ประเด็นของคดีคือ นาม ยิ้มแย้ม ประธานอนุกรรมการไต่สวน เสนอให้กล่าวโทษพรรคไทยรักไทย แต่ กกต.ให้สอบสวนเพิ่มเติม เมื่ออนุกรรมการชุดใหม่สอบแล้ว กกต.จึงส่งให้อัยการสูงสุดกล่าวโทษ
กกต.ไม่ได้ช่วยเหลือพรรคไทยรักไทยด้วยการเปลี่ยนผลไต่สวนจากผิดเป็นไม่ผิดนะครับ กกต.เพียงแต่ให้สอบเพิ่ม แล้วก็ยืนยันว่าผิด ส่งให้อัยการฟ้องเช่นเดิม
แต่ศาลยังเห็นว่า นั่นเป็นการเอื้อประโยชน์พรรคไทยรักไทย โดยเอาไปผนวกว่า "การประชุมของจำเลยและลงมติให้สอบสวนเพิ่มเติมจนเวลาล่วงเลยถึงการเลือกตั้ง จึงเป็นคุณต่อพรรคไทยรักไทย" ซึ่ง "จำเลยได้ประกาศผลเลือกตั้งอย่างเร่งรีบ ที่จะมีผลให้ทางพรรคไทยรักไทยได้จัดตั้งรัฐบาล"
ทั้งยังระบุว่าเลือกปฏิบัติที่ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ กกต.และพรรคเล็กทันทีแต่กรณีพรรคไทยรักไทยให้สอบเพิ่ม
คำถามคือ กกต.ไม่มีอำนาจวินิจฉัยเองหรือครับ ต้องทำตามคำสั่งของอนุกรรมการที่ตัวเองตั้งหรือ
"....นาม ยิ้มแย้ม ประธานอนุกรรมการไต่สวนฯ ซึ่งเคยเป็นผู้พิพากษาได้มีหนังสือแจ้งมาที่จำเลยที่ 1 ว่าไม่จำเป็นต้องสอบสวนเพิ่มเติมอีก แต่จำเลยไม่ได้ตระหนัก........กระทั่งเมื่ออนุกรรมการไต่สวนฯ ชุดใหม่ได้สรุปสำนวนส่งให้จำเลยแล้วจึงได้ประชุมและมีมติให้ส่งสำนวนพรรคไทยรักไทยให้อัยการสูงสุดเพื่อพิจารณา ตามความเห็นของนามประธานอนุกรรมการไต่สวนฯ ชุดก่อน ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าพวกจำเลยเชื่อตามสำนวนสอบสวนของนาม"
คำพิพากษาตอนนี้บอกว่า "นาม... ซึ่งเคยเป็นผู้พิพากษา" (น่าเชื่อถือ? กกต.ควรเชื่อฟัง?) แจ้งว่าไม่จำเป็นต้องสอบเพิ่ม แต่จำเลยไม่ตระหนัก (กกต.ควรมีอำนาจตัดสินใจไหม) เมื่อสอบเพิ่มแล้ว จำเลยจึงมีมติให้ส่งอัยการตามความเห็นของนาม แปลว่าจำเลยเชื่อนามตั้งแต่ต้นแล้ว แต่ไม่ทำตาม เป็นความผิด? (สมมติกรรมการของส่วนราชการซักชุดหนึ่ง ตั้งอนุฯ ไปสอบสวน สรุปผลมา แต่ยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สั่งให้ตั้งอนุฯ อีกชุดไปสอบ ได้ผลสรุป ยืนยันตามเดิม แล้วค่อยดำเนินการ แปลว่ากรรมการเชื่ออนุฯ ชุดแรกตั้งแต่ต้นแล้ว แต่ไม่ยอมทำตาม งั้นหรือครับ)
คดีนี้ทำให้คิดถึงกรณีที่ กกต.4 ใน 5 มีมติยุบพรรคประชาธิปัตย์ แต่ศาล รธน.ยกคำร้อง อ้างว่า อภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ไม่ยื่นเรื่องใน 15 วัน อภิชาตควรโดนฟ้อง 157 ไหม และจะติดคุกไหม (อดีตผู้พิพากษา ประธานแผนกในศาลฏีกานะนั่น)
