นักวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่แบบสลายตัวได้
นักวิจัยด้านวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตทของสหรัฐฯ กำลังพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไออนที่สามารถสลายตัวได้เมื่อโดนน้ำหรือความร้อน ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และในอนาคตสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ฝังในร่างกายมนุษย์ได้โดยไม่เกิดอันตราย
แบตเตอรี่ดังกล่าวมีขนาด 5x6 มิลลิเมตร และหนาราว 1 มิลลิเมตร โดยมีส่วนประกอบ โครงสร้าง และปฏิกิริยาเคมีที่ให้พลังงานแบบเดียวกับแบตเตอรี่ทั่วไป แต่ในระหว่างการพัฒนาขั้นต้นนี้ แบตเตอรี่ต้นแบบที่ผลิตได้มีความต่างศักย์ 2.5 โวลต์ และสามารถให้พลังงานกับเครื่องคิดเลขตั้งโต๊ะได้ราว 15 นาที
นักวิจัยด้านวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตทของสหรัฐฯ กำลังพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไออนที่สามารถสลายตัวได้เมื่อโดนน้ำหรือความร้อน ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และในอนาคตสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ฝังในร่างกายมนุษย์ได้โดยไม่เกิดอันตราย
แบตเตอรี่ดังกล่าวมีขนาด 5x6 มิลลิเมตร และหนาราว 1 มิลลิเมตร โดยมีส่วนประกอบ โครงสร้าง และปฏิกิริยาเคมีที่ให้พลังงานแบบเดียวกับแบตเตอรี่ทั่วไป แต่ในระหว่างการพัฒนาขั้นต้นนี้ แบตเตอรี่ต้นแบบที่ผลิตได้มีความต่างศักย์ 2.5 โวลต์ และสามารถให้พลังงานกับเครื่องคิดเลขตั้งโต๊ะได้ราว 15 นาที
แบตเตอรี่ชนิดนี้มีขั้วไฟฟ้าทั้งขั้วบวกและขั้วลบ รวมทั้งสารละลายอิเล็กโทรไลต์นำไฟฟ้าบรรจุอยู่ในวัสดุพอลิไวนิล ซึ่งเป็นพอลิเมอร์บาง ๆ สองชั้น ที่สามารถละลายน้ำได้ เมื่อโดนน้ำพอลิเมอร์จะบวมขึ้นและขั้วไฟฟ้าจะสลายตัว โดยใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงจึงสลายตัวได้หมด อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่นี้จะมีอนุภาคระดับนาโนบางส่วนหลงเหลืออยู่โดยไม่สลายไป
ศ. เรซา มอนตาซามี หนึ่งในทีมผู้พัฒนาแบตเตอรี่ดังกล่าว ระบุว่าผลงานนี้เป็นแบตเตอรี่แบบสลายตัวที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงรุ่นแรก ซึ่งนอกจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะย่อยสลายง่ายแล้ว ยังไม่ทำให้เกิดสารพิษที่เป็นอันตรายตามมา ในอนาคตจึงอาจพัฒนาต่อเนื่องเพื่อใช้งานด้านการสืบราชการลับ หรือใช้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ฝังในร่างกายมนุษย์ เพื่อให้สลายตัวได้ภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนออก
อย่างไรก็ตาม คาดว่าแบตเตอรี่ชนิดนี้จะมุ่งนำไปใช้กับงานที่มีกำหนดเวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่หรือตัวอุปกรณ์อย่างแน่นอนในระยะสั้น มากกว่าจะนำไปใช้กับงานที่ต้องการแบตเตอรี่ที่ให้พลังงานสูงและยาวนาน เนื่องจากการพัฒนาแบตเตอรี่แบบสลายตัวให้มีพลังงานมากขึ้นนั้น จะทำให้กระบวนการสลายตัวเกิดขึ้นได้ยากตามไปด้วย
http://www.bbc.co.uk/news/technology-37021474
ศ. เรซา มอนตาซามี หนึ่งในทีมผู้พัฒนาแบตเตอรี่ดังกล่าว ระบุว่าผลงานนี้เป็นแบตเตอรี่แบบสลายตัวที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงรุ่นแรก ซึ่งนอกจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะย่อยสลายง่ายแล้ว ยังไม่ทำให้เกิดสารพิษที่เป็นอันตรายตามมา ในอนาคตจึงอาจพัฒนาต่อเนื่องเพื่อใช้งานด้านการสืบราชการลับ หรือใช้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ฝังในร่างกายมนุษย์ เพื่อให้สลายตัวได้ภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนออก
อย่างไรก็ตาม คาดว่าแบตเตอรี่ชนิดนี้จะมุ่งนำไปใช้กับงานที่มีกำหนดเวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่หรือตัวอุปกรณ์อย่างแน่นอนในระยะสั้น มากกว่าจะนำไปใช้กับงานที่ต้องการแบตเตอรี่ที่ให้พลังงานสูงและยาวนาน เนื่องจากการพัฒนาแบตเตอรี่แบบสลายตัวให้มีพลังงานมากขึ้นนั้น จะทำให้กระบวนการสลายตัวเกิดขึ้นได้ยากตามไปด้วย
http://www.bbc.co.uk/news/technology-37021474
แสดงความคิดเห็น