นักปรัชญาการเมืองแนวประชาธิปไตย
        สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย ท่ามกลางความขัดแย้งของกลุ่มเสื้อสีต่าง ๆ ที่ออกมาชุมนุมประท้วง ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้เกิดความตึงเครียดและความมีเสถียรภาพทางการเมืองการปกครองของไทย ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ระบุว่าประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต่างคน ต่างกลุ่ม ต่างอ้างสิทธิเสรีภาพในการการชุมนุม การแสดงความคิดเห็น อย่างอิสระเสรี จนกลายเป็นปัญหาทางการเมืองในปัจจุบัน ที่ยากจะแก้ไขให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมืองของเราได้
        เมื่อพูดถึงเรื่องประชาธิปไตยในประเทศไทยปัจจุบันแล้ว ล้วนมีแนวคิดของรูปแบบการปกครองอันมีที่มาจากแนวคิดของนักปรัชญาทางการเมืองของยุโรป ตั้งแต่ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตยสมัยคริสตศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา และมีการพัฒนา
แนวคิดทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย 
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
        ในบรรดานักปรัชญาแนวคิดประชาธิปไตย ที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก นั้นมีหลายท่านที่ได้นำเสนอแนวคิดต่าง ๆ ได้แก่

นักปรัชญาชาวอังกฤษ


        โธมัส ฮอบส์ เน้นว่าการปกครองที่ดีต้องมาจากประชาชนไม่ใช่อำนาจเทวสิทธิ์ เชื่อในการปกครองระบอบกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ว่าเป็นการปกครองที่ดีที่สุด หากมีกษัตริย์เป็นประมุขในการปกครองแล้วไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาล


        จอห็น ล๊อค ได้เขียนหนังสือทฤษฎีการเมืองเกี่ยวกับที่มาของอำนาจรัฐว่า อำนาจการเมืองต้องมาจากประชาชน ผู้เป็นเจ้าของอำนาจไม่ใช่กษัตริย์ ในหนังสือชื่อ สองนิพนธ์ว่าด้วยเรื่องการปกครอง (Two Treaties of Government 1690) ซึ่งแนวคิดการเมืองประชาธิปไตยของลอค คือ
        o อิสรภาพและเสรีภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งเกิดมาด้วยความเท่าเทียมกัน
        
o รัฐบาลมาจากความยินยอมของประชาชน รัฐบาลจึงเป็นเพียงผู้คอยปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและต้องมีอำนาจจำกัด
        o การที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจทางการเมือง ประชาชนจึงมีสิทธิล้มลางรัฐบาลได้เมื่อไม่ปฏิบัติตามความต้องการของประชาชน
        o จอห์น ลอค ได้รับการยกย่องว่า เป็นเจ้าทฤษฎีแห่งสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติ
กลุ่มนักคิดฟิโลซอฟ (Philosophs) ของฝรั่งเศส


       มองเตสกิเออร์ เขียนหนังสือชื่อวิญญาณแห่งกฎหมาย (The Spirit of Law 1748) ซึ่งแสดงแนวคิดประชาธิปไตยว่า
        o ระบอบกษัตริย์ไม่เหมาะสมสำหรับประเทศที่ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมือง แต่ควรมีรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
        o มีความเห็นสอดคล้องกับจอห์น ล๊อค โดยให้แนวคิด “ทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจ” โดยแบ่งอำนาจอธิปไตย ออกเป็น 3 ส่วน คือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ 
        o ได้รับสมญานามว่า เจ้าทฤษฎีแห่งการแบ่งแยกอำนาจ 


       วอลแตร์ เป็นนักคิดนักเขียนที่สนับสนุนแนวคิดประชาธิปไตย โดยมีความเห็นว่า เสรีภาพและอิสรภาพเป็นของมนุษย์ รัฐบาลที่ดีต้องให้เสรีภาพและอิสรภาพแก่ประชาชน และต้องเป็นผู้รอบรู้ มีเหตุผลและปกครองด้วยหลักเหตุและผล ประชาชนสามารถใช้เสรีภาพและอิสรภาพในการแสดงความคิดเห็น วอลแตร์ ได้รับสมญานามว่า เจ้าทฤษฎีแห่งสื่อสารมวลชน


        ชอง ชาคส์ รุสโซ เป็นเจ้าทฤษฎีแห่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน ถือเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตย เขียนหนังสือชื่อ Social Contract 1762 (สัญญาประชาคม)  โดยเน้นว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน” รัฐบาลที่ดีต้องมาจากประชาชน และรัฐบาลต้องสัญญากับประชาชนว่าจะดูแลให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีสุข ถ้ารัฐบาลไม่ทำตามสัญญา ประชาชนมีสิทธิล้มล้างรัฐบาลได้
        จากแนวคิดของนักปรัชญาการเมืองแนวประชาธิปไตย สรุปได้ว่า
        •แนวคิดของ จอห์น ล๊อค และ ชอง ชาคส์ รุสโซ มีแนวคิดประชาธิปไตยที่ตรงกันมากที่สุด คือรัฐบาลที่ดีต้องมาจากประชาชน
        •แนวคิดของ โทมัส ฮอบส์ มีความแตกต่างกับนักปรัชญาอื่น ๆ เนื่องจากให้การสนับสนุนการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่เชื่อเรื่องการปกครองที่มาจากประชาชน หรือรูปแบบรัฐบาล
        •เป็นแนวคิดแม่แบบพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยในตะวันตก เริ่มจากอังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศส ตามลำดับ


อ้างอิงแหล่งที่มา 
http://th.wikipedia.org


แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.