไปโดยสันติ

ภาพขณะเจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา (ที่มาภาพ เพจ People GO network)
29 ม.ค.2561 มติชนออนไลน์ รายงานว่า คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ส่งหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่อง ขอให้ทบทวนการดำเนินคดีกับผู้จัดกิจกรรมเดินมิตรภาพ และผ่อนปรนการแสดงออกของประชาชนที่เป็นไปโดยสันติ มีรายละเอียดดังนี้

ตามที่กลุ่มองค์กรภาคประชาชนต่างๆ ในนามของ People Go Network ได้จัดกิจกรรม We Walk เดินมิตรภาพ เพื่อรณรงค์เรื่องหลักประกันสุขภาพ ทรัพยากร ความมั่นคงทางอาหาร และสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มต้นกิจกรรมที่วิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2561 ที่ผ่านมา นั้น

เนื่องจากทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินคดีผู้จัดกิจกรรมจำนวน 8 คน ในข้อหาฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 ที่ห้ามมิให้มั่วสุมประชุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นอาจารย์ที่เป็นคณบดีคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย

ในฐานะที่กิจกรรมนี้เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นชุมชนทางวิชาการ และเป็นสถาบันการศึกษาที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนเสมอมา รองอธิการบดีที่รับผิดชอบพื้นที่ศูนย์รังสิต ร่วมผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่านอื่น อันประกอบด้วยรองอธิการบดี 4 คน คณบดี 10 คณะ ผู้อำนวยการสถาบัน 5 สถาบัน และผู้ช่วยอธิการบดี 10 คน ตามรายนามข้างท้าย จึงใคร่ขอแสดงความคิดเห็นดังต่อไปนึ้

1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ได้สิ้นสภาพลงไปแล้ว นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2560 มี่ผ่านมา ถึงแม้ว่าบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะกำหนดให้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และคำสั่งของ คสช. ที่ออกตามมาตรา 44 จะยังมีผลบังคับใช้ต่อไป แต่ในเมื่อประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนแล้ว การจำกัดสิทธิเสรีภาพต้องกลายเป็นเรื่องยกเว้น มิใช่เรื่องหลักอีกต่อไป

ดังนั้น คำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ที่ ห้ามมั่วสุมประชุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ซึ่งเปิดให้เจ้าหน้าที่รัฐตีความและใช้อำนาจนี้อย่างกว้างขวาง ในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จึงควรต้องทบทวนที่จะบังคับใช้ต่อไป มิเช่นนั้นแล้ว จะเท่ากับว่ารัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งผ่านการลงประชามติและประกาศใช้แล้ว ยังคงไม่มีผลบังคับใช้ และเท่ากับว่าประเทศไทยยังไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรอยู่เหมือนเดิม ซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น

2. ประเทศไทยกำลังเดินหน้าตามโรดแมปกลับสู่สภาวะปกติ คสช. จึงควรเปิดกว้างมากขึ้น และให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพภายในขอบเขตของกฎหมายและภายใต้รัฐธรรมนูญมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแสดงออกและการมีส่วนร่วมของพลเมือง ดังที่ ท่านนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้กล่าวหลายครั้งว่า ประชาชนอย่าเอาแต่รอรัฐบาล แต่ต้องมาช่วยกันแก้ปัญหาของประเทศด้วย การแสดงออกของประชาชนภายในขอบเขตของกฎหมายปกติ และโดยสันติวิธี จึงเป็นสิ่งที่ควรได้รับการสนับสนุน การดำเนินคดีต่อผู้จัดกิจกรรมการแสดงออกใดๆ ควรจะดำเนินการต่อเมื่อผู้จัดกิจกรรมฝ่าฝืนกฎหมายปกติเท่านั้น

3. การจัดกิจกรรม We Walk เดินมิตรภาพ ที่กำลังเดินไปตามถนนมิตรภาพโดยมีปลายทางที่จังหวัดขอนแก่นนั้น เป็นกิจกรรมรณรงค์ประเด็นทางสังคมโดยใช้วิธีการเดินรณรงค์ ทำนองเดียวกับการจัดวิ่ง หรือขี่จักรยาน หรือกิจกรรมรณรงค์รูปแบบอื่นในทำนองเดียวกัน คสช. จึงไม่ควรถือว่าเป็น การมั่วสุมประชุมทางการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อศาลปกครองได้มีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราว ห้ามเจ้าหน้าที่ตำรวจปิดกั้นขัดขวางการใช้เสรีภาพในการชุมนุมและต้องอำนวยความสะดวกปลอดภัยในการชุมนุม จึงไม่ควรมีการดำเนินคดีด้วยข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 อีก

โดยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายที่เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตามรายนามข้างท้าย จึงใคร่ขอให้ คสช. โปรดทบทวนการดำเนินการกับผู้จัดกิจกรรมทั้ง 8 คน รวมถึงผ่อนปรนการแสดงออกของประชาชนที่เป็นไปอย่างสันติ ในขอบเขตของกฎหมายปกติ และโดยวิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ขอให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะการสั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินคดี อาจถือได้ว่าเป็นการก้าวล่วงพนักงานเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งทำให้กลายเป็นเรื่องการเมือง ไม่ใช่การบังคับใช้กฎหมายอีกต่อไป อันไม่เป็นผลดีต่อประชาชน ภาพลักษณ์ต่อประชาคมโลกที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก และต่อ คสช. เองด้วย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง

ขอแสดงความนับถือ

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล​ รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต 2. รองศาสตราจารย์ ดร. ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ 3. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรพรรณ โพชนุกูล รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา 4. รองศาสตราจารย์ ดร. กิตติ ประเสริฐสุข รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ 5. รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 6. รองศาสตราจารย์ ดร. ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล​ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ 7. รองศาสตราจารย์ ดร. ชยันต์ ตันติวัสดาการ​คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์​​ คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 9. รองศาสตราจารย์ ดร. ดำรงค์ อดุลยฤทธิกุล​​คณบดีคณะศิลปศาสตร์ 10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์​ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ 11. รองศาสตราจารย์ ดร. สมชาย ชคตระการ​คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 12. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดิลก ภิยโยทัย​​ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ 13. รองศาสตราจารย์ ดร. ธีร เจียศิริพงษ์กุล​​ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ 14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิตติ มงคลชัยอรัญญา​ คณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ 15. อาจารย์ ดร.วสันต์ เหลืองประภัสร์ ​ผู้อำนวยการสำนักงานสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย

16. รองศาสตราจารย์ ดร.ประภัสสร์ วังศกาญจน์​ ผู้อำนวยการสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา 17. อาจารย์ ดร.ปกป้อง ส่องเมือง​ผู้อำนวยการ สำนักงานศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 18. อาจารย์ ดร. อนุชา ทีรคานนท์ ​ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา 19. รองศาสตราจารย์ ดร. สุพงศ์ ตั้งเคียงศิริสิน ​ผู้อำนวยการสถาบันภาษา 20. อาจารย์ ดร.อดิศร จันทรสุข ​ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ 21. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาริยา ณ นคร​ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา 22. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการคลัง 23. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณภา ติระสังขะ ​ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารท่าพระจันทร์ 24. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระ สินเดชารักษ์
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ​ 25. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร 26. นายบุญสม อัครธรรมกุล​ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิษย์เก่าสัมพันธ์

[full-post]


Posted: 29 Jan 2018 03:26 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซต์ประชาไท)

นักโทษหญิงข้ามเพศที่เรือนจำเอชเอ็มพีเพรสตัน แลงคาเชียร์ ประเทศอังกฤษ พูดถึงสภาพเหมือน "ฝันร้าย" ที่เธอต้องเผชิญในเรือนจำชาย ทำให้เธอเริ่มอดอาหารประท้วง เธอบอกว่าเธอเตรียมใจตายไว้แล้วถ้าหากรัฐบาลไม่ยอมรับเพศสภาพที่เธอนิยามตัวเอง

29 ม.ค. 2561 มารี ดีน เป็นผู้ต้องขังหญิงข้ามเพศอายุ 50 ปี ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำชายล้วนของทัณฑสถานเอชเอ็มพี เธออดอาหารประท้วงกระทรวงยุติธรรมที่ไม่ยอมรับว่าเธอเป็นผู้หญิงโดยบอกว่ามันทำให้เธออยู่ในสภาพ "ฝันร้าย"

ในจดหมายของดีนลงวันที่ 17 ม.ค. ส่งออกจากคุกไปถึงเพื่อนๆ ของเธอระบุว่าเธอรู้สึกถูกลดทอนความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้เธอยังอ้างอิงถึงกรณีของ บ็อบบี แซนด์ นักโทษไออาร์เอที่อดอาหารประท้วงเสียชีวิตในปี 2524 โดยบอกว่าเธอยอมตายดีกว่าถูกปฏิเสธไม่ยอมรับเพศสภาพของเธอ โดยที่ในปีที่แล้วมีหญิงข้ามเพศอย่างน้อย 3 ราย ที่ฆ่าตัวตายในเรือนจำชายล้วน

จดหมายของดีนระบุว่า "ฉันตัดสินใจแล้วเมื่อวานนี้ว่าฉันไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ฉันหยุดกิน หยุดดื่ม ฉันควรจะตายภายในประมาณ 3 หรืออาจจะ 4 สัปดาห์ ฉันคิดว่ามีหญิง(ข้ามเพศ) 3 รายแล้วที่ฆ่าตัวตายไป ฉันคิดว่าพวกเธอทำมันเร็วเกินไป ฉันจำเรื่องบ็อบบี แซนด์ ได้หลายปีมาแล้ว ไม่กินไม่ดื่มจนกระทั่งเขาตาย ความเชื่อของเขาผลักดันให้เขาทำสำเร็จได้"

ดีนได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไม่พอใจในเพศของตัวเอง (Gender dysphoria) ซึ่งในเชิงจิตเวชยุคปัจจุบันควรเน้นการบำบัดด้วยการให้ผู้ป่วยได้สามารถแสดงออกทางเพศสภาพที่ตนเองต้องการได้ ดีนถูกสั่งให้จำคุกด้วยข้อกล่าวหา "บุกรุก" และสิ่งที่ทางการอังกฤษตัดสินว่าเป็น "การถ้ำมอง" จากการที่เธอบุกเข้าไปในบ้านคนอื่นแล้วถ่ายภาพตัวเองสวมชุดชั้นในของผู้หญิง

ดีนกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่เรือนจำไม่ยอมให้เธอได้รับเครื่องหนีบผม เครื่องถอนผม หรือเครื่องสำอางใดๆ จดหมายของเธอยังทำให้มีการเปิดเผยเรื่องที่หญิงข้ามเพศกลุ่มหนึ่งในเรือนจำชายล้วนของเอชเอ็มพีร่วมใจกันฆ่าตัวตายเพราะการปฏิบัติเลวร้ายจากในเรือนจำ ไม่ว่าจะเป็นการถูกข่มเหงรังแกจากเจ้าหน้าที่เรือนจำและการที่ไม่มีใครยอมรับฟังพวกเธอ หนึ่งในนั้นคือเจนนี สวิฟต์ ผู้ผูกคอตายในห้องขังของตนเอง

อย่างไรก็ตามหลังจากที่ได้รับจดหมายฉบับล่าสุดจากดีนแล้วเพื่อนของดีนก็บอกว่าไม่ได้รับการติดต่อจากเธออีกเลยทำให้เพื่อนของดีนกังวลเรื่องสวัสดิภาพของเธอ

เพื่อนของดีนออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กระทรวงยุติธรรมเคารพในสิทธิของคนข้ามเพศเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์น่าเศร้าขึ้นอีก ในแถลงการณ์ระบุว่า "พวกเราเรียกร้องเจาะจงให้มารี ดีน สามารถกลับมานิยามตัวเองเป็นหญิงได้โดยทันที และควรได้รับการเคารพในความเป็นมนุษย์จากเจ้าหน้าที่ทุกคน การคืนเสื้อผ้าและเครื่องสำอางให้เธอถือเป็นการคืนเกียรติยศศักดิ์ศรีให้กับเธอและขอให้เธอถูกย้ายไปอยู่ในพื้นที่เรือนจำหญิงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การปล่อยให้เธออยู่ในพื้นที่เรือนจำชายต่อไปจะทำให้เธอถูกข่มเหงรังแกหนักขึ้นไปอีก รวมถึงต้องเผชิญกับความเจ็บปวดและพฤติกรรมเหยียดคนข้ามเพศหนักขึ้น"

แถลงการณ์จากเพื่อนของดีนยังวิพากษ์วิจารณ์กระทรวงยุติธรรมของอังกฤษที่ไม่ยอมรับเพศสภาพของผู้คนตามนิยามของพวกเขาเอง ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในเพศสภาพนั้นมานานแค่ไหนก็ตาม และในกรณีของดีนเธอต้องเผชิญกับความบอบช้ำมานานแล้วจนถึงขั้นทำให้เธอเลิกล้มและอยากตาย

เมื่อปี 2560 ทางกระทรวงยุติธรรมของอังกฤษเริ่มออกแนวทางวิธีการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่เป็นคนข้ามเพศโดยระบุว่าควรมีการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของปัจเจกบุคคลและในทุกกรณีควรจะมีการพิจารณา 3 วันก่อนการนำตัวเข้าไปเป็นผู้ต้องขัง โดยจะมีการพิจารณาว่าพวกเขาควรจะไปอยู่ในสถานที่ใดถึงจะดีที่สุดเว้นแต่สถานที่นั้นๆ จะเสี่ยงทำให้เกิดอันตราย


เรียบเรียงจาก

Transgender woman in male prison ‘nightmare’ on hunger strike, The Guardian, 28-01-2018
https://www.theguardian.com/society/2018/jan/27/marie-dean-trans-prisoner-male-prison-hunger-strike


ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
https://www.psychiatry.org/patients-families/gender-dysphoria/what-is-gender-dysphoria[full=post]


Posted: 29 Jan 2018 04:15 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซต์ประชาไท)

สฤณี อาชวานันทกุล ประกาศไม่รับตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หลัง พล.อ.ประยุทธ์ เซ็นแต่งตั้ง เผยไม่เคยได้รับการทาบทามใดๆ มาก่อนเลย ถาม "เมื่อไหร่เผด็จการทหารจะเลิกตู่เอาเองเสียที"

