Atukkit Sawangsuk
 บทเรียน Brexit ก๊อปมาจากนักกฎหมายท่านหนึ่ง
................................
ในวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ผมเคยบรรยายว่า Referendum เป็นเรื่องที่ serious ไม่ใช่นึกจะจัดก็จัด และผลของมันอาจสร้างความแตกแยกอย่างรุนแรง ดูนักศึกษาไม่ค่อยเข้าใจ
เรื่อง Brexit นึ้เป็นตัวอย่างที่ดี
Référendum เป็นเรื่องของประชาธิปไตยทางตรง (Direct democracy)ส่วนการเลือกตั้งและการเมืองในสภา เป็นเรื่องของประชาธิปไตยทางผู้แทน (Representative democracy)
ประชาธิปไตยทางตรงนั้นมีความเสี่ยงตรงที่เป็นการจับประชาชนสองกลุ่มหรือหลายกลุ่มมาปะทะกันโดยตรง ผิดพลาดไปมันเกิดรอยแผลฝังลึกที่ยากต่อการเยียวยา
พวก NGO ที่ชอบเรียกร้อง"การเมืองภาคประชาชน" ควรตระหนักและเอา Brexit เป็นบทเรียนให้ดี
.................................
ในบรรดาความเห็นของชาว UK เกี่ยวกับ Brexit Referendum มีอยู่ความเห็นหนึ่งที่ตรงกับที่ผมคิดมาก นั่นคือคำอธิบายที่ว่าผลออกมาเช่นนี้เป็นเพราะชาว UK ไม่คุ้นเคยกับประชามติ และไม่เข้าใจนักกับผลที่จะตามมา ทั้งนี้เนื่องจากตลอดระยะเวลาพัฒนาการสถาบันการเมืองอันยาวนานของอังกฤษ ชาวอังกฤษคุ้นเคยกับหลัก Parliamentary sovereignty และประชาธิปไตยทางผู้แทน มีอะไรก็ไปว่ากันในสภา ไม่ใช่มาให้ประชาชนตัดสิน ประชาชนประกอบด้วยคนหลายกลุ่ม หลากหลายผลประโยชน์ หลากหลายอุดมการณ์ ทุกคนต้องมาตอบคำถามๆเดียวกัน และตอบเพียงว่า YES หรือ No เท่านั้น
ในความเป็นจริง คำตอบของแต่ละคนต่อคำถามมันไม่ง่ายอย่างนั้น บางคนอาจจะตอบ Yes, but....
บางคนอาจจะตอบว่า No, but......
บางคนอาจจะตอบว่า Yes, no not yes, maybe...
เรื่องของประชาธิปไตยทางตรงจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
.......................................
ที่ท่านพูดอย่างนี้ไม่ใช่ดูถูกประชาชนนะครับ แต่เรื่องอย่าง Brexit ซึ่งมีปมซับซ้อนทางเศรษฐกิจ การค้า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่ควรตัดสินด้วยประชามติ ซึ่งบางคนก็ลงคะแนนง่ายๆ ด้วยอารมณ์ชาตินิยม เมื่อรณรงค์ฟาดฟันแล้วผลคะแนนออกมาสูสีอย่างนี้ ก็จะเกิดความแตกแยก เช่นใน 1-2 ปีข้างหน้าเมื่อประจักษ์ว่ามันส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจของอังกฤษเอง ฝ่าย Remain ก็จะกลับมาชี้หน้าด่าฝ่าย Brexit
ดูข่าวที่ตามมาก็ได้
คนอังกฤษแห่เสิร์ชกูเกิล ถาม”จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราออกจากอียู”พุ่งกระฉูดถึง 250 % (ทำไมเพิ่งถาม)
http://www.matichon.co.th/news/187428
ทีม’รีเมน’แห่ลงชื่อเรียกร้องรัฐบาลจัดประชามติ’เบร็กซิท’รอบ2
http://www.matichon.co.th/news/187616

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.