ว่าด้วยการทำประชามติ
เมื่อวาน ได้เข้าร่วมเสวนา “เหลียวประชามติสากล แลประชามติไทย” เนื่องในวันครบรอบ18 ปี คณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอนำประเด็นที่พูดมาแบ่งปัน ในนี้ เนื้อหาแบ่งเป็น 3 ส่วน1.ประสบการณ์การออกเสียงประ ชามติในต่างประเทศ
1A. ประชามติเรื่องนโยบาย สวิตเซอร์แลนด์เพิ่งทำประชา มติว่าจะให้มีหลักประกันด้า นรายได้ขั้นต่ำเดือนละประมา ณ 90,000 บาทต่อหัวสำหรับผู้ใหญ่และป ระมาณ 22,000 ต่อหัวสำหรับเด็กหรือไม่ ผู้ออกเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็น ด้วย1B. ประชามติในระดับท้องถิ่น ประชามติสำหรับชาวสวิสสามาร ถทำได้ทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค และท้องถิ่น เช่น ประชามติว่าควรยกเลิก “กฎหมายฆ่าตัวตายโดยมีผู้ช่ วย” (assisted suicide) หรือไม่ เกิดขึ้นในมลรัฐซูริค
1C. ประชามติเพื่อถอดถอนบุคคล ในปี 2004 เวเนซูเอล่า ทำประชามติถามว่าจะถอดถอนปร ะธานาธิบดี Hugo Chavez หรือไม่ ชาวเวเนซูเอล่าประมาณ 59% ลงประชามติไม่ถอดถอน โดยมีผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนส ูงถึง 30%
1D. ประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื ่อต่ออายุทางการเมือง ปี 2016 ชาวโบลิเวียทำประชามติว่าเห ็นชอบให้แก้รัฐธรรมนูญเพื่อ ประธานนาธิบดีและรองประธานา ธิบดีสามารถดำรงตำแหน่งเป็น สมัยที่ 3 จากเดิมมีวาระเพียง 2 สมัยหรือไม่ ผลประชามติคือ ไม่เห็นชอบ
1E. ประชามติเพื่อการปฎิรูปการเ มือง (Political Reform Referendum) สเปน ในปี ค.ศ. 1976 ถามว่าเห็นชอบกฎหมายปฎิรูปก ารเมืองที่จะเปลี่ยนจากระบอ บเผด็จการหลังยุค Francisco Franco มาเป็นระบอบ Constitutional Monarchy หรือไม่ ชาวสเปน เห็นชอบมากถึง 94 %
1F. ประชามติรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ภายใต้บรรยากาศแห่งความกลัว ในอียิปต์ หลังการโค่น Mubarak ในปี 2011 และล้มประธานาธิบดี Morsi ที่มาจากการเลือกตั้ง นายพล Abdel Fatah al-Sisi จัดให้มีประชามติรับร่างรัฐ ธรรมนูญทั้งฉบับในปี 2014 Transparency International รายงานว่าการทำประชามติเป็น ไปอย่างไม่เป็นธรรม สื่อทุกแขนงสำนักถูกระดมให้ สนับสนุนการโหวตรับร่าง ขณะที่ฝ่ายค้านถูกจับกุม และมีคนตาย ถึงแม้จะมีการบอยคอตโดยฝ่าย ต่อต้านและมีผู้มาใช้สิทธิเ พียง 38.6 % แต่ผลลัพธ์คือ 98% เห็นชอบ (ผู้มาใช้สิทธิในการเลือกตั ้งทั่วไปประมาณ 50%) ต่อมา Sisi ลงสมัครรับเลือกตั้งและเป็น ประธานาธิบดีในปัจจุบัน
1G. ขั้นตอนทำประชามติในสหรัฐอเ มริกา ทำได้เฉพาะในระดับมลรัฐ เมือง และท้องถิ่น ไม่มีการทำประชามติในระดับช าติ โดยรัฐต้องจัดทำประชาพิจารณ ์ (Public Hearings) ในทุกเขตเลือกตั้ง ก่อนการเลือกตั้งไม่เกิน 8 อาทิตย์ และเผยแพร่เนื้อหาที่จะทำปร ะชามติในหนังสือพิมพ์อย่างน ้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ก่อนการเลือกตั้งเป็นเวลา 3 อาทิตย์ ผลประชามติผูกมัดและบังคับใ ช้ภายใน 30 วัน**
