Brexit บอกอะไร บอกว่ากระแสขวาจัดชาตินิยมกำลงจะพาสหราชอาณาจักรไปสู่ความแตกแยกและหายนะ แต่ขณะเดียวกัน มันก็สะท้อนปัญหาทุนนิยมโลก ที่กำลังเผชิญวิกฤติครั้งใหญ่ คล้ายๆทศวรรษ 1930 (ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิด 2475 ในประเทศไทย) โดยผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง Establishment ไม่สามารถแก้ไขได้ เกิดความเหลื่อมล้ำความฝืดเคืองที่ทำให้ฝ่ายขวาในพรรคอนุรักษ์นิยม หรือคนอย่างทรัมพ์ สามารถเข้ามา "ปลุกระดม" ความคิดชาตินิยมคับแคบได้ชั่วขณะ แต่อีกด้าน ก็เกิดกระแสสังคมนิยมประชาธิปไตยลดความเหลื่อมล้ำ อย่างเบอร์นี แซนเดอร์ หรือพรรคการเมืองใหม่ในสเปน ซึ่งเป็นทิศทางที่น่าจะช่วงชิงความนิยมได้ในระยะต่อไป
ในอีกประเด็นหนึ้ง Brexit บอกเราว่าประชามติ "ประชาธิปไตยทางตรง" ไม่ใช่คำตอบเสมอไป สมมติคุณถามว่ากินก๋วยเตี๋ยวหรือกินข้าวแกง สามารถหาคำตอบได้ชัดเจน แต่คำถามในประเด็นที่ซับซ้อน เช่น Brexit มันมีคนจำนวนมากที่จะตอบว่า Yes แต่..... No แต่..... เพราะคนมีความเห็นหลากหลายเกินกว่าจะตอบข้อสอบปรนัย Yes หรือ No ห้วนๆ 2 ข้อเท่านั้น ซ้ำยังมีเหตุผลอื่นมากมาย แบบรับ-ไม่รับ รัฐธรรมนูญ ก็ไม่ใช่เพราะเห็นว่าดี-ไม่ดี
แต่ที่พูดไปทั้งหมดคือหลักประชามติสากล ไม่ใช่เมืองไทย ซึ่งไม่น่าเรียกว่าประชามติ เพราะปิดกั้นความคิดเห็น กระทั่งแจกใบปลิวไม่รับ ก็ถูกจับเข้าคุก แพ้ประชามติก็ยังจะหน้าด้านๆ อยู่ต่อไป ไม่ยอมลงจากอำนาจแบบเดวิด คาเมรอน
00000
ใบตองแห้ง

ผลประชามติ Brexit ทำให้ “แดงทั้งแผ่นดิน” หรือแผ่นโลกก็ว่าได้หุ้นไงครับเอเอฟพีประเมินว่ามูลค่าหุ้นทั่วโลกหายไป 74 ล้านล้านบาทไม่ต้องพูดถึงหุ้นลอนดอนและค่าเงินปอนด์ซึ่งมูดี้ส์ปรับอันดับความน่าเชื่อถืออังกฤษเป็นลบ

คนอังกฤษที่โหวต Leave คงไม่ตระหนักว่าจะเกิดผลย้อนเข้าหาตัวถึงเพียงนี้ไม่เพียงความเสียหายทางเศรษฐกิจแต่ยังเกิดแตกแยกทางการเมืองทั้งระหว่างคน 52% กับ 48% (ซึ่งฝ่ายหลังส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวคนลอนดอน) และสหราชอาณาจักรอาจแตกเพราะสกอตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือซึ่งคนส่วนใหญ่โหวต Remain ขอลงประชามติแยกประเทศบ้าง

Brexit ให้บทเรียนอะไรประการแรก นี่คือชัยชนะของ “ฝ่ายขวา” ชาตินิยมเกลียดกลัวผู้อพยพซึ่งมีคนสุดโต่งขนาดฆ่าส.ส.หญิงพรรคแรงงานแม้ 52% ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสียหมดเพราะคะแนนโหวตมาจากเหตุผลหลายประการแต่คะแนนพื้นฐานก็มาจากคนอังกฤษคิดว่าตัวเองเหนือกว่าชาติอื่น

