แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรณรงค์ให้ทางการไทยเลิกดำเนินคดี 3 นักสิทธิ
และในขณะที่องค์กรระหว่างประเทศออกมารณรงค์เพื่อปกป้องนักสิทธิในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ การแจ้งความดำเนินคดีนักเคลื่อนไหวก็กลายเป็นประเด็นให้ถกเถียงกันเรื่องการขาด “พื้นที่กลาง” ในการทำงานด้านสิทธิในภาคใต้
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้สมาชิกขององค์กรทั่วโลกส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทยขอให้ล้มเลิกความพยายามที่จะดำเนินคดีกับนักสิทธิ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ไปแจ้งความว่านักรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน 3 คนคือนายสมชาย หอมละออ นส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นส.อัญชนา หีมมีหน๊ะ หมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะจัดทำและเผยแพร่รายงานเรื่องการซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนใต้ การเผยแพร่ข้อมูลยังทำให้มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วย
เวบไซท์ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เชิญชวนให้สมาชิกทั้งในไทยและต่างประเทศส่งจดหมายไปยังรัฐบาลไทยเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกความพยายามดังกล่าวอย่างทันทีและโดยไม่มีเงื่อนไขตลอดจนยุติการข่มขู่คุกคามใดๆ และกระตุ้นให้ทางการไทยสอบสวนตามข้อมูลเรื่องของการซ้อมทรมานในรายงาน รวมทั้งให้นำตัวผู้กระทำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และเยียวยาผู้เสียหาย
น.ส.พรเพ็ญระบุว่า ในสัปดาห์หน้า ทนายความของทั้งสามคนจะเดินทางไปขอเลื่อนเวลาการเรียกผู้ต้องหาจากวันที่ 26 มิ.ย.ไปเป็นวันที่ 26 ก.ค. แทนเนื่องจากเพิ่งจะมีการแต่งตั้งทนายความ จึงต้องการเวลาในอันที่จะเตรียมตัว ทั้งตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยละเอียด
นักรณรงค์เรื่องสิทธิทั้งสามคนถูกเจ้าหน้าที่แจ้งความฐานหมิ่นประมาทเมื่อกลางเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา โดยพ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้าให้สัมภาษณ์ว่า รายงานที่เป็นที่มาของการแจ้งความ คือ “รายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี ในจังหวัดชายแดนใต้” ที่ออกเมื่อ 10 ก.พ.กุมภาพันธ์ นำเสนอโดย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี และกลุ่มด้วยใจ มีเนื้อหาที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่ซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัยที่ถูกควบคุมตัวในช่วงหลายปีมานี้รวมแล้ว 54 ราย
พ.อ.ปราโมทย์กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ทางเจ้าหน้าที่ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสวนในเรื่องนี้ไปแล้ว และพยายามขอรายละเอียดของผู้อยู่ในรายชื่อถูกซ้อมทรมาน แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ จำเป็นต้องขออำนาจศาลให้สั่งให้นักสิทธิทั้งสามคนร่วมมือกับเจ้าหน้าที่และเปิดเผยข้อมูลในเรื่องของการซ้อมทรมาน
ด้านผู้จัดทำรายงานระบุว่า ทางเจ้าหน้าที่ได้เรียกไปร่วมประชุมด้วยหลายครั้ง มีการพูดคุยถึงปัญหาการซ้อมทรมาน แต่การจะให้ข้อมูลละเอียดเกี่ยวกับตัวบุคคลเป็นเรื่องที่ยังต้องการหลักประกันในเรื่องความปลอดภัย
น.ส.พรเพ็ญชี้ว่า การสืบสวนสอบสวนกรณีซ้อมทรมานควรจะดำเนินการโดยหน่วยงานที่เป็นอิสระและมีประสิทธิภาพ ให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้เสียหาย การเปิดเผยรายชื่อผู้ร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานเดียวกันกับผู้ถูกกล่าวหาอาจจะทำให้เกิดการข่มขู่คุกคามและส่งผลให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายไม่กล้าร้องเรียนอีกต่อไป เธอบอกว่า ถ้าการทรมานเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ การรวบรวมพยานหลักฐานจะทำได้ยากมาก เพราะมีปัญหาว่าสถานที่ควบคุมตัวมักจะเป็นที่ลับและไม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งนี่เป็นปัญหาของการสอบสวนเรื่องเช่นนี้