การกำหนดจำนวนคะแนนเสียงชี้ ขาด ทำได้หลายลักษณะเช่น เสียงข้างมากธรรมดา เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง เสียงข้างมากธรรมดาแต่ผู้มา ใช้สิทธิต้องมากกว่ากึ่งหนึ ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ใช้เสียงข้างมากของประชาชนท ั้งในระดับชาติ และประชนในระดับมลรัฐมากกว่ าครึ่งหนึ่งของมลรัฐทั้งหมด เรียกว่าเสียงข้างมาก 2 ระดับ (Double Majority) เช่นในสวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย หรือ ใช้เสียง 2 ใน 3 ส่วนการใช้เสียงข้างมากของผ ู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่เคยปร ากฎ (ยกเว้นที่เป็นข้อถกเถียงใน ประเทศไทย)
2.การอออกเสียงประชามติ มาจากฐานคิดว่า เนื่องจากประชาชน เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึง “มอบอำนาจตัดสินใจสุดท้ายไว ที่ประชาชน” มีหลักการสำคัญคือ
2A.เรื่องที่จะจัดทำประชามต ิต้องมีความสำคัญและมีผลกระ ทบต่อประโยชน์ได้เสียของประ เทศชาติและประชาชน ไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐธรรมนู ญ หรือกฎหมาย เท่านั้น เป็นเรื่องนโยบายหรือโครงกา รก็ได้
2B.ข้อความที่จะขอความเห็นต ้องชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ ผู้มีสิทธิออกเสียงสามารถตั ดสินใจ ประชามติสหราชอาณาจักรที่จะ จัดในวันที่ 23 มิถุนานี้ ถามกันตรง ๆ ว่า เห็นชอบให้สหราชอาณาจักรอยู ่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อ หรือให้ออกจากสหภาพยุโรป? (อังกฤษปิดหีบเลือกตั้ง 4 ทุ่ม และรัฐให้เงินสนับสนุนทั้งฝ ่ายโหวต Yes และ No อย่างเท่าเทียมกัน ใช้งบประมาณรณรงค์ทั้งหมดไม ่เกิน 7ล้านปอนด์)
**คำถามพ่วงของไทย ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่าเพื่อ ให้การปฏิรูปประเทศเป็นไปอย ่างต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสต ร์ชาติ สมควรกำหนดในบทเฉพาะกาลว่าร ะหว่าง 5 ปีแรกนับตั้งแต่มีรัฐสภาชุด แรก ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐส ภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็ นชอบบุคคลซึ่งสมควรแต่งตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรี" อาจแปลงให้ง่ายขึ้นด้วยการถ ามว่า>>>“ท่านเห็นชอบหรือไม ่ว่าให้วุฒิสภาที่ไม่ได้มาก จากการเลือกตั้ง เลือกนายกรัฐมนตรี ร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎ ร”
2C.ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เห็น ชอบและไม่เห็นชอบในเรื่องที ่จะจัดทำประชามติได้แสดงควา มคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน **องค์กรที่เป็นผู้จัดไม่คว รเข้าไปยุ่งเกี่ยวในการเผยแ พร่ รณรงค์ ให้ความรู้ หรือชักจูงให้ประชาชนออกมาใ ช้สิทธิ
เพลง “7 สิงหาประชามติร่วมใจ ประชาธิปไตยมั่นคง” ซึ่งเผยแพร่โดยคณะกรรมการกา รเลือกตั้ง นอกจากมีเนื้อหาเชิงสั่งสอน ดูแคลนว่าอย่าให้เขาหลอก อย่าให้เขาชี้นำแล้ว ข้อความ “รัฐธรรมนูญเป็นกติกา นำมาซึ่งรากฐานแห่งการปรองด อง รักกันฉันท์พี่ ฉันท์น้อง สังคมปรองดองมั่นคงอบอุ่น บ้านเมืองจะก้าวรุดไป เราต้องร่วมมือร่วมใจค้ำจุน ” อาจถูกวิจารณ์ได้ว่าเป็นการ โน้มน้าวจูงใจให้รับร่างรัฐ ธรรมนูญ กกต. ซึ่งเป็นผู้จัด ก็จะสูญเสียความเป็นกลาง
นั่นคือ เหตุผลว่า ในสากลประเทศ องค์กรจัดการเลือกตั้งจะไม่ แสดงตนเป็นผู้รณรรงค์ แต่จะจำกัดบทบาทเป็นเพียงผู ้จัดการเลือกตั้งโดยแท้
2D.ต้องให้ประชาชนทราบทางเล ือกและผลที่ตามมาของการตัดส ินใจ **ถ้าไม่รับจะเกิดอะไรขึ้น? ?