29 ม.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 17.17 น. เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล' ของ สฤณี อาชวานันทกุล โพสต์ภาพคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงนามในฐานะนายกรัฐมนตรี ตั้ง สฤณี เป็น 1 ใน กรรมการคณะดังกล่าว
สฤณี โพสต์ข้ความพ้อมคำสั่งดังกล่าวว่า คำสั่งดังกล่าวมีลายเซ็นผู้นำเผด็จการทหารในฐานะนายกฯ ลงวันที่ 29 ธ.ค. 2560 ที่ผ่านมา

"ขอแจ้งสั้นๆ นะคะว่า ตัวเองไม่เคยได้รับการทาบทามใดๆ มาก่อนเลย และต่อให้ได้รับการทาบทาม ก็ไม่ยินดีที่จะทำงานใดๆ ให้กับคณะกรรมการไหนก็ตามที่เผด็จการแต่งตั้ง" สฤณี โพสต์ พร้อมระบุด้วยว่าเบื่อหน่ายและรู้สึกเซ็งมากกับเรื่องแบบนี้

"เมื่อไหร่เผด็จการทหารจะเลิกตู่เอาเองเสียที ที่ผ่านมาก็เคยเจอเรื่องประมาณนี้มาแล้วสองสามครั้ง หน่วยงานอะไรสักอย่างจะเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการที่เผด็จการตั้ง แต่อย่างน้อยหน่วยงานเหล่านั้นยังให้เกียรติโทรมาถาม พอตอบปฏิเสธไปเขาก็ไม่เสนอชื่อต่อ" สฤณี โพสต์


Posted: 29 Jan 2018 04:54 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซต์ประชาไท)

รมว.แรงงาน เผย เสนอการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 เข้าที่ประชุม ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบ 30 ม.ค.นี้ ด้านคสรท. ยันต้องขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ-เลี้ยงดูครอบครัวได้

29 ม.ค. 2561 รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงาน ระบุว่า วันนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลัง ชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ขอเข้าพบเพื่อหารือประเด็นการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ชั้น 6 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยได้กล่าวยืนยันว่า รัฐบาลได้ดำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2561 เฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น 5% โดยปรับขึ้นค่าจ้างทุกจังหวัดตั้งแต่ 5-22 บาท ถือว่าสูงที่สุดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยจะมีผลต่อแรงงานและผู้มีรายได้น้อย ซึ่งส่วนใหญ่มีเสียงตอบรับดี ส่วนผลกระทบต่อเอสเอ็มอีนั้น ขณะนี้รัฐบาลได้มีมาตรการที่จะรองรับไว้แล้วทั้งด้านมาตรการทางภาษีของกระทรวงการคลัง การพัฒนายกระดับผลิตภาพเอสเอ็มอีของกระทรวงอุตสาหกรรม และการควบคุมราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ โดยทั้งหมดจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบในวันอังคารที่ 30 มกราคมนี้

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวต่อว่า กรณีมีข้อเรียกร้องให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั้งประเทศนั้น ได้รับไว้พิจารณาเพราะถือว่ามีเหตุผล โดยยืนยันว่าที่ผ่านมาคณะกรรมการค่าจ้างได้พิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ ค่าครองชีพในพื้นที่ตามที่คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดเสนอมา ส่วนมาตรการลดเงินประกันสังคมและการให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปปรับโครงสร้างค่าจ้างประจำปีนั้น ขณะนี้ยังเป็นเพียงข้อเสนอเท่านั้น ซึ่งกระทรวงแรงงานจะพิจารณาในรายละเอียดเพื่อให้เกิดความรอบคอบอีกครั้งต่อไป

“ทุกอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เราต้องพิจารณาอย่างรอบคอบรอบด้านในภาพรวมของประเทศการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ ก็เช่นเดียวกันอาจจะส่งผลกระทบในช่วงต้น แต่เชื่อมั่นว่าต่อไปจะส่งผลดีต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอน” พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าว

'สมานฉันท์แรงงาน' ร้องประยุทธ์ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั้งประเทศ เลี้ยงครอบครัวได้อย่างเพียงพอ
'สมานฉันท์แรงงาน' ร้องปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ต้องเลี้ยง 3 คนในครอบครัว-เท่ากันทั้งประเทศ

ด้านรองประธาน คสรท. ยังคงหลักการว่าค่าจ้างขั้นต่ำควรเท่ากันทุกจังหวัดทั่วประเทศเพื่อให้สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ ขณะเดียวกันต้องการให้กระทรวงแรงงานปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานเพื่อให้สถานประกอบการปรับโครงสร้างค่าจ้างประจำปี และเปลี่ยนคำนิยาม ค่าจ้างขั้นต่ำ เป็น ค่าจ้างแรกเข้า เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและเกิดประโยชน์กับนายจ้างและลูกจ้างมากที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า มติคณะกรรมการค่าจ้าง ได้เสนอปรับค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2561 เป็น 7 ระดับ ซึ่งปรับเพิ่ม 5 บาท มี 17 จังหวัด และปรับเพิ่ม 10 บาทมีถึง 27 จังหวัด ส่วนจังหวัดที่ปรับในสัดส่วนที่สูงกว่า มีเพียง 4 จังหวัด คือ 17 บาท มี 1 จังหวัด ปรับขึ้น 20 บาท(ฉะเชิงเทรา) และ 22 บาทมีเพียง 2 จังหวัด (ระยอง และชลบุรี)[full-post]

สภาพของตลาดพิมลชัย อ.เมือง จ.ยะลา หลังถูกวินาศกรรมเมื่อ 22 ม.ค. 2561

Posted: 29 Jan 2018 07:29 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซต์ประชาไท)


โซรยา จามจุรี คำนึง ชำนาญกิจ และ นิฮัสน๊ะ กูโน บันทึก

แม้ตลาดเป็นลมหายใจเข้าออกของชีวิตมาหลายสิบปี ของครอบครัว “เจนนฤมิตร” ไม่แตกต่างจากมามา หรือ “ฮาซานะ เจ๊ะมีนา” (ซึ่งสูญเสียลูกชาย คือยีลี หรือ มะยากี แวนาแว ในตลาดสดพิมลชัยเมื่อ 22 ม.ค.2561 เขียนไว้ในเรื่องเล่าตอนที่แล้ว ) แต่การสูญเสียภรรยา คือ สุปรีดา เจนนฤมิตร ในตลาดสดพิมลชัย ที่ผ่านมานี้ คงทำให้ “วรศักดิ์” ผู้เป็นสามี ตัดสินใจขอปิดฉากชีวิตทำมาค้าขายตลอด 20 ปี ในตลาดลง เพราะไม่มีใครรับสานต่อ ตัวเขาเองก็มีงานทำเป็นช่างอยู่แล้วที่โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อ.เมือง จ.ปัตตานี (ภรรยา เป็นน้องสาวของเจ้าของโรงแรมเซาท์เทิร์นวิว) ในขณะที่คนในครอบครัวที่เหลือคือ ลูกชาย 2 คน มีงานทำอยู่ที่กรุงเทพฯ

วรศักดิ์ เล่าว่าลูกชายที่เรียนจบปริญญาตรีทั้งสองคน โดยคนโตเป็นวิศวกรช่างโยธา คนเล็กทำงานบริษัท เป็นผลิตผลของความอดทน ขยันหมั่นเพียรของภรรยาเป็นหลัก ที่ทำมาค้าขายอยู่ในตลาด ประเภทของเบ็ดเตล็ดต่างๆ รวมทั้งรับฝากรถ และเปิดบริการห้องน้ำ ภรรยายังหารายได้อีกทาง ด้วยการทำหน้าที่จ่ายตลาดซื้อวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ทำอาหารส่งให้โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว

สุปรีดาและวรศักดิ์ เจนนฤมิตร

ครอบครัวไม่ได้อาศัยตลาดสำหรับเป็นที่ทำมาค้าขายเท่านั้น แต่เขายังมี “บ้าน” เป็นที่หลับนอนอยู่ในตลาดด้วย เป็นชั้นบนของร้าน ด้วยเหตุนี้ ในเช้าตรู่ของวันเกิดเหตุ เขาจึงอยู่ในเหตุการณ์ เขาเล่าว่า สิ้นเสียงระเบิด เขาตะโกนเรียกภรรยา แล้ววิ่งออกมาหน้าบ้าน เห็นภรรยาโดนระเบิดนอนอยู่ เขาจึงรีบเข้าไปอุ้มเธอไว้และเขย่าตัวเรียก ตอนนั้นเธอยังไม่สิ้นลม มีอาการตอบรับ เปลือกตายังขยับขึ้นลงเล็กน้อย ก่อนที่ทุกอย่างจะสงบนิ่งไปในอ้อมกอดของเขา กลางตลาดในเช้าที่แสนจะมืดมนที่สุดในชีวิตของเขา

เมื่อเล่ามาถึงตรงนี้ เขาหยุดนิ่งไปสักครู่ แล้วก็พูดออกมาด้วยเสียงที่เบาอยู่ในลำคอ และขอบตาเริ่มแดง ว่า “ผมคิดถึงเขานะ”

หลายคนคงจำภาพเขากับภรรยาได้ติดตา เพราะเป็นภาพที่มีผู้บันทึกนาทีนั้นไว้ทัน และโพสต์แชร์ทางโซเชียลมีเดียในช่วงวันแรกๆของการเกิดเหตุ ซึ่งสร้างความสะเทือนใจให้แก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก

วรศักดิ์อยู่ในชุดนอน ขาข้างซ้ายเลือดโชก ประคองภรรยาที่นอนนิ่งกับพื้นไว้ในอ้อมกอด แล้วตัวเขาก็เอี้ยวตัวหันออกมาด้วยสายตาที่วิงวอน เหมือนกำลังจะร้องขอความช่วยเหลือจากใครก็ตามที่อยู่ใกล้ๆ ท่ามกลางซากปรักหักพังของร้านรวง...


“คนที่ไม่เจอเหตุการณ์แบบนี้กับตัวจริงๆ ก็คงไม่รู้ว่าเป็นยังไง ครั้งก่อนๆ เพื่อนๆเจอเหตุการณ์ ผมก็เห็นใจเขานะ แต่ตอนนี้เรามาเจอกับตัวเราเอง ภรรยาเราเอง มันหนักมาก พูดไม่ออก ก็ขอให้ทางรัฐช่วย ว่าจะช่วยยังไง เราก็ได้แต่ระวังตัว แค่นั้นเอง”


วรศักดิ์ เป็นคนหาดใหญ่ ส่วนภรรยาเป็นคนยะลา เขาแต่งงานอยู่กินกับภรรยาที่ยะลามาสามสิบปี พบเห็นและประสบเหตุการณ์ความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ต่างจากคนในพื้นที่ตลอด 14 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปี 2547 และเมื่อ 23 ส.ค. 2559 ก็เกิดเหตุระเบิดที่โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อ.เมือง จ.ปัตตานี ที่เขาทำงานอยู่ ซึ่งครั้งนั้น มีผู้เสียชีวิต 1 คนบาดเจ็บ 30 คน อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่า ก็ไม่คิดที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น แม้ในครอบครัวไม่เหลือใครอยู่ในพื้นที่แล้วก็ตาม

“ไม่ท้อ สู้ครับ” คำพูดนี้ ทำให้เราผู้ไปเยี่ยมรู้สึกชื่นใจแทน และชื่นชมในความเข้มแข็งของเขา

เมื่อถามว่า มีพี่น้องมุสลิมเข้ามาเยี่ยมเยียนไหม เขาบอกว่า มากันตลอด อีกสักพัก ก็จะมีเพื่อนๆ และลูกน้องซึ่งเป็นมุสลิมทำงานที่โรงแรมด้วยกันมาเยี่ยมและให้กำลังใจ น้องคนที่นั่งอยู่ในงานศพคนนั้น (เขาชี้มาที่ชายร่างอ้วน ที่นั่งคุยอยู่ในวงญาติ โต๊ะใกล้ๆ) ก็เป็นมุสลิมที่ทำงานด้วยกันนะ เขามาช่วยผมตั้งแต่วันที่เกิดเหตุจนถึงวันนี้ เขาไม่ทิ้งผมเลย

“เรื่องนี้ มันไม่ได้เกี่ยวกับศาสนา” เขาบอกเรา

แม้เหตุการณ์ครั้งนี้ วรศักดิ์ เห็นว่าเป็นเรื่องสุดวิสัย แต่เขาก็เห็นว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยในตลาด ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อป้องกันเหตุร้าย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก เขาให้ความเห็นว่า


“คราวนี้ก็ต้องอยู่ที่ภาคส่วนของรัฐกับชาวบ้านต้องช่วยสอดส่องดูแลกัน ภาครัฐอย่างเดียวไม่ได้หรอก ต้องภาคประชาชนด้วย อันไหนผิดสังเกตต้องแจ้ง แล้วต้องบอกต่อ และต้องมีหน่วยงานที่รับเรื่องนี้โดยตรง โดยเฉพาะ เช่นถ้ามีรถผิดสังเกตจอดหน้าร้าน ให้โทรไปไหน เบอร์อะไร ให้มีองค์กรชัดเจนที่รับเรื่อง ในตลาดไม่มีกล้องวงจรปิด มืดด้วย ทางเข้าตลาดก็เข้าได้หลายทาง”

ความปลอดภัยในตลาด ก็คือ ความปลอดภัยของชีวิตแม่ค้า พ่อค้า ที่หาเช้ากินค่ำ ผู้คนที่เข้ามาจับจ่ายซื้อของในชีวิตประจำวัน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพลเรือนทั้งที่เป็นพุทธ และมุสลิม ตลาดจึงเป็นพื้นที่สาธารณะ ที่ต้องได้รับการยกเว้นจากการก่อเหตุรุนแรง และปฏิบัติการทางทหาร ไม่ว่าจะมาจากฝ่ายใดก็ตาม!

