อิสราเอล-ตุรกี ทำข้อตกลงฟื้นฟูความสัมพันธ์สู่ภาวะปกติ
อิสราเอลและตุรกีบรรลุข้อตกลงฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง เพื่อยุติความบาดหมางที่มีมานาน 6 ปี จากกรณีเจ้าหน้าที่อิสราเอลสังหารนักเคลื่อนไหวชาวตุรกี 10 คนที่สนับสนุนปาเลสไตน์ขณะพยายามแล่นเรือไปยังฉนวนกาซา
นายกรัฐมนตรีบีนาลี ยิลดิริม ของตุรกี ระบุว่า ทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงดังกล่าวเมื่อวานนี้ (26 มิ.ย.) โดยที่อิสราเอลจะจ่ายเงินชดเชยราว 700 ล้านบาทแก่ครอบครัวของผู้เสียหาย และจะยอมเปิดทางให้ตุรกีเข้าไปดำเนินโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานในดินแดนของชาวปาเลสไตน์
อิสราเอลและตุรกีบรรลุข้อตกลงฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง เพื่อยุติความบาดหมางที่มีมานาน 6 ปี จากกรณีเจ้าหน้าที่อิสราเอลสังหารนักเคลื่อนไหวชาวตุรกี 10 คนที่สนับสนุนปาเลสไตน์ขณะพยายามแล่นเรือไปยังฉนวนกาซา
นายกรัฐมนตรีบีนาลี ยิลดิริม ของตุรกี ระบุว่า ทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงดังกล่าวเมื่อวานนี้ (26 มิ.ย.) โดยที่อิสราเอลจะจ่ายเงินชดเชยราว 700 ล้านบาทแก่ครอบครัวของผู้เสียหาย และจะยอมเปิดทางให้ตุรกีเข้าไปดำเนินโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานในดินแดนของชาวปาเลสไตน์
นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศจะแต่งตั้งเอกอัครราชทูตกลับไปทำงานโดยเร็วที่สุด หลังจากข้อตกลงนี้ได้รับการลงนามในวันพรุ่งนี้ (28 มิ.ย.) นายยิลดิริม ยังเผยด้วยว่า ตุรกีจะส่งเรือบรรทุกสิ่งของช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมน้ำหนักกว่า 10,000 ตันไปให้ประชาชนในเขตฉนวนกาซาวันศุกร์นี้
ด้านนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ระบุว่าข้อตกลงครั้งนี้จะช่วยให้เกิดเสถียรภาพในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม อิสราเอลจะยังคงมาตรการปิดอ่าวบางส่วนในบริเวณฉนวนกาซาต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลักลอบส่งอาวุธให้แก่กลุ่มฮามาส ในฉนวนกาซา
ทั้งนี้ ตุรกีและอิสราเอลเคยเป็นพันธมิตรที่มีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้น เนื่องจากมีผลประโยชน์ร่วมกันหลายด้าน แต่สายสัมพันธ์ดังกล่าวต้องขาดสะบั้นลงจากเหตุการณ์ที่หน่วยคอมมานโดของอิสราเอลเข้าสกัดและจู่โจมเรือของกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนชาวตุรกี ที่ฝ่าฝืนมาตรการปิดอ่าวบริเวณฉนวนกาซา เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2553 ส่งผลให้นักเคลื่อนไหวถูกยิงเสียชีวิตไป 10 คนและบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก
ด้านนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ระบุว่าข้อตกลงครั้งนี้จะช่วยให้เกิดเสถียรภาพในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม อิสราเอลจะยังคงมาตรการปิดอ่าวบางส่วนในบริเวณฉนวนกาซาต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลักลอบส่งอาวุธให้แก่กลุ่มฮามาส ในฉนวนกาซา
ทั้งนี้ ตุรกีและอิสราเอลเคยเป็นพันธมิตรที่มีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้น เนื่องจากมีผลประโยชน์ร่วมกันหลายด้าน แต่สายสัมพันธ์ดังกล่าวต้องขาดสะบั้นลงจากเหตุการณ์ที่หน่วยคอมมานโดของอิสราเอลเข้าสกัดและจู่โจมเรือของกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนชาวตุรกี ที่ฝ่าฝืนมาตรการปิดอ่าวบริเวณฉนวนกาซา เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2553 ส่งผลให้นักเคลื่อนไหวถูกยิงเสียชีวิตไป 10 คนและบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก
แสดงความคิดเห็น