นาม ยิ้มแย้ม ได้รับแต่งตั้งเป็นประธาน คตส.หลังรัฐประหาร
ส่วนอภิชาต สุขัคคานนท์ ก็มาเป็น กรธ.กับมีชัยอยู่นี่ไง
http://prachatai.org/journal/2016/06/66119
แต่ศาลยังเห็นว่า นั่นเป็นการเอื้อประโยชน์พรรคไทยรักไทย โดยเอาไปผนวกว่า "การประชุมของจำเลยและลงมติให้สอบสวนเพิ่มเติมจนเวลาล่วงเลยถึงการเลือกตั้ง จึงเป็นคุณต่อพรรคไทยรักไทย" ซึ่ง "จำเลยได้ประกาศผลเลือกตั้งอย่างเร่งรีบ ที่จะมีผลให้ทางพรรคไทยรักไทยได้จัดตั้งรัฐบาล"
ทั้งยังระบุว่าเลือกปฏิบัติที่ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ กกต.และพรรคเล็กทันทีแต่กรณีพรรคไทยรักไทยให้สอบเพิ่ม
คำถามคือ กกต.ไม่มีอำนาจวินิจฉัยเองหรือครับ ต้องทำตามคำสั่งของอนุกรรมการที่ตัวเองตั้งหรือ
"....นาม ยิ้มแย้ม ประธานอนุกรรมการไต่สวนฯ ซึ่งเคยเป็นผู้พิพากษาได้มีหนังสือแจ้งมาที่จำเลยที่ 1 ว่าไม่จำเป็นต้องสอบสวนเพิ่มเติมอีก แต่จำเลยไม่ได้ตระหนัก........กระทั่งเมื่ออนุกรรมการไต่สวนฯ ชุดใหม่ได้สรุปสำนวนส่งให้จำเลยแล้วจึงได้ประชุมและมีมติให้ส่งสำนวนพรรคไทยรักไทยให้อัยการสูงสุดเพื่อพิจารณา ตามความเห็นของนามประธานอนุกรรมการไต่สวนฯ ชุดก่อน ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าพวกจำเลยเชื่อตามสำนวนสอบสวนของนาม"
คำพิพากษาตอนนี้บอกว่า "นาม... ซึ่งเคยเป็นผู้พิพากษา" (น่าเชื่อถือ? กกต.ควรเชื่อฟัง?) แจ้งว่าไม่จำเป็นต้องสอบเพิ่ม แต่จำเลยไม่ตระหนัก (กกต.ควรมีอำนาจตัดสินใจไหม) เมื่อสอบเพิ่มแล้ว จำเลยจึงมีมติให้ส่งอัยการตามความเห็นของนาม แปลว่าจำเลยเชื่อนามตั้งแต่ต้นแล้ว แต่ไม่ทำตาม เป็นความผิด? (สมมติกรรมการของส่วนราชการซักชุดหนึ่ง ตั้งอนุฯ ไปสอบสวน สรุปผลมา แต่ยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สั่งให้ตั้งอนุฯ อีกชุดไปสอบ ได้ผลสรุป ยืนยันตามเดิม แล้วค่อยดำเนินการ แปลว่ากรรมการเชื่ออนุฯ ชุดแรกตั้งแต่ต้นแล้ว แต่ไม่ยอมทำตาม งั้นหรือครับ)
คดีนี้ทำให้คิดถึงกรณีที่ กกต.4 ใน 5 มีมติยุบพรรคประชาธิปัตย์ แต่ศาล รธน.ยกคำร้อง อ้างว่า อภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ไม่ยื่นเรื่องใน 15 วัน อภิชาตควรโดนฟ้อง 157 ไหม และจะติดคุกไหม (อดีตผู้พิพากษา ประธานแผนกในศาลฏีกานะนั่น)
นาม ยิ้มแย้ม ได้รับแต่งตั้งเป็นประธาน คตส.หลังรัฐประหาร
ส่วนอภิชาต สุขัคคานนท์ ก็มาเป็น กรธ.กับมีชัยอยู่นี่ไง
http://prachatai.org/journal/2016/06/66119
แสดงความคิดเห็น