พื้นที่สาธารณะต้องปลอดภัย


0000

ข้อเสนอเรื่องตลาดปลอดภัย ของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้
(Peace Agenda of Women- PAOW)


กลุ่มองค์กรผู้หญิงภาคประชาสังคม 23 องค์กร ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นของผู้หญิงในชุมชนที่ได้รับผลกระทบในชายแดนภาคใต้ประมาณ 500 คนจาก 5 เวที ในช่วงเดือนต.ค. 2558 –เมษายน 2559 พบว่าพื้นที่สาธารณะที่ผู้หญิงอยากให้ปลอดภัยมากที่สุด คือ ตลาด เนื่องจากเคยมีเหตุรุนแรงเคยเกิดขึ้นในตลาด ที่ทำให้ผู้หญิง และประชาชนต้องเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ จากข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ม.อ.ปัตตานี นับตั้งแต่ ม.ค. 2547 – ต.ค.2560 มีผู้หญิงเสียชีวิตจากเหตุการณ์ไม่สงบ 610 คน บาดเจ็บ 2,496 คน (เหตุระเบิดในตลาดพิมลชัย เมื่อ 22 ม.ค.2561 มีผู้หญิงเสียชีวิต 2 คนจากผู้เสียชีวิตทั้งหมด 3 คน บาดเจ็บ 17 คน จากผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 22 คน )


นอกจากนี้ ผู้หญิงยังเห็นว่าตลาดยังมีคุณค่าและความหมายต่อผู้หญิงมาก เนื่องจากเป็นแหล่งทำมาหากินเพื่อความอยู่รอดของทุกคน เป็นที่ที่ผู้หญิงสามารถประกอบอาชีพ หารายได้เลี้ยงดูจุนเจือครอบครัว ตลาดช่วยให้ผู้หญิงมีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ มีอำนาจในการตัดสินใจจับจ่ายใช้สอย เป็นพื้นที่ที่ผู้หญิงต้องใช้ประโยชน์เนื่องจากบทบาททางเพศที่ต้องดูแลครอบครัว เป็นแม่บ้านทำกับข้าว ซื้อหาสินค้าส่วนตัว จัดหาสิ่งของจำเป็นสำหรับคนในครอบครัว เป็นจุดพบปะสังสรรค์ เข้าสังคม แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลาดนัดเป็นที่ที่ผู้หญิงสามารถใช้พักผ่อนหย่อนใจ มีความสุข ผ่อนคลายอีกทั้งตลาดยังเป็นพื้นที่ที่มีผู้คนหนาแน่น เป็นพื้นที่กลางของผู้คนที่มีความหลากหลายทั้งศาสนา เพศ วัย และชาติพันธุ์

ในการระดมความเห็นดังกล่าว ผู้หญิงยังมีข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยในตลาด อีกด้วยดังนี้

ต้องมีการจัดวางระเบียบของตลาด ทั้งการจอดรถ ทางเข้าออกของตลาด มีการวางจุดตรวจเป็นระยะ แต่จุดตรวจเหล่านั้น ควรมีระยะห่างพอสมควรกับตลาด ติดตั้งกล้องวงจรปิดที่มีประสิทธิภาพทั้งในและบริเวณตลาด และที่จอดรถ มีการจัดประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาความปลอดภัยในตลาดอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ มีข้อเสนอด้วยว่าการรักษาความปลอดภัย ต้องให้เป็นไปตามบริบทพื้นที่ และควรมีการปรึกษาหารือ หรือให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของพื้นที่ หรือเป็นผู้ที่จะได้รับผลกระทบ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิด หรือออกแบบมาตรการในการรักษาความปลอดภัยของพื้นที่สาธารณะนั้นๆด้วย



แฟ้มภาพเพจ Banrasdr Photo

Posted: 29 Jan 2018 09:36 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซต์ประชาไท)

ศาลปกครองมีคําสั่งยกคําขอทุเลาการบังคับตามคําสั่งทางปกครองคดีพิพาทเกี่ยวกับคําสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ทางราชการกรณีโครงการรับจํานําข้าว

29 ม.ค. 2561 เว็บไซต์ศาลปกครอง รายงานวาา ศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ในคดีพิพาทเกี่ยวกับคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ทางราชการกรณีโครงการรับจำนำข้าว (คดีหมายเลขดำที่ 1996/2559 ระหว่าง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ผู้ฟ้องคดี) กับ นายกรัฐมนตรี ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี)

รายงานข่าวระบุว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า คําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่ทางราชการ กรณีมีการกล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีในฐานะนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ กระทําโดยจงใจปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจํานําข้าว และทําให้ทางราชการเสียหาย เป็นคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคําสั่งดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีได้มีคําขอวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาอีกครั้ง โดยขอให้ศาลมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามคําสั่งพิพาทไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ศาลจะมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามคําสั่งพิพาทในระหว่างพิจารณา คดีได้นั้น ต้องมีเงื่อนไขตามที่กฎหมายกําหนดไว้ 3 ประการ เกิดขึ้นครบถ้วน กล่าวคือ (1) คําสั่งพิพาท น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย (2) การให้คําสั่งพิพาทมีผลใช้บังคับต่อไปจะทําให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ที่ยากแก่การแก้ไขเยียวยาในภายหลัง (3) การทุเลาการบังคับตามคําสั่งพิพาทไม่เป็นอุปสรรคแก่การ บริหารงานของรัฐหรือแก่บริการสาธารณะ

เมื่อพิจารณาจากคําขอของผู้ฟ้องคดี ซึ่งได้ยื่นคําขอเป็นครั้งที่ 2 และข้อเท็จจริงจากการชี้แจงของคู่กรณี รวมถึงกรมบังคับคดีแล้ว เห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีจะอ้างเหตุของความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคําสั่งเรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้เงินหลายประการและผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ได้ดําเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีบ้างไปแล้วก็ตาม แต่ในเมื่อการที่จะวินิจฉัยว่า คําสั่งพิพาทจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นประเด็นในเนื้อหาของคดีที่ศาลจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป ในชั้นนี้ จึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่า คําสั่งพิพาทน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเห็นว่า เงื่อนไขที่ขอให้ศาลมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามคําสั่งพิพาทเกิดขึ้นไม่ครบถ้วน ศาลจึงไม่มีอํานาจสั่งทุเลาการบังคับตามคําสั่งที่เรียก ให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ไว้เป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดี

ศาลจึงมีคําสั่งยกคําขอทุเลาการบังคับตามคําสั่งทางปกครองของผู้ฟ้องคดี

ข่าวสดออนไลน์ รายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้วันที่ 10 เม.ย. 2560 ศาลปกครองเคยยกคำร้อง ขอทุเลาการบังคับคดีไปเเล้วครั้งหนึ่ง เนื่องจากครั้งนั้น เห็นว่าหลังจากผู้ถูกฟ้องคดีออกคำสั่งเรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ผู้ถูกฟ้องคดีมีหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วัน เเต่นอกจากหนังสือแจ้งเตือนดังกล่าวแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดียังไม่มีการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีและขายทอดตลาดเพื่อชำระค่าสินไหมทดแทนแต่อย่างใด

จึงเห็นว่าเงื่อนไขตามข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีในคำขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งพิพาทยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ กรณีจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ศาลจะมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่ง ศาลจึงมีคำสั่งยกคำขอวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาของผู้ฟ้องคดีในครั้งเเรก

[full-post]


Posted: 29 Jan 2018 11:28 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซต์ประชาไท)

31 ม.ค.นี้ ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษาคดี อภิชาติ ชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 57 ลุ้นบรรทัดฐานสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ พร้อมเปิด 6 ประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ฝ่ายจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์


ภาพและคลิปขณะเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ วันเกิดเหตุ

30 ม.ค. 2561 ผูัสื่อข่าวได้รับแจ้งจาก สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ว่าวันที่ 31 ม.ค.นี้ เวลา 10.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีที่ อภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ถูกฟ้องตามความผิดประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง และชุมนุมมั่วสุม ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรคแรก มาตรา216 และมาตรา 368 (คดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559)

คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ได้เลื่อนฟังคำพิพากษามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 30 ส.ค. 2560 และครั้งที่สองวันที่ 16 พ.ย. 2560

ยกฟ้องคดี 'อภิชาต' ชูป้ายต้าน คสช.-ศาลระบุกองปราบไม่มีอำนาจทำคดี
ศาลสั่งจำคุก 2 เดือน รอการลงโทษ 1 ปี คดีอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์
'คดีซับซ้อน' เลื่อนพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งที่ 2 คดี 'อภิชาต' ชูป้ายค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์ฯ

สนส ระบุด้วยว่า คดีนี้เกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐประหารคดีแรกๆ ย้อนกลับเมื่อวันที่ 23 พ.ค.2557 ภายหลังการรัฐประหารของ คสช. เพียงหนึ่งวัน กลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งได้ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ กรุงเทพ เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร ซึ่ง อภิชาต ก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมในวันดังกล่าว กลุ่มประชาชนที่ออกมาคัดค้านรัฐประหารในวันนั้นได้แสดงสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการคัดค้านรัฐประหาร ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายข้อความในกระดาษ A 4 ที่เตรียมกันมาเอง ในส่วนของ อภิชาตินั้น เขาได้ชูป้ายข้อความว่า “ไม่ยอมรับอำนาจเถื่อน” และในช่วงค่ำของวันนั้นเอง เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าเคลียร์พื้นที่และสลายกลุ่มประชาชน อภิชาติถูกทหารจับกุมและถูกนำตัวไปควบคุมไว้ภายใต้อำนาจของกฎอัยการศึก 7 วัน

ต่อมาวันที่ 28 เม.ย.2558 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ยื่นฟ้องอภิชาต ในความผิดฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ชุมนุมมั่งสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวานในบ้านเมือง ไม่เลิกชุมนุมเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก และขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามหน้าที่ตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันควร (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรคแรก มาตรา 216 และมาตรา 368)

อภิชาต ได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่เขาทำไม่ใช่ความผิด ผลคือศาลแขวงปทุมวันได้มีคำพิพากษายกฟ้อง เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2559 ด้วยเหตุผลว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

วันที่ 17 มี.ค. 2559 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ต่อมาวันที่ 6 มิ.ย. 2559 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลแขวงประทุมวันว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์ได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่

และต่อมาวันที่ 19 ธ.ค. 2559 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาใหม่ว่า จำเลยมีความผิดตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ให้พิจารณาโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรคแรก เป็นการกระทำกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด ให้จำคุกจำเลย 2 เดือน และปรับ 6,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน เห็นควรให้โอกาสจำเลยในการกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก

สนส รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า ต่อมาวันที่ 20 ก.พ. 2560 ฝ่ายจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลแขวงปทุมวัน ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย รวม 6 ประเด็น ดังนี้


ประเด็นแรก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เนื่องจากการสอบสวนในคดีนี้มิชอบด้วยกฎหมาย เพราะแม้พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปราม จะอ้างระเบียบว่าด้วยอำนาจการสอบสวน ว่าคดีนี้เป็น “คดีที่ประชาชนชนให้ความสนใจ” แต่พยานกลับให้การขัดแย้งกันเอง และจำเลยเป็นเพียงประชาชนธรรมดา ไม่ได้เป็นที่รู้จักหรืออยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไปแต่อย่างใด

ประเด็นที่สอง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้อยู่ในฐานะรัฐฐาธิปัตย์ เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวเป็นเพียงแนวคิดของนักวิชาการกฎหมายส่วนข้างน้อยเท่านั้น แต่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ถือว่าการได้มาซึ่งอำนาจของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มิใช่การได้มาซึ่งอำนาจการปกครองตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดรองรับอำนาจของพลเอกประยุทธ์ มีเพียงประกาศคณะรักษาความความสงบแห่งชาติซึ่งพลเอกประยุทธ์ ประกาศใช้เองโดยไม่ได้ผ่านความยินยอมของประชาชน ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับดังกล่าวจึงไม่มีผลเป็นกฎหมายซึ่งจะนำมาบังคับใช้กับจำเลยได้

ประเด็นที่สาม การประกาศกฎอัยการศึกโดยกองทัพบกในวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 และโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการประกาศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรนั้น ไม่ได้มีพระบรมราชโองการตามมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพ.ศ. 2457 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 7/2557 ที่มาใช้ดำเนินคดีกับจำเลย ยังไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 22 พฤษภาคม2557 แต่ประกาศภายหลังเหตุตามฟ้องวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 จำเลยซึ่งเป็นนักกฎหมายย่อมทราบดีถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของประกาศฉบับดังกล่าวที่ประกาศโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจและไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จำเลยจึงออกไปคัดค้านการรัฐประหารอย่างสันติวิธี เพราะเชื่อโดยสุจริตว่าประกาศดังกล่าวนั้นยังไม่มีผลบังคับใช้ และจำเลยมีสิทธิที่จะพิทักษ์รัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550

ประเด็นที่สี่ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 7/2557 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ไม่มีผลบังคับแล้ว เพราะได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ.ศ. 2558 ที่เป็นกฎหมายเฉพาะ และมีลักษณะเป็นคุณต่อจำเลย โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อห้ามมิให้มั่วสุมหรือเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป จำเลยจึงไม่ต้องผูกพันในการแก้ข้อกล่าวหาใดๆ ดังกล่าวอีก

ประเด็นที่ห้า พยานโจทก์ปากร้อยโทพีรพันธ์ สรรเสริญ ซึ่งศาลเชื่อว่าเป็นประจักษ์พยานเบิกความยืนยันการกระทำจำเลยได้อย่างดีนั้น ไม่มีพยานหลักฐานใดๆ ยืนยันว่าพยานปากดังกล่าวอยู่ในที่เกิดเหตุและเป็นผู้ควบคุมตัวจำเลย แม้แต่บันทึกการควบคุมตัวก็ไม่ปรากฏชื่อของร้อยโทพีรพันธ์ สรรเสริญ แต่อย่างใด คำเบิกความของพยานโจทก์ปากนี้จึงไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟัง

การกระทำของจำเลยไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามประกาศฉบับที่ 7/2557 เนื่องจากการไปชุมนุมและแสดงความไม่เห็นด้วยกับการการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติของจำเลย ไม่ใช่การชุมนุมมั่วสุมโดยมีเจตนาก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง แต่เป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ปราศจากความรุนแรง อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมของจำเลยมีเพียงแผ่นกระดาษขนาด A4 และในระหว่างการจัดกิจกรรมของจำเลยนั้นก็ไม่มีเหตุการณ์ความไม่สงบใดแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออก อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย เป็นไปตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และจำเลยเห็นว่าประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 7/2558 ไม่สามารถบังคับใช้กับจำเลยได้ เนื่องจากการยึดอำนาจนั้นยังไม่สำเร็จเสร็จสิ้น และประชาชนมีสิทธิคัดค้านโดยสงบและปราศจากอาวุธ อันเป็นสันติวิธีและเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