2E. ผลของประชามติมีทั้งแบบให้ค ำปรึกษา และมีผลผูกมัด หากมีผลผูกมัด ควรมีผลโดยเร็ว **หลัง รธน ผ่านประชามติ บทเฉพาะกาลมาตรา 265 ยังคงอำนาจ คสช.ตาม รธน.ชั่วคราว (2557 และ แก้ไขเพิ่มเติม 2558) อยู่เต็ม จนกว่า ครม.ชุดใหม่จะรับหน้าที่ ผลก็คือ รธน และ คำสั่งของ คสช. เช่น มาตรา 44 และ 13/ 2559 จะดำรงอยู่คู่กัน ดังนั้น การผ่านประชามติไม่ได้ทำให้ รธน. 2559 มีผลบังคับใช้อย่างเด็ดขาดใ นทันที
2F. ข้อเสียของการทำประชามตินอก จากจะใช้ระยะเวลานาน (สวิตเซอร์แลนด์และอีกหลายป ระเทศกำหนดชัดเจนว่าต้องมีเ วลารณรงค์ 18 เดือน) และสิ้นเปลืองงบประมาณแล้ว ยังอาจทำให้เกิดเผด็จการเสี ยงข้างมาก (Tyranny of the Majority) เช่น การไม่ให้สร้างหอเรียกคนสวด มนต์ในสวิตเซอร์แลนด์ที่เป็ นการละเมิดสิทธิชาวมุสลิม หรือการที่สิทธิเลือกตั้งขอ งสตรี สวิสเพิ่งได้รับความเห็นชอบ ในการทำประชามติในปี 1971
3.บทวิเคราห์ประชามติไทย
ประชามติปี 2550 มีผู้ใช้สิทธิ์ 57% ต่ำกว่าผู้มาใช้สิทธิเลือกต ั้งปี 2548 (72%) เลือกตั้งปี 2550 (74%) และ เลือกตั้งปี 2554 (75%)
ภาคเหนือไปใช้สิทธิมากที่สุ ด (62%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้สิ ทธิน้อยที่สุด (54%)
ผลการลงประชามติ เห็นชอบ 56% ไม่เห็นชอบ 41% บัตรเสีย 1.9% ภาคใต้เห็นชอบมากที่สุด 86% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเห ็นชอบน้อยที่สุดเพียง 36%
งานวิจัยที่ผู้เขียนทำ พบว่าประชามติปี 50 ประชาชนที่โหวตรับร่างรัฐธร รมนูญ ให้เหตุผลว่าอยากให้เลือกตั ้งโดยเร็ว 78.6% เพราะทำหน้าที่พลเมือง 52% และสนับสนุนรัฐประหาร 19%
ส่วนผู้ไม่รับ ให้เหตุผลหลักคือต่อต้านรัฐ ประหาร 52.5% และไม่ชอบเนื้อหารัฐธรรมนูญ 46%
ผู้โหวตไม่รับ เลือก พลังประชาชน 70% เลือก ปชป 17%
เมื่อวาน ได้เข้าร่วมเสวนา “เหลียวประชามติสากล แลประชามติไทย” เนื่องในวันครบรอบ18 ปี คณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอนำประเด็นที่พูดมาแบ่งปัน
1A. ประชามติเรื่องนโยบาย สวิตเซอร์แลนด์เพิ่งทำประชา
1C. ประชามติเพื่อถอดถอนบุคคล ในปี 2004 เวเนซูเอล่า ทำประชามติถามว่าจะถอดถอนปร
1D. ประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื
1E. ประชามติเพื่อการปฎิรูปการเ
1F. ประชามติรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
1G. ขั้นตอนทำประชามติในสหรัฐอเ
การกำหนดจำนวนคะแนนเสียงชี้
2.การอออกเสียงประชามติ มาจากฐานคิดว่า เนื่องจากประชาชน เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึง “มอบอำนาจตัดสินใจสุดท้ายไว
2A.เรื่องที่จะจัดทำประชามต
2B.ข้อความที่จะขอความเห็นต
**คำถามพ่วงของไทย ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่าเพื่อ
2C.ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เห็น
เพลง “7 สิงหาประชามติร่วมใจ ประชาธิปไตยมั่นคง” ซึ่งเผยแพร่โดยคณะกรรมการกา
นั่นคือ เหตุผลว่า ในสากลประเทศ องค์กรจัดการเลือกตั้งจะไม่
2D.ต้องให้ประชาชนทราบทางเล
2E. ผลของประชามติมีทั้งแบบให้ค
2F. ข้อเสียของการทำประชามตินอก
3.บทวิเคราห์ประชามติไทย
ประชามติปี 2550 มีผู้ใช้สิทธิ์ 57% ต่ำกว่าผู้มาใช้สิทธิเลือกต
ภาคเหนือไปใช้สิทธิมากที่สุ
ผลการลงประชามติ เห็นชอบ 56% ไม่เห็นชอบ 41% บัตรเสีย 1.9% ภาคใต้เห็นชอบมากที่สุด 86% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเห
งานวิจัยที่ผู้เขียนทำ พบว่าประชามติปี 50 ประชาชนที่โหวตรับร่างรัฐธร
ส่วนผู้ไม่รับ ให้เหตุผลหลักคือต่อต้านรัฐ
ผู้โหวตไม่รับ เลือก พลังประชาชน 70% เลือก ปชป 17%
แสดงความคิดเห็น