รัฐมนตรีคลังสหราชอาณาจักรเตรียมออกแถลงการณ์สร้างความมั่นใจให้ตลาดการเงิน
คาดว่าจะมีการออกแถลงการณ์ของนายจอร์จ ออสบอร์น ก่อนที่ตลาดการเงินในกรุงลอนดอนจะเปิดทำการในวันจันทร์นี้ ที่ผ่านมานายออสบอร์นยังไม่ได้แสดงความเห็นแต่อย่างใดนับตั้งแต่ที่มีการประกาศผลการลงประชามติออกมาว่าสหราชอาณาจักรต้องการจะแยกตัวจากสหภาพยุโรปหรืออียู ซึ่งส่งผลสะเทือนอย่างหนักต่อความเชื่อมั่นในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดหุ้นที่ร่วงหนักตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา
ค่าเงินปอนด์ยังคงตกต่อเนื่อง ช่วงเปิดตลาดเอเชียเช้าวันนี้ (27 มิ.ย.) มีค่าเท่ากับ 1.3365 ดอลลาร์สหรัฐ หรือตกลง 3% เมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ค่าเงินปอนด์เทียบเท่ากับเงิน 1.2147 ยูโร หรือตกลงมา 1.4 % ซึ่งถือว่าร่วงลงอย่างต่อเนื่อง
นายออสบอร์น รัฐมนตรีคลังได้เตรียมออกแถลงการณ์เพื่อสร้างความชัดเจนและความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ขณะที่ก่อนหน้านี้นางคริสติน ลาการ์ด ผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ว่าการลงประชามติออกจากอียูของสหราชอาณาจักรเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดของนักลงทุน แต่ยืนยันว่าสถานการณ์ต่างๆ ยังควบคุมได้ และจะไม่เกิดภาวะตื่นตระหนกแต่อย่างใด
ด้านนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้หารือกับนายทาโร อาโสะ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่น เพื่อเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังการลงประชามติออกจากอียูและค่าเงินปอนด์ที่ยังร่วงต่อเนื่องส่งผลให้ค่าเงินเยนแข็งตัว และอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออก
สำหรับแถลงการณ์ของนายออสบอร์นนอกจากจะพยายามสร้างความมั่นใจให้กับตลาดในเรื่องสถานะทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศแล้ว ยังอาจพูดถึงแนวทางการดำเนินการในอันที่คณะรัฐบาลชุดปัจจุบันจะเดินหน้าต่อไปในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศในช่วงเวลาข้างหน้า
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มูดดี้ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อทางการเงินได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหราชอาณาจักรลง ส่วนบรรดาสถาบันการเงินคาดกันว่าเงินปอนด์จะยังคงอ่อนค่าและผันผวนต่อไป นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะเข้าสู่ภาวะถดถอย และจะเป็นแรงกดดันให้ธนาคารชาติของอังกฤษต้องลดอัตราดอกเบี้ย ส่วนนายมาร์ค คาร์นีย์ ผู้ว่าการธนาคารชาติอังกฤษออกมาให้คำมั่นแล้วว่า พร้อมจะอัดฉีดเงินจำนวน 250 ล้านปอนด์เข้าพยุงตลาดการเงิน
รายงานข่าวระบุว่า นายออสบอร์นอาจต้องสร้างความชัดเจนด้วยว่า เขาจะประกาศใช้งบประมาณฉุกเฉินอย่างที่เคยพูดไว้ในช่วงของการรณรงค์หรือไม่ ในช่วงนั้นนายออสบอร์นระบุว่า หากจะแยกตัวจากอียู ก็มีจำเป็นต้องเพิ่มภาษีและลดการใช้จ่ายด้านอื่นเพื่อนำเงินจำนวน 3,000 ล้านปอนด์มาใช้ในการลดแรงเสียดทานและผลกระทบจากการที่จะออกจากอียู ส่วนสส.พรรคคอนเซอร์เวทีฟที่สนับสนุนให้แยกตัวจากอียูบอกว่า หากนายออสบอร์นนำเรื่องนี้ไปขอความเห็นชอบจากรัฐสภา พวกเขาจะขัดขวาง