ประเด็นที่หก การกระทำของจำเลยไม่ถือเป็นการมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป เพื่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เนื่องจากข้อเท็จจริงยังไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยมีพฤติกรรมปลุกเร้าผู้ชุมนุมให้ฮึกเหิม หรือปลุกระดมกลุ่มผู้ชุมนุมให้เข้าร่วมมากขึ้น เพราะในทางนำสืบของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างลอยๆ โดยปราศจากพยานหลักฐานยืนยัน

อีกทั้ง ในการตีความกฎหมายซึ่งมีโทษทางอาญาจำต้องตีความโดยเคร่งครัด และต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์และเจตนาที่แท้จริงของจำเลยประกอบการวินิจฉัย มาตรา 69 และมาตรา 70 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ได้คุ้มครองรับรองสิทธิของประชาชนที่จะต่อต้านโดยสันติวิธีต่อการทำรัฐประหาร ซึ่งเป็นการได้อำนาจการปกครองประเทศมาโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยสุจริตใจและเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในฐานะพลเมืองที่มีหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตย จึงไม่เป็นการกระทำความผิดฐานมั่วสุมก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และขณะที่จำเลยถูกกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคดีนี้ เป็นวันที่ 23พฤษภาคม 2557 ภายหลังจากการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง 1 วัน ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะสามารถยึดอำนาจได้หรือไม่เพราะยังมีประชาชนออกมาต่อต้านและกฎหมาย


ซู่ชิง Jitsupa Chin

พ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกน้อยฝึกภาษาอังกฤษ-จีน แนะนำแก็ดเจ็ตตัวนี้เลยค่ะ แค่หยิบหนังสือนิทานที่เรามีมาวางไว้ตรงหน้า เจ้านกฮูก Luka ก็จะเริ่มอ่านออกเสียงให้ตามหน้าที่เราเปิด เค้ามีหนังสือในไลบรารี่เป็นหมื่นเล่ม ส่วนเล่มไหนที่ยังไม่มี คุณพ่อคุณแม่ก็อัดเสียงเอาเองได้ วันไหนว่างก็อ่านหนังสือกับลูก วันไหนไม่ว่างก็ให้ลูกอ่านกับ Luka นะคะ



ข้อมูลโดย เพจ  -  ซู่ชิง Jitsupa Chin


[full-post]


People GO network

#เดินมิตรภาพ #อยู่ไหนก็เดินได้

สองสามวันที่ผ่านมา มีเพื่อนเราจากหาดใหญ่บ้าง สตูลบ้าง หรือล่าสุด เมื่อวานนี้ที่สวนลุม ที่ออกมาเดินมิตรภาพในแบบของตนเอง

ขอเชิญชวนเพื่อนๆ ที่จะระบายความอึดอัดต่อสภาพบ้านเมืองออกมาผ่านการเดินมิตรภาพ หรือจะให้กำลังใจชาวWe walk ทั้ง 8 ที่โดนคดี หรือ จะสื่อสารปัญหา/ผลกระทบในพื้นที่ตนเองจากนโยบายรัฐ ด้วยการเดินมิตรภาพในพื้นที่ของตนเอง หน้าบ้าน ปากซอย จนถึงมหาวิทยาลัย หรือพื้นที่สาธารณะ

แล้วส่งภาพและเรื่องราวมาที่ inbox เพจหรือโพสแชร์มาก็ได้จ้า

ทุกก้าวของเพื่อนมีความหมาย
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารบอกต่อ
เพราะถนนทุกแห่ง แม่น้ำทุกสาย ทะเล ภูเขา และอากาศที่เราสูดเข้าไป เป็นของพวกเราทุกคน

#Wewalk #เดินมิตรภาพ
#เดินไปหาเพื่อน #เดินไปหาอนาคต


Atukkit Sawangsuk

เลือกรัฐประหาร หรือเลือกสลิ่มอกหัก แมลงสาบ พันธมาร? เริ่มมีคำถามในหมู่ผู้รักประชาธิปไตย

รู้น่ะ ไม่ได้ถามตรงแบบนี้หรอก คำถามที่เห็นๆ คือเราจะมีท่าทีอย่างไรต่อพวกสลิ่ม แมลงสาบ พันธมาร ที่ตอนนี้เริ่มออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐประหาร

แต่ผมลองเปลี่ยนคำถามใหม่ให้เห็นชัดๆ ซึ่งในทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธี 100% ก็แหงละ ไม่มีใครเลือกรัฐประหาร แต่ถามใจตัวเองดูซิ คุณเลือกที่จะเชียร์จะหนุนจะให้อภัยจะร่วมมือกับพวกที่สมคบกันโค่นล้มประชาธิปไตยได้จริงๆ หรือ

ก็อย่างที่ผมเขียนไว้ ถ้าอีก 2-3 ปี พรรคแมลงสาบกลายเป็นพระเอกนำประชาชนไล่เผด็จการ แม่-คือฝันร้ายชัดๆ

ในทางทฤษฎี เอากำปั้นทุบดินกี่ทีก็ตอบได้ว่า สุดท้ายต้องเป็นแนวร่วมกัน แต่คำว่าแนวร่วมไม่จำเป็นต้องไปโอ๋ไปเชียร์กันนี่หว่า แนวร่วมมันเกิดโดยธรรมชาติ ด่าแม่- จิกหัวแม่- พรรคแมลงสาบแม่-ก็ต้องขัดแย้งกับรัฐประหารอยู่ดี ในขณะเดียวกัน แม่-ก็ไม่เอาประชาธิปไตยอยู่ดี

สลิ่มอกหักไม่ได้เปลี่ยน ไม่ได้สำนึก ยังไม่เอาประชาธิปไตย ยังเห็นคนไม่เท่ากัน และไม่แยแส ไม่มีมนุษยธรรมมโนธรรม ต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพจับกุมคุมขังผู้รักประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นมากมายใน 4 ปี (ซ้ำเติมอีกต่างหาก) แค่โวยวายเมื่อตัวเองไม่พอใจเท่านั้น แล้วยังจะไปโอ๋ไปจูบปากมันได้ไงกันวะ

ฉะนั้น เมื่อคนพวกนี้อกหัก ออกมาโวยออกมาค้าน มันก็เป็นช่วงเวลาคืนความสุข สมควรแล้วที่เราจะได้หัวเราะเยาะหยันอย่างสะใจ หรือลากไส้คำพูดในอดีต พวกเมริงเชียร์รัฐประหารไว้อย่างไร ไม่ต้องไปคิดมากหง่าอะไร ว่ามันจะกระทบต่อการสร้างแนวร่วม เพราะถ้าจะเกิด มันก็เกิดอยู่ดี

อย่าลืมความจริงว่าต่อให้วันหนึ่งคนพวกนี้้เกลียดรัฐประหารเป็นขี้ มันก็เกลียดผู้รักประชาธิปไตย พร้อมจะให้ร้าย พร้อมจะแทงข้างหน้าข้างหลังอยู่ดี

ไม่ต้องไปเห็นใจไม่ต้องไปเอาใจช่วยไรหรอก อะไรจะเกิดมันก็เกิด อย่าไปแยแสสนใจ ประเภทกษิต ภิรมย์ อาหารดีดนตรีไพเราะ ออกมาทำเป็นชวนใหเหลืองแดงร่วมกัน มันไม่ใช่สำนึกผิดอะไร มันมาจากจุดยืนที่เสียประโยชน์

แล้วถ้าดูอนาคตการเมืองไทย ก็ไม่พ้นกับดักไปง่ายๆ อย่าไปเพ้อฝันประเภทแดงเหลืองสลิ่มนกหวีดจับมือกันไล่เผด็จการแล้วจะเกิดฟ้าสีทองผ่องอำไพ นับแต่นี้ประชาธิปไตยจะสดใส โธ่เอ๋ย มันยังขัดแย้งคดเคี้ยวอีกเยอะ ยังอาจจะสวิงไปสวิงมาหลายตลบ ฉะนั้นเราก็ต้องตั้งหลักไว้ให้ดี ใครทำถูกทำผิดแยกแยะให้กระจ่าง วันก่อนเมริงเรียกหารัฐประหาร วันนี้ออกมาเรียกร้องเสรีภาพ เออ ก็ดี แต่จะขุดภาพเป่านกหวีดคู่ไปด้วยไม่ให้ประชาชนลืม ไม่ให้วันหน้าเอาไปหลอกลูกหลอกหลานว่าตัวเองเป็นพวกไม่เอารัฐประหาร


Posted: 27 Jan 2018 08:52 PM PST

เตือน! ระวังถูกชักชวนร่วมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ผิดกฎหมายที่ไต้หวัน

กระทรวงแรงงานเตือนคนไทยระวังถูกหลอกชักชวนเข้าร่วมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ไต้หวัน เผยมีคนไทยถูกจับกุมแล้ว 8 คน ชี้มีความผิดตามกฎหมาย ต้องถูกดำเนินคดีและถูกส่งกลับประเทศไทย

นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่ากรมการจัดหางานได้รับแจ้งจากสำนักงานแรงงาน ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) สาขาเมืองเกาสง (สนร.เกาสง) ว่าขณะนี้มีคนไทยจำนวน 8 คนถูกทางการไต้หวันจับกุมในข้อหาอยู่ร่วมแก๊งคอลเซ็นเตอร์เป็นคนงานชายที่หลบหนีสัญญาจ้าง จำนวน 5 คน และหญิงไทย จำนวน 3 คน โดยถูกชักชวนจากชายชาวไต้หวัน ซึ่งขณะถูกจับกุมกำลังศึกษาคู่มือวิธีการพูดหลอกลวงให้คนไทยโอนเงินแต่ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติการจริง ทั้งนี้ ตำรวจได้ส่งเรื่องให้อัยการและได้พิจารณาส่งตัวชายไทย5 คน ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการส่งกลับประเทศไทย ขณะที่หญิงไทยจำนวน 3 คนนั้น มีชายชาวไต้หวันหลอกให้เดินทางเข้าไปทำงานด้วยวีซ่าท่องเที่ยว ทางการไต้หวันได้ปล่อยตัวให้เดินทางกลับประเทศไทยเอง จึงขอย้ำเตือนว่าการเข้าร่วมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในไต้หวันนั้นมีความผิดตามกฎหมาย จะต้องถูกดำเนินคดี และถูกส่งกลับประเทศไทย วอนคนหางานที่ประสงค์จะไปทำงานในไต้หวันอย่าหลงเชื่อเป็นอันขาด

นายอนุรักษ์ กล่าวต่อว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีคนหางานได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศจำนวน 115,215 คน พบว่าไปทำงานไต้หวันมากที่สุด จำนวน 35,199 คน โดยเป็นการเดินทางในรูปแบบบริษัทจัดส่งมากที่สุด จำนวน 23,095คน รองลงมาคือกรมการจัดหางานจัดส่ง จำนวน 283 คน แจ้งการเดินทางด้วยตนเอง จำนวน 86 คน นายจ้างพาลูกจ้างไปทำงาน จำนวน 78 คน นายจ้างส่งลูกจ้างไปฝึกงาน จำนวน 2 คน และแจ้งการเดินทางกลับไปทำงานที่ไต้หวัน (Re-entry)จำนวน 11,655 คน

ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลการไปทำงานต่างประเทศได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือกองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน โทร. 0 2245 6708-9ในวันและเวลาราชการ หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 27/1/2561

กพร.ชงเพิ่มค่าจ้าง 16 อาชีพ

กพร.เทงบ 2,300 ล้านพัฒนาแรงงานเขต EEC 1.3 แสนคน รองรับกลุ่มอุตสาหกรรม S-curve, new S-curve ผ่านศูนย์ Excellent Center รายจังหวัด พร้อมชงปรับค่าจ้างแรงงานฝีมือ 16 อาชีพ ล่าสุด กพร.ยั่วน้ำลายผู้ประกอบการออกโครงการให้กู้ยืมวงเงิน 70 ล้านบาท สามารถลดหย่อนภาษีได้ 100%

นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.)เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานรับผิดชอบเรื่องการพัฒนาคน ให้สอดคล้องกับการลงทุน ทั้งอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ประเภท Engine of Growth ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC) รวมทั้งไทยแลนด์ 4.0 จึงทำให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดเตรียมแผนระยะ 1 ปี, 5 ปี และ 20 ปี

โดยปี 2561 ใช้งบประมาณ 2,300 ล้านบาท ในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน 130,000 คน ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอุตสาหกรรม S-curve, new S-curve, นโยบายไทยแลนด์ 4.0 และอุตสาหกรรมแห่งอนาคตในพื้นที่อีอีซี ผ่านสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานเทคโนโลยีชั้นสูง ศูนย์ Excellent Center และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานในแต่ละจังหวัด

นายสุทธิเปิดเผยว่า ที่ผ่านมา กพร.มีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 12 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี, ขอนแก่น, อุบลราชธานี, นครราชสีมา, ระยอง, ชลบุรี, สงขลา, ภูเก็ต, สมุทรปราการ, สุพรรณบุรี, เชียงใหม่ และเชียงราย โดยแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะอุตสาหกรรมในจังหวัด เช่น นครราชสีมา จะเน้นด้านไฟฟ้า และโทรคมนาคม ระยองจะเน้นเรื่องออโตเมชั่น และหุ่นยนต์ ตั้งเป้ามีผู้ผ่านการอบรม 20,000 คน / ปี

“อีกทั้งยังมีการตั้งศูนย์ Excellent Center ซึ่งยกระดับมาจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยใช้งบประมาณ 2.5 ล้านบาท สำหรับจัดซื้อครุภัณฑ์เพิ่มเติม เพื่อใช้ในการฝึกอบรมแรงงาน โดยปัจจุบันมีอยู่ 9 จังหวัดได้แก่ สมุทรปราการ, เชียงราย จะเน้นด้านโลจิสติกส์ รองรับจังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษ การค้าชายแดน, ชลบุรี, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, ราชบุรี และลำปาง จะเป็นด้านออโตเมชั่น เพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรม ขณะที่ระยอง จะรองรับด้านยานยนต์ ส่วนฉะเชิงเทรา จะรองรับด้านดิจิทัลเป็นหลัก โดยตั้งเป้าอบรมแรงงาน 10,000 คน / ปี”

