ฮ่องกงขึ้นแท่นขีดความสามารถในการแข่งขันสูงสุดของโลกปีนี้ ส่วนไทยอันดับขยับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 28
สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาการบริหาร หรือ ไอเอ็มดี ซึ่งมีฐานที่สวิตเซอร์แลนด์ เผยผลการจัดอันดับความสามารถของประเทศและดินแดนต่าง ๆ 61 แห่งในการแข่งขันทางเศรษฐกิจประจำปี 2559 ซึ่งปรากฏว่าฮ่องกงขึ้นครองอันดับสูงสุดในการจัดอันดับประจำปีนี้ ซึ่งเป็นการกลับขึ้นสู่อันดับหนึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2555
ประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุด 10 อันดับแรกประจำปีนี้ นอกจากฮ่องกงแล้ว ยังมีสวิตเซอร์แลนด์ตามมาเป็นอันดับ 2 ส่วนสหรัฐฯ ตกจากอันดับหนึ่งเมื่อปีที่แล้วลงไปอยู่อันดับ 3 และตามมาด้วยสิงคโปร์ สวีเดน เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ แคนาดา ตามลำดับ
สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาการบริหาร หรือ ไอเอ็มดี ซึ่งมีฐานที่สวิตเซอร์แลนด์ เผยผลการจัดอันดับความสามารถของประเทศและดินแดนต่าง ๆ 61 แห่งในการแข่งขันทางเศรษฐกิจประจำปี 2559 ซึ่งปรากฏว่าฮ่องกงขึ้นครองอันดับสูงสุดในการจัดอันดับประจำปีนี้ ซึ่งเป็นการกลับขึ้นสู่อันดับหนึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2555
ประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุด 10 อันดับแรกประจำปีนี้ นอกจากฮ่องกงแล้ว ยังมีสวิตเซอร์แลนด์ตามมาเป็นอันดับ 2 ส่วนสหรัฐฯ ตกจากอันดับหนึ่งเมื่อปีที่แล้วลงไปอยู่อันดับ 3 และตามมาด้วยสิงคโปร์ สวีเดน เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ แคนาดา ตามลำดับ
นักวิเคราะห์มองว่า ในปีนี้สหรัฐฯไม่สามารถรักษาความยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจไว้ได้เช่นเดิมอีกต่อไป จึงต้องเปิดทางให้ประเทศที่ใช้ยุทธศาสตร์การแข่งขันใหม่ ๆ ก้าวขึ้นมาแนวหน้าแทน เช่น ฮ่องกงซึ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อภาคธุรกิจ หรือสิงคโปร์ที่ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างมากโดยเฉพาะด้านการขนส่งสินค้า
อย่างไรก็ตาม หากไม่นับรวมฮ่องกงและสิงคโปร์แล้ว ผลการวิจัยพบว่า ขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของทวีปเอเชียนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นผลมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ตกต่ำ เงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น และงบดุลที่ย่ำแย่ทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยในปีนี้ ไต้หวัน (อันดับที่ 14) มาเลเซีย (อันดับที่ 19) เกาหลีใต้ (อันดับที่ 29) และอินโดนีเซีย(อันดับที่ 48) ต่างมีอันดับลดลงจากปีที่แล้วทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม จีนยังคงอยู่ใน 25 อันดับแรก
ทั้งนี้ การจัดอันดับของ IMD ใช้เกณฑ์ชี้วัดกว่า 340 รายการ บนพื้นฐานของ 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของรัฐบาล ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน
ส่วนอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยนั้น ได้รับการจัดอันดับสูงขึ้นจากอันดับที่ 30 เมื่อปีที่แล้ว มาอยู่ในอันดับที่ 28 ในปีนี้ โดยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับการปรับอันดับเพิ่มขึ้น โดยนายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กล่าวว่าตัวชี้วัดสำคัญหลายด้านของไทยปรับขึ้นทั้งด้านการค้าระหว่างประเทศได้อันดับ 6 การจ้างงานได้อันดับ 3 ฐานะการคลังอันดับ 10 นโยบายการคลังอันดับ 5 สาธารณูปโภคอันดับ 35 ส่วนประสิทธิภาพของภาครัฐหลายปัจจัยถูกจัดอันดับสูงขึ้นจากมาตรการทางภาษี และการให้สิทธิประโยชน์การลงทุน
อย่างไรก็ตาม หากไม่นับรวมฮ่องกงและสิงคโปร์แล้ว ผลการวิจัยพบว่า ขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของทวีปเอเชียนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นผลมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ตกต่ำ เงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น และงบดุลที่ย่ำแย่ทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยในปีนี้ ไต้หวัน (อันดับที่ 14) มาเลเซีย (อันดับที่ 19) เกาหลีใต้ (อันดับที่ 29) และอินโดนีเซีย(อันดับที่ 48) ต่างมีอันดับลดลงจากปีที่แล้วทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม จีนยังคงอยู่ใน 25 อันดับแรก
ทั้งนี้ การจัดอันดับของ IMD ใช้เกณฑ์ชี้วัดกว่า 340 รายการ บนพื้นฐานของ 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของรัฐบาล ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน
ส่วนอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยนั้น ได้รับการจัดอันดับสูงขึ้นจากอันดับที่ 30 เมื่อปีที่แล้ว มาอยู่ในอันดับที่ 28 ในปีนี้ โดยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับการปรับอันดับเพิ่มขึ้น โดยนายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กล่าวว่าตัวชี้วัดสำคัญหลายด้านของไทยปรับขึ้นทั้งด้านการค้าระหว่างประเทศได้อันดับ 6 การจ้างงานได้อันดับ 3 ฐานะการคลังอันดับ 10 นโยบายการคลังอันดับ 5 สาธารณูปโภคอันดับ 35 ส่วนประสิทธิภาพของภาครัฐหลายปัจจัยถูกจัดอันดับสูงขึ้นจากมาตรการทางภาษี และการให้สิทธิประโยชน์การลงทุน
แสดงความคิดเห็น