การแจ้งความเพื่อดำเนินคดีนักสิทธิมนุษยชนทั้งสามคนจุดกระแสให้มีการเคลื่อนไหวในพื้นที่เพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ยอมรับการทำงานของนักกิจกรรมเพื่อสังคมและสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เครือข่ายประชาชนชายแดนใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพได้พยายามจัดเสวนาเรื่อง “สันติภาพจอมปลอม เมื่อรัฐคุกคามสิ่งแวดล้อมและนักสิทธิ” โดยประชาสัมพันธ์ให้มีการจัดงานขึ้นที่คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี เมื่อ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่หลังจากนั้นต้องเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดงาน ลดเวลาและรูปแบบการพูดคุยตลอดจนเปลี่ยนไปอ่านแถลงการณ์แทน โดยเรียกร้องเจ้าหน้าที่ให้เปิดพื้นที่ให้กับการทำงานของนักเคลื่อนไหวในเรื่องสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งขอให้ยุติการคุกคามทุกรูปแบบ และระบุว่า ที่ผ่านมา นักกิจกรรมสองด้านที่มีปัญหามาก คือที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนกับที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในการรณรงค์ต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน
หลังการจัดงานเสวนาได้มีการออกแถลงการณ์สองฉบับ หนึ่งในนั้นเป็นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เองเมื่อ 22 มิ.ย.ชี้แจงเรื่องของการให้ใช้สถานที่จัดงานว่ามิได้มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าพบเพื่อให้มีการยกเลิกการจัดงานอย่างที่เป็นข่าวออกไปแต่อย่างใด เพียงแต่เจ้าหน้าที่แสดงความกังวลกับชื่องาน มหาวิทยาลัยจึงขอให้ผู้จัดเปลี่ยนชื่อตลอดจนให้เลื่อนการจัดงาน พร้อมกันนั้นยืนยันว่ามหาวิทยาลัยพร้อมจะเป็นพื้นที่กลางในการให้ทุกฝ่ายหยิบยกเรื่องที่อ่อนไหวขึ้นพูดคุยกันเพื่อค้นหาหนทางแก้ปัญหาที่ไม่ใช้ความรุนแรง พร้อมกับเรียกร้องทุกฝ่ายให้สนับสนุนการทำบทบาทที่ว่า
วันถัดมา 23 มิ.ย. เครือข่ายประชาชนชายแดนใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ ที่รณรงค์คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่อำเภอเทพา สงขลา และปะนาเระ ปัตตานี ก็ได้ออกแถลงการณ์เช่นกันสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเป็น “พื้นที่กลาง” ดังกล่าว โดยชี้ว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งยังมีความขัดแย้งในเรื่องสิทธิและการจัดการทรัพยากรต้องการกลไกที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย
และในขณะที่องค์กรระหว่างประเทศออกมารณรงค์เพื่อปกป้องนักสิทธิในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ การแจ้งความดำเนินคดีนักเคลื่อนไหวก็กลายเป็นประเด็นให้ถกเถียงกันเรื่องการขาด “พื้นที่กลาง” ในการทำงานด้านสิทธิในภาคใต้
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้สมาชิกขององค์กรทั่วโลกส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทยขอให้ล้มเลิกความพยายามที่จะดำเนินคดีกับนักสิทธิ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ไปแจ้งความว่านักรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน 3 คนคือนายสมชาย หอมละออ นส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นส.อัญชนา หีมมีหน๊ะ หมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะจัดทำและเผยแพร่รายงานเรื่องการซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนใต้ การเผยแพร่ข้อมูลยังทำให้มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วย
เวบไซท์ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เชิญชวนให้สมาชิกทั้งในไทยและต่างประเทศส่งจดหมายไปยังรัฐบาลไทยเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกความพยายามดังกล่าวอย่างทันทีและโดยไม่มีเงื่อนไขตลอดจนยุติการข่มขู่คุกคามใดๆ และกระตุ้นให้ทางการไทยสอบสวนตามข้อมูลเรื่องของการซ้อมทรมานในรายงาน รวมทั้งให้นำตัวผู้กระทำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และเยียวยาผู้เสียหาย
น.ส.พรเพ็ญระบุว่า ในสัปดาห์หน้า ทนายความของทั้งสามคนจะเดินทางไปขอเลื่อนเวลาการเรียกผู้ต้องหาจากวันที่ 26 มิ.ย.ไปเป็นวันที่ 26 ก.ค. แทนเนื่องจากเพิ่งจะมีการแต่งตั้งทนายความ จึงต้องการเวลาในอันที่จะเตรียมตัว ทั้งตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยละเอียด
นักรณรงค์เรื่องสิทธิทั้งสามคนถูกเจ้าหน้าที่แจ้งความฐานหมิ่นประมาทเมื่อกลางเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา โดยพ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้าให้สัมภาษณ์ว่า รายงานที่เป็นที่มาของการแจ้งความ คือ “รายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี ในจังหวัดชายแดนใต้” ที่ออกเมื่อ 10 ก.พ.กุมภาพันธ์ นำเสนอโดย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี และกลุ่มด้วยใจ มีเนื้อหาที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่ซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัยที่ถูกควบคุมตัวในช่วงหลายปีมานี้รวมแล้ว 54 ราย
พ.อ.ปราโมทย์กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ทางเจ้าหน้าที่ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสวนในเรื่องนี้ไปแล้ว และพยายามขอรายละเอียดของผู้อยู่ในรายชื่อถูกซ้อมทรมาน แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ จำเป็นต้องขออำนาจศาลให้สั่งให้นักสิทธิทั้งสามคนร่วมมือกับเจ้าหน้าที่และเปิดเผยข้อมูลในเรื่องของการซ้อมทรมาน
ด้านผู้จัดทำรายงานระบุว่า ทางเจ้าหน้าที่ได้เรียกไปร่วมประชุมด้วยหลายครั้ง มีการพูดคุยถึงปัญหาการซ้อมทรมาน แต่การจะให้ข้อมูลละเอียดเกี่ยวกับตัวบุคคลเป็นเรื่องที่ยังต้องการหลักประกันในเรื่องความปลอดภัย
น.ส.พรเพ็ญชี้ว่า การสืบสวนสอบสวนกรณีซ้อมทรมานควรจะดำเนินการโดยหน่วยงานที่เป็นอิสระและมีประสิทธิภาพ ให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้เสียหาย การเปิดเผยรายชื่อผู้ร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานเดียวกันกับผู้ถูกกล่าวหาอาจจะทำให้เกิดการข่มขู่คุกคามและส่งผลให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายไม่กล้าร้องเรียนอีกต่อไป เธอบอกว่า ถ้าการทรมานเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ การรวบรวมพยานหลักฐานจะทำได้ยากมาก เพราะมีปัญหาว่าสถานที่ควบคุมตัวมักจะเป็นที่ลับและไม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งนี่เป็นปัญหาของการสอบสวนเรื่องเช่นนี้
การแจ้งความเพื่อดำเนินคดีนักสิทธิมนุษยชนทั้งสามคนจุดกระแสให้มีการเคลื่อนไหวในพื้นที่เพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ยอมรับการทำงานของนักกิจกรรมเพื่อสังคมและสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เครือข่ายประชาชนชายแดนใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพได้พยายามจัดเสวนาเรื่อง “สันติภาพจอมปลอม เมื่อรัฐคุกคามสิ่งแวดล้อมและนักสิทธิ” โดยประชาสัมพันธ์ให้มีการจัดงานขึ้นที่คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี เมื่อ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่หลังจากนั้นต้องเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดงาน ลดเวลาและรูปแบบการพูดคุยตลอดจนเปลี่ยนไปอ่านแถลงการณ์แทน โดยเรียกร้องเจ้าหน้าที่ให้เปิดพื้นที่ให้กับการทำงานของนักเคลื่อนไหวในเรื่องสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งขอให้ยุติการคุกคามทุกรูปแบบ และระบุว่า ที่ผ่านมา นักกิจกรรมสองด้านที่มีปัญหามาก คือที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนกับที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในการรณรงค์ต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน
หลังการจัดงานเสวนาได้มีการออกแถลงการณ์สองฉบับ หนึ่งในนั้นเป็นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เองเมื่อ 22 มิ.ย.ชี้แจงเรื่องของการให้ใช้สถานที่จัดงานว่ามิได้มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าพบเพื่อให้มีการยกเลิกการจัดงานอย่างที่เป็นข่าวออกไปแต่อย่างใด เพียงแต่เจ้าหน้าที่แสดงความกังวลกับชื่องาน มหาวิทยาลัยจึงขอให้ผู้จัดเปลี่ยนชื่อตลอดจนให้เลื่อนการจัดงาน พร้อมกันนั้นยืนยันว่ามหาวิทยาลัยพร้อมจะเป็นพื้นที่กลางในการให้ทุกฝ่ายหยิบยกเรื่องที่อ่อนไหวขึ้นพูดคุยกันเพื่อค้นหาหนทางแก้ปัญหาที่ไม่ใช้ความรุนแรง พร้อมกับเรียกร้องทุกฝ่ายให้สนับสนุนการทำบทบาทที่ว่า
วันถัดมา 23 มิ.ย. เครือข่ายประชาชนชายแดนใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ ที่รณรงค์คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่อำเภอเทพา สงขลา และปะนาเระ ปัตตานี ก็ได้ออกแถลงการณ์เช่นกันสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเป็น “พื้นที่กลาง” ดังกล่าว โดยชี้ว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งยังมีความขัดแย้งในเรื่องสิทธิและการจัดการทรัพยากรต้องการกลไกที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย
แสดงความคิดเห็น