“สำหรับการพัฒนาแรงงานยุคไทยแลนด์ 4.0 จะดำเนินการผ่านสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะได้รับการเครื่องมือ ครุภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาไปสู่ระบบออโตเมชั่น โดยตั้งเป้าจะพัฒนาแรงงานจำนวนกว่า 100,000 คน / ปี รวมทั้งหมดก็จะประมาณ 1.3 แสนคน ที่ปัจจุบันเราพัฒนาแรงงานไปแล้วกว่า 33,000 คน” นายสุทธิกล่าว

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 27/1/2561

ผู้ประกันตนหนุนขยายสิทธิรับบำนาญถึง 60 ปี

นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่าจากการรับฟังความคิดเห็นการปฏิรูประบบบำนาญกองทุนประกันสังคม ผ่านช่องทางต่างๆ พบว่าการจัดเวทีรับฟังความเห็น 12 ครั้ง ระหว่าง ก.ย. – พ.ย. 2560 การแสดงความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ และการประชุมรับฟังความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ สปส. ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 นายจ้าง/สถานประกอบการ และผู้แทนภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมฯ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 11,885 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 10,178 คน คิดเป็นร้อยละ 85.64

นพ.สุรเดช กล่าวว่าผลจากการรับฟังความเห็น 12 ครั้งพบว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการขยายอายุรับบำนาญชราภาพจาก 55 ปี ออกไปเพื่อให้มีระยะเวลาในการออมเพิ่มขึ้น โดยร้อยละ 48.42 เห็นว่าอายุที่เกิดสิทธิควรเป็น 60 ปี ร้อยละ 42.87 มองว่าอายุเกิดสิทธิในอีก 10 ปีข้างหน้าควรเป็น 60 ปี ส่วนผลการตอบแบบสอบถามร้อยละ 82.74 เห็นควรขยายอายุรับบำนาญชราภาพแบบสมัครใจ ร้อยละ 60.83 เห็นด้วยกับแนวทางการขยายอายุ ในจำนวนนี้มีร้อยละ 37.37 เลือกแนวทางที่ 3 คือขยายอายุการเกิดสิทธิรับบำนาญชราภาพตามหลักสากล และสามารถเลือกรับสิทธิประโยชน์บำเหน็จ ไปส่วนหนึ่งก่อนครบอายุรับบำนาญ เมื่อครบอายุเกิดสิทธิรับบำนาญจะได้รับบำนาญในจำนวนที่ลดลง

นพ.สุรเดช กล่าวว่า ร้อยละ 36.72 เลือกแนวทางที่ 2 คือให้ขยายอายุรับบำนาญชราภาพตามหลักสากล รับบำเหน็จชดเชยหากไม่สามารถทำงานจนถึงอายุรับบำนาญได้ ร้อยละ 25.91 เลือกแนวทางที่ 4 คือ ขยายอายุรับบำนาญขั้นต่ำเฉพาะผู้ประกันตนใหม่ ส่วนผู้ประกันตนเดิมสามารถเลือกรับสิทธิประโยชน์บำเหน็จไปส่วนหนึ่งก่อนครบอายุรับบำนาญ แต่เมื่อครบอายุเกิดสิทธิบำนาญจะได้รับบำนาญในจำนวนที่ลดลง ส่วนร้อยละ 35.95 ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการขยายอายุ ควรคงแนวทางเดิมตามแนวทางที่ 1 คงอายุเกิดสิทธิรับบำนาญชราภาพไว้ที่ 55 ปี ส่วนร้อยละ 3.2 เสนอแนวทางอื่น

“ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ยังเห็นด้วยกับการปรับสูตรการคำนวณบำนาญจากค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย เป็นการคำนวณจากค่าจ้างเฉลี่ยตลอดอายุการทำงาน โดยปรับมูลค่าของค่าจ้างแต่ละปีให้เป็นมูลค่าปัจจุบันก่อนนำมาเฉลี่ย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ได้รับเงินบำนาญชราภาพต่อเดือนเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสูตรเดิม นอกจากนี้ ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ยังยินดีให้หักบำนาญส่วนหนึ่งเป็นเบี้ยประกันสุขภาพเพื่อให้รับสิทธิประกันสุขภาพต่อเนื่องหลังพ้นจากการเป็นผู้ประกันตน ซึ่งจะนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ ให้ได้ข้อสรุปแนวทางที่เหมาะสมในการจัดทำระบบบำนาญต่อไป”

ที่มา: โลกวันนี้, 26/1/2591

นายจ้างชี้ขึ้นค่าจ้างกระทบเอสเอ็มอี-ภาคเกษตร คปค.เเนะขั้นต่ำควรให้เฉพาะลูกจ้างแรกเข้า

26 ม.ก. 2561 ที่ห้องประชุมประภาศน์ อวยชัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ จัดการสัมมนาหัวข้อ “การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำต่อความท้าทายในยุค 4.0” โดย ผศ.ศุภชัย ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ กล่าวว่า สำหรับผลกระทบของการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้นแบ่งเป็นระยะสั้น และระยะยาว โดยระยะสั้นที่เห็นชัดคือ กลุ่มที่ยังไม่ถึงค่าจ้างขั้นต่ำ จะได้รับการปรับขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ทันที แต่ขณะเดียวกันก็จะส่งผลต่อสภาพคล่องของนายจ้างขนาดเล็ก เนื่องจากตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นไป ต้องจ่ายตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกวัน แต่มาตรการทางภาษีที่ไปช่วยจะไปเกิดปลายปี ตรงนี้ก็ต้องดูว่านายจ้างกลุ่มนี้จะสามารถพยุงตัวได้หรือไม่ เพราะหากไม่ไหวอาจเกิดปัญหาได้ ซึ่งแน่นอนว่าปกติก็มีสถานประกอบการขนาดเล็กล้มหายไปบ้างด้วยปัจจัยต่างๆ ซึ่งการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอาจไม่ใช่สาเหตุเดียว แต่ก็อาจเป็นตัวกระตุ้นได้ นอกจากนี้ ในอนาคตอาจมีการปรับฐานโครงสร้างค่าจ้างได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานประกอบการ แต่ที่น่าคิดคือ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของประโยชน์เกื้อกูลจากนายจ้างให้ลูกจ้าง อย่างที่ผ่านมามีอาหาร ที่พักให้ฟรี ก็อาจเปลี่ยนไปต้องจ่ายเอง โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติก็อาจโดนไปด้วย ซึ่งเรื่องนี้เหล่านี้ก็ต้องติดตาม

“ข้อดีอย่างหนึ่งแน่นอนว่า การขึ้นค่าจ้างย่อมกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะจะเกิดการใช้จ่ายขึ้น ปัญหาที่กังวลว่า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของสถานประกอบการ ซึ่งจริงๆ แล้วย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว แม้ไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากยุคนี้จะมีการพึ่งพาเทคโนโลยี ซึ่งไม่ขึ้นค่าจ้าง สถานประกอบการหลายแห่งก็ต้องหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นอยู่แล้ว” ผศ.ศุภชัย กล่าว

ผศ.ศุภชัย กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการช่วยเหลือนั้น ในส่วนของสำนักงานประกันสังคม อย่างการเก็บค่าสมทบต่างๆ กับอีกส่วนหนึ่งคือ การเตรียมการลูกจ้างที่อาจหลุดจากระบบ หรือการรีเทรนท์ตัวเองให้ก้าวต่อไป แต่ในส่วนที่ไม่ได้อยู่ในมือกระทรวงแรงงานคือ การลดหย่อนภาษี หรือการมีกองทุนช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี รวมไปถึงมาตรการในการขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการคงราคาบางอย่างไว้ ซึ่งจะเป็นบทบาทของกระทรวงพาณิชย์ โดยเรื่องนี้ภาครัฐอาจต้องมาคุยกันหมด ว่าจะทำอย่างไรให้เหมาะสม เพราะหากลดหย่อนมากเกินไป อาจได้รับสิทธิแค่ผู้ประกอบการบางส่วนหรือไม่ จึงต้องขีดให้ชัดว่า ใครจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ต้องจัดกลุ่มให้เหมาะสม และในอนาคตค่าจ้างขั้นต่ำควรเป็นแค่เครื่องประกันในการอยู่รอด แต่สถานประกอบการควรมีการสร้างโครงสร้างแรงงานด้วย และควรมีการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นประกัน เช่น ควรมีใบรับรองในการพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งจะเป็นการพัฒนาทักษะของเรา และนายจ้างก็ต้องให้ความเป็นธรรมด้วย ไม่ใช่ว่ามีใบพัฒนาฝีมือแรงงานแต่กลับให้ค่าจ้างเท่าเดิมก็คงไม่ได้

นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 แต่ต้องยอมรับว่าไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากสถานประกอบการหลายแห่งนำเอาค่าจ้างขั้นต่ำมาเป็นค่าจ้างประจำปี ซึ่งจริงๆ แล้วค่าจ้างขั้นต่ำควรเป็นค่าจ้างแรกเข้าเฉพาะคนใหม่เท่านั้น ส่วนคนที่ทำงานมาอย่าง 1-2 ปี ขีดความสามารถก็ต้องเพิ่มขึ้น ก็ต้องมีการปรับเพิ่ม ไม่ใช่อยู่ที่ค่าจ้างขั้นต่ำไปอย่างนั้น นั่นคือสถานประกอบการต้องมีโครงสร้างค่าจ้างประจำปี ซึ่งหากมีตรงนี้ก็จะหนีจากกับดักค่าจ้างขั้นต่ำออกไป อย่างไรก็ตาม ต้องพัฒนาเรื่องค่าจ้างของมาตรฐานฝีมือแรงงานด้วย เพราะแม้จะมีการพัฒนาทักษะฝีมือ แต่ค่าจ้างห่างกับคนที่ไม่มีฝีมือเพียง 10-20 บาท คนก็ไม่อยากจะฝึก ตรงนี้ต้องมีการยกระดับ เพื่อให้เกิดการพัฒนาฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้น

นายมนัสกล่าวว่า ส่วนกรณีข้อเสนอลดการจ่ายเงินสมทบของนายจ้างนั้น ต้องบอกก่อนว่า ประกันสังคมมีอยู่ 13 ล้านคน แยกเป็นผู้ประกันตน 11 ล้านคนที่อยู่ในสถานประกอบการ และนายจ้างร่วมสมทบ ซึ่งหากตามข่าวที่ว่าจะให้ลดหย่อนเงินสมทบของนายจ้าง ทางเครือข่ายฯไม่เห็นด้วย โดยเงินส่วนนี้จะหายไปกว่า 2 หมื่นล้านบาท แทนที่จะเข้ากองทุนประกันสังคม ซึ่งเงินประกันสังคมส่วนนายจ้าง ก็คือเงินออมเข้ากองทุนให้ลูกจ้าง ทั้งเงินออม ทั้งเงินรักษาพยาบาล ดังนั้น หากจะปรับลดเงินสมทบของนายจ้าง ต้องคุยกันยาว

นายมนัสกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในเรื่ิงค่าจ้างยังมีประเด็นย่อยอีกมาก อย่าง การจ้างงานของไทยในภาคเอกชน มีการจ้างงานหลายประเภทมาก อย่างของรัฐ ก็จ้างงานหลากหลายเช่นกัน เป็นสัญญาจ้างเป็นปีต่อปี เกษียณอายุก็ไม่ได้อะไร ไม่ได้เงินชดเชยด้วยซ้ำ ขณะเจ็บป่วยก็เบิกไม่ได้เลย และอีกประเภท เป็นการจ้างงานตามภารกิจ ตามมติครม. อย่างจบปริญญาตรี มาเป็นลูกจ้างตามภารกิจ ถูกต่ออายุไปเรื่อยๆ และหากไม่ต่อสัญญาก็ไม่ได้ค่าชดเชยเลย จริงๆ สิ่งเหล่านี้ต้องทบทวนการจ้างงานของประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน

นายบวรนันท์ ทองกัลยา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มงานทรัพยากรบุคคลและบริหาร บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด กล่าวว่า เราอยู่ในยุคปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่ย้อนแย้งกันอยู่ เพราะหากพูดภาพการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ทั้งขนาดใหญ่และเล็กโดนกันหมด เพราะในช่วงเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลง ดิจิทัลเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลต่อตัวธุรกิจทั้งหมด

ปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงธุรกิจกันหมด องค์กรใหญ่เหนื่อย แต่ธุรกิจเอสเอ็มดี (SME) เหนื่อยกว่า ปัจจุบันมีอยู่ 3 ล้านราย และมีการจ้างงานอยู่ 11 ล้านคน แน่นอนว่าธุรกิจใหญ่มีภูมิคุ้มกันที่ดีกับการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง แต่สำหรับเอสเอ็มอีน่าคิด อย่างการจดทะเบียนปีนี้ 74,000 ราย แต่จดทะเบียนขอเลิก 21,000 ราย นี่คือตัวสะท้อนของเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของบ้านเรา ดังนั้น การขึ้นค่าจ้างไม่น่ากระทบธุรกิจใหญ่มาก เพราะมีวิธีปรับเปลี่ยนให้อยู่ได้ แต่ห่วงเอสเอ็มอีและภาคการเกษตรมากกว่า ซึ่งรัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือ

นายบวรนันท์กล่าวอีกว่า หลายคนเป็นห่วงความมั่นคงของลูกจ้าง หากติดตามโครงสร้างประชากร จะทราบว่าเรากำลังเผชิญปัญหาประชากรลดลง ซึ่งไม่ใช่แค่ไทย ประเทศญี่ปุ่น จีนมีหมด โดยไทย หากพิจารณาตัวเลขประชากรสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า กำลังแรงงานที่อายุ อายุ 15-60 ปี มีอยู่ 42 ล้านคน แต่จากประชากรเกิดน้อยลง อีก 15-16 ปี จะเหลือแรงงานแค่ 36 ล้านคน ซึ่งตอนนี้ทุกองค์กรกังวล คือ การขาดแคลนคน จึงมองว่า การปรับอัตราขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำย้อนแย้ง เพราะจริงๆ แล้ว หากทักษะเพิ่ม ค่าจ้างก็เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ดังนั้น การปรับค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ น่าจะมีผลกับคน 4 ล้านคน หรือประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนขององค์กรบริษัทก็จะมีโครงสร้างค่าจ้างอยู่แล้ว