Brexit น่าจะทำให้โลกฉุกคิดว่าการแห่ตามกระแสฝ่ายขวาคับแคบแบบโดนัลด์ ทรัมพ์ (ซึ่งออกมาเต้นแร้งเต้นกา) หรือมารีนเลอแปน จะมีผลเช่นไร

ประการที่สองบทเรียนด้านกลับ เหตุที่พวก Leave ปลุกคนได้เพราะเศรษฐกิจเหลื่อมล้ำตกต่ำสร้างความลำบากให้คนทั่วไปเพียงแต่พวกชาตินิยมใช้วิธีมักง่ายโทษการเข้าร่วม EU ทำให้ต้องแบกรับภาระประเทศอื่นแล้วก็ซ้ำเติมด้วยความเกลียดกลัวผู้อพยพ

ทรัมพ์ก็มาแบบเดียวกันคนอเมริกันผิวขาวชายขอบเบื่อหน่ายการเมืองกระแสหลัก The Establishment ในวอชิงตันไม่สามารถแก้ปัญหาปากท้องได้จู่ๆ ทรัมพ์โผล่มาจากไหนไม่รู้ปากเสีย แต่ดันพูดถูกใจอเมริกาจะไปยุ่งกับโลกทำไมในเมื่อพวกกรูยังลำบากอยู่

กระแสต้าน Establishment แผ่กว้างทั่วไปในเดโมแครตก็มีเบอร์นีแซนเดอร์ส ซึ่งเป็น “ฝ่ายซ้าย” เสนอแนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตยลดเหลื่อมล้ำในสเปนก็มีพรรคใหม่มาแรงแนวทางสังคมนิยมประชาธิปไตยกรุงโรมก็ได้นักการเมืองหญิงจากพรรคโนเนมเป็นนายกเทศมนตรีคนใหม่

มองภาพกว้างทุนนิยมโลกกำลังประสบวิกฤติรอบใหญ่การผลิตล้นเกิน เงินล้นแบงก์หนี้ท่วมอนาคต นักเก็งกำไรไม่มีที่เก็งในขณะที่ประชาชนฝืดเคืองภาวะเช่นนี้กำลังผลักให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทั้งเศรษฐกิจการเมืองนำไปสู่ประชาธิปไตยที่เป็นธรรมยิ่งขึ้นแต่ก็เกิดช่องให้พวกชาตินิยมพวกเผด็จการหรือพวกคลั่งสุดโต่งประเภทต่างๆอาละวาดได้ในช่วงสั้น

อันนี้ไม่ได้ว่าเมืองไทยเพราะคนไทยส่วนใหญ่เกลียดทรัมพ์เพียงแต่ขณะเดียวกันก็เกลียดนักสิทธิมนุษยชนไม่รับโรฮีนจา และไม่เอาประชาธิปไตย

บทเรียนประการที่สามประชามติที่ถือเป็น “ประชาธิปไตยทางตรง” ไม่ใช่เครื่องมือตัดสินที่ดีเสมอไปอ้าว พูดอย่างนี้ปฏิเสธประชาธิปไตยหรือไม่ใช่ครับแต่มันไม่ใช่ทุกเรื่องในโลกสามารถตัดสินได้ด้วย Yes หรือ No มันมีเหตุผลซับซ้อนกว่านั้นประชาชนที่ลงประชามติมีความต้องการหลากหลายกว่านั้นเช่น บางคนอาจบอกว่า Yes แต่.... หรือ No แต่.....

แบบเดียวกับ “รับ” “ไม่รับ” ก็มีเหตุผลหลากหลายไม่ได้มาจากเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญดีหรือไม่ดี
แต่ที่พูดนี่เป็นแง่คิดทฤษฎีประชามติทั่วไป ไม่ได้พูดถึงเมืองไทยซึ่งไม่น่าใช่ประชามติด้วยซ้ำเพราะไม่ยอมให้รณรงค์คัดค้านนักศึกษาแจกแผ่นพับ Vote No ไม่ผิดพ.ร.บ.ประชามติก็ยังถูกจับฐานชุมนุมเกิน 5 คนนี่ประชามติอะไรกัน

เดวิดคาเมรอน แพ้ประชามติก็ยังลาออกไม่เคยมีที่ไหนขู่ว่าถ้าแพ้ยิ่งเจอโหดกว่านี่ใช่ประชามติจริงหรือ

ใบตองแห้ง
source :- FB Atukkit Sawangsuk &  http://www.kaohoon.com/online/content/view/41928

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.