นายบอริส จอห์นสัน ตัวเก็งที่เชื่อกันว่าอาจมาแทนที่นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีที่เพิ่งประกาศลาออก บอกว่า นายคาร์นีย์ควรจะได้อยู่ในตำแหน่งต่อไป แม้ว่ากลุ่มนักรณรงค์ให้แยกตัวจากอียูจะแสดงความไม่พอใจที่นายคาร์นีย์ออกมาพูดเรื่องนี้โดยบอกว่ายิ่งตอกย้ำความเสี่ยงจากการแยกตัวให้ชัดขึ้น นายจอห์นสันเขียนลงในนสพ.เดลี เทเลกราฟเช้าวันนี้อ้างว่า สหราชอาณาจักรจะยังคงเข้าถึงตลาดเดียวของอียูต่อไป และย้ำอีกว่า ยังไม่มีความจำเป็นต้องรีบร้อนออกจากอียู
ด้านพรรคเลเบอร์ พรรคฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรคคือนายเจเรมี คอร์บีนก็ประสบแรงกดดันอย่างหนักหลังจากที่ลูกพรรคหลายคนลาออกจากคณะรัฐมนตรีเงาของพรรค
ในส่วนของรัฐบาล ก็มีแรงกดดันจากกลุ่มผู้นำอียูให้รีบเร่งกำหนดเวลาและขั้นตอนในการเริ่มเจรจาต่อรองเพื่อถอนตัวออกจากอียู ขณะที่นายคาเมรอน นายกรัฐมนตรีบอกว่า ผู้ที่จะมารับหน้าที่นายกรัฐมนตรีแทนเขาควรจะเป็นผู้ประกาศใช้มาตรการ 50 ตามสนธิสัญญาลิสบอนเพื่อเริ่มกระบวนการต่อรองเงื่อนไขการออกจากอียูอย่างเป็นทางการ เขาประกาศให้การลาออกของตนมีผลในเดือนต.ค.
แต่ผู้นำคนสำคัญของอียูต่างให้ความเห็นว่าสหราชอาณาจักรควรเร่งรัดกระบวนการแยกตัวมากกว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้นำเยอรมนีและฝรั่งเศสต่างเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงภาวะความไม่แน่นอน ผู้นำของเยอรมนีจะหารือเรื่องนี้กับผู้นำฝรั่งเศสและนายกรัฐมนตรีอิตาลีในวันจันทร์นี้ที่กรุงเบอร์ลิน
คาดว่าจะมีการออกแถลงการณ์ของนายจอร์จ ออสบอร์น ก่อนที่ตลาดการเงินในกรุงลอนดอนจะเปิดทำการในวันจันทร์นี้ ที่ผ่านมานายออสบอร์นยังไม่ได้แสดงความเห็นแต่อย่างใดนับตั้งแต่ที่มีการประกาศผลการลงประชามติออกมาว่าสหราชอาณาจักรต้องการจะแยกตัวจากสหภาพยุโรปหรืออียู ซึ่งส่งผลสะเทือนอย่างหนักต่อความเชื่อมั่นในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดหุ้นที่ร่วงหนักตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา
ค่าเงินปอนด์ยังคงตกต่อเนื่อง ช่วงเปิดตลาดเอเชียเช้าวันนี้ (27 มิ.ย.) มีค่าเท่ากับ 1.3365 ดอลลาร์สหรัฐ หรือตกลง 3% เมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ค่าเงินปอนด์เทียบเท่ากับเงิน 1.2147 ยูโร หรือตกลงมา 1.4 % ซึ่งถือว่าร่วงลงอย่างต่อเนื่อง
นายออสบอร์น รัฐมนตรีคลังได้เตรียมออกแถลงการณ์เพื่อสร้างความชัดเจนและความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ขณะที่ก่อนหน้านี้นางคริสติน ลาการ์ด ผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ว่าการลงประชามติออกจากอียูของสหราชอาณาจักรเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดของนักลงทุน แต่ยืนยันว่าสถานการณ์ต่างๆ ยังควบคุมได้ และจะไม่เกิดภาวะตื่นตระหนกแต่อย่างใด
ด้านนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้หารือกับนายทาโร อาโสะ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่น เพื่อเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังการลงประชามติออกจากอียูและค่าเงินปอนด์ที่ยังร่วงต่อเนื่องส่งผลให้ค่าเงินเยนแข็งตัว และอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออก
สำหรับแถลงการณ์ของนายออสบอร์นนอกจากจะพยายามสร้างความมั่นใจให้กับตลาดในเรื่องสถานะทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศแล้ว ยังอาจพูดถึงแนวทางการดำเนินการในอันที่คณะรัฐบาลชุดปัจจุบันจะเดินหน้าต่อไปในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศในช่วงเวลาข้างหน้า
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มูดดี้ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อทางการเงินได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหราชอาณาจักรลง ส่วนบรรดาสถาบันการเงินคาดกันว่าเงินปอนด์จะยังคงอ่อนค่าและผันผวนต่อไป นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะเข้าสู่ภาวะถดถอย และจะเป็นแรงกดดันให้ธนาคารชาติของอังกฤษต้องลดอัตราดอกเบี้ย ส่วนนายมาร์ค คาร์นีย์ ผู้ว่าการธนาคารชาติอังกฤษออกมาให้คำมั่นแล้วว่า พร้อมจะอัดฉีดเงินจำนวน 250 ล้านปอนด์เข้าพยุงตลาดการเงิน
รายงานข่าวระบุว่า นายออสบอร์นอาจต้องสร้างความชัดเจนด้วยว่า เขาจะประกาศใช้งบประมาณฉุกเฉินอย่างที่เคยพูดไว้ในช่วงของการรณรงค์หรือไม่ ในช่วงนั้นนายออสบอร์นระบุว่า หากจะแยกตัวจากอียู ก็มีจำเป็นต้องเพิ่มภาษีและลดการใช้จ่ายด้านอื่นเพื่อนำเงินจำนวน 3,000 ล้านปอนด์มาใช้ในการลดแรงเสียดทานและผลกระทบจากการที่จะออกจากอียู ส่วนสส.พรรคคอนเซอร์เวทีฟที่สนับสนุนให้แยกตัวจากอียูบอกว่า หากนายออสบอร์นนำเรื่องนี้ไปขอความเห็นชอบจากรัฐสภา พวกเขาจะขัดขวาง
นายบอริส จอห์นสัน ตัวเก็งที่เชื่อกันว่าอาจมาแทนที่นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีที่เพิ่งประกาศลาออก บอกว่า นายคาร์นีย์ควรจะได้อยู่ในตำแหน่งต่อไป แม้ว่ากลุ่มนักรณรงค์ให้แยกตัวจากอียูจะแสดงความไม่พอใจที่นายคาร์นีย์ออกมาพูดเรื่องนี้โดยบอกว่ายิ่งตอกย้ำความเสี่ยงจากการแยกตัวให้ชัดขึ้น นายจอห์นสันเขียนลงในนสพ.เดลี เทเลกราฟเช้าวันนี้อ้างว่า สหราชอาณาจักรจะยังคงเข้าถึงตลาดเดียวของอียูต่อไป และย้ำอีกว่า ยังไม่มีความจำเป็นต้องรีบร้อนออกจากอียู
ด้านพรรคเลเบอร์ พรรคฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรคคือนายเจเรมี คอร์บีนก็ประสบแรงกดดันอย่างหนักหลังจากที่ลูกพรรคหลายคนลาออกจากคณะรัฐมนตรีเงาของพรรค
ในส่วนของรัฐบาล ก็มีแรงกดดันจากกลุ่มผู้นำอียูให้รีบเร่งกำหนดเวลาและขั้นตอนในการเริ่มเจรจาต่อรองเพื่อถอนตัวออกจากอียู ขณะที่นายคาเมรอน นายกรัฐมนตรีบอกว่า ผู้ที่จะมารับหน้าที่นายกรัฐมนตรีแทนเขาควรจะเป็นผู้ประกาศใช้มาตรการ 50 ตามสนธิสัญญาลิสบอนเพื่อเริ่มกระบวนการต่อรองเงื่อนไขการออกจากอียูอย่างเป็นทางการ เขาประกาศให้การลาออกของตนมีผลในเดือนต.ค.
แต่ผู้นำคนสำคัญของอียูต่างให้ความเห็นว่าสหราชอาณาจักรควรเร่งรัดกระบวนการแยกตัวมากกว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้นำเยอรมนีและฝรั่งเศสต่างเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงภาวะความไม่แน่นอน ผู้นำของเยอรมนีจะหารือเรื่องนี้กับผู้นำฝรั่งเศสและนายกรัฐมนตรีอิตาลีในวันจันทร์นี้ที่กรุงเบอร์ลิน
แสดงความคิดเห็น