“หากเมื่อไรก็ตามไม่ว่าค่าจ้างจะเป็นเท่าไร แต่หากคนมีทักษะมีความสามารถก็สูงอยู่ดี ค่าจ้างขั้นต่ำก็ไม่มีผล แต่ในทางกลับกัน หากค่าจ้างสูง แต่คนทักษะน้อยก็มีปัญหาอยู่ดี ดังนั้น รัฐต้องตั้งคำถามกับตัวเอง ไม่ใช่แค่เรื่องนโยบายค่าจ้าง นโยบายลดหย่อน แต่ระยะยาวจะทำอย่างไร เพราะความสามารถของคนคือขององค์กร ของประเทศด้วย” นายบวรนันท์กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัจจุบันมีบริษัทหรือธุรกิจในกลุ่มที่มีโครงสร้างค่าจ้างจำนวนเท่าใด นายบวรนันท์กล่าวว่า ตอบได้เลยว่าธุรกิจขนาดกลางขึ้นไปประมาณ 100 เปอร์เซ็นต์ ต้องมีโครงสร้างค่าจ้าง เพราะหากไม่มีจะกระทบต่อการรักษาคนอย่างรุนแรง แต่ธุรกิจขนาดเล็ก ยังไม่มีการสำรวจชัดเจน แต่ก็เชื่อว่าหากมีการผลักดันหลายแห่งก็จะเริ่มดำเนินการ

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 26/1/2561

ธนาคารกรุงไทยลั่นไม่มีนโยบายปลดพนักงาน แต่จะเพิ่มทักษะให้กับพนักงานเพิ่มขึ้น

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่าธนาคารได้วางแผนระยะยาว 5 ปี เตรียมงบลงทุนด้านเทคโนโลยี หรือไอที ราว 10,000 ล้านบาท ที่จะเป็นนวัตกรรมที่เสริมให้ธนาคารแข็งแกร่งมากขึ้น โดยปีนี้ธนาคารได้ชะลอการปิดสาขาลง หลังจากปี 2560 ได้ปิดสาขาไปแล้ว 80 สาขา โดยไม่มีนโยบายปลดพนักงาน แต่จะเพิ่มทักษะให้กับพนักงานเพิ่มขึ้น หรือโยกพนักงานไปในจุดที่เหมาะสม สาเหตุที่ธนาคารชะลอปิดสาขา เนื่องจากการปิดสาขาเป็นส่วนหนึ่งของการผลักให้ลูกค้าไปยังคู่แข่ง เห็นได้จากบางธนาคารปิดสาขาลง ทำให้มีลูกค้าย้ายมาสาขาของกรุงไทย ค่อนข้างมาก ดังนั้น การปิดสาขาแต่ละแห่งต้องดูผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วย ปัจจุบันธนาคารมีสาขาทั้งสิ้น 1,121 สาขา และมีพนักงาน 24,000 คน

ด้านนายอดิศร เสริมชัยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยกล่าวว่า ปีนี้ธนาคารยังคงสาขาไว้ที่ 80 สาขา จาก 3 ปีก่อนมีสาขาอยู่ 140 สาขา ขณะที่ไม่มีแผนลดจำนวนพนักงาน เนื่องจากธนาคารมีขนาดเล็กแต่ต้องพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มทักษะการดูแลลูกค้า และเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกค้า

ส่วนแผนธุรกิจตั้งเป้าสินเชื่อรายย่อยขยายตัว 10% แบ่งเป็นสินเชื่อบ้านเติบโต 10% และสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันโต 10% ซึ่งปี 60 สินเชื่อรายย่อยเติบโต 8-9% โดยพอร์ตสินเชื่อคงค้างรายย่อยปัจจุบันอยู่ที่ 100,000 ล้านบาท ซึ่งสิ้นปีนี้พอร์ตสินเชื่อคงค้างรายย่อยจะเติบโตประมาณ 5-6% ส่วนธุรกิจกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง หรือ Wealth ปีนี้ตั้งเป้ารายได้ค่าธรรมเนียมเติบโต 25% ซึ่งเป็นระดับเดียวกับปีก่อน โดยธนาคารไม่ได้เน้นเพิ่มสินทรัพย์ที่รับบริหาร หรือเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ภาคใต้การบริหารจัดการ (AUM) แต่เน้นเพิ่มจำนวนลูกค้า ซึ่งสิ้นปีก่อนมี AUM ที่ 200,000 ล้านบาท และจำนวนลูกค้า 65,000 ราย โดยปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มลูกค้าอีก 10,000 ราย

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์, 24/1/2561

ปรับค่าแรง โรงสีให้พนักงานสมัครใจลาออก จ.นครราชสีมา

ผู้ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากต่างเดินทางไปยังสำนักงานจัดหางานจังหวัดนครราชสีมา โดยมีการนำหลักฐานไปกรอกข้อความสมัครงาน หลังจากรัฐบาลมีการประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 320 บาท ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561

ผู้ใช้แรงงาน เล่าว่าหลังจากทำงานเป็นลูกจ้าง ได้ค่าแรงวันละ 300 บาท แต่ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เนื่องจากปัจจุบันค่าครองชีพสูงมากจึงต้องลาออกและมาสมัครงานใหม่ เพื่อจะรอค่าจ้างที่มีการปรับขึ้นมาใหม่เป็นวันละ 320 บาท ซึ่งรู้สึกดีใจมากกับค่าแรงที่มีการปรับขึ้นมาให้กับแรงงาน

และหลังจากรัฐบาลประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 320 บาท ส่งผลต่อผู้ประกอบการโรงสีข้าว ซึ่งส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศ ต้องประกาศให้ลูกจ้าง แจ้งความประสงค์ลาออก โดยความสมัครใจ จำนวน 200 คน ซึ่งจะมีการจ่ายค่าชดเชยตามข้อกฎหมาย เนื่องจากทางโรงสีต้องการลดค่าใช้จ่ายและยอดการสั่งข้าวจากต่างประเทศลดลง แต่ยังไม่พบว่ามีลูกจ้างไปขอยื่นเรื่องจะลาออกโดยความสมัครใจแต่อย่างใด

ทางด้าน นายปรีชา อินทรชาธร จัดหางานจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่าได้สอบถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ทำให้ทราบว่าทางโรงสีข้าว มีนโยบายปรับโครงสร้างโดยการลดจำนวนพนักงานและจะนำเครื่องจักรที่ทันสมัยเข้ามาใช้แทนแรงงาน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มกำลังการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ที่มา: news.ch7.com, 24/2/2561

รายงาน HRW ชี้ปัญหา 'แรงงานบังคับ-ค้ามนุษย์' ยังไม่หมดจากอุตสาหกรรมประมงไทย

ฮิวแมนไรท์วอทช์ (HRW) เผยแพร่รายงานชื่อว่า “โซ่ที่ซ่อนไว้: การปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิและแรงงานบังคับในอุตสาหกรรมประมงไทย” (Hidden Chains: Forced Labor and Rights Abuses in Thailand’s Fishing Industry ) ความยาว 134 หน้า ซึ่งเป็นการสรุปผลความคืบหน้าการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานบังคับ

รายงานดังกล่าวถูกนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภายุโรป (EU) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาว่าจะดำเนินมาตรการอย่างไรต่ออุตสาหกรรมประมงไทย เนื่องจากที่ผ่านมา ไทยเคยได้รับ 'ใบเหลือง' จากอียู ซึ่งเป็นคำเตือนว่า ไทยอาจถูกสั่งห้ามส่งออกอาหารทะเลไปสหภาพยุโรป ในข้อหาเกี่ยวข้องกับปัญหาการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing)

HRW ระบุว่ามีข้อบกพร่องเกิดขึ้นมากมายในการดำเนินงานตามมาตรการใหม่ของรัฐบาลไทย ทั้งยังพบการต่อต้านของอุตสาหกรรมประมงที่มีต่อการปฏิรูปด้วย

นายมงคล สุขเจริญคณา นายกสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เป็นผู้หนึ่งที่ให้สัมภาษณ์กับ HRW โดยเขาระบุว่า ในสภาพปัจจุบัน สถานการณ์ด้านประมงไทยได้เปลี่ยนไปหมดแล้ว "ไม่มีการเอาเปรียบแรงงานเหมือนในอดีต ผู้บริโภคในอเมริกา-ยุโรป กินได้เลย อาหารทะเลไทย ตอนนี้ถูกต้องหมดแล้ว เพราะทุกอย่างได้รับการแก้ไขจากรัฐบาลยุคนี้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรือถูกต้อง แรงงานถูกต้อง ไม่มีแรงงานบังคับ" นายมงคลกล่าว

อย่างไรก็ตาม รายงานของ HRW พบว่า แม้รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมไทยจะพยายามปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงอย่างรอบด้าน แต่จากการลงพื้นที่สังเกตการณ์และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ พบว่าแรงงานประมงข้ามชาติจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ถูกละเมิดสิทธิโดยนายจ้าง ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานไทย และไม่มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงาน

“ผู้บริโภคในยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ควรจะมั่นใจได้ว่าอาหารทะเลซึ่งมาจากประเทศไทย ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์หรือแรงงานบังคับ” แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียของ HRW กล่าว “แต่ถึงแม้รัฐบาลไทยได้ประกาศอย่างกว้างขวางว่ามีพันธกิจจะสะสางอุตสาหกรรมประมง ปัญหาต่างๆ ยังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง”

HRW ทำวิจัยและสัมภาษณ์แรงงานในท่าเทียบเรือประมงขนาดใหญ่เกือบทุกแห่งในประเทศไทยระหว่างปี 2015-2017 (พ.ศ.2558-2560) รวมทั้งหมด 248 คน เกือบทุกคนมาจากเมียนมาและกัมพูชา และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานอื่นๆ ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทย เจ้าของเรือ ไต้ก๋ง นักกิจกรรมภาคประชาสังคม ผู้แทนสมาคมประมง และเจ้าหน้าที่หน่วยงานสหประชาชาติ

เนื้อหาในรายงานของ HRW ระบุว่า รัฐบาลไทยแก้ปัญหาด้วยการยกเลิกกฎหมายประมงฉบับเก่าที่บังคับใช้มานาน และออกระเบียบปฏิบัติใหม่เพื่อกำกับดูแลอุตสาหกรรมประมง ทั้งยังขยายผลการบังคับใช้ของกฎหมายแรงงานที่สำคัญ เพื่อให้ครอบคลุมเรื่องค่าจ้างและสภาพการทำงานในเรือประมง ซึ่งในปี 2557 มีการนำเนื้อหาของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มาใช้ในกฎหมายของไทย รวมทั้งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล มีการกำหนดให้แรงงานประมงข้ามชาติต้องถือเอกสาร และมีการนับจำนวนลูกเรือขณะที่เรือออกจากฝั่งและกลับเข้าสู่ฝั่ง เพื่อหาทางยุติการปฏิบัติมิชอบที่เลวร้าย รวมทั้งกรณีไต้ก๋งสังหารลูกเรือ

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังจัดทำระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (PIPO) กำหนดให้เรือทุกลำต้องเข้ารับการตรวจระหว่างที่ออกและกลับสู่ท่าเทียบเรือ และกำหนดขั้นตอนปฏิบัติเพื่อการตรวจเรือประมงระหว่างอยู่ในทะเลมาตรการบางอย่าง รวมทั้งระบบติดตามตรวจสอบเรือและการจำกัดเวลาออกเรือแต่ละครั้งไม่เกิน 30 วัน ทำให้เกิดการปรับปรุงที่สำคัญต่อแรงงานประมง

อย่างไรก็ดี มาตรการเพื่อแก้ปัญหาแรงงานบังคับ และการคุ้มครองสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชนที่สำคัญอื่น ๆ มักเน้นที่รูปแบบมากกว่าผลลัพธ์ HRW พบว่า ระบบการตรวจแรงงานเป็นการสร้างภาพเพื่อผู้ชมระหว่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (PIPO) พบว่า เจ้าหน้าที่พูดคุยกับไต้ก๋งและเจ้าของเรือและตรวจสอบเอกสาร แต่ไม่สัมภาษณ์แรงงานประมงข้ามชาติโดยตรง

ในบางด้าน ถือว่าสถานการณ์เลวร้ายลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เช่น การขึ้นทะเบียน 'บัตรชมพู' ของรัฐบาล ซึ่งเริ่มนำมาใช้เมื่อปี 2014 เพื่อลดจำนวนแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีเอกสารในประเทศไทย ทำให้เกิดการผูกติดสถานะทางกฎหมายของแรงงานประมงกับบางพื้นที่ และกับนายจ้างบางคน ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากนายจ้างก่อน จึงจะเปลี่ยนงานได้ ส่งผลให้เกิดสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่การปฏิบัติมิชอบ รวมทั้งกรณีที่แรงงานข้ามชาติไม่ได้รับแจ้งรายละเอียด หรือไม่ได้รับสำเนาสัญญาจ้างงานตามกฎหมาย จนกลายเป็นช่องทางให้เจ้าของเรือและไต้ก๋งเรือที่ไร้คุณธรรม ปกปิดการบังคับขืนใจ และการล่อลวง ทำให้ดูเสมือนว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ซึ่งการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิเกิดขึ้นเป็นประจำ และขาดการตรวจสอบ เป็นผลจากความเพิกเฉยของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งพอใจแค่การตรวจเอกสารที่บริษัทเรือยื่นมาให้เพื่อเป็นหลักฐานว่าปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น

“การขาดพันธกิจของรัฐบาลไทย ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวของระเบียบ และมาตรการเพื่อป้องกันแรงงานบังคับในภาคประมง”

“ผู้ผลิต ผู้ซื้อ และผู้ขายปลีกในระดับสากลที่ขายอาหารทะเลจากไทย มีบทบาทสำคัญที่ช่วยดูแลให้ยุติการใช้แรงงานบังคับและการปฏิบัติมิชอบอื่น ๆ” อดัมส์กล่าว

ขณะที่นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาของ HRW ประเทศไทย ระบุว่าการละเมิดสิทธิและการบังคับใช้แรงงาน เกิดขึ้นในแวดวงอุตสาหกรรมประมงไทยมานาน ก่อนจะถูกเปิดโปงโดยสื่อตะวันตกหลายสำนักเมื่อปี 2014 ซึ่งอ้างอิงการค้ามนุษย์และการกระทำที่ทารุณโหดร้ายต่อแรงงานในเรือประมงของไทย ทำให้อียูให้ใบเหลืองกับประเทศไทยในปี 2015 เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของโครงการป้องกันการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม

อียูยังเรียกร้องให้เรือประมงไทยยุติการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิต่อแรงงานที่ไม่มีเอกสาร รวมทั้งบางกรณีที่ีแรงงานประมงต่างด้าวเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ และระบุด้วยว่าไทยควรปฏิรูปเพื่อยุติการปฏิบัติมิชอบเหล่านี้ ส่วนโครงการการค้ามนุษย์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้กดดันประเทศไทยให้รักษาระดับในบัญชีประเทศที่จับตามองระดับ Tier 2 เอาไว้ ซึ่งถือว่าสูงกว่าระดับต่ำสุดเพียงขั้นเดียว และต้องติดตามกันต่อไปว่าในปีนี้ สหรัฐฯ จะปรับอันดับให้แก่ประเทศไทยในรายงานการค้ามนุษย์ หรือ TIPS Report หรือไม่

ที่มา: VoiceTV, 23/1/2561

ไทยเสนออิสราเอลปรับปรุงกฎหมายให้นายจ้างหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นทุนให้กับแรงงานมีเงินออมกลับมาไทย

22 ม.ค. 2561 รมว.แรงงาน ให้การต้อนรับ นายเมอีร์ ชโลโม (H.E.Mr.Meir Shlomo) เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทย หารือความร่วมมือจ้างแรงงานไทยทำงานในภาคเกษตร แลกเปลี่ยนข้อตกลงให้แรงงานได้รับการคุ้มครอง ปราศจากระบบนายหน้า กำชับ กรมการจัดหางานปฐมนิเทศเตรียมความพร้อมแรงงานก่อนเดินทางไปทำงานรวมทั้ง ป้องกันยาเสพติด

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังให้การต้อนรับ นายเมอีร์ ชโลโม (H.E.Mr.Meir Shlomo) เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะและหารือความร่วมมือด้านแรงงาน ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ชั้น 6 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า ปัจจุบันมีแรงงานไทยในประเทศอิสราเอลแล้วกว่า 28,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่ไปทำงานในภาคเกษตร การหารือในวันนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยการติดต่อแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจข้อตกลงต่างๆ ระหว่างระบบราชการของทั้งสองประเทศเพื่อให้แรงงานได้งานทำที่ดี ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายจากรัฐบาลอิสราเอล รวมทั้งเพื่อไม่ให้มีระบบนายหน้าอีกด้วย

พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวต่อว่า ได้เสนอให้รัฐบาลอิสราเอลปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้นายจ้างหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นทุนให้กับแรงงาน เมื่อแรงงานสิ้นสุดสภาพการจ้างแล้วก็จะมีเงินออมกลับมา ซึ่งในเดือนพฤษภาคม 2561 นี้ รัฐบาลไทย โดยกระทรวงแรงงานจะเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาระหว่างไทยและอิสราเอล ซึ่งทั้งสองประเทศจะได้พูดคุยหารือประเด็นด้านแรงงานให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ส่วนการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานได้กำชับให้กรมการจัดหางานปฐมนิเทศให้ความรู้แก่แรงงานเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศตลอดจนเน้นย้ำกรณียาเสพติดอย่างเข้มงวด

การหารือดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการกระชับความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงานและทางการอิสราเอล ทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่กระทรวงแรงงานจะได้สร้างความเข้าใจถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าในการจ้างแรงงานไทยทำงานชั่วคราวในภาคเกษตรในรัฐอิสราเอล โครงการความร่วมมือไทย – อิสราเอลเพื่อการจ้างงาน (TIC Project) การดำเนินงานตามความตกลงด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลไทยและอิสราเอล ซึ่งนอกจากจะกระชับความร่วมมือโครงการต่างๆ ที่อยู่ภายใต้รัฐบาลทั้งสองประเทศให้แน่นเฟ้นมากยิ่งขึ้นแล้ว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานร่วมกันให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตอีกด้วย

ที่มา: กระแรงแรงงาน, 23/1/2561

การบินไทยปัดข่าวมีพนักงานเบิกโอทีวันละ 24 ชม. ต่อเนื่อง 30 วัน

รักษาการดีดีการบินไทยยืนยันบริษัทไม่จ่ายค่าโอทีพนักงานสูงเกินมาตรฐานสากล ย้ำข่าวพนักงานเบิกโอทีวันละ 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 30 วัน ไม่เป็นความจริง แจงปีรายจ่ายโอทีสูงกว่าปีก่อน เหตุจากมีเครื่องบินเพิ่มเที่ยวบินเยอะ ซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้น 5%

นางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีสื่อบางแห่งนำเสนอข่าว ว่าพนักงานบางส่วนปฏิบัติงานล่วงเวลา จนมีค่าล่วงเวลา (โอที) สูงเกินจริงคือวันละ 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 30 วัน ซึ่งบริษัทฯ ได้ตรวจสอบและขอยืนยันว่าข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยในปีที่ผ่านมา ไม่ได้มีการเบิกค่าล่วงเวลาตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงดำเนินงานภายใต้แผนปฏิรูปองค์กร โดยมีมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายกับทุกฝ่ายของบริษัทฯ เพื่อให้มีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ในธุรกิจการบิน

อย่างไรก็ตาม ค่าล่วงเวลาในการทำงานของพนักงานในรอบปี 2560 ที่ผ่านมา มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นกว่าปี 2559 แต่เป็นไปตามการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากบริษัทฯ มีจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น มีการใช้งานเครื่องบินมากขึ้นทำให้เกิดความถี่ในการซ่อมบำรุง และมีจำนวนสายการบินลูกค้าที่ใช้บริการการซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้นประมาณ 5%

ทั้งนี้ บริษัทฯ ตระหนักดีถึงความห่วงใยของภาครัฐ และฝ่ายบริหารไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้มีการกำกับดูแลการทำงานล่วงเวลาของพนักงานอย่างเคร่งครัด ให้มีเวลาปฏิบัติงานปกติและเวลาปฏิบัติงานล่วงเวลารวมกันไม่เกินกว่าที่มาตรฐานสากลกำหนด เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด

ที่มา: VoiceTV, 23/1/2561

สมานฉันทร์แรงงานไทยขอนายกทบทวนมติปรับค่าจ้าง ยื่น 3 ข้อเรียกร้องปรับเท่ากันทั่วประเทศ

23 ม.ค. 2561 ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ฝั่งก.พ. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นำโดย นายชาลี ลอยสูง รองประธาน คสรท.และ น.ส. ธนพร วิจันทร์ รองประธาน คสรท. พร้อมสมาชิกประมาณ 50 คน ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เพื่อขอให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นไปตามหลักสากลและเท่ากันทั่วประเทศ

โดยน.ส.ธนพร กล่าวว่า คสรท. ขอประกาศจุดยืนเดิมและเรียกร้องต่อนายกฯ และรัฐมนตรี 4 ข้อ คือ 1.ให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นไปตามหลักการสากล ให้เลี้ยงคนในครอบครัวได้อย่างเพียงพอ 2.ค่าจ้างขั้นต่ำต้องเท่ากันทั่วประเทศ 3.ยกเลิกคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และให้มีคณะกรรมการค่าจ้างระดับชาติ ที่มีองค์ประกอบครองคลุมทุกภาคส่วน และ 4.ให้รัฐบาลวางมาตรการควบคุมราคาสินค้าไม่ให้แพงเกินจริง ทั้งนี้ หากรัฐบาล และกระทรวงแรงงานไม่ยอมทบทวนเรื่องดังกล่าวนี้ เราจะมีการเคลื่อนไหวต่อไป

ด้านนายชาลี กล่าวว่า เราต้องการให้ยกเลิกอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด เนื่องจากกลไกการทำงานล้มเหลว ทั้งนี้ พบว่าอนุกรรมการบางจังหวัด ไม่มีตัวแทนลูกจ้าง ทำให้ค่าจ้างที่เสนอเข้ามาส่วนกลาง มาจากนายจ้างฝ่ายเดียว และบอร์ดค่าจ้างพิจารณาค่าจ้าง โดยไม่มีการนำข้อมูลจากอนุกรรมการฯ มาพิจารณา เพราะมีธงของนายจ้างและรัฐบาลอยู่แล้ว ตัวเลขจึงไม่ตรงกับที่อนุกรรมการฯ แต่ละจังหวัดเสนอมา จึงมองว่าเป็นการใช้อนุกรรมการฯ เพื่ออ้างอิงปรับค่าจ้างเท่านั้น

นายชาลี กล่าวว่า จากที่เสนอให้บอร์ดค่าจ้าง เพิ่มคณะกรรมการที่เป็นนักวิชาการ หรือนักเศรษฐศาสตร์สังคมจะได้ครอบคลุมทุกด้าน ประเด็นสำคัญที่รับไม่ได้คือ การลดภาษีให้กลุ่มทุน 1.5 เท่า และลดเงินสมทบประกันสังคม 1 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น อยากให้ รมว.แรงงานหรือปลัดกระทรวงแรงงาน ทบทวนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำอีกครั้ง ก่อนจะนำเข้าที่ประชุมครม. พิจารณา โดยต้องคำนึงถึงสภาพความเป็นจริง เป็นที่ยอมรับทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง

ที่มา: ข่าวสด, 23/1/2561

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ร้องทบทวนอัตราค่าจ้างปี 2561

นายกลินท์ สารสิน ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย และประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกร.มีมติเห็นชอบ โดยขอเสนอให้รัฐบาลมีการทบทวน มติอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ได้มีมติออกมาตามคณะกรรมการค่าจ้างแรงงานกลาง ที่เห็นชอบให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2561 ที่ 5-22 บาทต่อวัน หรือเฉลี่ยปรับขึ้นอยู่ที่ 1.64-7.14% ซึ่งมองว่าเป็นอัตราไม่สอดคล้องกับมติคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด และบทบัญญัติของกฎหมาย (มาตรา 87 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541) ที่กำหนดไว้ โดยต้องการให้พิจารณาตามความเป็นจริงและตามหลักกฎหมาย อย่างไรก็ดี ผลของมติ กกร. ครั้งนี้จะเสนอให้กับนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่มีมติของคณะกรรมการค่าจ้างแรงงานกลางมีมติออกมานั้น ได้มีการสอบถามความคิดเห็นไปยังสมาชิกของ กกร. ที่เกี่ยวข้องทั้วงหอการค้าจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ ถึงผลกระทบต่อการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ และผู้ประกอบการส่วนใหญ่กว่า 92% การปรับค่าจ้างขั้นต่ำสูงเกินกว่าคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดพิจารณา และยังพบว่า 38 จังหวัดไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เช่น ระยอง นครปฐม นนทบุรี สมุทรปราการ เป็นต้น และ 28 จังหวัดที่เห็นด้วยในการปรับขึ้นค่าจ้าง และ 11 จังหวัดที่ไม่ได้ออกความเห็นเรื่องดังกล่าว

อย่างไรก็ดี กกร. ได้รวบรวมความเห็นจากสมาชิกในแต่ละจังหวัดและมีข้อเสนอแนะ 7 ข้อต่อผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2561 คือ 1. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ได้มีการดำเนินการแล้วเมื่อ 1 มกราคม 2560 2. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ กกร. มีความเห็นว่า ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจความเป็นจริงของแต่ละจังหวัด และไม่เป็นไปตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด อีกทั้ง ไม่เป็นไปตามการคำนวณดัชนีทางเศรษฐกิจที่ระบุไว้ตามมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

3. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าจ้างแรงงานและการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคเกษตร ภาคบริการ และ SMEs เนื่องจากต้นทุนค่าจ้างแรงงานและการผลิตเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถปรับตัวได้ทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการเร่งให้มีอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น จากการที่ผู้ประกอบการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีมาทดแทนแรงงาน

4. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่เกินพื้นฐานสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและสังคม จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อประเทศในภาพรวม รวมทั้ง ค่าครองชีพที่จะสูงขึ้นตาม จะส่งผลกระทบต่อประชาชน 5. กกร. สนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน เพื่อมุ่งสู่การลอยตัวของค่าจ้างในที่สุด

6. ในการปรับค่าจ้างครั้งนี้ กกร. มีความเป็นห่วงภาคเกษตร ภาคบริการ และ SMEs เป็นอย่างยิ่งจึงขอให้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือโดยเร่งด่วน 7. ภาครัฐควรดำเนินโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานอย่างจริงจังและเร่งด่วน โดยให้เอกชนที่มีความพร้อมมีส่วนร่วม

ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า การพิจารณาค่าจ้างแรงงานต้องการให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคม เศรษฐกิจ สภาพความเป็นอยู่ของแต่ละพื้นที่ เพราะจะรู้ข้อเท็จรริงมากกว่า และให้พิจารณาภายใต้คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดและเป็นไปตาม พรบ. ด้วย และการพิจารณาค่าจ้างที่เกิดขึ้นนั้น สูงเกินไปทั้งที่บางจังหวัดไม่มีภาคอุตสาหกรรม หรือมีแค่ภาคเกษตร เช่น อุตรดิตถ์ เลย ยโสธร พะเยา เป็นต้น หรือจังหวัดระนองที่มีการปรับค่าจ้างแรงงานถึง 10 บาท แต่มีแรงงานที่เป็นคนไทยไม่ถึง 10%

อีกทั้ง บางจังหวัดที่ไม่ต้องการให้ปรับขึ้น เช่น ระยอง ซึ่งคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดระยอง มีมติคงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเดิมที่ 308 บาทต่อวัน ซึ่งเป็นอัตราเดิมของปี2560 แต่ประกาศอัตราค่าจ้าง ปี 2561กำหนดให้ปรับเป็น 330 บาทต่อวัน จึงไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร ภาคบริการ และผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งจะได้รับผลกระทบอย่างมากและเป็นผู้ที่จะต้องจ่ายค่าจ้างเอง และนอกจากนี้ ก็มองว่าหลายจังหวัดการพิจารณาไม่ได้สอดคล้องตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และหากยับงดำเนินการเป็นอย่างนี้เชื่อว่าแรงงานจะตกงานมากขึ้น

นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำนั้น ต้องการให้มีการพิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้ง เพราะมองว่าบางจังหวัดที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างเท่ากันทั้งที่ขนาดของจังหวัดต่างกันมาก เช่น เชียงใหม่ ตราด เป็นต้น ซึ่งเห็นสมควรที่พิจารณาในอัตราเท่ากันหรือไม่ และระยอง ปรับขึ้นเนื่องจากมองว่าเป็นพื้นที่การลงทุน EEC และนั้นเป็นเรื่องในอนาคต ซึ่งไม่สอดคล้องข้อเท็จจริงในปัจจุบันซึ่งยังไม่มีและยังมีภาคเกษตรอยู่เยอะ ส่วนจะมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเยอะหรือไม่นั้น ก็ต้องดูปัจจัยอื่นประกอบด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจากบางอุตสาหกรรมแม้ค่าแรงเพิ่มขึ้นแต่ศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานมีเพียงพอก็ไม่กระทบแต่อย่างไร อย่างไรก็ดี ภาคอุตสาหกรรมก็มีการนำเรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น โดยสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาช่วยดูแลและสนับสนุนเป็นเรื่องของการเพิ่มทักษะแรงงาน ซึ่งประเทศไทยขาดแรงงานทักษาะมาก และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทั้งแรงงานและอุตสาหกรรมเพื่อการแข่งขัน พร้อมในอนาคต้องการให้อัตราค่าจ้างแรงงานนั้นลอยตัวเป็นไปตามกลไกและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่เช่นนั้นก็จะถูกกดค่าจ้างและประสิทธิภาพต่อการแข่งขันของผู้ประกอบการ

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 23/1/2561

โรงสีโคราชชี้แจงจำเป็นปลดคน ใช้เครื่องจักรทดแทน

โรงสีข้าวเจียเม้ง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นโรงสีที่ส่งออกข้าวหอมมะลิรายใหญ่สุดในอาเซียน ยอมรับเลิกจ้างพนักงานประจำ 200 คนจริง เนื่องจากต้องการนำเครื่องจักรมาทดแทน

นายปรีชา อินทรชาธร จัดหางาน จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ฝ่ายบุคคลของโรงสีเจียเม้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ยืนยันว่าให้พนักงานประจำกว่า 200 คน ยื่นความจำประสงค์ลาออกตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.2561 เนื่องจากต้องการนำเครื่องจักรทันสมัยเข้ามาแทน โดยจะจ่ายเงินชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด

แรงงานที่เป็นลูกจ้างซึ่งมีมากถึง 2,000 คน ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างชั่วคราวและเป็นการจ้างตามฤดูกาลเท่านั้น ซึ่งในวันนี้ (23 ม.ค.2561) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจะลงพื้นที่สอบถามข้อมูล และให้การช่วยเหลือผู้ที่ถูกเลิกจ้าง

ขณะที่แรงงานบางส่วนเชื่อว่า สาเหตุที่เลิกจ้าง เนื่องจากคำสั่งซื้อข้าวจากต่างประเทศลดลง และคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดย จ.นครราชสีมา ปรับขึ้นเป็นวันละ 320 บาท

ที่มา: ThaiPBS, 23/1/2561

กรมการจัดหางานประกาศยกเลิกใบอนุญาตจัดหางานในประเทศ 3 แห่ง

กรมการจัดหางาน แจ้งยกเลิกใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานทำงานในประเทศ จำนวน 3 แห่ง หากผู้ใดมีเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับบริษัทจัดหางานและสำนักงานจัดหางานดังกล่าว ให้รีบแจ้งนายทะเบียนจัดหางานกลางภายใน 30 วัน

นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ในฐานะนายทะเบียนจัดหางานกลาง แจ้งว่า กรมการจัดหางานได้ยกเลิกใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานทำงานในประเทศ จำนวน 3 แห่ง คือ 1.สำนักงานจัดหางาน ไทย จ๊อบ โปร ใบอนุญาตเลขที่ น.1611/2560 สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 1/99 ซอยท่าข้าม 7 ถนนพระราม 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป 2.บริษัทจัดหางาน อเด็คโก้ บางนา จำกัด ใบอนุญาตเลขที่ น.1454/2557 สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 909 อาคารแอมเพิลทาวเวอร์ ชั้นที่ 4 ห้องเลขที่ 4/6 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป 3.บริษัทจัดหางาน อเด็คโก้ พหลโยธิน จำกัด ใบอนุญาตเลขที่ น.581/2533 สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 979/72-74 อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ ชั้นที่ 25 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2561 เป็นต้นไป ทั้งนี้ หากผู้ใดมีเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับการจัดหางานของบริษัทจัดหางานและสำนักงานจัดหางานดังกล่าว ให้รีบแจ้งนายทะเบียนจัดหางานกลางทราบภายใน 30 วัน เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

นายอนุรักษ์ฯ กล่าวอีกว่า ควรตรวจสอบข้อมูลของบริษัทจัดหางานก่อนจะตัดสินใจสมัครงาน และขอให้ติดต่อกับบริษัทจัดหางานที่จดทะเบียนกับกรมการจัดหางานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น เพื่อป้องกันการหลอกลวงจากกลุ่มมิจฉาชีพ โดยสอบถามข้อมูลหรือแจ้งเรื่องร้องทุกข์/แจ้งเบาะแสการหลอกลวงคนหางานได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-10 หรือที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน โทร. 02-248-4792 หรือโทรสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน

ที่มา: กรมการจัดหางาน, 23/1/2561

สปส.เพิ่มสิทธิเยียวยาเบื้องต้น จ่ายสูงสุด 4 แสนบาท

ภายหลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผลักดันในการแก้พระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2558 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย. 2558 โดยแก้ไขในมาตรา 53 ให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตนในกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ เมื่อสำนักงานประกันสังคมได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตนไปแล้วให้สำนักงานมีสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้กระทำผิดได้

โดย นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่าคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เห็นชอบกรรมการการแพทย์ในเรื่องหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ซึ่งนพ.ชาตรี บานชื่น ประธานกรรมการการแพทย์ได้ลงนามเมื่อวันที่ 17 ม.ค.2561 แต่เนื่องจาก พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2558 ได้บังคับใช้ไปตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. 2558 ผู้ป่วยประกันสังคมที่ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ในช่วงเวลาดังกล่าวและยังไม่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยหรือยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นใดๆ จะสามารถใช้สิทธิตามประกาศนี้ได้ เรียกว่าให้มีผลย้อนหลังด้วย

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์จะใช้ยึดตามมาตรา 41 ของบัตรทองเพื่อไม่ให้เกิดความลักลั่น โดยอัตราการช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีเสียชีวิตตั้งแต่ 240,000 – 400,000 บาท สูญเสียอวัยวะจ่ายเงินช่วยเหลือตั้งแต่ 100,000 – 240,000 บาท และบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่องไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งกฎหมายนี้ผู้ประกันตน 13 ล้านคนจะได้สิทธิเท่าเทียมกับผู้ป่วยบัตรทอง ขณะนี้จึงเหลือเพียงสิทธิข้าราชการที่มีเพียง 5,000,000 คน เท่านั้นที่ยังไม่มีสิทธิตรงนี้

ที่มา: TNN24, 22/1/2561

ธนาคารไทยพาณิชย์ตั้งเป้า 3 ปี ลดพนักงาน 12,000 คน และลดสาขาเหลือ 400 จาก 1,153 สาขา


นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในอีกภายใน 3 ปีข้างหน้า ธนาคารวางแผน จะลดจำนวนสาขาที่มีอยู่ในปัจจุบันประมาณ 1,100 สาขา ให้เหลือ 400 สาขา และให้จำนวนพนักงานเฉลี่ยแต่ละสาขาอยู่ที่ 10-12 คน หรือ ลดลงครึ่งหนึ่งจากปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลให้พนักงานของธนาคารจากปัจจุบัน 27,000 คน ลดลงเหลือ 15,000 คน หรือ ลดลง 12,000 คน ใน 3 ปี เนื่องจากการเข้าใช้บริการของคนผ่านสาขาลดลง

ทั้งนี้การลดจำนวนพนักงานดังกล่าวจะไม่ให้พนักงานออก หรือ layoff ซึ่ง 1 ปีที่ผ่านมา ได้พูดคุยกับพนักงานแล้วว่าจะเกิดขึ้น ใน 3 ปีจากนี้ โดยธนาคารมี เอสซีบี อคาเดมี่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถใหม่ ๆ ให้พนักงานซึ่งปีที่ผ่านมา มีพนักงานออกจากสาขาแล้ว 2,000 คน ไปทำหน้าที่บริหารความมั่งคั่งให้กับลูกค้าธนาคารแทน ซึ่งแผนการดำเนินงานดังกล่าว เป็นยุทธศาสตร์การเติบโตอย่างยั่งยืนของธนาคาร

ที่มา: morning-news.bectero.com, 22/1/2561

มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานร่วมกับซีพีเอฟ เดินหน้าจัดอบรมพนักงานเพิ่มความรู้สิทธิแรงงาน

มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (แอลพีเอ็น) ร่วมมือกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) จัดอบรมให้ความรู้เรื่องสิทธิแรงงานตามกฏหมายให้กับแรงงานทุกเชื้อชาติของบริษัท ทั้ง 3 ภาษา คือไทย เมียนมา และกัมพูชา เพื่อให้แรงงานทุกคนได้ตระหนักรู้สิทธิของแรงงานมากขึ้น และร่วมแสดงข้อเสนอแนะ ร้องเรียนประเด็นด้านสิทธิแรงงาน และด้านอื่นๆ พร้อมทั้ง เปิดตัว ศูนย์เลเบอร์ว้อยซ์ โดย แอลพีเอ็น (Labour voices by LPN) ที่เปิดตัวไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา

นายสมพงศ์ สระแก้ว ผู้อำนวยการ มูลนิธิแอลพีเอ็น เปิดเผยว่า แอลพีเอ็น ได้ร่วมมือกับซีพีเอฟ จัดอบรม “สิทธิลูกจ้าง” ให้กับพนักงานแรงงานทั้งคนไทยและต่างชาติในโรงงานและสถานประกอบการของซีพีเอฟ โดยเริ่มจัดอบรมแรงงานต่างชาติของโรงงานแปรรูปอาหารมีนบุรีเป็นแห่งแรก มีเป้าหมายส่งเสริมให้พนักงานแรงงานซีพีเอฟทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้อง และตระหนักถึงสิทธิแรงงานตามหลักสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งแนะนำให้แรงงานทุกคนได้รู้จัก “ศูนย์เลเบอร์ว้อยซ์ โดย แอลพีเอ็น” ที่มูลนิธิ แอลพีเอ็น และซีพีเอฟได้ร่วมกันจัดตั้งในปลายปี 2560 ที่ผ่านมา โดยการอบรมจะช่วยให้แรงงานทุกคนได้รับรู้บทบาทของศูนย์ฯ และเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้บริการจากศูนย์ฯ อย่างมีประสิทธิภาพ

“การจัดอบรมเรื่องสิทธิลูกจ้างตามกฏหมาย จะช่วยสร้างความมั่นใจให้พนักงานระดับแรงงานในอุตสาหกรรมได้รับรู้สิทธิของตนเอง ตามกฎหมายแรงงานที่ควรรู้ มีส่วนช่วยให้แรงงานทุกคนทำงานกับบริษัทด้วยความเชื่อมั่น และยังเป็นกระตุ้นให้ทุกคนใช้ประโยชน์จากช่องทาง “ศูนย์เลเบอร์ว้อยซ์ โดย แอลพีเอ็น” เพื่อแจ้งเหตุ ข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะได้” นายสมพงศ์กล่าว

นายปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ กล่าวว่า การอบรมสิทธิลูกจ้าง ด้านแรงงานแก่พนักงานระดับแรงงานของซีพีเอฟ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการส่งเสริมสิทธิแรงงานให้แก่พนักงานทุกคนได้มีความรู้และเข้าใจในสิทธิของลูกจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทั้งตามกฎหมาย และที่บริษัทจัดเป็นสวัสดิการให้ และในการอบรมนี้เป็นการดำเนินการที่ต่อเนื่องหลังจากที่ซีพีเอฟได้เปิด ศูนย์เลเบอร์ว้อยซ์ โดย แอลพีเอ็น โดยมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิ แอลพีเอ็น ทำหน้าที่เป็นตัวกลางรับฟังเรื่องแจ้งเหตุ ข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะของพนักงานสามารถสื่อสารด้วยภาษาไทย กัมพูชา เมียนมา และอังกฤษ เพื่อรองรับพนักงานซีพีเอฟทุกเชื้อชาติ

“กิจกรรมจัดอบรมสิทธิแรงงาน และการเปิดศูนย์เลเบอร์ว้อยซ์ โดย แอลพีเอ็น เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่บริษัทดำเนินงานตามนโยบายสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ ที่มุ่งหวังจะยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคนของซีพีเอฟให้ดียิ่งขึ้น” นายปริโสทัตกล่าว

การจัดอบรมครั้งแรกตามโครงการความร่วมมือส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานระหว่างซีพีเอฟ และมูลนิธิแอลพีเอ็น ได้เริ่มจัดขึ้นที่โรงงานแปรรูปอาหารมีนบุรี เมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีพนักงานแรงงานคนไทยและต่างชาติร่วมเข้าการอบรมแล้วจำนวน 300 คน และซีพีเอฟจะดำเนินการอบรมอย่างต่อเนื่องให้แก่แรงงานทุกคน ครบทุกสถานประกอบการทั่วประเทศ

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 22/1/2561

ขับเคลื่อนโดย Blogger.